ชัวร์ก่อนแชร์: เอดส์หายเองไม่ต้องรักษา-ยาต้านไวรัสทำให้ภูมิตก จริงหรือ?

29 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีคลิปวิดีโอข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา โดยมีการอ้างว่า อาการป่วยจากการติดเชื้อไวรัส HIV สามารถหายได้เอง เพราะไม่มีโรคใดที่ร่างกายไม่สามารถบำบัดด้วยตัวเอง ในทางตรงกันข้าม การรับยาต้านไวรัส กลับทำให้ภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยอ่อนแอลง บทสรุป : 1.ยาต้านไวรัส HIV ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันต่อสู้กับการติดเชื้อได้ดีขึ้น ไม่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง2.ร่างกายของมนุษย์ไม่สามารถกำจัดไวรัส HIV ได้เอง FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบพบว่า ผู้ที่อยู่ในคลิปที่ด้อยค่ายาต้านไวรัส HIV ใช้ชื่อบัญชี Instagram ว่า Minister Yahdan Yada โดยอ้างว่าตนเองเป็นนักธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร ในคลิปยังมีการโฆษณาอาหารเสริมที่ชื่อว่า Apple of Eve ที่อ้างว่าเป็นสุดยอดอาหารของสุดยอดอาหาร มีสรรพคุณเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยขวดบรรจุขนาด 16 ออนซ์ เสนอขายที่ 125 ดอลลาร์สหรัฐฯ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: คนติดเอดส์จากสระว่ายน้ำในอเมริกา จริงหรือ?

28 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัส HIV จำนวน 4 ราย หลังจากไปใช้บริการสระว่ายน้ำแห่งหนึ่งในทาร์แรนต์ เคาตี เมืองอาร์ลิงตัน รัฐเท็กซัส โดยอ้างว่าพบการทำกิจกรรมทางเพศในสระว่ายน้ำก่อนการยืนยันพบผู้ติดเชื้ออีกด้วย บทสรุป : 1.ไม่เคยมีหลักฐานพบผู้ติดเชื้อ HIV จากการว่ายในสระน้ำ2.ไวรัส HIV มีโอกาสรอดชีวิตต่ำมากเมื่ออยู่ในสิ่งแวดล้อม3.สารคลอรีนในสระว่ายน้ำจะฆ่าเชื้อโรคที่อยู่ในเลือดทั้งหมด4.ไม่พบรายผู้ติดเชื้อ HIV ในเมืองดังกล่าว FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : การชี้แจงโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายประสานงานของเมืองอาร์ลิงตันระบุว่า มีการร้องเรียนเข้ามายังหน่วยงานสาธารณสุขของรัฐเท็กซัสเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2024 หลักฐานประกอบไปด้วยภาพถ่ายผลการตรวจพบเชื้อไวรัส HIV และภาพถ่ายที่อ้างว่าเป็นกิจกรรมทางเพศเกิดขึ้นในสระว่ายน้ำ แต่การสอบสวนโดยผู้ตรวจสอบของเมืองอาร์ลิงตันไม่พบว่า ในวันดังกล่าวมีกิจกรรมทางเพศเกิดขึ้นในสระว่ายน้ำหรือบริเวณรอบสระน้ำแต่อย่างใด หลักการแพร่เชื้อไวรัส HIV ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ระบุว่าไวรัส HIV เผยแพร่ผ่านทางของเหลวในร่างกาย ทั้ง เลือด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สหรัฐฯ เปิดช่องผู้ป่วย HIV บริจาคอวัยวะให้คนทั่วไป จริงหรือ?

