fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคลัมปีสกิน ในโค-กระบือ

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่าในประเทศไทยมีการพบโรคลัมปีสกิน ในโค-กระบือ โรคนี้เป็นอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.น.สพ.ดร.กิตติศักดิ์ อัจฉริยะขจร อาจารย์ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศว่าประเทศไทยพบโรคอุบัติใหม่ ชื่อ“ลัมปีสกิน” เกิดจากเชื้อไวรัส Lumpy skin disease virus ที่อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด และรายงานอย่างเป็นทางการปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 หากพบสัตว์แสดงอาการป่วยหรือตายผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ อาสาปศุสัตว์ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในพื้นที่ หรือผ่านทาง Application DLD 4.0 หรือโทรศัพท์สายด่วน 06 3225 6888 “ลัมปีสกิน” คือโรคอะไร ? “ลัมปีสกิน” เป็นโรคติดเชื้อในกลุ่มสัตว์เคี้ยวเอื้อง โค (วัว) กระบือ (ควาย) และสัตว์ป่าบางชนิด เกิดจากเชื้อไวรัส Lumpy skin disease virus (LSD) […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : Statin ยาลดคอเลสเตอรอล ก่ออันตราย จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์บทความที่อ้างผลงานแพทย์คนหนึ่งที่ประเทศอังกฤษ เกี่ยวกับ “ความจริง” ของคอเลสเตอรอล รวมทั้งบอกว่าไม่ต้องกังวลหากคอเลสเตอรอลสูง ขณะที่ยา Statin ที่หมอจ่ายให้ผู้ป่วยกินเพื่อลดคอเลสเตอรอล อันตรายและไม่จำเป็น 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์พิเศษ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.) บทความที่ว่านี้อ้างอิงจากแพทย์คนหนึ่ง พยายามจะสื่อสารตรงกันข้ามกับที่แพทย์ส่วนใหญ่ปฏิบัติอยู่ เช่น บอกว่า “ไขมันสูง ไม่เชิงเป็นอะไรหรอก…” หรือ “ถ้ามัวไปกินยา อาจจะเกิดผลเสียด้วยนะ..” ตรงนี้ต้องขอแก้ไข การที่แพทย์ได้ตัดสินใจให้ประชาชนคนหนึ่งใช้ยาลดไขมัน (ยาลดไขมันมีหลายชนิด เรียกว่ายากลุ่ม “สแตติน” ประชาชนอาจจะรู้จักในชื่อว่า “ซิมวาสแตติน” “อะทอร์วาสแตติน” เป็นต้น) ซึ่งเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ หมายความว่า ผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศพร้อมใจกันเห็นว่ายานี้เป็นยาจำเป็น ยา “สแตติน” อันตราย ? ข้อความที่แชร์บอกว่า “ใช้แล้วจะมีอันตราย ก. ข. ค. ง.” ซึ่งเป็นเรื่องปกติของยาทั้งหลาย เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ใช้ยาเบาหวาน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สมองฝ่อ

บนสื่อสังคมออนไลน์มีหลายข้อสงสัยเกี่ยวกับภาวะสมองฝ่อ สมองฝ่อคืออะไร เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง และจะสามารถรักษาได้หรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ นพ.เจษฎา เขียวขจี นายแพทย์ปฏิบัติการโรคสมองและระบบประสาทไขสันหลัง สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข “สมองฝ่อ” คือการเสื่อมของอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย อาจจะมีอวัยวะส่วนอื่นเสื่อมถอย ลำไส้ทำงานแย่ลง ปอดแย่ลง สมองก็คืออวัยวะที่จะพบเหตุการณ์แบบนั้นได้เหมือนกัน ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสมองฝ่อขึ้นกับตำแหน่งที่เกิด แต่ที่พบบ่อยสุดคือ “กลุ่มอัลไซเมอร์” มีการฝ่อของสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความคิด ความจำ จะทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาเรื่องหลงลืมง่าย ถ้ามีการเสื่อมที่สมองส่วนอื่น ๆ เช่น สมองส่วนหน้า อาจจะมีปัญหาเรื่องทักษะด้านความคิด ความจำ การวางแผน การทำงานต่าง ๆ เคยทำอะไรได้บางอย่างแล้วเหมือนกับทำต่อไม่ได้แล้ว สมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น จะทำให้มีปัญหาเรื่องหลงทางในพื้นที่ที่คุ้นเคยประจำ ส่วนอื่นก็มีบ้าง เช่น สมองเกี่ยวกับการใช้ภาษา ถ้ามีการฝ่อจะทำให้ผู้ป่วยนึกคำพูดนานขึ้น หรือพูดคุยแล้วผู้ป่วยฟังไม่เข้าใจ หรือฟังสิ่งที่ผู้ป่วยพูดไม่เข้าใจ เป็นต้น ช่วงอายุการเกิดสมองฝ่อแต่ละคนจะแตกต่างกัน ? บางคนสมองฝ่อเร็ว บางคนฝ่อช้า ในบางคนอายุ 70-80 ปี สมองอาจจะยังไม่ฝ่อมาก สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่บางคนถ้ามีกลุ่มรอยโรค หรือมีความผิดปกติที่ทำให้สมองเสื่อมเร็วขึ้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การป้องกันปัจจัยเสี่ยงโรคพาร์กินสัน

