ชัวร์ก่อนแชร์ : ดื่มกาแฟส้มเป็นประจำ เสี่ยงไขมันพอกตับ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์เตือนว่า การดื่มกาแฟส้มทุกเช้า อาจทำให้เสี่ยงเป็นไขมันพอกตับได้โดยไม่รู้ตัว ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ดร.วนะพร ทองโฉม นักสุขศึกษา (นักกำหนดอาหารวิชาชีพ) งานสร้างเสริมสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง “ดื่มกาแฟส้มเป็นประจำ เสี่ยงไขมันพอกตับ” มีส่วนจริง ไขมันพอกตับเกิดจากร่างกายได้รับพลังงานจากอาหารที่มากเกินไป และเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในตับ ไม่ว่าจะเป็นกาแฟส้มหรือเครื่องดื่มชนิดอื่น ๆ ที่มีน้ำตาลปริมาณมากก็เป็นเหตุทำให้มีไขมันพอกตับที่มากขึ้นได้ “กาแฟส้มเสี่ยงไขมันพอกตับ” สาเหตุไม่ได้เกี่ยวกับกาแฟที่ใส่ “กาแฟ” ไม่ได้มีส่วนทำให้ไขมันพอกตับ องค์ประกอบที่ใส่ในกาแฟส้มต่างหาก ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาล น้ำผลไม้ หรือน้ำหวานต่าง ๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดไขมันพอกตับและตับอักเสบขึ้นได้ องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้บริโภคน้ำตาลไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา หรือประมาณ 24 กรัม เท่านั้น “น้ำตาล” เป็นคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยน้ำตาล 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี แต่คนไทยบริโภคน้ำตาลสูงถึง 25 ช้อนชาต่อวัน (ประมาณ 100 กรัมต่อวัน) […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เดินขึ้น-ลง บันไดบ่อย ๆ ทำให้เข่าเสื่อมเร็ว จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เตือนว่า การเดินขึ้น-ลงบันไดบ่อย ๆ จะส่งผลทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วได้ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศ.ดร.กภ.ประวิตร เจนวรรธนะกุล นักกายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ นายกสภากายภาพบำบัด การเดินขึ้น-ลงบันได ทำให้ข้อเข่าเสื่อม มีทั้ง “จริง” และ “ไม่จริง” ขึ้นกับหลายปัจจัย หน้าที่ของ “ข้อเข่า” มีความสัมพันธ์กับการเดิน วิ่ง และขึ้นบันได ดังนี้ ข้อเข่าของคนเราเป็น “ข้อต่อ” ที่ถูกออกแบบให้มารับน้ำหนัก ขณะ “เดิน” จะมีแรงกดลงไปที่ข้อเข่า เรียกว่า “แรงสะเทือนเข่า” ขณะ “วิ่ง” แรงสะเทือนเข่าจะมากถึง 3 เท่า ของเวลาเดิน ขณะที่เดิน “ขึ้น-ลง บันได” แรงสะเทือนเข่าจะมากเป็น 2 เท่า ของเวลาเดิน ดังนั้น ใครก็ตาม ที่ไปวิ่งบ่อย ๆ ด้วยท่าทางไม่ถูกต้องและการเตรียมสภาพร่างกายไม่ดีพอ หรือบางคนเดินขึ้น-ลงบันไดวันละหลายรอบ ก็จะมีแรงสะเทือนที่ข้อเข่ามากกว่าการเดินบนพื้นราบ ข้อเข่า “เสื่อม” […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สาเหตุการใส่แว่นแล้วเวียนหัว

ใส่แว่นใหม่แล้วเวียนหัว เกิดจากสาเหตุใด อันตรายหรือไม่ และควรปฏิบัติอย่างไร ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย การใส่แว่นแล้วมีอาการเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ มองเห็นภาพไม่ชัด เกิดจากหลายสาเหตุ ที่พบบ่อย ๆ เช่น 1. เลนส์แว่นตาไม่พอดีกับค่าสายตา ทำให้ต้องเพ่งตา หรือปรับการทำงานของดวงตา เพื่อรับภาพจากเลนส์แว่นตา กรณีของเด็ก พบว่าเด็กมีความสามารถในการเพ่งสายตาค่อนข้างสูง ได้รับการตรวจวัดสายตากับจักษุแพทย์และหยอดยาเพื่อคลายการเพ่งขณะตรวจ จะได้ค่าสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง ที่ถูกต้องแท้จริง สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี ถ้าไม่ได้รับการวัดสายตาที่ถูกต้องกับจักษุแพทย์ เด็กจะได้ค่าสายตามีความสั้นมากกว่าปกติ ทางการแพทย์เรียกว่า “ค่าสายตาสั้นเทียม” (Pseudomyopia) เมื่อเด็กได้รับแว่นที่ไม่ได้รับการตรวจวัดค่าสายตาอย่างถูกต้อง ค่าสายตาผิดไปจากความเป็นจริง จะทำให้เด็กมีอาการมึนศีรษะ เวียนศีรษะ หรืออาจจะปวดศีรษะได้    2. ค่าพารามิเตอร์ (Frame Parameter) ของแว่นไม่ตรงกับสภาพตาของคนที่สวมใส่ ได้แก่ ความโค้งหน้าแว่น (faceform angle,Wrap angle) มุมเทหน้าแว่นขณะสวมใส่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ภาพผาน้ำแข็งยักษ์ล้อมโลกจากดาวเทียม Starlink จริงหรือ?