26 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่ารัฐบาลสหรัฐฯ เพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้รอรับการบริจาคอวัยวะ เมื่ออนุญาตให้ผู้ติดเชื้อไวรัส HIV สามารถบริจาคตับและไตได้เป็นครั้งแรก บทสรุป : 1.สหรัฐฯ อนุญาตให้ผู้ติดเชื้อไวรัส HIV สามารถบริจาคตับและไตให้กับผู้ติดเชื้อไวรัส HIV เพื่อการการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะเป็นครั้งแรก ไม่ใช่การบริจาคอวัยวะให้กับคนทั่วไป2.เมื่อผู้ติดเชื้อไวรัส HIV ไม่ต้องรอแต่การบริจาคอวัยวะจากผู้ไม่ติดเชื้อเหมือนในอดีต ทำให้คนทั่วไปมีโอกาสการเข้าถึงการบริจาครอวัยวะมากขึ้นตามไปด้วย FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบพบว่า ข้อความดังกล่าวเป็นการจงใจบิดเบือนข้อมูลให้เกิดความตื่นตระหนกในสังคม เพราะแท้จริงแล้ว นโยบายดังกล่าวเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ติดเชื้อไวรัส HIV มีโอกาสได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับและไตมากขึ้น เมื่ออนุญาตให้ผู้ติดเชื้อไวรัส HIV สามารถบริจาคตับและไตให้กับผู้ติดเชื้อไวรัส HIV เป็นครั้งแรก จากการประกาศโดยกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2024 อคติต่อผู้ติดเชื้อไวรัส HIV และผู้ป่วยโรคเอดส์ ทำให้สหรัฐฯ เคยออกกฎหมายห้ามไม่ให้ผู้ติดเชื้อไวรัส […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : ตอนพิเศษ รวมเรื่องฮิต ที่สุดแห่งปี 2567 ชัวร์ก่อนแชร์ Line

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LISTตอนพิเศษได้รวบรวมประเด็นฮิต 3 เรื่องที่คนถามเข้ามามากที่สุดในปี 2567 ใน แพลตฟอร์ม Line ของชัวร์ก่อนแชร์ …จะมีเรื่องใดบ้าง 1. ไข่ขาวรักษาแผลไฟไหม้ จริงหรือ ?ตรวจสอบข้อมูลกับ ศ.นพ.พรพรหม เมืองแมน ผู้ช่วยคณบดี และ รองหัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล บทสรุป: 2. อากาศร้อน ห้ามดื่มและอาบน้ำเย็น จริงหรือ ?ตรวจสอบข้อมูลกับ นพ.กรภัค หวังธนภัทร สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ บทสรุป: 3. นมวัวก่อมะเร็งลำไส้ จริงหรือ ? ตรวจสอบข้อมูลกับ รศ.ดร.ทพญ.ดุลยพร ตราชูธรรม สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล บทสรุป: ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : เตรียมรถยนต์เดินทางไกลช่วงเทศกาล (ตอนที่ 1)

24 ธันวาคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยว่า เมื่อต้องใช้รถยนต์เดินทางไกลในช่วงเทศกาล จะต้องเตรียม และตรวจเช็กสิ่งใดบ้าง เพื่อให้รถยนต์พร้อมใช้งาน ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญใน ชัวร์ก่อนแชร์ MOTOR CHECK ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ คุณธนเทพ ธเนศนิรัตศัย (พี่จิมมี่) นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญด้านรถยนต์ และ Website Director www.Headlightmag.com สิ่งที่ต้องตรวจเช็คก่อนเดินทางไกลในช่วงเทศกาล: นอกจากนี้ พี่จิมมี่ยังแนะนำให้ตรวจเช็กส่วนอื่น ๆ ของรถยนต์เพิ่มเติม เช่น ระบบไฟส่องสว่าง ยางรถยนต์ และระบบเบรก เพื่อความปลอดภัยในการเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่อีกด้วย ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์: Lenacapavir ยารักษาโรคเอดส์หาย 100% จริงหรือ?