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อโรคพาร์กินสันได้มีอะไรบ้าง และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โรคพาร์กินสันมีสาเหตุที่หลากหลาย เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มารวมกันพอเหมาะพอดี เวลามอง “ปัจจัยเสี่ยง” มีปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขได้ กับปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขไม่ได้ ปัจจัยเสี่ยงแก้ไขไม่ได้ คือ อายุที่เพิ่มมากขึ้น ปัจจัยเสี่ยงแก้ไขได้ ยกตัวอย่างที่เห็นชัด ๆ ก็คือ สารพิษฆ่าแมลง (ยาฆ่าแมลง) และสารพิษปราบศัตรูพืช (ยาปราบศัตรูพืช) นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงเล็ก ๆ อีกหลายอย่าง เช่น มลภาวะ สิ่งแวดล้อม สามารถป้องกันได้ แก้ไขได้ การป้องกันโรคพาร์กินสัน คนกลุ่มแรกที่เป็นห่วงคือกลุ่มคนที่ทำงานกับการใช้สารพิษฆ่าแมลง การรับสารพิษฆ่าแมลง สารพิษปราบศัตรูพืช หลัก ๆ ทำให้เซลล์ที่ผลิตสารโดพามีนเสื่อมลง ตายลง เมื่อสารโดพามีนลดลง ผู้ป่วยจะมีปัญหาหลักเรื่องอาการสั่น เคลื่อนไหวช้า เกร็ง และเดินลำบาก ดังนั้นคนที่ใช้สารพิษฆ่าแมลงต้องป้องกันเป็นพิเศษ 1. ทำงานเกี่ยวข้องกับสารพิษฆ่าแมลง สารพิษปราบศัตรูพืชโดยตรง สิ่งที่แนะนำคือเรื่องของการใส่อุปกรณ์ป้องกัน ให้มองถึงโอกาสที่จะรับสารพิษต่าง ๆ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปัจจัยเสี่ยงโรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสันเกิดจากสาเหตุใด ปัจจัยเสี่ยงคืออะไร การเกิดโรคมีอะไรบ้าง 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กลไกการเกิดโรคของร่างกายในทุก ๆ โรค มีทั้งปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยป้องกัน เมื่อเกิดโรคได้เพราะปัจจัยต่าง ๆ เสียสมดุล โดยที่ปัจจัยเสี่ยงมากกว่า สำหรับโรคพาร์กินสันเวลามองปัจจัยเสี่ยง จะต้องมองอย่างรอบด้านว่าอะไรคือปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขได้ และอะไรคือปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขไม่ได้ ปัจจัยเสี่ยง “แก้ไขไม่ได้” ปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขไม่ได้ คือ อายุที่เพิ่มมากขึ้น ตามสถิติข้อมูลผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่เก็บในประเทศไทย อายุเกิน 60 ปี 1 เปอร์เซ็นต์ อายุเกิน 80 ปี 3 เปอร์เซ็นต์ อายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 63 ปี นี่คือสิ่งที่แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว ปัจจัยเสี่ยง “แก้ไขได้” สำหรับปัจจัยเสี่ยงโรคพาร์กินสันที่แก้ไขได้ ยกตัวอย่างที่เห็นชัด ๆ ก็คือ 1. เรื่องของสารพิษฆ่าแมลง (ยาฆ่าแมลง) และสารพิษปราบศัตรูพืช (ยาปราบศัตรูพืช) เป็นปัจจัยภายนอก ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง เป็นสิ่งที่ป้องกันและแก้ไขได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : อาการและการรักษาโรคพาร์กินสัน

