ชัวร์ก่อนแชร์: Moderna ทดลองวัคซีนโควิดก่อนไวรัสระบาดหลายปี จริงหรือ?

11 มีนาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่า Moderna รู้ล่วงหน้าว่าจะมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นเวลาหลายปี เนื่องจากพบหลักฐานการทดลองวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2017 ข้อความยังอ้างแถลงการณ์ของ คริสเตียน แทร์เฮส สมาชิกของรัฐสภายุโรปจากประเทศโรมาเนีย ที่ตั้งคำถามเรื่องที่ Moderna ส่งผลการทดลองวัคซีน mRNA มายังองค์การยาของสหภาพยุโรป (EMA) ตั้งแต่ปี 2017 เช่นกัน บทสรุป : 1.Moderna ทดลองวัคซีน mRNA มาตั้งแต่ปี 2015 แต่ทดลองกับโรคอื่น ๆ ไม่ใช่โควิด-192.การพัฒนาวัคซีน mRNA เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 1961 หรือก่อนการผลิตโควิด-19 ชนิด mRNA เกือบ 60 ปี FACT CHECK : […]

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : Over Sharing ? — การแชร์เรื่องส่วนตัวเยอะเกินไป !

8 มีนาคม 2568  สิ่งนี้…พฤติกรรมการโพสต์ หรือแชร์เรื่องส่วนตัวเยอะเกินไป บนโลกออนไลน์ และ สิ่งนี้ …ส่งผลทำให้เสี่ยงต่อการถูก Online Grooming ได้ง่าย คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อาจารย์ ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล (สัมภาษณ์เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2568)  Over Sharing คืออะไร? ความเสี่ยงจาก Over Sharing ทำไม Over Sharing จึงมีปัญหามากในกลุ่มเด็กและเยาวชน วิธีป้องกัน Over Sharing สรุป ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยงเรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ภาวะสายตาสั้นเทียม

9 มีนาคม 2568 – ภาวะสายตาสั้นเทียมคืออะไร ต่างจากภาวะสายตาสั้นจริงอย่างไร จะมีวิธีการป้องกันและแก้ไขได้อย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย (สัมภาษณ์เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2568) ภาวะสายตาสั้นเทียมคืออะไร และแตกต่างจากสายตาสั้นจริงอย่างไร ? มีวิธีป้องกันและแก้ไขอย่างไร? ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ผลเสียการจ้องจอในที่มืด

6 มีนาคม 2568 – การเล่นโทรศัพท์ในที่มืดจะส่งผลเสียต่อดวงตาอย่างไร จะมีวิธีการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดผลเสียได้อย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย (สัมภาษณ์เมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2568) การใช้โทรศัพท์ในที่มืดส่งผลเสียต่อดวงตาอย่างไร ? กลไกที่ทำให้เกิดจอประสาทตาเสื่อมจากการจ้องจอในที่มืด อันตรายและผลกระทบต่อดวงตา วิธีดูแลดวงตาและข้อแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สรุป : การปรับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมในการใช้สายตาเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ดวงตาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์: Moderna ปิดบังข้อมูลเด็กป่วยโรคหัวใจหลายรายช่วงทดลองวัคซีนโควิด จริงหรือ?

08 มีนาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่า Moderna บริษัทผู้ผลิตยา ทำการปิดบังข้อมูลว่ามีเด็กจำนวนมากต้องป่วยด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันระหว่างการทดลองวัคซีนโควิด-19 ในเด็กเล็ก บทสรุป : 1.มีเด็กเสียชีวิตเพียง 1 รายในการทดลองวัคซีนโควิด-19 ของ Moderna2.จากการใช้จริงยืนยันว่าวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA มีความปลอดภัยสำหรับการใช้ในเด็ก FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ตาม ข้ออ้างดังกล่าวไม่มีหลักฐาน และยังอ้างโดยสื่อที่มีประวัติเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง การทดลองพบเด็กเสียชีวิตหลังฉีดวัคซีน 1 ราย ในข้อมูลของ KidCOVE ซึ่งเป็นการศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยการทดลองวัคซีนโควิด-19 สูตรเด็กของ Moderna ระบุว่าในการทดลองที่เริ่มต้นช่วงเดือนมีนาคม 2021 มีอาสาสมัครเด็กอายุระหว่าง 6 เดือนถึง 11 ปีจำนวน 12,000 รายร่วมทดลองวัคซีนโควิด-19 ของ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: Pfizer เสียค่าปรับ 7.7 หมื่นล้านคดีบิดเบือนข้อมูลวัคซีนโควิด จริงหรือ?

