fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : SLEEP TEXTING – โรคยอดฮิต ของคนติดแชต

6 เมษายน 2567 สิ่งนี้…เป็นอาการคลั่งแชต ที่เกิดจากการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กทุกชนิดมากเกินไป และสิ่งนี้… เสี่ยงต่อภัยคุกคามทางสุขภาพ นอนหลับไม่สนิท หรือฝันร้าย คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล SLEEP TEXTING โรคละเมอแชต เป็นพฤติกรรมที่มีการใช้โทรศัพท์ เพื่อตอบข้อความหรือส่งข้อความไปหาผู้อื่นขณะที่กำลังนอนหลับ สาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมติดสมาร์ทโฟน รวมไปถึงการติดโซเชียลทุกชนิด ทำให้มุ่งความสนใจไปที่เครื่องมือสื่อสารเหล่านี้แทบจะทุกนาที จนกลายเป็นความวิตกกังวลต่อข้อความที่ถูกส่งมา แม้กระทั่งเวลาจะหลับก็ยังเอามือถือไปจิ้มเล่นเรื่อยเปื่อย และหลับไปพร้อมกับโทรศัพท์ที่ยังคามือหรือวางนิ่งอยู่ข้างตัว ปัญหาที่ตามมาก็คือ ร่างกายจะอ่อนแอจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้เกิดโรคอ้วน ภาวะซึมเศร้า และอาจส่งผลกระทบในการเรียนหรือการทำงาน อาจารย์แนะนำว่า การเล่นโซเชียลมีเดียควรทำแต่พอดี หากติดมากควรลองอยู่ห่างจากสมาร์ทโฟน ตัดใจปิดมือถือ ปิดเสียง หรือปิดสัญญาณอินเทอร์เน็ตก่อนนอน วิธีนี้จะช่วยให้ห่างไกลจากการละเมอแชต และฟื้นฟูสุขภาพการนอนหลับให้เต็มอิ่ม ตื่นเช้ามาพร้อมความสดชื่น แจ่มใส ร่างกายแข็งแรงขึ้น สัมภาษณ์เมื่อ : 7 มีนาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ทำ IF 16/8 เสี่ยงตายจากโรคหัวใจ 91% จริงหรือ ?

5 เมษายน 2567 – จากกรณีที่มีการแชร์เตือนว่า ข่าวช็อกวงการ IF วันนี้ ผลการศึกษาพบว่า ทำ IF แบบ 16/8 เสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจ 91% นั้น บทสรุป : ยังสรุปไม่ได้ชัดเจนว่าการทำ IF เพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ. ดร. พญ.ฉันทชา สิทธิจรูญ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายว่า “การศึกษาวิจัยยังมีข้อจำกัด เนื่องจากอาศัยข้อมูลจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับเวลาการกินอาหารของพวกเขาเท่านั้น ทีมวิจัยมีการสำรวจสุขภาพและโภชนาการแห่งชาติ 2003-2018 เปรียบเทียบกับ ฐานข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต 2003-2018 ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงของ 2 ฐานข้อมูล และเป็นการสำรวจจากความทรงจำ ดังนั้นการสรุปว่าทำ IF เสี่ยงเสียชีวิตจากโรคหัวใจ 91% อาจจะเป็นการสรุปที่เกินจริง ต้องศึกษาต่อเนื่องต่อไป” สัมภาษณ์เมื่อ : 1 เมษายน 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สหรัฐฯ เร่งออกกฎหมายยุติการผลิตรถน้ำมัน จริงหรือ?

แม้หลายหน่วยงานของสหรัฐฯ จะสนับสนุนการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าและตั้งข้อกำหนดด้านการปลดปล่อยคาร์บอนจากรถยนต์สันดาปอย่างเง้มงวด แต่ไม่ได้มีนโยบายห้ามการผลิตรถยนต์น้ำมันในอนาคตอันใกล้แต่อย่างใด

ชัวร์ก่อนแชร์: EU ขู่ห้ามซ่อม-ครอบครองรถน้ำมันอายุเกิน 15 ปี จริงหรือ?

เป็นระเบียบว่าด้วยยานยนต์ที่หมดอายุของ EU เพื่อบังคับการผลิตรถยนต์ให้เอื้อต่อการรีไซเคิลง่ายขึ้น ไม่มีผลต่อการใช้งานรถยนต์ ยานยนต์ที่หมดอายุของ EU ไม่ได้ประเมินจากอายุรถยนต์ แต่ประเมินจากความคุ้มค่าของการซ่อมและการนำไปใช้

ชัวร์ก่อนแชร์: ขับรถน้ำมันคันเก่า เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกว่าซื้อ EV คันใหม่ จริงหรือ?

แม้การปลดปล่อยคาร์บอนจากการผลิตรถยนต์ EV คันใหม่ จะสูงกว่าการขับรถยนต์น้ำมันคันเก่าต่อไป แต่เมื่อเริ่มขับรถยนต์ EV นานกว่า 4 ปีหรือระยะทางมากกว่า 35,000 กิโลเมตร ปริมาณคาร์บอนที่เกิดจากรถยนต์ EV จะน้อยกว่าการขับรถยนต์น้ำมันคันเก่าในที่สุด

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : แสบตา

แสบตา เกิดได้จากสาเหตุใดได้บ้าง และอาการแสบตาจะเป็นอันตรายต่อดวงตาแค่ไหน ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 26 มีนาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: สถานีชาร์จรถ EV ปั่นไฟด้วยน้ำมันดีเซล จริงหรือ?