บนสื่อสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับสัญญาณของโรคพาร์กินสัน มีอาการอะไรบ้าง และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.รุ่งโรจน์ พิทยศิริ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคพาร์กินสันและกลุ่มโรคความเคลื่อนไหวผิดปกติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “พาร์กินสัน” เป็นโรคที่มีการเสื่อมของระบบประสาท เริ่มต้นที่ศูนย์ควบคุมการเคลื่อนไหว ส่วนใหญ่อยู่ที่บริเวณก้านสมอง ทำให้การผลิตสารสื่อประสาทสำคัญ ที่เรียกว่า “โดพามีน” ลดลง ผู้ป่วยจะมีอาการ ดังนี้ 1. อาการสั่น (Tremor) 2. อาการแข็งเกร็ง (Rigidity 3. อาการเคลื่อนไหวช้า (Bradykinesia) หรือเคลื่อนไหวน้อย (Hypokinesia) 4. เดินลำบาก มีการทรงตัวที่ไม่มั่นคง (Postural instability) ถือว่าเป็น 4 อาการหลักทางด้านการเคลื่อนไหว จริง ๆ มีอาการที่ไม่ใช่การเคลื่อนไหวอีกหลายอาการเตือนก่อนที่จะมีอาการพาร์กินสันก็มีมากมายเช่นเดียวกัน สัญญาณอาการเตือนโรคพาร์กินสัน มีอะไรบ้าง อาการเตือนหลัก ๆ มีดังนี้ 1. การนอนละเมอ 2. ท้องผูก 3. ดมกลิ่นไม่ได้ 4. ภาวะซึมเศร้า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาแฉะ

ตาแฉะเกิดจากสาเหตุใด เป็นสัญญาณของโรคทางตาหรือไม่ และจะต้องดูแลอย่างไร 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “ตาแฉะ” ภาวะที่คนเรารู้สึกว่ามีน้ำออกมาจากดวงตา จริง ๆ แล้วก็คือ “ขี้ตา” นั่นเอง ปกติ “สี” หรือลักษณะขี้ตา อาจจะบอกถึงโรคหรือสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะตาแฉะได้ 1.ตาแฉะ : ติดเชื้อไวรัส มีอาการระคายเคืองบริเวณดวงตา และไวรัสที่บริเวณเยื่อบุตาขาวทำให้เกิดการอักเสบและมีน้ำตาใส ๆ ออกมาค่อนข้างมาก 2.ตาแฉะ : ติดเชื้อแบคทีเรีย คนที่ตาแฉะและมีขี้ตาสีเขียว เหลือง หรือขาวข้น เป็นลักษณะที่บอกถึงการติดเชื้อแบคทีเรีย ภาวะติดเชื้อบริเวณเยื่อบุตาหรือตาแดง ไม่ว่าจะเป็นจากเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย เกิดจากการสัมผัสโดยตรงจากการที่ถูกน้ำตาหรือตาของผู้ป่วยมาก่อน การใช้ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัวร่วมกัน ก็ทำให้เกิดการติดเชื้อ นอกจากนี้ ในคนที่เป็นหวัดจากเชื้อไวรัส มีน้ำมูกใส หรือในคนที่เป็นหวัดมีน้ำมูกเขียวหรือเหลือง และเชื้อติดบริเวณดวงตาของตัวเอง จะทำให้เยื่อบุตาอักเสบไปพร้อม ๆ กับโรคหวัดได้ 3.ตาแฉะ : ภูมิแพ้ขึ้นตา คนที่มีภูมิแพ้ขึ้นตา น้ำตาหรือขี้ตาที่ออกมาจะเป็นลักษณะเหนียวใส ๆ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : 5 ข้อควรรู้ ก่อนกินทุเรียน จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์คลิป 5 ข้อควรรู้ก่อนกินทุเรียน เช่น ทุเรียนมีน้ำตาลสูง พลังงานสูง หากกินอย่างไม่เหมาะสม อาจจะทำให้เสียชีวิตได้ 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.รัชนี คงคาฉุยฉาย อาจารย์สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยทั่วไป สิ่งที่แชร์กันถูกต้องตามหลักวิชาการ (ไม่ 100 เปอร์เซ็นต์) แต่เห็นประโยชน์จากการกินทุเรียนให้ถูกวิธี กินให้พอเหมาะ ไม่ใช่เห็นประโยชน์แล้วตั้งหน้าตั้งตากินแต่ทุเรียน จะเกิดผลเสียต่อร่างกาย และดูคลิปต้องใช้สติ เพื่อการกินทุเรียนอย่างมีสติด้วย ข้อ 1 ทุเรียน : ผลไม้มีแคลอรีสูง ? เนื้อทุเรียน 100 กรัม มีแคลอรีสูงสุดประมาณ 180-190 กิโลแคลอรี ทุเรียน 100 กรัม ปริมาณเท่ากับ 2 เม็ด มีหลายครั้งที่คนกินทุเรียนเผลอกินไปเรื่อย ๆ มากกว่า 2 เม็ด กินทุเรียนได้แคลอรีจำนวนมากแล้ว แต่ยังได้แคลอรีจากอาหารมื้อหลักอีก เมื่อกินเข้าไปก็สะสมในร่างกาย ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-Communicable Diseases : […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนคือสาเหตุของโรคออทิสติก จริงหรือ?

