ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เมื่อใดต้องทำ “บอลลูนหัวใจ”

บอลลูนหัวใจคืออะไร ป่วยระดับไหนถึงต้องทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ และมีวิธีการรักษาแบบอื่นอีกหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.นพ.สุพจน์ ศรีมหาโชตะ สาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตนายกสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ การรักษาหลอดเลือดหัวใจมี 3 วิธี กินยาอย่างเดียว ทำบอลลูนหลอดเลือดหัวใจ (ปัจจุบันใส่ขดลวดด้วย) และทำบายพาสผ่าตัดต่อหลอดเลือดที่ตีบ การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ เป็นวิธีการรักษาแบบหนึ่ง แต่ต้องประเมินว่า… 1. หลอดเลือดตีบจริง ๆ และมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 2. ใส่ขดลวดเล็ก ๆ ผ่านบริเวณรอยตีบของหลอดเลือด และนำบอลลูนขยายหลอดเลือดให้กว้างขึ้น 3. หลอดเลือดขยาย ก้อนไขมันจะถูกเบียดชิดผนังหลอดเลือด หลังจากนั้นใส่ขดลวด เมื่อใส่ขดลวดแล้วหลอดเลือดขยายมีขนาดใหญ่ เลือดก็จะไหลได้ดีขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มไหนบ้าง ต้องทำบอลลูน ? หลังตรวจร่างกายแล้ว แพทย์พิจารณาว่าควรทำบอลลูนกับกลุ่มผู้ป่วยดังต่อไปนี้ 1. กลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน บางคนกล้ามเนื้อหัวใจตาย กลุ่มนี้จะได้ประโยชน์สูงสุดจากการทำบอลลูน ซึ่งหลาย ๆ ครั้งพบว่าทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตจากการทำบอลลูนได้ 2. กลุ่มที่มีอาการเจ็บหน้าอกแบบอาการคงที่  กลุ่มที่ไม่ได้มีอาการเฉียบพลัน แต่อาจจะต้องทำบอลลูนหลอดเลือดหัวใจ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ต้อหินในคนอายุน้อย

“ต้อหิน” ปัญหาดวงตาที่มักเกิดขึ้นในผู้สูงวัย เกิดกับคนอายุน้อยได้หรือไม่ และสาเหตุที่เกิดต้อหินในคนอายุน้อยคืออะไร ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย นิยามของโรค “ต้อหิน” (Glaucoma) ก็คือโรคที่ทำให้ความดันในลูกตาสูงขึ้น ทำให้ตาแข็งเหมือนหิน เกิดการเสียของขั้วประสาทตาและการมองเห็น จากการสังเกตของคนสมัยก่อน เมื่อคลำบริเวณดวงตารู้สึกมีความแข็งผิดปกติเหมือนมีหินอยู่ในดวงตา จึงเรียกว่าโรคต้อหิน สาเหตุและกลไกการเกิดโรคต้อหิน คืออะไร ? เมื่อมีภาวะโรคต้อหิน ความดันในลูกตาจะสูงขึ้น ส่วนใหญ่เกิน 25 หรือ 30 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ปกติแล้ว ความดันในลูกตาจะมีค่าประมาณไม่เกิน 21 มิลลิเมตรปรอท สิ่งที่ควบคุมความดันในลูกตาขึ้นกับ 2 ปัจจัย ได้แก่ 1. การสร้างน้ำหล่อเลี้ยงภายในลูกตา 2. ทางออกของน้ำจากลูกตา เพื่อเข้าสู่ระบบหลอดเลือดและหัวใจ แล้ววนกลับมาสร้างเป็นน้ำควบคุมความดันในลูกตา ความดันในลูกตาสูงขึ้น จะกดขั้วประสาทตา ทำให้เกิดการเสื่อมของขั้วประสาทตา นำไปสู่ภาวะสูญเสียลานสายตาทีละส่วน จนกระทั่งภาวะตาบอดสนิท โรคต้อหินมักเกิดกับผู้สูงวัย จริงหรือ ? คนสูงวัยเป็นโรคต้อหินมากกว่าวัยรุ่นและวัยทำงาน เพราะระบบท่อระบายน้ำในลูกตาออกมีความเสื่อมหรือตีบตามอายุที่มากขึ้น ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงเกิดความดันในลูกตาสูง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เป็นโรคไตห้ามกินผักเขียวเข้ม จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์เตือนผู้ป่วยโรคไต ห้ามกินผักที่มีสีเขียวเข้มเด็ดขาด แต่ควรเลือกกินผักสีเขียวอ่อน จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.