25 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเอดส์เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่า Lenacapavir ยาต้านไวรัส HIV ที่ประสบความสำเร็จในการวิจัยด้านการป้องกันการติดเชื้อ HIV มีคุณสมบัติรักษาผู้ป่วยเอดส์ได้เกือบ 100% แต่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาต่อปีสูงถึงกว่า 4 หมื่นดอลลาร์สหรัฐฯ หรือปีละกว่า 1.5 ล้านบาท บทสรุป : 1.Lenacapavir ใช้ในการบำบัดผู้ติดเชื้อไวรัส HIV และทดลองเพื่อการป้องกันไวรัส HIV ไม่ได้ใช้เพื่อรักษาให้หายจากการติดเชื้อไวรัส HIV2.ผลการป้องกันการติดเชื้อไวรัส HIV ระดับ 100% เกิดขึ้นในการทดลองกับกลุ่มสตรีแอฟริกันหลักพันราย ยังไม่ทราบประสิทธิผลจากการใช้จริง3.ยังไม่มีการรักษาการติดเชื้อไวรัส HIV ให้หายขาดสำหรับคนทั่วไป FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : Lenacapavir ยาต้านไวรัส HIV ชนิดใหม่สำหรับเชื้อดื้อยาหลายชนิด Lenacapavir หรือชื่อทางการค้า Sunlenca เป็นยาต้านไวรัส […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ชาถุงจุ่มน้ำร้อน เสี่ยงไมโครพลาสติก จริงหรือ ?

23 ธันวาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์เตือนว่า ใครที่ชอบกินชากาแฟ ที่บรรจุซองจุ่มในน้ำร้อน เลิกได้แล้ว เพราะถุงชาฉีดเคลือบพลาสติกไว้ เมื่อชงในน้ำร้อนจะมีไมโครพลาสติกออกมาปนเปื้อน ส่งผลต่อหลอดเลือดและอวัยวะต่าง ๆ จนเป็นมะเร็งได้นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.บุศรินทร์ จงเจริญยานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ และ รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สัมภาษณ์เมื่อ 18 กันยายน 2567) ไมโครพลาสติกอันตรายแค่ไหน? วิธีลดความเสี่ยง สรุป ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ภาวะการมองเห็นภาพตรงกลางผิดปกติ

20 ธันวาคม 2567 – ภาวะการมองเห็นภาพตรงกลางผิดปกติเกิดจากสาเหตุใด เป็นสัญญาณบ่งบอกโรคหรือไม่ ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2567 เห็นภาพตรงกลางผิดปกติ คืออะไร ? ภาวะการมองเห็นภาพตรงกลางผิดปกติ หรือ Scotoma โดยได้สัมภาษณ์ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งอธิบายว่า ภาวะนี้คือการที่เรามองเห็นภาพตรงกลางแย่ลง อาจจะมืดลง หรือเห็นเป็นแสง สาเหตุ อาจเกิดจากความผิดปกติของดวงตา หรือความผิดปกติทางสมอง เช่น สาเหตุที่พบบ่อย คือ คำแนะนำ ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : Digital Abuse ภัยคุกคาม ผ่านเทคโนโลยี !

21 ธันวาคม 2567 สิ่งนี้…คือภัยคุกคาม ผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและ สิ่งนี้ …เป็นการละเมิดที่พบบ่อยบนโลกออนไลน์ในปัจจุบัน จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ในสังคม คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน 🎯 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช กรรมการผู้จัดการมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย สัมภาษณ์เมื่อ 4 กันยายน 2567 Digital Abuse หรือ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการละเมิดผู้อื่น ซึ่งเป็นภัยคุกคามที่พบได้บ่อยบนโลกออนไลน์  Digital Abuse คืออะไร? ตัวอย่าง Digital Abuse วิธีป้องกัน ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยงเรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ : ต้องเลิกใช้หลอดดูดน้ำ จริงหรือ ?

22 ธันวาคม 2567 – ตามที่มีการแชร์เตือนว่า ต่อไปนี้คงต้องเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ใช้หลอดดูดดูดน้ำดื่มแล้ว เพราะนักวิจัยพบสารเคมี PFAS ในหลอดดูดแทบทุกชนิด ทั้งหลอดกระดาษ ไม้ไผ่ พลาสติก แก้ว ยกเว้นแค่หลอดสเตนเลสเท่านั้น แม้แต่ EU ก็สั่งยกเลิกแล้ว บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ส่วนที่จริง คือ หลอดกระดาษมี PFAS จริงส่วนที่ไม่จริง คือ ที่ EU ยกเลิกหลอดพลาสติกเพราะ PFAS สาเหตุจริง ๆ ที่ EU ยกเลิกเพราะปัญหาสิ่งแวดล้อมจากขยะพลาสติก ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.บุศรินทร์ จงเจริญยานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ และ รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมภาษณ์เมื่อ 18 กันยายน 2567 PFAS คืออะไร? งานวิจัยต่างประเทศ PFAS  ใช้สัมผัสอาหารได้หรือไม่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: กดจุดที่มือแล้วเจ็บ ถือว่าเสี่ยงลิ่มเลือดอุดตัน จริงหรือ?

