fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์: ควรกินยาละลายลิ่มเลือดหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ?

วัคซีนโควิด-19 ที่มีความเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดอุดตันคือวัคซีนชนิด Viral Vector ไม่ใช่ชนิดวัคซีน mRNA หรือชนิดเชื้อตาย ไม่แนะนำให้กินยาละลายลิ่มเลือดด้วยตัวเอง เพราะอาจเสี่ยงเกิดภาวะเลือดออกตามอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งอันตรายถึงชีวิต

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สัญญาณ อาการ และการรักษาภาวะจอประสาทตาหลุดลอก

15 มีนาคม 2567 – จอประสาทตาหลุดลอกคืออะไร อาการเป็นอย่างไร และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย อาการจอประสาทตาหลุดลอก โรคจอตาหลุดลอก คือ ภาวะที่มีการลอกตัวของจอตาออกจากผนังด้านในของลูกตา เกิดจาก มีการฉีกขาดของจอตาทำให้น้ำในน้ำวุ้นตาไหลผ่านรอยฉีกหรือรูรั่วที่จอประสาทตาเข้าไปแทรกอยู่ระหว่างชั้นจอประสาทตา และผนังด้านหลังของตา นอกจากนี้ยังมีโรคจอประสาทตาลอกซึ่งเกิดจากโรคทางดวงตาอื่น ๆ เช่น การอักเสบอย่างรุนแรงหรือจอประสาทตาเสื่อมจากเบาหวาน  โรคจอประสาทตาเสื่อมประเภทนี้จะไม่มีรูรั่วที่จะประสาทตา การรักษาจึงต้องมุ่งไปที่สาเหตุของโรคเป็นสำคัญ วิธีสังเกตอาการ 1. เห็นเงาดำเป็นจุดหรือเห็นหยากไย่ที่เกิดขึ้นโดยทันที หรือหากเคยเห็นอยู่ก่อนแล้วจะเห็นเพิ่มมากขึ้น 2. มีฟ้าแล่บเกิดในลูกตา ทั้งขณะลืมตาหรือหลับตา 3. มีเงาคล้ายม่านดำมาบัง ทำให้สายตามัวและมืดลงในที่สุด เมื่อเกิดอาการดังกล่าว แม้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจจากจักษุแพทย์อย่างละเอียดทันที เพื่อตรวจดูว่ามีรอยฉีกขาดหรือลอกหลุดของจอประสาทตาหรือไม่ เพราะหากมีแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยอาจเกิดโรคจอประสาทตาลอกหลุดขั้นรุนแรงจนตาบอดได้ สัมภาษณ์เมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริง โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย :

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : CANCEL CULTURE ? — วัฒนธรรมบนโซเชียล ที่ส่งผลชั่วข้ามคืน

16 มีนาคม 2567 สิ่งนี้…เป็นวัฒนธรรมที่เกิดมากขึ้นในปัจจุบัน จนกลายเป็นเรื่องปกติในโซเชียลมีเดีย และสิ่งนี้… ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือแห่งอำนาจของบุคคลธรรมดาทั่วไปต่อบุคคลผู้มีชื่อเสียง คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ. ดร.สกุลศรี ศรีสารคาม อาจารย์ประจำภาควิชาวารสารสนเทศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 12 กุมภาพันธ์ 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปวดหลัง

17 มีนาคม 2567 อาการปวดหลัง มีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง ปวดหลัง ตอนอายุน้อย กับ อายุมาก ต่างกันอย่างไร แล้วแค่ปวดหลัง จะเป็นสัญญาณความเสี่ยง หรือ ลุกลามรุนแรงได้หรือไม่ ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ แพทย์หญิงวริสา วงศ์ภาณุวิชญ์ นายแพทย์ชำนาญการ กลุ่มงานประสาทศัลยศาสตร์ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ อาการปวดหลัง มีสาเหตุมาจากอะไร ? 1.การปวดหลังจากกล้ามเนื้ออักเสบ เส้นเอ็นฉีก ส่วนใหญ่เป็นอาการที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการแบกของหนัก 2.ปวดหลังจากโครงสร้าง สาเหตุเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลังอักเสบ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หรือจากสาเหตุอื่น ๆ อาการปวดหลัง สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นวัยเรียน วัยทำงาน หรือวัยสูงอายุ ซึ่งบางคนอาจไม่ได้มีอาการปวดรุนแรงมากนัก เมื่อเวลาผ่านไปสามารถหายเองหรือบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นได้ด้วยตัวเองจากการรับประทานยาและท่าบริหารยืดกล้ามเนื้อส่วนหลัง แต่ในผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการปวดรุนแรงเป็นระยะเวลานานจนเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งอาการปวดหลังในลักษณะนี้มีความจำเป็นที่ต้องไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและการรักษาที่ถูกต้อง สัมภาษณ์เมื่อ : 8 มีนาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์: “น้ำส้มสายชูหมัก” ลดลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ?

ปัจจุบันไม่ยังพบวิธีป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 การอ้างว่าดื่มน้ำส้มสายชูหมักช่วยลดความเสี่ยงการเกิดลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนโควิด-19 จึงไม่เป็นความจริง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จักภาวะจอประสาทตาหลุดลอก

14 มีนาคม 2567 – จอประสาทตาหลุดลอกคืออะไร เกิดได้จากสาเหตุใด อันตรายแค่ไหน และใครที่มีความเสี่ยงจะเกิดภาวะนี้ได้บ้าง ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ภาวะจอประสาทตาหลุดลอก คืออะไร ? คือ ภาวะที่จอตาหลุดลอกออกจากผนังลูกตาด้านหลัง ซึ่งเป็นชั้นของหลอดเลือดที่มาเลี้ยงจอตา ทำให้จอตาบริเวณนั้นขาดสารอาหารและออกซิเจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เมื่อเส้นเลือดในดวงตาผิดปกติ การมองเห็นแย่ลง หรือเห็นเหมือนสายฟ้าแล่บ มีความอันตรายอย่างไร ? หากปล่อยทิ้งไว้นานเซลล์ประสาทอาจจะเสื่อมและตายจากการขาดเลือด จอตาบริเวณดังกล่าวอาจจะสูญเสียการทำงานอย่างถาวร ผู้ที่มีความเสี่ยงจอประสาทตาหลุดลอก สัมภาษณ์เมื่อ : 27 กุมภาพันธ์ 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดวิธีบำรุงสมอง จริงหรือ ?

13 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับวิธีบำรุงสมองเอาไว้มากมาย ทั้งนอนห้อยหัว แลบลิ้น ช่วยป้องกันสมองเสื่อม และการดื่มกาแฟ ดื่มโกโก้ จะทำให้สมองดีขึ้นได้ ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : ดื่มโกโก้ช่วยบำรุงสมอง จริงหรือ ? มีการแชร์ข้อความบอกว่าวิธีบำรุงสมองและความจำด้วยการรับประทานโกโก้ทุกวันนั้น ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ :  ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น อาจารย์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร ม.เกษตรศาสตร์ ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ราชบัณฑิต แพทย์ผู้เชี่ยวชาญประสาทวิทยา บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ การกินโกโก้จะได้ประโยชน์สูงสุด ไม่ควรผสมนม ศ.นพ.นิพนธ์ พวงวรินทร์ ซึ่งเป็นผู้แนะนำให้ดื่มโกโก้ร้อนเพื่อบำรุงสมอง ระบุงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษรองรับว่าการดื่มโกโก้วันละ 2 ช้อนโต๊ะ หรือ 1,000 มิลลิกรัม วันละครั้งทุกวันจะช่วยบำรุงสมอง จากการทดลองต้วยตนเองพบว่าเซลล์สมองทำงานดีขึ้น ไม่ซึมเศร้า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ผลส่องกล้องพบเลือดเป็นลิ่มอย่างรวดเร็วหลังผสมวัคซีน Pfizer จริงหรือ?