06 พฤษภาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการสนับสนุนทฤษฎีโลกแบนเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยอ้างว่ามีการเผยแพร่ภาพถ่ายจากดาวเทียม Starlink จากบริษัท SpaceX ที่แสดงให้เป็นว่าทวีปต่าง ๆ ของโลกถูกห้อมล้อมด้วยน้ำทะเล และด้านนอกของมหาสมุทรคือกำแพงน้ำแข็งยักษ์ที่รู้จักในชื่อทวีปแอนตาร์กติกา และมีการแชร์คลิปวิดีโอที่อ้างว่า เป็นการสำรวจกำแพงน้ำแข็งยักษ์ที่อยู่ขอบโลก โดยอ้างว่าเป็นพื้นที่ที่มีเส้นรอบวงเกือบ 100,000 กิโลเมตร มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 200 ฟุต และเป็นพื้นที่ที่มีเรือรบของกองทัพเรือสหราชอาณาจักรลาดตระเวนเพื่อป้องกันการข้ามพ้นขอบโลกอยู่ตลอดเวลาอีกด้วย บทสรุป : 1.ดาวเทียม Starlink อยู่สูงจากพื้นโลกแค่ 550 กิโลเมตร ไม่มีทางถ่ายภาพโลกได้ทั้งหมด ไม่ว่ากลมหรือแบน2.ผาน้ำแข็งยักษ์ในคลิปวิดีโอคือผาน้ำแข็งส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกา FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี การตรวจสอบโดย Fact Checker พบความผิดปกติในข้ออ้างหลายประการ ภาพจากดาวเทียม Starlink ไม่สูงพอจะจับภาพโลกทั้งใบได้ วงโคจรของดาวเทียมแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามระดับความสูง ได้แก่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: กำแพงน้ำแข็งยักษ์กั้นมหาสมุทรไม่ให้ไหลออกนอกโลก จริงหรือ?

05 พฤษภาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับทฤษฎีโลกแบนเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยอ้างว่าสัณฐานของโลกมีลักษณะแบน โดยมีน้ำทะเลล้อมรอบทวีปต่าง ๆ ที่อยู่เหนือกว่าระดับน้ำทะเล และสิ่งที่ล้อมรอบมหาสมุทรอีกทีก็คือกำแพงน้ำแข็งขนาดยักษ์ที่รู้จักในชื่อทวีปแอนตาร์กติกา บทสรุป : 1.สิ่งที่ดึงน้ำในมหาสมุทรเอาไว้บนผิวโลก ก็คือแรงที่เรียกว่าแรงโน้มถ่วง (Gravity) ของโลกนั่นเอง2.แรงโน้มถ่วง ยังเป็นสาเหตุให้โลกมีสัณฐานเป็นทรงกลม จากการดึงดูดสรรพสิ่งไปยังศูนย์กลางของโลก3.ระดับน้ำทะเลในแต่ละที่ของโลกยังมีความแตกต่างกันเพราะแรงโน้มถ่วงที่ต่างกันอีกด้วย FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ยืนยันว่า สัณฐานของโลกไม่ได้มีรูปทรงแบนหรือมีลักษณะเป็นชามตามที่กล่าวอ้าง โดยสิ่งที่ดึงน้ำในมหาสมุทรเอาไว้บนผิวโลก ก็คือแรงที่เรียกว่าแรงโน้มถ่วง (Gravity) ของโลกนั่นเอง แรงโน้มถ่วง ยังเป็นสาเหตุให้โลกมีสัณฐานเป็นทรงกลม จากการดึงดูดสรรพสิ่งไปยังศูนย์กลางของโลก นอกจากนี้ ไม่ใช่พื้นดินทุกส่วนบนโลกจะอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลตามที่กล่าวอ้าง ประเทศเนเธอร์แลนด์มีพื้นที่ 26% ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล โดยจุดต่ำที่สุดอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลถึง 7 เมตร ยิ่งไปกว่านั้น ระดับน้ำทะเลในแต่ละที่ของโลกยังมีความแตกต่างกันเพราะแรงโน้มถ่วงที่ต่างกันอีกด้วย ระดับน้ำทะเลแต่ละแห่งของโลกมีความแตกต่างกัน เพราะโลกไม่ได้มีสัณฐานเป็นทรงกลมสมบูรณ์ ความแตกต่างของพื้นผิวของโลกในแต่ละแห่ง ส่งผลให้แรงโน้มถ่วงของโลกที่ไม่เท่ากัน (Gravity […]