พญ.ปิยวรรณ กิตติสกุลงาม สาขาวิชาโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องนี้ “จริงบางส่วน” การที่ผู้ป่วยโรคไตต้องการกินผักและผลไม้ ขึ้นอยู่กับระดับโพแทสเซียมในเลือด ว่ามากน้อยอย่างไร ตามที่แชร์กันว่าผักสีเขียวเข้มมีโพแทสเซียมสูงกว่าผักสีอ่อนหรือสีขาว เรื่องนี้จริงบางส่วน ไม่ใช่ทั้งหมด ผักใบสีเขียวเข้ม เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง มีโพแทสเซียมสูงกว่าผักกาดขาว ผู้ป่วยโรคไต “ห้าม” กินผักสีเขียวเข้ม ใช่หรือไม่ ? เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณโพแทสเซียมในเลือด สมมุติว่าผู้ป่วยโรคไตไม่สามารถขับโพแทสเซียมออกจากร่างกายได้ ก็จะมีโพแทสเซียมในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เท่ากับว่าเพิ่มระดับโพแทสเซียมในเลือด ผู้ป่วยโรคไตกินผักสีเขียวเข้ม อันตรายหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับจำนวนที่กินด้วยว่ากินมากหรือน้อยแค่ไหน และถ้ากินจำนวนมากก็จะทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะส่งผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจ มีใครบ้าง ห้ามกินผักที่มีโพแทสเซียมสูง ? คนที่ไม่ควรกินผักที่มีโพแทสเซียมสูง ก็คือคนที่ได้ทำการตรวจระดับโพแทสเซียม และมีระดับโพแทสเซียมมากกว่า 5.5 mEq/L ถึงจะห้ามกิน กรณีผู้ป่วยโรคไตแต่มีระดับโพแทสเซียมในเลือดปกติ ก็สามารถกินผักและผลไม้สีเขียวเข้มได้เช่นกัน ใครก็ตามที่ต้องการกินผักและต้องการลดโพแทสเซียมในผัก สามารถผัดหรือต้มผักได้ เพราะโพแทสเซียมในผักจะละลายในน้ำ นั่นก็คือ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ขยี้ตามีเสียง จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิปขยี้ตาแล้วเกิดเสียง เมื่อนำนิ้วไปกดหรือขยี้ที่บริเวณหัวตา ทำให้เกิดเสียงเอี๊ยดอ๊าดได้ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย การขยี้บริเวณหัวตาแล้วเกิดเสียงเป็นเรื่องจริง แต่ไม่แนะนำให้ทำ เพราะการขยี้ตาแล้วมีเสียงดังเป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่อันตรายเกิดจากการขยี้ที่หัวตา หรือกดบริเวณดวงตามากกว่า โครงสร้างทางกายวิภาคบริเวณหัวตา มีท่อระบายน้ำตา และตัวท่อมีถุงน้ำตาบริเวณข้าง ๆ จมูก ตรงหัวตามีถุงหรือตัวปั๊มระบบน้ำตาให้ไหลลงจมูกและคอได้ ดังนั้น เมื่อมีการกดบริเวณหัวตาและปล่อยเร็ว ๆ ก็อาจจะมีเสียงเกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นภาวะปกติที่พบได้ในคนทั่วไป เพราะในท่อระบายน้ำตาหรือถุงน้ำตา มีส่วนที่เป็นน้ำตาอยู่กับอากาศ เมื่อกดบริเวณนั้นและปล่อยในบางคนอาจมีเสียงเกิดขึ้นได้ และก็ไม่จำเป็นว่าทุกคนขยี้ตาแล้วจะเกิดเสียงดัง การขยี้ตาแล้วเกิดเสียงดัง เป็นสัญญาณบอกโรค ได้หรือไม่ ? การขยี้ตาแล้วเกิดเสียงดังเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้บ่งบอกว่ามีอันตรายอะไรกับดวงตา พฤติกรรมที่พยายามกดบริเวณดวงตาและหัวตา ทำให้เกิดความดันในลูกตา เป็นความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตาได้ จึงไม่แนะนำให้กดบริเวณดวงตาและหัวตา หรือเปลือกตา การกดหรือปล่อยอย่างรวดเร็วและรุนแรง มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอันตรายกับดวงตาได้ ตั้งแต่ภาวะจอประสาทตาฉีกขาดหรือหลุดลอก การกดลูกตาของคนเราเปรียบเสมือนการบีบลูกยางแล้วปล่อยอย่างรวดเร็ว จะทำให้เกิดแรงดีดตัวเอง เนื่องจากจอประสาทตาเป็นอวัยวะที่สำคัญและบอบบางที่สุดในลูกตาอาจเกิดการฉีกขาดได้ เพราะฉะนั้นการกดความดันเข้าไปที่ลูกตาก็อาจจะทำให้มีความเสี่ยงที่เลือดไปเลี้ยงบริเวณขั้วประสาทตาอาจไปเลี้ยงได้ยากขึ้น และเกิดภาวะขั้วประสาทตาเสื่อมเหมือนกับคนที่เป็นโรคต้อหินและนำไปสู่ภาวะตาบอดจากโรคขั้วประสาทตาและโรคต้อหินได้ในที่สุด เรื่องนี้สรุปว่า ชัวร์ต่อได้ แต่ไม่ควรทำตามเพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ สัมภาษณ์โดย พีรพล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ข้าวร้านสะดวกซื้อหุงใส่น้ำมัน จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์กันว่าข้าวที่ซื้อจากร้านสะดวกซื้อหุงใส่น้ำมัน จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.พิณทิพย์ รัมภกาภรณ์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ข้าวจากร้านสะดวกซื้อมีการใส่น้ำมันในกระบวนการผลิตจริง ๆ แต่ไม่ได้เป็นอันตรายหรือมีโทษ ผลจากการทดลองหุงข้าวแบบในคลิปให้ดู ? จากการทดลอง (ข้าวจากร้านสะดวกซื้อ) เติมน้ำลงไปในข้าวกล้องและข้าวขาวแล้วกวนนิดหน่อย จะมองเห็นมีหยดน้ำมันที่บริเวณผิวหน้าของน้ำ ถ้าเป็นตัวอย่างข้าวสวยที่ซื้อมาจากท้องตลาดทั่วไป (ตลาดนัด ตลาดสด) จะเป็นข้าวที่หุงวันต่อวัน เมื่อเติมน้ำลงไปจะไม่เห็นมีเม็ดน้ำมันลอยอยู่เลย ปกติน้ำกับน้ำมันไม่รวมกัน น้ำมันจะมาลอยอยู่ที่ผิวหน้า เมื่อทดลองใช้กระดาษซับมันวางลงไปก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า ถ้าเป็นข้าวสวยที่ซื้อจากตลาดทั่วไปที่ใส่เพียง “น้ำ” กระดาษซับมันไม่เห็นคราบมันอะไรเลย แต่ถ้าเป็นข้าวที่มาจากร้านสะดวกซื้อ จะเห็นคราบมันชัดเจน นั่นก็พิสูจน์ได้ว่ามีการเติมน้ำมันจริง ร้านสะดวกซื้อหุงข้าวใส่น้ำมันเพื่ออะไร ? การหุงข้าวใส่น้ำมันเกี่ยวกับเรื่องคุณภาพของข้าว ข้าวสารที่หุงสุกเป็นข้าวสวยแล้วเมื่อนำไปแช่ในตู้เย็นเก็บไว้นาน ๆ ข้าวจะมีกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างที่อยู่ในข้าว ที่เรียกกันว่าการเกิด รีโทรเกรเดชัน (retrogradation) ซึ่งจะส่งผลทำให้คุณภาพของข้าวมีความแข็งมากขึ้น ซึ่งการเติมน้ำมันลงไป ก็จะมีส่วนช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงตรงนี้ ทำให้ข้าวไม่แข็งจนเกินไป หรือเวลานำข้าวไปอุ่นด้วยไมโครเวฟ ข้าวก็ยังกลับมานุ่มเหมือนเดิม เรื่องนี้อาจจะเป็นไปได้ว่าการที่มีน้ำมันอยู่ในข้าวจะช่วยลดการเกาะติดเป็นก้อนของข้าวสวย น้ำมันที่ใส่ขณะหุงข้าวทำให้เม็ดข้าวกระจายตัวสวย และมีความมันเงาขึ้นมา แล้วน้ำมันที่ใส่ลงไปขณะหุงข้าว ปริมาณมากแค่ไหน ? ปริมาณที่เติมลงในข้าวไม่มาก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : TERMINALLY ONLINE — ปรากฏการณ์ยุคดิจิทัล ที่หลายคนเป็นโดยไม่รู้ตัว !

ปรากฏการณ์ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคนในยุคดิจิทัลอย่างมาก ทำให้มีพฤติกรรม ความคิดที่แยกระหว่างโลกจริงและโลกออนไลน์ไม่ออก 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล พฤติกรรมที่ไม่สามารถแยกระหว่างโลกความจริงกับโลกออนไลน์ ทั้งด้านความคิด ค่านิยม และการแสดงออก ขอให้นึกถึงท่าอากาศยาน มีสายการบินเข้า สายการบินออก จะรู้สึกได้ว่าสนามบินพลุกพล่านจอแจตลอดเวลา มีคนเข้าและมีคนออก เมื่อนำคำ Terminally Online มาใช้กับ Digital หมายถึง การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างต่อเนื่องยาวนาน สม่ำเสมอ ไม่หยุดหย่อน จนเรื้อรัง ในภาษาทางการแพทย์ ใช้คำว่า Chronically Online Chronic แปลว่า เรื้อรัง Chronically Online พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตต่อเนื่องยาวนานทั้งวันทั้งคืน นั่งทำงานก็ยังเปิดออนไลน์ ซื้อของก็ออนไลน์ คุยกับเพื่อนก็ออนไลน์ เล่นเกมออนไลน์ นั่นคือ“ออนไลน์” ในทุกอิริยาบถของชีวิต การแยกระหว่าง “โลกจริง” กับ “โลกออนไลน์” ? ขณะนี้สังคมกำลังพูดถึงเรื่องนี้ เทรนด์ฮิตคืออะไร มีการนำเหตุการณ์เหล่านั้นมาพูดคุยในชีวิตจริง และบางอย่างในชีวิตจริงที่ควรจะอยู่ในชีวิตจริง นำไปใส่ในออนไลน์ ไม่สามารถแยกออกได้ระหว่างเส้นแบ่งโลกจอกับโลกจริงเป็นอย่างไร […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิธีสังเกตโรคกระเพาะ-กรดไหลย้อน จริงหรือ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์วิธีสังเกตความแตกต่างของโรคกระเพาะกับกรดไหลย้อน ที่เป็นโรคคล้ายกันแต่ต่างกันทั้งสาเหตุและอาการ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “โรคกระเพาะอาหาร” และ “โรคกรดไหลย้อน” เป็นโรคที่ทำให้หลายคนเกิดความสับสนได้ บางคนคิดว่าตัวเองเป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน บางคนก็คิดว่าเป็นทั้งโรคกระเพาะอาหาร และโรคกรดไหลย้อนพร้อมกัน ทั้งโรคกระเพาะอาหาร และโรคกรดไหลย้อน เกิดจาก “กรด” เหมือนกัน โรคหนึ่ง “กรดอยู่ในกระเพาะ” ทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ ในขณะที่ “กรดไหลย้อน” เป็นเรื่องของอาการเรอเปรี้ยวและอาการแสบร้อนกลางอก ซึ่งอยู่คนละตำแหน่ง คนละอวัยวะกัน อาการของโรค “กรดไหลย้อน” และ “กระเพาะอาหาร”​มีความแตกต่างกัน จริงหรือ ? โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia) เกิดขึ้นที่กระเพาะอาหาร อิ่มก็ปวดแสบ หิวก็ปวดแน่น โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease : GERD) เป็นโรคของหลอดอาหาร อยู่บริเวณกลางทรวงอกหรือลำคอ มักเป็นหลังมื้ออาหาร มีอาการแสบร้อนกลางหน้าอก และไม่ควรมาอยู่บริเวณลิ้นปี่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 เครื่องดื่มที่ไม่ควรใส่กระบอกน้ำเก็บอุณหภูมิ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์ 5 เครื่องดื่ม ที่ไม่ควรใส่ในกระบอกน้ำเก็บอุณหภูมิ ได้แก่ นม ยาจีน น้ำผลไม้ น้ำเกลือ และน้ำชา จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.