สถานีชาร์จรถไฟฟ้าด้วยเครื่องปั่นไฟจากน้ำมันดีเซลในออสเตรเลีย สร้างขึ้นในสถานที่ซึ่งระบบไฟฟ้าส่วนกลางเข้าไม่ถึง

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดสิ่งที่ห้ามทำช่วงหน้าร้อน จริงหรือ ?

3 มีนาคม 2567 ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับสารพัดสิ่งห้ามทำช่วงหน้าร้อน ทั้งดื่มน้ำเย็น อาบน้ำเย็น หรือเปิดแอร์นอน และหน้าร้อนต้องเติมน้ำมันรถให้เต็มถัง เพื่อป้องกันรถระเบิด มีเรื่องอะไรกันบ้าง ไปติดตามกันเลย อันดับที่ 1 : สิ่งของ 6 อย่างที่ห้ามวางไว้ในรถยนต์ จริงหรือ ? มีการแชร์คำเตือนว่าป้องกันอุบัติเหตุช่วงหน้าร้อน 6 สิ่งของที่ไม่ควรลืมทิ้งไว้ในรถ เมื่อจำเป็นต้องจอดกลางแดดร้อน เพื่อความปลอดภัยนั้น บทสรุป : จริง แชร์ได้ ✅ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ศ.ดร.ธีรยุทธ์ วิไลวัลย์ อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1.ไฟแช็ก กรณีจอดรถตากแดดที่มีอุณหภูมิร้อนสูง จะทำปฏิกิริยากับสารเคมีเหลวภายในตัวไฟแช็ก และเมื่อถึงจุดหนึ่ง ไฟแช็กจะระเบิดตัวเองทำให้เกิดไฟลุกได้ 2.กระป๋องสเปรย์ต่าง ๆ เนื่องจากความร้อนทำให้แก๊สในกระป๋องขยายตัว มีแรงดันสูงขึ้น ก็มีโอกาสที่จะระเบิดได้เช่นกัน 3.น้ำแข็งแห้ง กรณีนี้นำแข็งแห้งจะเริ่มระเหิด และทำปฏิกิริยากับอาการเป็นคาร์บอนไดออกไซด์มายังภายในตัวรถ ทั้งนี้ผู้ขับขี่และผู้โดยสารจะสูดดมไปโดยไม่รู้ตัว และทำให้หมดสติในที่สุด 4.ขวดพลาสติกใสที่บรรจุน้ำอยู่เต็มขวด เมื่อคุณวางขวดน้ำพลาสติกไว้ที่บริเวณคอนโซลหน้ารถ และจอดรถไว้บริเวณที่แสงแดดส่องได้มุมกับขวดน้ำ ปฏิกิริยาหักเหของแสงและก่อให้เกิดไฟไหม้รถ แต่กรณีนี้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อยมาก ๆ 5.อุปกรณ์ที่มีแบตเตอรี่ทุกชนิด เช่น สมาร์ทโฟน  แบตเตอรี่สำรอง กรณีนี้ความร้อนอาจทำให้วงจรภายใน ได้รับความเสียหาย […]

ชัวร์ก่อนแชร์: อุปกรณ์เปลี่ยนรถน้ำมันเป็นรถไฮบริด ลดอัตราสิ้นเปลือง 35-75% จริงหรือ?

รถไฮบริดต้องมีมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าและแบตเตอรี่เป็นแหล่งสำรองไฟฟ้า การเสียบอุปกรณ์เสริมในรถไม่ทำให้รถน้ำมันกลายเป็นรถไฮบริดได้ ส่วนกล่อง ECU จะควบคุมการฉีดน้ำมันสู่ห้องเผาไหม้ แต่ไม่สามารถควบคุมการใช้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ได้

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : แบตเตอรี่รถยนต์ (แบตฯ 12 โวลต์)

2 เมษายน 2567 – ตามที่มีการแชร์ข้อสงสัยเกี่ยวกับแบตเตอรี่ 12 โวลต์ของรถยนต์ว่า มีกี่รูปแบบ และมีความแตกต่างกันอย่างไรนั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 11 มีนาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: งานวิจัยชี้ฉีดวัคซีนโควิดเสี่ยงป่วยโรคหัวใจหนักกว่าไวรัสโควิด จริงหรือ?

เป็นข้ออ้างผิด ๆ จากแพทย์ผู้มีแนวคิดต่อต้านวัคซีน ผ่านการนำเสนองานวิจัยที่เต็มไปด้วยจุดบกพร่องและการบิดเบือน

ชัวร์ก่อนแชร์: นักวิจัยมหาวิทยาลัย Yale พบอาการเรื้อรังหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ?

ผู้เชี่ยวชาญหลายคนลงความเห็นว่า อาการเรื้อรังที่เกิดกับผู้ฉีดวัคซีนโควิด-19 มีความคล้ายคลึงกับลองโควิดอย่างมาก มีการศึกษาอาการข้างเคียงแบบเดียวกันในกลุ่มผู้ฉีดวัตซีนและผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งผู้ติดเชื้อมีโอกาสเกิดโรคสูงกว่า

1 2 3 4 5 6 240
...