07 มีนาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่า Pfizer บริษัทผู้ผลิตยาเสียค่าปรับเป็นเงิน 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในข้อหาการฉ้อฉลด้านสาธารณสุข ที่เกิดจากการจำหน่ายวัคซีนโควิด-19 โดยผู้อ้างยืนยันด้วยหลักฐานคลิปการแถลงข่าวของ โทมัส เฟอร์เรลลี อดีตผู้ช่วยอัยการสูงสุดสหรัฐฯ บทสรุป : 1.เป็นคดีเก่าที่ Pfizer โดนปรับเงินจากคดีฉ้อโกงการโฆษณายา Bextra2.ไม่มีความเกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด-19 เพราะเป็นคดีที่เกิดก่อนการผลิตวัคซีน ถึง 12 ปี FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี โทมัส เฟอร์เรลลี ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอัยการสูงสุดสหรัฐฯ ระหว่างปี 2009-2012 เป็นผู้แถลงข่าวการปรับเงินบริษัท Pfizer จากคดีเมื่อปี 2009 ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับวัคซีนโควิด-19 ซึ่งจะถูกผลิตในอีก 12 ปีต่อมาแต่อย่างใด คดีการปรับเงินครั้งประวัติศาสตร์ของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ครั้งนั้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์: Pfizer เผยไวรัส hMPV เกิดจากวัคซีนโควิด จริงหรือ?

06 มีนาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่า Pfizer บริษัทผู้ผลิตยายอมเปิดเผยข้อมูลอาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด-19 เป็นครั้งแรก โดยหนึ่งในอาการข้างเคียงที่ระบุในเอกสารของ Pfizer ก็คือการติดเชื้อไวรัส hMPV ที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ ซึ่งพบการระบาดอย่างมากในสาธารณรัฐประชาชนจีนในช่วงฤดูหนาวที่ผ่านมา บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ไม่ใช่ อาการข้างเคียง หลักฐานที่อ้างว่า Pfizer เปิดเผยอาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด-19 แท้จริงแล้วคือรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (Adverse Events) ภายหลังการรับวัคซีนโควิด-19 ที่ Pfizer นำเสนอต่อองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) เมื่อปี 2021 ไม่ใช่ข้อมูลใหม่ตามที่กล่าวอ้างทางออนไลน์ รายงานดังกล่าวมาจากการสำรวจเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ 42,086 ครั้งที่เกิดกับผู้รับวัคซีนโควิด-19 ของ Pfizer ในช่วงเดือนธันวาคม 2020 ถึง […]

ชัวร์ก่อนแชร์: แมงมุมบราซิลกัด องคชาตแข็งตัว 4 ชั่วโมง จริงหรือ?

05 มีนาคม 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลที่อาจสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศชายเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีการอ้างว่า หากถูกแมงมุมสายพันธุ์พื้นเมืองในประเทศบราซิลกัด จะทำให้อวัยวะเพศชายแข็งตัวต่อเนื่องเป็นเวลาถึง 4 ชั่วโมง บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : แมงมุมสายพันธุ์ดังกล่าวมีชื่อว่า Phoneutria Nigriventer เป็นแมงมุมที่พบได้ในแถบตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ รู้จักในชื่อ Brazilian Wandering Spiders ส่วนอาการแข็งตัวขององคชาตที่อ้างว่าเกิดจากการถูกแมงมุม Phoneutria กัด แท้จริงแล้วคือภาวะองคชาตแข็งค้าง (Priapism) เป็นหนึ่งในอาการที่เกิดจากพิษของแมงมุม Phoneutria ซึ่งจะทำให้อวัยวะเพศชายมีอาการแข็งเกร็งเป็นเวลานานและสร้างความเจ็บปวดอย่างมาก อาจไปสู่การตายของเนื้อเยื่อในกล้ามเนื้อขององคชาตได้อีกด้วย พิษจากแมงมุม Phoneutria ยังส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย ทั้งอาการเจ็บปวดบริเวณที่ถูกกัด เกิดภาวะหัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง วิงเวียนศีรษะ มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน สูญเสียการมองเห็น หายใจลำบาก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 4 วิธี ทำให้เลือดสมดุลมากขึ้น จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์แนะนำ 4 วิธี ทำให้เลือดสมดุลมากขึ้น ค่า pH อยู่ในเกณฑ์ปกติ เลือดไหลเวียนดี ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีตั้งแต่ลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงสารเสพติด หรืออาหารหวาน-มัน และดื่มน้ำให้มาก จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ อาจารย์ประจำภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทั้ง 4 อย่างที่แนะนำเป็นสิ่งที่ทำให้ร่างกายสมดุล ร่างกายแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย และไม่เกี่ยวกับการทำให้เลือดไม่เป็นกรดโดยตรง ในทางกลับกัน ถ้าเกิดเจ็บป่วยเป็นโรคขึ้นมาและดูแลร่างกายไม่ดี ก็มีโอกาสที่เลือดจะเป็นกรดได้ ข้อ 1. ลดความเครียด เพราะ “ความเครียดทำให้เลือดเป็นกรด” จริงหรือ ? เรื่องของความเป็นกรดเป็นด่าง ร่างกายคนเรามีระบบควบคุมสมดุล “กรด-ด่าง” อยู่แล้ว รวมถึงระบบอื่น ๆ ของร่างกายทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการหายใจ การขับถ่าย ประสาทและสมอง เป็นต้น ดังนั้น ความเครียดจะไม่ทำให้เลือดเป็นกรด เพราะร่างกายมีระบบจัดการทำให้เลือดอยู่ในสภาวะปกติ แต่ความเครียดโดยรวมต่างหากที่มีผลต่อระบบอื่น ๆ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ภาวะรูม่านตา 2 ข้างไม่เท่ากัน