บุศรินทร์ จงเจริญยานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ และรองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องที่แชร์กันมีบางส่วนจริง และบางส่วนไม่จริง กระบอกน้ำเก็บอุณหภูมิส่วนใหญ่ทำมาจากสเตนเลส (stainless) มี 2 ชั้นซ้อนกัน คือ ผนังชั้นนอก ฉนวนสุญญากาศ ผนังชั้นใน ระหว่างผนังชั้นนอกและผนังชั้นในทำให้เป็นสภาวะ “สุญญากาศ” จึงทำให้แก้วสามารถเก็บรักษาอุณหภูมิทั้งร้อนและเย็นของเครื่องดื่มไว้ได้ ไม่ควรใส่ “นม” ในกระบอกน้ำเก็บอุณหภูมิ จริงหรือ ? “นม” หรือเครื่องดื่มที่มีนมเป็นส่วนประกอบ จัดเป็นอาหารที่เน่าเสียได้ง่าย องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าไม่ควรเก็บอาหารกลุ่มเน่าเสียได้ง่ายที่อุณหภูมิ 5-60 องศาเซลเซียส (ช่วงอันตราย) ถ้ามีความจำเป็นจะต้องเก็บไว้ สามารถเก็บไว้ไม่เกิน 2 ชั่วโมง และถ้าสภาพอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ให้เก็บได้ไม่เกิน 1 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : SASAENG ? — แฟนคลับตัวยง คลั่งรักจนเกินเหตุ !

คำยอดฮิตบนสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้เรียกแฟนคลับที่คลั่งไคล้ศิลปินจนเกินเหตุ เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย และสุขภาพจิตของศิลปิน ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล SASAENG เป็นคำศัพท์ในอุตสาหกรรมบันเทิงของเกาหลีใต้ คำว่า “SA” มาจากคำว่า “ส่วนตัว” คำว่า “SAENG” มาจากคำว่า “ชีวิต” กลุ่มแฟนคลับที่ชื่นชม ชื่นชอบนักร้อง ดารา ศิลปิน แต่ว่าระดับของการชื่นชม ชื่นชอบ ถึงขั้นรุกล้ำ คุกคาม หมกมุ่น ทำให้ชีวิตศิลปินหรือบุคคลสาธารณะไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างปกติ ทำให้รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย ระดับความรุนแรงของพฤติกรรม “SASAENG” ระดับความรุนแรงของพฤติกรรม “SASAENG” มีดังนี้ ระดับที่ 1 เริ่มรุกล้ำข้อมูลส่วนตัวของศิลปิน เช่น รู้ตารางงานและข้อมูลส่วนตัวของศิลปินต่าง ๆ ระดับที่ 2 เริ่มติดตามอย่างหมกมุ่น เช่น ตามศิลปินทางออนไลน์ และออนไซต์หลาย ๆ สถานที่ ระดับที่ 3 เริ่มแอบถ่ายศิลปินทุกช่วงเวลาที่ดำเนินชีวิตตามปกติ เพื่อเก็บไว้ดูส่วนตัว ระดับที่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 สาเหตุโรคกระเพาะอาหาร จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์ 10 สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร ตั้งแต่กินอาหารไม่ตรงเวลา การกินยาบางชนิด ความเครียด ไปจนถึงติดเชื้อแบคทีเรีย จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “กระเพาะอาหาร” ทำหน้าที่ย่อยอาหาร ผลิตน้ำย่อย (กรดย่อยอาหาร) แต่กระเพาะอาหารไม่ถูกย่อย เพราะมีกลไกสร้างเมือกเคลือบผิวกระเพาะอาหารไว้ “โรคกระเพาะอาหาร” ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ทำให้ทรมาน รบกวนการใช้ชีวิต เพราะแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ มีท้องอืดแน่นหลังกินอาหาร สาเหตุโรคกระเพาะอาหารที่แชร์กัน 10 ข้อ มีดังต่อไปนี้ ข้อ 1. กินยาบางชนิดอย่างต่อเนื่อง ยากลุ่มต้านการอักเสบ (Non-steroidal Anti-inflammatory drugs : NSAIDs) ยากลุ่มนี้ช่วยแก้อาการปวด บวม แดง ร้อน และลดการอักเสบโดยตรงของร่างกาย รวมทั้งมีฤทธิ์ลดไข้ ผลข้างเคียงของยากลุ่มต้านการอักเสบอย่างหนึ่งก็คือ ลดการป้องกันผิวกระเพาะอาหาร ทำให้กระเพาะเกิดแผลและระคายเคืองได้ง่าย ถ้าจำเป็นต้องกินยากลุ่มนี้จะต้องกินหลังอาหารทันที และกินเมื่อจำเป็นในช่วงสั้นที่สุด ข้อ 2. […]

ชัวร์ก่อนแชร์: อสุจิชายทั่วโลกจะเป็น 0 ในปี 2050 จริงหรือ?

28 กุมภาพันธ์ 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศชายเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีการอ้างว่าปริมาณอสุจิของชายทั่วโลกจะหมดไปในปี 2050 หลังมีงานวิจัยที่พบว่าปริมาณอสุจิของผู้ชายลดลงจาก 50 ปีที่แล้วถึง 62% บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ข้ออ้างดังกล่าว นำมาจากงานวิจัยปี 2023 เผยแพร่ทางวารสาร Human Reproduction Update เป็นการวิเคราะห์อภิมานและการปริทัศน์อย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการสำรวจปริมาณอสุจิของเพศชายตั้งแต่ปี 1973-2018 จากตัวอย่าง 14,000 ตัวอย่าง ผลสำรวจพบว่าค่าเฉลี่ยจำนวนอสุจิทั้งหมด (Total Sperm Count) ของผู้ชายในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และออสเตรเลียเมื่อปี 1973 อยู่ที่ 335.7 ตัว ส่วนค่าเฉลี่ยจำนวนอสุจิทั้งหมดของผู้ชายในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และออสเตรเลียเมื่อปี 2018 อยู่ที่ 126.6 ตัว […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : รู้จักแคทตาไลติกของรถยนต์

25 กุมภาพันธ์ 2568 – ตามที่มีการแชร์ข้อสงสัยเกี่ยวกับแคทตาไลติกของรถยนต์ว่า คืออะไร รูปร่างหน้าตาเป็นแบบไหน มีหน้าที่และมีความสำคัญอย่างไรกับรถยนต์ของเราบ้าง ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2567 ตัวแปลงไอเสียคืออะไร ท่อแคทตาไลติก (Catalytic Converter) หรือตัวแปลงไอเสียเป็นตัวกรองที่ช่วยลดมลภาวะ มันตั้งอยู่หลังจากที่ไอเสียจากกระบอกสูบทั้งหมดรวมกัน ตัวแปลงไอเสียทำงานอย่างไร มันถูกออกแบบมาเพื่อให้เครื่องยนต์เผาไหม้ก๊าซ ก๊าซจากเครื่องยนต์ผ่านปฏิกิริยาในตัวแปลงไอเสีย ทำให้ความเป็นพิษลดลง อายุการใช้งาน หากได้รับการบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง สามารถใช้งานได้นานกว่า 200,000 กม. การบำรุงรักษา การบำรุงรักษาระบบเครื่องยนต์ทั้งหมดสามารถยืดอายุการใช้งานของตัวแปลงไอเสียได้ การทำความสะอาด แทนที่จะถอดตัวแปลงไอเสียที่อุดตันออก สามารถทำความสะอาดได้ด้วยน้ำยาทำความสะอาดพิเศษ อันตรายจากการถอดออก การถอดออกเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและอาจส่งผลต่อสุขภาพของผู้โดยสารในรถยนต์ ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

1 4 5 6 7 8 287
...