แจ้งเตือน 11 จังหวัด เตรียมรับเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำเพิ่ม
กรมชลประทาน เตรียมเพิ่มการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา จาก 1,500 เป็น 1,700 ลบ.ม./วินาที แจ้งเตือน 11 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา รับมือน้ำสูงขึ้นจากเดิมอีก 50 ซม.
กรมชลประทาน เตรียมเพิ่มการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา จาก 1,500 เป็น 1,700 ลบ.ม./วินาที แจ้งเตือน 11 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา รับมือน้ำสูงขึ้นจากเดิมอีก 50 ซม.
สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ ส่งผลให้พื้นที่การเกษตร บ้านเรือน ถนนเสียหาย เจ้าหน้าที่เร่งสำรวจเพื่อเตรียมความช่วยเหลือเบื้องต้น ขณะที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ คาดจะมีพายุไต้ฝุ่นเข้าไทย 1-2 ลูก ช่วงฤดูฝนปีนี้ โดยเดือนนี้ฝนจะมากกว่าเดือน ส.ค. พื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เฝ้าระวัง 6-7 ก.ย.นี้
“เขื่อนแก่งเสือเต้น” ซึ่งมีแนวคิดที่จะก่อสร้างมานานถึง 44 ปีแล้ว แต่ยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากถูกคัดค้านจากชุมชนในพื้นที่ก่อสร้าง รวมถึง NGO ด้านสิ่งแวดล้อม กลายเป็นประเด็นถกเถียงในสังคมอีกครั้ง เมื่อมีแนวคิดจะปัดฝุ่นโครงการขึ้นมาพิจารณา
ปลายฤดูฝนของทุกปีเป็นช่วงที่ฝนตกชุกที่สุด โดยเฉพาะปีนี้มีอิทธิพลของลานีญามาเสริม สทนช. ระบุว่าในเดือนกันยายนถึงตุลาคม บางพื้นที่จะมีปริมาณฝนมากกว่าค่าปกติ
อธิบดีกรมปศุสัตว์ ลงพื้นที่ภาคเหนือ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ที่ประสบอุทกภัย พร้อมสั่งการปศุสัตว์จังหวัดเร่งสำรวจความเสียหายด้านปศุสัตว์ ชี้แจงขั้นตอนการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง เน้นย้ำให้ดำเนินการด่วนที่สุดเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร
ฝนตกต่อเนื่องในภาคเหนือตอนบน ตั้งแต่กลางเดือน ส.ค.เป็นต้นมา ส่งผลให้ลุ่มน้ำยมเกิดอุทกภัยอย่างรุนแรง กรมอุตุฯ พบปริมาณฝนเฉลี่ยบางจังหวัดที่เกิดน้ำท่วมเริ่มสูงกว่าค่าปกติ ขณะที่หน่วยงานด้านบริหารจัดการน้ำยืนยันว่าภาพรวมทั้งประเทศจะไม่เป็นมหาอุทกภัยเหมือนปี 2554
“ภูมิธรรม” ห่วงสถานการณ์อุทกภัย เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมแผนบริหารจัดการด่วนที่กรมชลประทานบ่ายนี้ สทนช.ออกประกาศเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่เสี่ยงทุกภาคจนถึงวันที่ 30 ส.ค. กรมชลประทานแจ้งเตือนลุ่มน้ำยม จะมีน้ำล้นตลิ่งเข้าสู่พื้นที่ลุ่มต่ำในจังหวัดแพร่และสุโขทัยใน 2 วันนี้
“ธรรมนัส” รอกินข้าวร่วมกับ สส. พลังประชารัฐ มาให้กำลังใจที่กระทรวงเกษตรฯ เผยขอไม่คุยกับใครทั้งนั้น ขอไม่ยุ่งกับการเมืองของพรรคพลังประชารัฐ เจอมามากเรื่องการเมืองน้ำเน่า ขออยู่อย่างสงและจะไปไหว้พระแล้ว
กรมส่งเสริมการเกษตรเร่งวิจัยขยายท่อนพันธุ์มันสำปะหลังต้านทานโรคใบด่าง โดยมีแผนผลิตต้นกล้าให้ได้ 240,000 ต้น ใน 3 เดือน จากนั้นนำไปปลูกขยายพันธุ์ที่ศูนย์ขยายพันธุ์พืชทั้ง 8 ศูนย์ เพื่อให้ได้ต้นพันธุ์ที่พร้อมเป็นพันธุ์ตั้งต้นสำหรับใช้เพิ่มปริมาณต้นกล้าในปี 2568 และตั้งเป้าหมายให้ได้ 15 ล้านท่อน ในปี 2569 ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่ปลูก 9 ล้านไร่ เพื่อตัดวงจรการระบาดของโรคที่มีมากว่า 6 ปี ให้ได้
กรมปศุสัตว์ ดันปศุสัตว์ฮาลาล เชิญผู้สนใจชมนิทรรศการ รับคำปรึกษา กิจกรรมเสวนา “วิถีการเลี้ยงแพะฮาลาลแบบครบวงจรและการแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืน”
กรุงเทพฯ 29 ก.ค. – อธิบดีกรมปศุสัตว์เผย สั่งสำนักงานปศุสัตว์อำเภอและจังหวัดทั่วประทศเร่งเข้าช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ทันทีที่เกิดอุทกภัย ตามข้อสั่งการของรมว. เกษตรฯ ล่าสุดช่วยขนย้ายหมูและไก่เนื้อของเกษตรกรในจังหวัดตราดซึ่งน้ำท่วมฟาร์มจากฝนที่ตกหนักต่อเนื่อง ทำให้สามารถลดความเสียหายของเกษตรกรได้ นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคตะวันออกซึ่งฝนตกหนักต่อเนื่อง ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์สั่งการกรมปศุสัตว์เร่งช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เพื่อบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น ล่าสุดได้รับรายงานจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดตราดซึ่งร่วมกับเจ้าหน้าที่ปกครองจังหวัดตราด อำเภอเมืองตราด ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตราด เจ้าหน้าที่ทหารมณฑลทหารบกที่19 หน่วยนาวิกโยธินจันทบุรี- ตราด และหน่วยงานอื่นๆ ช่วยขนย้ายสุกรซึ่งเลี้ยงไว้ที่ศักรินทร์ฟาร์ม หมู่ที่ 2 ตำบล ห้วยแร้ง อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องทำให้น้ำท่วมฟาร์มจึงต้องร่วมกันขนย้ายลูกสุกร 1,200 ตัวไปไว้ในฟาร์มอื่นซึ่งตั้งอยู่บริเวณพื้นที่สูง จากการตรวจสอบหลังจากขนย้ายเรียบร้อยแล้ว พบว่า สุกรตาย 8 ตัว โดยการเข้าช่วยเหลืออย่างทันทีท่วงทีทำให้ช่วยลดความเสียหายของเกษตรกรได้ นอกจากนี้สำนักงานปศุสัตว์ตราดยังร่วมกับหลายหน่วยงานช่วยเหลือเกษตรผู้เลี้ยงไก่เนื้อที่เกศรินทร์ฟาร์มในพื้นที่หมู่ที่2 ตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ฟาร์มแห่งนี้เลี้ยงไก่ไว้ 37,000 ตัว น้ำท่วมสูงอย่างรวดเร็ว จากการเข้าช่วยเหลือของเจ้าหน้าที่ สามารถขนย้ายไก่เข้าโรงฆ่าได้ส่วนหนึ่งเป็นจำนวน 8,828 ตัว ไก่ตาย 28,172 […]
การยางแห่งประเทศไทย หรือ กยท. เผยน้ำหมักชีวภาพจากปลาหมอคางดำ จะเริ่มแจกจ่ายให้แก่เกษตรกรในโครงการแปลงใหญ่สวนยางได้ต้นเดือนกันยายนนี้