รูม่านตาไม่เท่ากัน ภาวะที่มองเห็นตรงกลางตาดำที่มีขนาดไม่เท่ากันของตา 2 ข้าง เกิดได้จากสาเหตุใด อันตรายหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “รูม่านตา” ของมนุษย์มีหน้าที่ปรับปริมาณของแสงที่เข้าสู่จอประสาทตา เปรียบเสมือนรูรับแสงกล้องถ่ายภาพ ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณแสงเข้าสู่กล้องถ่ายภาพ “ม่านตา” ควบคุมรูม่านตา โดยทั่วไปมีขนาด 3-4 มิลลิเมตร และทั้ง 2 ข้างมีขนาดใกล้เคียงกัน รูม่านตามีขนาดไม่เท่ากัน เกิดจากสาเหตุอะไร ? นิยามทางการแพทย์เรียก “รูม่านตาไม่เท่ากัน” ต่างกันตั้งแต่ 1 มิลลิเมตรขึ้นไป เรียกว่า Anisocoria (ภาวะรูม่านตาต่างขนาด) รูม่านตา 2 ข้างไม่เท่ากัน เกิดได้จากหลายสาเหตุ 1. ภาวะปกติของคนที่มีรูม่านตาไม่เท่ากัน หรือคนที่มีมือข้างซ้ายและข้างขวาไม่เท่ากัน 2. เผลอหยอดยาที่มีผลขยายรูม่านตา หรือการนำยาหยอดตาของคนอื่นมาใช้และมีผลกับรูม่านตา ปกติแล้ว “การหยอดยา” ใช้กรณีจำเป็นเท่านั้น เช่น เด็กต้องวัดสายตาและหยอดยาชะลอสายตาสั้น รวมถึงการอักเสบบริเวณลูกตาของผู้สูงอายุ ลูกตาได้รับอุบัติเหตุ และการหยอดยาประมาณ 30 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เมื่อใดต้องทำ “บอลลูนหัวใจ”

บอลลูนหัวใจคืออะไร ป่วยระดับไหนถึงต้องทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ และมีวิธีการรักษาแบบอื่นอีกหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.นพ.สุพจน์ ศรีมหาโชตะ สาขาวิชาโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตนายกสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ การรักษาหลอดเลือดหัวใจมี 3 วิธี กินยาอย่างเดียว ทำบอลลูนหลอดเลือดหัวใจ (ปัจจุบันใส่ขดลวดด้วย) และทำบายพาสผ่าตัดต่อหลอดเลือดที่ตีบ การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ เป็นวิธีการรักษาแบบหนึ่ง แต่ต้องประเมินว่า… 1. หลอดเลือดตีบจริง ๆ และมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 2. ใส่ขดลวดเล็ก ๆ ผ่านบริเวณรอยตีบของหลอดเลือด และนำบอลลูนขยายหลอดเลือดให้กว้างขึ้น 3. หลอดเลือดขยาย ก้อนไขมันจะถูกเบียดชิดผนังหลอดเลือด หลังจากนั้นใส่ขดลวด เมื่อใส่ขดลวดแล้วหลอดเลือดขยายมีขนาดใหญ่ เลือดก็จะไหลได้ดีขึ้น ผู้ป่วยกลุ่มไหนบ้าง ต้องทำบอลลูน ? หลังตรวจร่างกายแล้ว แพทย์พิจารณาว่าควรทำบอลลูนกับกลุ่มผู้ป่วยดังต่อไปนี้ 1. กลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน บางคนกล้ามเนื้อหัวใจตาย กลุ่มนี้จะได้ประโยชน์สูงสุดจากการทำบอลลูน ซึ่งหลาย ๆ ครั้งพบว่าทำให้ผู้ป่วยรอดชีวิตจากการทำบอลลูนได้ 2. กลุ่มที่มีอาการเจ็บหน้าอกแบบอาการคงที่  กลุ่มที่ไม่ได้มีอาการเฉียบพลัน แต่อาจจะต้องทำบอลลูนหลอดเลือดหัวใจ […]

1 6 7 8 9 10 290
...