23 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีคลิปวิดีโอข้อมูลเท็จเกี่ยวกับประสิทธิผลของการนวดกดจุดเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าวิธีป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในช่วงฤดูหนาว คือการนวดที่บริเวณจุดกดหรือจุดฝังเข็ม 3 จุดที่บริเวณมือและข้อมือ ได้แก่ เน่ยกวาน (Neiguan – PC6) เหลากง (Laogong – PC8) และ เสินเหมิน (Shenmen – HT7) หากกดลง 3 จุดนี้แล้วไม่รู้สึกเจ็บ แสดงว่าสุขภาพหัวใจแข็งแรง แต่หากรายใดมีอาการเจ็บเมื่อถูกกดที่ 3 จุดนี้ แสดงว่ามีปัญหาลิ่มเลือดอุดตัน บทสรุป : 1.ผู้เชี่ยวชาญแพทย์แผนจีนยืนยันว่า ความรู้สึกเจ็บเมื่อถูกกดที่จุด ไม่ใช่ตัวบ่งชี้อาการลิ่มเลือดอุดตัน2.ส่วนการกดจุดจนไม่รู้สึกเจ็บ ก็ไม่ได้หมายความว่าปัญหาลิ่มเลือดอุดตันหายไปอีกเช่นกัน3.โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในหน้าหนาว มีปัจจัยจากการสัมผัสกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ความรู้สึกเจ็บเมื่อถูกกดที่จุด ไม่ใช่ตัวบ่งชี้อาการลิ่มเลือดอุดตัน หวังซินหยี่ ผู้อำนวยการคลินิกแพทย์แผนจีนชุนเชียนถังในไต้หวัน อธิบายว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: นวดติ่งหู ป้องกันอาการบ้านหมุน จริงหรือ?

22 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับประสิทธิผลของการนวดเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าการนวดติ่งหน้ารูหู (Tragus) สามารถป้องกันอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน อันมีสาเหตุจากหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน และยังป้องกันอาการสมองเสื่อมได้อีกด้วย บทสรุป : 1.นวดติ่งหน้ารูหู (Tragus) ซึ่งเป็นส่วนหูชั้นนอก ไม่ช่วยรักษาโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (BPPV) ซึ่งอยู่ในส่วนหูชั้นใน2.ส่วนอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนก็ไม่นำไปสู่อาการสมองเสื่อมตามที่กล่าวอ้าง3.ผู้เชี่ยวชาญแพทย์แผนจีนยืนยันว่า การนวดติ่งหน้ารูหูไม่ช่วยแก้อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนหรือป้องกันโรคสมองเสื่อมได้4.การหาตำแหน่งกดจุดที่หูอย่างแม่นยำ เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ คนทั่วไปไม่สามารถทำการรักษาเองได้ FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertigo) อาการเวียนศีรษะบ้านหมุน เป็นอาการเวียนศีรษะที่แตกต่างจากอาการเวียนศีรษะ (Dizziness) โดยทั่วไป ผู้ป่วยจะรู้สึกว่าสิ่งแวดล้อมรอบตัวหมุนหรือตนเองกำลังหมุนไปทั้ง ๆ ที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของหูชั้นในที่คอยดูแลความสมดุลของร่างกาย ในหูชั้นใน มีอวัยวะที่เรียกว่าท่อครึ่งวงกลม (Semicircular Canals) จำนวน 3 ท่อวางตั้งฉากกัน ภายในท่อมีน้ำบรรจุอยู่ ซึ่งทำหน้าที่รับรู้การทรงตัวในเชิงหมุน เช่น การเลี้ยวซ้ายขวา เก้าอี้หมุน […]

1 2 3 4 277
...