เลือดจะแข็งตัวอย่างรวดเร็วเมื่อกระทบกับอากาศ การแข็งตัวของเลือดไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อย่างใด

ชัวร์ก่อนแชร์ ผนึกเอกชน ร่วมแบ่งปันรับมือผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในไทย

ชัวร์ก่อนแชร์ ผนึกเอกชนร่วมแบ่งปันรับมือผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในไทย ที่มีแนวโน้มพุ่งเกือบ 3 เท่าใน 25 ปีข้างหน้า ย้ำเท่าทันสื่อเป็นภูมิคุ้มกันสำคัญของสังคมไทย

ชัวร์ก่อนแชร์ MotorCheck FACTSHEET : แบตเตอรี่ลิเทียมในรถยนต์ไฟฟ้า

12 มีนาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์ข้อสงสัยเกี่ยวกับแบตเตอรี่ลิเทียมในรถยนต์ไฟฟ้าว่า ถูกนำมาใช้อย่างไร แต่ละยี่ห้อใช้แตกต่างกันหรือไม่ และมีวิธีดูแลรักษาอย่างไรนั้น  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.สุมิตรา จรสโรจน์กุล ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (ENTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ปัจจุบันแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเป็นแบตเตอรี่ที่นิยมนำมาใช้สำหรับให้พลังงานรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งแบตเตอรี่ชนิดนี้ก็คือชนิดเดียวกันที่อยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ ข้อดีของแบตเตอรี่ลิเทียม คือ สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดีรวมถึงมีอัตราการคายประจุในระหว่างการจัดเก็บรักษาต่ำ ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญและคุ้มค่ามากสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า อีกทั้งด้วยน้ำหนักที่น้อยและให้พลังงานได้มากทำให้สามารถที่จะชาร์จครั้งเดียวแล้วเดินทางไปได้ไกลหลายกิโลเมตร ติดตามเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่นี่ 👇 สัมภาษณ์เมื่อ : 31 มกราคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ : ห้ามใช้หูฟังบลูทูทใกล้รางรถไฟ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์คลิป พร้อมข้อความเตือน ห้ามใช้หูฟังบลูทูทใกล้รางรถไฟ นั้น บทสรุป : ไม่จริง ❌ ไม่ควรแชร์ต่อเหตุการณ์ในคลิป เป็นอุบัติเหตุไฟฟ้าช็อตที่ประเทศอินเดียไม่มีหลักฐานหรือการรายงานว่าเกี่ยวกับหูฟังบลูทูท ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เหตุการณ์ในคลิป มีการรายงานโดยหลายสื่อในประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 ว่าเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ตรวจตั๋วรถไฟ โดยมีสายไฟตกมาพาดโดนศีรษะ ก่อนจะเกิดประกายไฟ และทำให้เขาล้มตกไปที่รางรถไฟ เหตุการณ์ในคลิป เกิดขึ้นที่ สถานีรถไฟขรรคปุระ รัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย โดยสำนักข่าว India Today รายงานบทสัมภาษณ์ของ Mohammad Sujat Hashmi ผู้จัดการการรถไฟในท้องถิ่น กล่าวว่า “เราไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่มีสายไฟตกแต่งบางส่วนที่หล่นลงมา ทำให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าวขึ้น” ซึ่งในรายงานไม่ได้กล่าวถึงอุปกรณ์หูฟังบลูทูทแต่อย่างใด สำนักข่าวรอยเตอร์ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง และเผยแพร่เมื่อ 17 มกราคม 2566 ยังระบุรายงานถ้อยคำของตัวแทนคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันรังสีที่ไม่ก่อให้เกิดไอออน (ICNIRP) ว่า ยังไม่พบรายงานว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของอุปกรณ์บลูทูท (RF EMFs) สามารถรบกวนสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากรถไฟ (EMFs) ได้ และทั้งสองต่างอยู่ภายใต้เกณฑ์ที่ปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: เลือดผู้ฉีดวัคซีนโควิด แข็งตัวในหลอดทดลองใน 3 นาที จริงหรือ?

หลอดในภาพที่แชร์คือหลอดแยกซีรั่ม ซึ่งมีสารกระตุ้นการแข็งตัวของเลือด ทำให้เลือดแข็งตัวภายใน 5-10 นาที

1 2 3 233
...