รัฐบาลเดินหน้าประมูลท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3

กรุงเทพฯ  4 มิ.ย. – รัฐบาลประกาศประมูลท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 เสร็จรัฐบาลนี้ ถือเป็นท่าเรือเมกะโปรเจ็กต์ใน EEC ดันเศรษฐกิจไทยโต  และก้าวสู่ท่าเรือศูนย์กลางในอินโดจีน


นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงานสัมมนารับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาทบทวนความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ การเงิน และสิ่งแวดล้อม โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 เพื่อรองรับการขนส่งตู้สินค้าผ่านทางรถไฟและเพิ่มระบบจัดการขนตู้สินค้าแบบอัตโนมัติ (Automation) ในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP)เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับรายละเอียดการพัฒนาโครงการ ความเสี่ยงของโครงการ และรูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน รวมทั้งการจัดสรรหน้าที่และความรับผิดชอบสิทธิประโยชน์ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ร่วมสัมมนา โดยมีตัวแทนหน่วยงานจากภาครัฐ ภาคธุรกิจ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มธนาคาร กลุ่มนักลงทุน สมาคมการค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศร่วมงานจำนวนมาก

นายกอบศักดิ์ กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมควบคู่ไปกับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ( EEC) โดยโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ถือเป็นหนึ่งในโครงการเสาหลักในพื้นที่ นอกจากเมกะโปรเจ็กต์ในพื้นที่ EEC ที่รัฐบาลจะเดินหน้าตามรวม 8 โครงการ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่ประกาศ TOR ไปแล้ว โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานในภูมิภาค โครงการท่าเรือมาบตาพุด ท่าเรือเพื่อการท่องเที่ยวทางน้ำ (ครุยซ์) โครงการสมาร์ทซิตี้ โดยเฉพาะโครงการท่าเรือแหลมฉบัง และโครงการที่กล่าวไปแล้วยืนยันว่ารัฐบาลจะเดินหน้าให้การประมูลประกวดราคาเสร็จภายในรัฐบาลชุดนี้ เพื่อให้ทุกโครงการเสร็จใน 4-5 ปีข้างหน้า โดยในอนาคตมั่นใจว่าท่าเรือแหลมฉบังจะเป็นกุญแจสำคัญ นอกจากจะเป็นประตูผ่านสินค้าเข้าออกไทยแล้วจะมีความสัมพันธ์กลายเป็นท่าเรือศูนย์กลางในภูมิภาคอินโดจีน เช่นเดียวกับท่าเรือรอดเตอร์ดัมของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นท่าเรือที่กระจายสินค้าไปทั่วภูมิภาคยุโรป


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 เป็น 1 ในโครงการที่รัฐบาลเร่งขับเคลื่อนให้สำเร็จเป็นรูปธรรมในรูปแบบ PPP เพราะการขนส่งสินค้าทางน้ำมีต้นทุนต่ำที่สุด รองลงมา คือ ระบบรางและถนน โดยการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชนครั้งนี้จะมีส่วนช่วยขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการไปสู่ความสำเร็จและลุล่วงตามวัตถุประสงค์ อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ  โดยการท่าเรือแห่งประเทศไทยกำหนดการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน  3 ครั้ง เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางร่วมลงทุนที่เหมาะสมที่สุด โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2561 ได้นำเสนอข้อมูล นโยบาย และแผนงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 และความเป็นไปได้ของโครงการ ซึ่งพบว่านักลงทุนและผู้สนใจจากภาคเอกชน ร้อยละ 95 เชื่อว่าท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 มีความต้องการใช้ระบบจัดการขนตู้สินค้าแบบกึ่งอัตโนมัติเข้ามาดำเนินการในช่วงแรก นอกจากนี้ ยังมีนักลงทุนและผู้สนใจจากภาคเอกชนที่แสดงความสนใจที่จะเข้ามาร่วมลงทุน ร้อยละ 92 และเห็นด้วยกับแผนแม่บทพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 ร้อยละ 93 ทั้งนี้ ร้อยละ 50 ของนักลงทุนและผู้สนใจจากภาคเอกชนให้ความสนใจที่จะร่วมลงทุนในท่าเรือสินค้า รองลงมา คือ ท่าเรืออเนกประสงค์ ร้อยละ 38 และท่าเรือขนส่งสินค้ายานยนต์ ร้อยละ 12

ส่วนครั้งนี้เป็นการรับฟังความคิดเห็นจากภาคเอกชน ครั้งที่ 2 มีเป้าหมายเกี่ยวกับรายละเอียดการพัฒนาโครงการ รูปแบบการให้เอกชนร่วมลงทุน โดยมีมูลค่าการลงทุนประมาณการระหว่าง 95,000 – 105,000 ล้านบาท (เป็นมูลค่าประมาณการเท่านั้น) และนำเสนอการจัดสรรหน้าที่และความรับผิดชอบสิทธิประโยชน์ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้น

สำหรับโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือ เพื่อรองรับความต้องการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นในอนาคต โดยโครงการมีความได้เปรียบทั้งทำเลที่ตั้ง และรูปแบบของการดำเนินงานที่เป็นศูนย์รวมและกระจายสินค้า ศูนย์แวะพักตู้สินค้า และภายใต้กรอบความร่วมมือต่าง ๆ ระหว่างประเทศระดับอนุภูมิภาคที่สามารถเอื้ออำนวยให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นประตูการค้าสู่กลุ่มประเทศ CLMV รวมทั้งจีนตอนใต้ จีนตะวันตก ญี่ปุ่นและอินเดียด้วย นอกจากนี้ โครงการยังเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของการคมนาคมขนส่ง กระจายสินค้า ตลอดจนส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภูมิภาคเอเชีย ซึ่งจะเป็นการเสริมศักยภาพการขนส่งทางน้ำของประเทศไทยให้ทัดเทียมกับนานาประเทศ โดยเมื่อก่อสร้างเสร็จจะช่วยเพิ่มความสามารถในการขนส่งตู้สินค้าจาก 11.1 ล้านทีอียูต่อปี เป็น 18.1 ล้านทีอียูต่อปี เพิ่มขีดความสามารถในการขนส่งรถยนต์จาก 2 ล้านค้นต่อปี เป็น 3 ล้านคันต่อปี เพิ่มสัดส่วนการขนส่งตู้สินค้าผ่านท่าโดยรถไฟทั้งหมดของท่าเรือแหลมฉบังจากร้อยละ 7 เป็นร้อยละ 30 ลดต้นทุนค่าขนส่งรวมของประเทศจาก ร้อยละ14 ของจีดีพี เหลือร้อยละ 12 ของจีดีพี ประหยัดเงินค่าขนส่งได้ถึง 250,000 ล้านบาท.-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง