“ภูมิธรรม” เมินกระแสต้าน “กิตติรัตน์”
“ภูมิธรรม” เมินกระแสต้าน “กิตติรัตน์” นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ย้อนให้ดูหลักเกณฑ์-ข้อกฎหมาย กำหนด
“ภูมิธรรม” เมินกระแสต้าน “กิตติรัตน์” นั่งประธานบอร์ดแบงก์ชาติ ย้อนให้ดูหลักเกณฑ์-ข้อกฎหมาย กำหนด
อดีตพนักงาน ธปท. ออกจดหมายเปิดผนึก ระบุการสรรหาประธานบอร์ด-กรรมการ ต้องโปร่งใส เป็นอิสระจากการเมือง เพราะต้องทำหน้าที่ด้วยจริยธรรมสูงสูด เที่ยงธรรม เป็นกลาง ไม่เลือกปฏิบัติ
“อุตตม” กระทุ้ง การเมืองไม่ควรยุ่งตั้ง “ประธานบอร์ดแบงก์ชาติ” No comments “กิตติรัตน์” มีชื่อแคนดิเดต
บ.โทรคมนาคมแห่งชาติ 6 ก.ย.- “อ.ยุทธพร” มองภาพการเมืองขณะนี้ เป็นการเมืองแบบคัดตัวจริงออก เข้าสู่การเมืองแบบตัวแทน ซึ่งเป็นไปตามสังคมวัฒนธรรมเอเชีย ชี้ หากใช้ กม.ให้กลายเป็นการเมือง จะทำให้การเมืองแย่และถดถอย ขณะที่ปมปัญหา ศก. จะเป็นตัววัดอายุของรัฐบาล บอก ปัญหาภายใน พปชร. จะเกิดปรากฏการณ์หนึ่งพรรคสองระบบชัดขึ้น นายยุทธพร อิสรชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ให้สัมภาษณ์มองภาพทางการเมืองในช่วงนี้ ที่มีการมองว่าเป็นการสืบทอดระบอบชินวัตร ว่า ในช่วงระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา การเมืองแบบคัดออก คือการคัดตัวจริงออก เพราะมีทั้งเรื่องของการยุบพรรค การตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค การตัดสิทธิ์ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเรื่องจริยธรรมทางการเมือง สิ่งเหล่านี้ทำให้เกิดการคัดตัวออก ทำให้เข้าสู่การเมืองแบบนอมินี หรือการเมืองแบบตัวแทน ซึ่งปรากฏการณ์แบบนี้เป็นพื้นฐานทางสังคมวัฒนธรรมของเอเชีย เช่นของเมียนมา อินโดนีเซีย อินเดีย ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์ ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก สำหรับลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมของเอเชีย รวมถึงประเทศไทยด้วย ”แต่สิ่งที่เป็นปัญหา คือเราพยายามใช้กฎหมายให้กลายเป็นการเมือง จะทำให้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เรื่องของลักษณะความเป็นตระกูลการเมือง การเมืองแบบเครือข่าย การเมืองแบบทายาททางการเมือง ขึ้นมาทำงานทดแทนการเมืองแบบตัวจริง ท้ายที่สุดหลายคนบอกว่าการคัดกรองแบบนี้ จะทำให้เกิดนักการเมืองที่มีคุณภาพ แต่สุดท้ายผมไม่เห็นแบบนั้น ที่สุดการเมืองแบบคัดออกจะทำให้ภาวะการเมืองแย่และถดถอยลงไปกว่าเดิม” […]
กรุงเทพฯ 15 ส.ค.- รอยเตอร์สอบถามความเห็นของผู้อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติ 5 ต่อ 4 เสียงให้นายเศรษฐา ทวีสิน วัย 62 ปี พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ สตรีเจ้าของร้านหนังสือวัย 60 ปี กล่าวว่า เศรษฐกิจเวลานี้เงียบเหงามาก สัปดาห์ที่แล้วที่พรรคก้าวไกลถูกสั่งยุบพรรค เศรษฐกิจก็เงียบเหงา และเมื่อวานนี้ที่นายกรัฐมนตรีถูกสั่งพ้นจากตำแหน่ง เศรษฐกิจก็เงียบเหงา หากการเมืองยังเป็นเช่นนี้ต่อไป เธอเชื่อว่าเศรษฐกิจประเทศจะไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้ ด้านสตรีเจ้าของแผงขายอาหารริมทางวัย 65 ปี ไม่รู้สึกกังวลกับการเมืองมากเท่าใดนัก เพราะในที่สุดแล้วก็จะมีคนมาดำรงตำแหน่งแทน และไม่รู้สึกตกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะประเทศไทยก็เป็นแบบนี้ ขณะที่ชายขับรถจักรยานยนต์รับจ้างวัย 47 ปีมองว่า คนที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ขึ้นอยู่กับรัฐสภาว่า จะเลือกใครและคิดจะทำอะไร เราเป็นเพียงประชาชนที่รอคำตอบจากคนข้างบนเท่านั้น รอยเตอร์ระบุว่า ประเทศไทยเกิด “ละครทางการเมือง” อีกครั้งภายในเวลาไม่ถึงปี หลังนายเศรษฐาได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมื่อพรรคเพื่อไทยได้กลับมาคุมอำนาจอีกครั้ง หลังจากที่เกิดภาวะทางตันในรัฐสภามาหลายสัปดาห์ พรรคเพื่อไทยจะประชุมในวันนี้เพื่อคัดเลือกผู้ที่จะมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อจากนายเศรษฐา และต้องเร่งหาเสียงสนับสนุนก่อนที่รัฐสภาจะลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ในวันศุกร์.-814.-สำนักข่าวไทย
นายกฯ เชื่อ ก้าวไกล เคารพคำตัดสินศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ปลุกระดมจนวุ่นวายหลังโดนยุบพรรค บอกคุยฝ่ายความมั่นคงแล้ว มองเป็นการแสดงจุดยืนเดินหน้าการเมือง ชี้ไทยเป็นประเทศที่มีเอกราช หลังโฆษก กต.สหรัฐ ออกแถลงค้าน
“ชัยธวัช” เปิดเวทีผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชน ชี้ “ปลดล็อกวิกฤตงบประมาณ” 5 มติ ต้องคุ้มค่า-ตอบโจทย์ความท้าทายใหม่-เสริมพลังประชาชน-สร้างเสถียรภาพ-สร้างประชาธิปไตย ซัดต้องไม่ตอบโจทย์ระบบอุปถัมภ์ทางการเมือง “บ้านใหญ่”
สมพรปาก! หากได้นั่งนายกฯ “อนุทิน” บอก ไม่ใช่สำรอง ต้องตัวจริงเท่านั้น ตามกติกา ลั่นไม่เอางูเห่าก้าวไกล ติดตลกหน้าออร่าจับเพราะ “โบท็อกซ์-ฟิลเลอร์”
“เนวิน” ปัดพูดการเมือง พร้อมเปิดตัวเสื้อ “ฅนบุรีรัมย์” บอก “สีน้ำเงิน” มาตั้งแต่เกิด หลังสื่อจี้ปมครูใหญ่ภูมิใจไทยโยง สว.สีน้ำเงิน หากสมองพักการเมืองบ้าง บ้านเมืองจะสงบสุข
“กำนันมาเรีย” ยันไม่ใช่ตัวแทนการเมือง แต่หวังทำหน้าที่เพื่อประชาชน การสังกัดพรรคแค่เรื่องในอดีต
เอ็กซองโพรวองซ์ 7 ก.ค.- กลุ่มผู้นำภาคธุรกิจในฝรั่งเศสกังวลว่า จะเกิดความผันผวนทางการเมือง กลุ่มผู้กำหนดนโยบายการเมืองที่ไร้ประสบการณ์ การประท้วงตามท้องถนน และอาจเกิดการล้มละลายตาม ๆ กัน ในอีกไม่เดือน หลังการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติรอบ 2 ในวันนี้ กลุ่มผู้นำภาคธุรกิจที่เข้าร่วมการประชุมประจำปีที่เมืองเอ็กซองโพรวองซ์ ทางตอนใต้ของประเทศระหว่างวันที่ 5-6 กรกฎาคมแสดงความกังวลว่า หากไม่มีพรรคใดได้เสียงข้างมากเด็ดขาด ก็อาจจะไม่สามารถตั้งรัฐบาลผสมหลังการเมือง ทำให้ประเทศไร้เสถียรภาพ เกิดความไม่สงบทางสังคม ขณะเดียวกันนักการเมืองที่อยู่แถวหน้าของผู้ที่จะมีอำนาจล้วนแต่ไร้ประสบการณ์ในการบริหารประเทศ หากความผันผวนทางการเมืองไม่มีสัญญาณว่าจะสงบลงโดยเร็ว ภาคธุรกิจจะต้องแบกรับต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น และอาจมีบริษัทผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาคธุรกิจเป็นกลุ่มหลักที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการปฏิรูปสนับสนุนภาคธุรกิจที่ประธานาธิบดีเอมานูว์แอล มาครงดำเนินมาตั้งแต่รับตำแหน่งสมัยแรกในปี 2560 แต่พรรคเนชันแนลแรลลีหรืออาร์เอ็น (RN) ที่เป็นพรรคขวาจัดต้องการยกเลิกนโยบายของมาครงที่ขยายอายุเกษียณจาก 62 ปีเป็น 64 ปี ขณะที่นิวป็อปปูลาร์ฟรอนต์ (New Popular Front) ที่เป็นการจับมือกันของพรรคฝ่ายซ้ายต้องการฟื้นนโยบายเก็บภาษีความร่ำรวย และขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอีกร้อยละ 14 ผลการเลือกตั้งรอบแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน อาร์เอ็นได้คะแนนร้อยละ 29.26 นิวป็อปปูลาร์ฟรอนต์ได้คะแนนร้อยละ 28.21 และอองซอมเบลอ (Ensemble) พันธมิตรสายกลางที่มีพรรคของมาครงเป็นแกนนำได้คะแนนร้อยละ 21.28.-814.-สำนักข่าวไทย
อัสตานา 3 ก.ค.- ผู้นำของจีนและรัสเซียได้เดินทางไปร่วมประชุมสุดยอดกับบรรดาผู้นำประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมือแห่งเซี่ยงไฮ้หรือเอสซีโอ (SCO) ที่คาซัคสถาน และถูกมองว่าเป็นการรวมกลุ่มทางการเมืองมากขึ้น สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีของจีนได้เดินทางถึงกรุงอัสตานาของคาซัคสถาน เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดประจำปีของ เอสซีโอ ซึ่งจีนเป็นแกนนำก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2544 โดยมีสมาชิกก่อตั้ง 6 ประเทศ คือ จีน รัสเซีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน ขณะนี้เอสซีโอได้เพิ่มสมาชิกและพัฒนาจากความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียกลางมาเป็นองค์การระหว่างประเทศเพื่อผลักดันระเบียบโลกใหม่ที่จีนและรัสเซียเป็นแกนนำ ด้านวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียเดินทางถึงกรุงอัสตานาแล้วเช่นกัน มีกำหนดหารือกับผู้นำหลายคนแบบทวิภาคี เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ใกล้ชิด โดยเฉพาะจีนที่ต่างต้องการขยายพันธมิตรเพื่อเผชิญหน้ากับกลุ่มชาติตะวันตก การประชุมเอสซีโอในปีนี้ยังมีวาระสำคัญที่บ่งชี้ถึงการให้ความสำคัญต่อความเป็นองค์กรการเมืองมากขึ้น คือจะมีการรับเบลารุส ซึ่งเป็นประเทศในยุโรปตะวันออกและเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับรัสเซีย เข้าเป็นสมาชิกเต็มตัวประเทศที่ 10 หลังจากเมื่อปีที่แล้ว เอสซีโอเพิ่งรับอิหร่าน ชาติปฏิปักษ์ของสหรัฐเข้าเป็นสมาชิก นักวิเคราะห์มองว่า การมุ่งเน้นเรื่องการรวมกลุ่มทางการเมืองอาจทำให้เอสซีเอสูญเสียความน่าเชื่อถือ เพราะได้ละทิ้งวัตถุประสงค์เดิมในการรักษาความมั่นคงและเสริมสร้างการพัฒนาในหมู่ประเทศเอเชียกลาง.-812(814).-สำนักข่าวไทย