‘ฟิชชิงและคลิกเบต’ ไม่ใช่แค่น่ารำคาญแต่ยังเสียดทานเสรีภาพสื่อ | ชัวร์ก่อนแชร์

เมื่อคลิกเบตกลายเป็นเครื่องมือฟิชชิ่ง ภัยเงียบที่บ่อนทำลายเสรีภาพสื่อในยุคดิจิทัล ?วันที่ 3 พฤษภาคมของทุกปี สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติประกาศให้เป็น “วันเสรีภาพสื่อมวลชนโลก” เพื่อส่งเสริมบทบาทของสื่อที่เสรี มีจริยธรรม และรับผิดชอบต่อสังคม พร้อมย้ำเตือนรัฐบาลให้เคารพสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกตามข้อ 19 แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนในยุคที่ข้อมูลหลั่งไหลผ่านหน้าจอเพียงปลายนิ้ว การคงไว้ซึ่ง “เสรีภาพของสื่อ” ต้องเดินคู่กับ “ความตระหนักรู้ของผู้รับสาร” เพราะภัยอย่างฟิชชิงอาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในระบบสื่อโดยรวมได้ ฟิชชิง (Phishing) คืออะไร ?ฟิชชิง (Phishing) คือรูปแบบหนึ่งของการหลอกลวงทางออนไลน์ โดยมักใช้อีเมล ข้อความ หรือหน้าเว็บไซต์ปลอม เพื่อให้ผู้ใช้หลงเชื่อและเปิดเผยข้อมูลสำคัญ เช่น ชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ โดยไม่รู้ตัวคำว่า “Phishing” มีที่มาจากคำว่า “Fishing” ซึ่งหมายถึงการตกปลา เปรียบได้กับการที่อาชญากรไซเบอร์โยนเหยื่อล่อ เช่น ลิงก์ปลอมหรือข้อความเร่งด่วน เพื่อให้เหยื่อหลงคลิกและตกเป็นเป้าหมายของการโจมตีข้อมูลจาก พันตำรวจเอก มรกต แสงสระคู ผู้กำกับการ 2 กองบังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 3 กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พบว่า มีความพยายามโจมตีแบบฟิชชิงมากถึง 11 ล้านรายการต่อปี และฟิชชิงยังถูกจัดอยู่ใน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : “แอนแทรกซ์” โรคติดต่อร้ายแรงในสัตว์กินหญ้าสู่คน

จากกรณีพบผู้เสียชีวิตด้วยโรคแอนแทรกซ์ 1 ราย ในจังหวัดมุกดาหาร ปัจจัยเสี่ยงมาจากการชําแหละโคในงานบุญผ้าป่า และนำแจกจ่ายกินกันภายในหมู่บ้าน พบผู้สัมผัสเนื้อโคที่ชําแหละจำนวน 247 คน (ผู้ที่ชำแหละโค 28 คน และผู้ที่กินเนื้อโคดิบ 219 คน) “แอนแทรกซ์” ไม่ใช่โรคใหม่ ติดต่อได้จากสัตว์สู่คน ชาวบ้านรู้จัก “โรคกาลี” ที่มีกันมาแต่โบราณกาล ทางการแพทย์เรียกว่า โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bacillus anthracis และสามารถพบเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้ได้ทั่วไปตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในดิน น้ำ และวัสดุจากพืช สัตว์ เชื้อทนความร้อนและเย็นได้ดี และสปอร์ของเชื้อสามารถอยู่ในดินได้นานกว่า 10 ปี ในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ระบุไว้ว่า “แอนแทรกซ์” เป็นโรคติดต่อระบาดสำคัญอันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นได้ใน “สัตว์กินหญ้าแทบทุกชนิด” ทั้งสัตว์ป่า เช่น ช้าง เก้ง กวาง และสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ แล้วก็ติดต่อไปยังคนและสัตว์อื่น […]

ชัวร์ก่อนแชร์: โลกแบนเพราะมองไม่เห็นส่วนโค้งของโลกจากที่สูง จริงหรือ?

