
งานวิจัยมะเร็งหลอดอาหารกับการดื่มน้ำอัดลม
19 มีนาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล มีการนำความนิยมของการดื่มน้ำอัดลม ไปเชื่อมโยงกับการเกิดมะเร็งหลอดอาหารชนิด Adenocarcinoma (EAC) ที่เพิ่มขึ้นถึง 350% นับตั้งแต่กลางทศวรรษ 1970s เป็นต้นมา นำไปสู่การวิจัยถึงความสัมพันธ์อย่างแพร่หลาย แต่ผลการเชื่อมโยงมะเร็งหลอดอาหารกับการดื่มน้ำอัดลมยังไม่เป็นที่แน่ชัด เพราะมีทั้งงานวิจัยที่ไม่พบความสัมพันธ์และงานวิจัยที่พบว่าการดื่มน้ำอัดลมเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหารเช่นกัน งานวิจัยปี 2006 ของ Yale ไม่พบว่าการดื่มน้ำอัดลมเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหารชนิด EAC จุดประสงค์งานวิจัยมาจากข้อสันนิษฐานเรื่องการดื่มน้ำอัดลมทำให้เกิดอาการท้องอืด รบกวนการทำงานของหลอดอาหารส่วนล่าง และความสัมพันธ์ระหว่างการดื่มน้ำอัดลมกับอาการจุกเสียดแน่นท้องในตอนกลางคืน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งหลอดอาหารชนิด Adenocarcinoma (EAC) แต่ทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยเยล เมื่อปี 2006 นำโดย ซูซาน เมย์น ศาสตราจารย์ด้านระบาดวิทยาและสาธารณสุข คณะแพทยศาสตร์ ได้เปรียบเทียบกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งจำนวน 1,095 ราย และกลุ่มควบคุม 657 ราย เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดื่มน้ำอัดลม ทั้งแบบธรรมดาและแบบไม่มีน้ำตาล ทีมวิจัยพบว่า การบริโภคเครื่องดื่มน้ำอัดลมไม่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหารชนิด Adenocarcinoma (EAC) โดยเฉพาะน้ำอัดลมแบบไม่มีน้ำตาล และการบริโภคมากเกินไปไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งหลอดอาหารหรือมะเร็งกระเพาะอาหารชนิดย่อยใด ๆ […]