สาเหตุที่พบเด็กป่วยเป็นโรคออทิสติกมากขึ้น เพราะปัจจัยเสี่ยงเพิ่มขึ้นและการคัดกรองละเอียดกว่าในอดีต ไม่พบหลักฐานว่าการใช้สารกันเสียในวัคซีนทำให้เสี่ยงเป็นโรคออทิสติกและยังไม่มีหลักฐานถึงความสัมพันธ์ระหว่างวัคซีนกับโรคออทิสติก

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด-19 ทำให้หนูคลอดลูกเป็นออทิสติก จริงหรือ?

เป็นการวิจัยในหนูทดลอง ผู้วิจัยย้ำว่าไม่อาจนำผลมาเปรียบเทียบกับการฉีดวัคซีนในมนุษย์ได้ และยังเป็นการวิจัยที่มีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ให้ปริมาณวัคซีนกับหนูทดลองเท่ากับปริมาณที่ใช้กับมนุษย์

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต วิธีแก้ปวดหัว ไมเกรน จริงหรือ ?

10 เมษายน 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์เกี่ยวกับสารพัดวิธีแก้ปวดหัว ทั้งการนวด การอุดรูจมูกที่เชื่อว่าช่วยบรรเทาอาการ อีกทั้งการดื่มกาแฟดำ น้ำผึ้ง มะนาว แก้ปวดหัวไมเกรนได้ มีเรื่องอะไรกันบ้าง ไปติดตามกันเลย อันดับที่ 1 : กาแฟใส่มะนาวแก้ปวดหัวไมเกรน จริงหรือ ? ตามที่มีการแชร์คลิปแนะนำการนวด แก้ปวดหัวทุกอาการได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นิเวศน์ บวรกุลวัฒน์ แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก “ในบางคน การดื่มกาแฟอาจช่วยบรรเทาไมเกรนได้ อย่างไรก็ตาม หากเราใส่มะนาวเพิ่มเข้าไป มะนาวอาจกระตุ้นให้ปวดหัวมากกว่าเดิมจึงไม่ควรทำตาม” อันดับที่ 2 : คลิปแนะนำการนวด แก้ปวดหัวทุกอาการ จริงหรือ ? ตามที่มีการแชร์คลิปแนะนำการนวด แก้ปวดหัวทุกอาการได้นั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นิเวศน์ บวรกุลวัฒน์ แพทย์แผนไทยปฏิบัติการ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก “การนวดคลึงบริเวณหูอย่างในคลิปที่แชร์กันนั้น สามารถช่วยแก้อาการหู้อื้อ ลมออกหู หรือได้ยินไม่ค่อยชัดได้ แต่ไม่ได้ช่วยแก้ปวดหัวอย่างที่แชร์กัน” อันดับที่ 3 : คลิปนวดแก้ตาพร่ามัว ไมเกรน ใช้ได้ จริงหรือ ? ตามที่มีการแชร์คลิปแนะนำวิธีนวดแก้ตาพร่ามัวและไมเกรนได้นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : นพ.ขวัญชัย วิศิษฐานนท์ ผอ.สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : เลือกใช้ ดูแล แบตเตอรี่ 12 โวลต์รถยนต์

9 เมษายน 2567 – ตามที่การแชร์ข้อสงสัยเกี่ยวกับแบตเตอรี่ 12 โวลต์ของรถยนต์ว่า ต้องเลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม มีวิธีการดูแลและตรวจเช็กความผิดปกติที่ถูกต้องอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 11 มีนาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

1 2 3 4 5 240
...