03 พฤษภาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับสนับสนุนทฤษฎีโลกแบนเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยอ้างว่าคลิปวิดีโอที่ถ่ายจากบอลลูนสูงกว่า 120,000 ฟุตหรือ 37 กิโลเมตร แสดงขอบฟ้าของโลกเป็นเส้นตรง แสดงให้เห็นว่าแท้จริงแล้วสัณฐานของโลกเป็นพื้นที่แบนราบ ไม่ใช่ทรงกลม พร้อมอ้างว่าหนึ่งในความพยายามปิดบังข้อเท็จจริงเรื่องโลกแบนคือการยุติการจำหน่ายกล้องถ่ายรูปของบริษัท Nikon รุ่น Coolpix P1000 เนื่องจากสามารถซูมภาพได้ไกลมาก ๆ อาจจะเปิดเผยเส้นขอบของโลกที่ถูกปกปิดเป็นความลับมานาน บทสรุป : 1.การจะสังเกตส่วนโค้งของโลกจำเป็นต้องอยู่สูงอย่างน้อย 1% ของรัศมีโลกที่ 63 กิโลเมตรหรือประมาณ 200,000 ฟุต2.ภาพจากสถานีอวกาศที่ความสูง 400 กิโลเมตร หรือ 1.3 ล้านฟุต เทียบเท่า 7% ของรัศมีโลก แสดงสัณฐานของโลกทรงกลมชัดเจน FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ส่วนโค้งของโลกสังเกตได้จากตำแหน่งที่สูงเพียงพอ โลกมีรัศมีเฉลี่ย 6,371 กิโลเมตร […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : กรุ๊ปเลือดไหน ให้-รับ กันได้บ้าง ?

“กรุ๊ปเลือด” เป็นปัจจัยสำคัญในการถ่ายเลือดอย่างปลอดภัย เพราะไม่ใช่ทุกกรุ๊ปเลือดที่จะสามารถให้หรือรับกันได้อย่างอิสระ แล้วกรุ๊ปเลือดไหนรับหรือให้กันได้บ้าง ? ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเลือดประมาณร้อยละ 9–10 ของน้ำหนักตัว ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการลำเลียงออกซิเจน สารอาหาร และขับของเสียออกจากเซลล์ของร่างกาย โดยแต่ละคนจะมีหมู่โลหิต หรือกรุ๊ปเลือด ที่แตกต่างกันตามพันธุกรรม โดยการแยกโลหิตของคนเราออกเป็นหมู่/เป็นกรุ๊ป (Group หรือ Type) ตามชนิดของสารชีวเคมี (Biochemicalsubstance) ที่มีชื่อว่า ไกลโคโปรตีน (Glycoprotein) หรือไกลโคไลปิด(Glycolipid) ที่ร่างกายสร้างขึ้นและปรากฏบนผิวเม็ดโลหิตแดงและเรียกว่าแอนติเจน/สารก่อภูมิต้านทาน (Antigen) ซึ่งมีลักษณะจำเพาะในแต่ละหมู่ โดยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้ 1. หมู่โลหิตระบบ ABOระบบหมู่โลหิต ABO ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1900 โดย Karl Landsteiner ซึ่งสามารถจำแนกหมู่โลหิตออกเป็น A, B และ O ต่อมาในปี ค.ศ. 1902 Von Decastello และ Sturli ได้ค้นพบหมู่โลหิต AB […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : วันรหัสผ่านโลก ตั้งรหัสผ่านอย่างไรให้ปลอดภัย ไม่โดนแฮก !

รู้หรือไม่ ? รหัสผ่านไม่รัดกุม อาจทำให้ข้อมูลสำคัญของเรารั่วไหลได้ภายในพริบตา “วันรหัสผ่านโลก”  จึงถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการตั้งรหัสผ่านที่ปลอดภัย  รหัสผ่าน (Password) คือด่านแรกของความปลอดภัยในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นบัญชีโซเชียลมีเดีย อีเมล หรือแอปพลิเคชันด้านการเงินต่าง ๆ ล้วนต้องอาศัยรหัสผ่านในการยืนยันตัวตนและปกป้องข้อมูลสำคัญของเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ  ด้วยเหตุนี้ จึงมีการกำหนดให้ วันพฤหัสบดีแรกของเดือนพฤษภาคมของทุกปี เป็น “วันรหัสผ่านโลก” (World Password Day) ซึ่งในปี 2568 นี้ ตรงกับ วันพฤหัสบดี ที่ 1 พฤษภาคม เพื่อรณรงค์ให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการตั้งรหัสผ่านที่รัดกุม ปลอดภัย และหมั่นปรับปรุงให้ทันต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ 5 ข้อห้ามทำ ! ถ้าไม่อยากโดนแฮก1. ไม่ตั้งรหัสผ่านง่ายเกินไป เช่น การพิมพ์ไล่ตามแป้นพิมพ์ 123456 ใช้คำหรือประโยคง่าย ๆ เช่น password2. ไม่ใช้ขอมูลส่วนตัวตั้งรหัสผ่าน3. ไม่ตั้งรหัสผ่านเหมือนกันทุกบัญชี4. ไม่กด “จำรหัสผ่าน” ในเครื่องที่มีคนอื่นใช้งานร่วมด้วย5. ไม่บอกรหัสผ่านให้คนอื่นรู้ จากฐานข้อมูลการวิจัยของ NordPass พบว่า […]

สัญญาณชีวิตนอกโลกจากดาว Bennu

30 เมษายน 2568แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล การศึกษาที่มาของดาวเคราะห์น้อย ประโยชน์ไม่ได้มีเพียงแค่การป้องกันการสูญพันธุ์ของมนุษยชาติจากเหตุการณ์พุ่งชนครั้งใหญ่เท่านั้น แต่ยังนำไปสู่การไขปริศนาครั้งใหญ่เกี่ยวกับคุณสมบัติของจักรวาลในยุคแรก และปัจจัยที่นำไปสู่การกำเนิดสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลก Bennu ความเสี่ยงพุ่งชนโลกในศตวรรษหน้า ดาวเคราะห์น้อย Bennu ถูกค้นพบในปี 1999 ตั้งชื่อนกในเทพปกรณัมอียิปต์ ซึ่งเป็นตัวแทนของดวงอาทิตย์ การก่อกำเนิด และการเกิดใหม่ Bennu เป็นดาวเคราะห์น้อยชนิด C-type (โครงสร้างหลักเป็นคาร์บอน) มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 490 เมตร ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ประมาณ 1.19 ปี Bennu อยู่ในกลุ่มดาวเคราะห์น้อย Apollo มีต้นกำเนิดจากแถบดาวเคราะห์น้อย (Asteroid Belt) ซึ่งอยู่ระหว่างวงโคจรดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี คาดว่าเริ่มโคจรมาใกล้โลกเมื่อ 1-2.5 ล้านปีที่แล้ว โอกาส Bennu เฉียดโลกในปี 2060/2135 คาดว่า ดาวเคราะห์น้อย Bennu จะโคจรมาใกล้โลกที่สุดในวันที่ 23 กันยายน 2060 โดยจะอยู่ห่างจากโลกประมาณ 750,000 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : 10 ประโยชน์ของผักบุ้ง จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อความที่กล่าวถึง 10 ประโยชน์ของผักบุ้ง จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ดร.กิตณา แมคึเน็น อาจารย์ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผักบุ้ง เป็นพืชผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ การกินผักบุ้งควรคำนึงถึงปริมาณและความเหมาะสมของร่างกายแต่ละคนด้วย ข้อ 1. ผักบุ้งมีสาร “ซีลีเนียม” และ “สังกะสี” รักษาอาการนอนไม่หลับ ? เป็นเรื่องจริงที่ผักบุ้งมี “ซีลีเนียม” และ “สังกะสี” ปริมาณ “ซีลีเนียม” และ “สังกะสี” ในผักบุ้งยังไม่มากพอที่จะกินเพื่อหวังผลแก้ไขอาการนอนไม่หลับ ข้อ 2. ผักบุ้งมี “ธาตุเหล็ก” ช่วยบำรุงเลือด ? ถ้าจะหวังผลกินผักบุ้งเพื่อ “บำรุงเลือด” ไม่จริง ธาตุเหล็กในผักบุ้งเป็น non-heme iron ธาตุเหล็กในรูปที่ไม่ใช่ฮีม (เป็นธาตุเหล็กที่ไม่ได้อยู่กับเม็ดเลือดแดง) การดูดซึมจะขึ้นกับปัจจัยส่งเสริมหรือขัดขวางการดูดซึมที่มีในอาหารด้วยกันและถูกดูดซึมไปใช้ได้น้อยเพียงร้อยละ 3-5 มีอยู่ในอาหาร การดูดซึมจะทำได้ไม่ดีเท่ากับ heme iron ที่พบในเนื้อสัตว์ ข้อ […]

1 2 3 292
...