“พรรคกล้า” ยื่นข้อเสนอยกระดับมาตรการแก้วิกฤตโควิด-19
กทม. 26 ส.ค.- “พรรคกล้า” ยื่นข้อเสนอยกระดับมาตรการแก้วิกฤตโควิด-19 ชี้ตัวเลขระบาดยังสูง ปัญหาต้องรีบแก้ มั่นใจข้อเสนอทำได้จริง
กทม. 26 ส.ค.- “พรรคกล้า” ยื่นข้อเสนอยกระดับมาตรการแก้วิกฤตโควิด-19 ชี้ตัวเลขระบาดยังสูง ปัญหาต้องรีบแก้ มั่นใจข้อเสนอทำได้จริง
ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก อังกฤษ “ปีศาจแดง” แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด เปิดสนาม โอลด์ แทร็ฟฟอร์ด พ่ายแพ้ให้กับ “ดาบคู่” เชฟฟิลด์ ยูไนเต็ด ทีมอันดับสุดท้ายของตาราง
“พิมรี่พาย” แม่ค้าออนไลน์ชื่อดัง ไลฟ์สดลั่นเจตนาดีเอาของไปแจกวันเด็กบนดอย รับถ้าจะผิดคือบกพร่อง ขอโทษทุกคน ไม่ได้ประสาน จนท. ขอทำคอนเทนต์ทำความดีต่อไป ไม่หวั่นไหว และขอบคุณจากใจ วอนอย่าโยงเรื่องให้ทะเลาะกัน
กทม.2 ม,ค, 64 – กทม.ออกประกาศปิดสถานที่เสี่ยง 25 ประเภท ป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสถานที่ที่ผู้ไปใช้บริการไม่สามารถสวมหน้ากากอนามัยขณะทำกิจกรรมต่างๆได้ รวมถึงมีการสัมผัสจับต้องโดยตรงใกล้ชิด หรือมีความสุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่าย จึงต้องคุมเข้มการปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดที่เกิดในช่วงเวลานี้ โดยเริ่มตั้งแต่วันนี้ (2 ม.ค.64) เป็นต้นไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ยกเว้นโรงเรียน สถาบันกวดวิชา และสถาบันการศึกษา ให้หยุดการเรียนการสอนไปก่อนจนถึง 17 ม.ค.64 ดาวน์โหลดประกาศคลิก http://www.prbangkok.com/th/post/view/MDY1cDBzNnM0NHIyb3Ezc3E2NnEyNDk0cDRyOTQzcjQzMjExMg==?fbclid=IwAR2kGuYDsUh7yMY48ShH_8vdurq5nO72v7uQfHYSutDgphuAfvwgOfr3JjI
กรุงเทพฯ 9 พ.ย. ไลน์ ประเทศไทยแจงเหตุเซิร์ฟเวอร์ญี่ปุ่นขัดข้องทำให้ระบบล่มชั่วคราว บริษัทไลน์ ส่งคําชี้แจงกรณี ระบบ LINE หยุดชะงักชั่วคราว เมื่อประมาณเวลา 12.45 น. ที่ผ่านมา มีเหตุขัดข้องจากเซิร์ฟเวอร์ LINE ในประเทศญี่ปุ่นจึงทาให้เกิดการชะงกั ของระบบสื่อสารภายใต้แพลตฟอร์ม LINE เป็นเวลาประมาณ 15 นาที อย่างไรก็ตาม ขณะนีร้ ะบบได้รับการ แก้ไขเรียบร้อยแล้วผู้ใช้งานสามารถกลบั มาใช้งานLINEได้เป็นปกติเช่นเดิม LINE ประเทศไทย กราบขออภยั เป็นอย่างสงูในความไม่สะดวกมา ณ ที่นี้-สำนักข่าวไทย.
กรุงเทพฯ 6 พ.ย. ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมชี้ ไบเดน มา เทควอร์ จะยังคงอยู่ เชื่อท่าทีต่อจีนอาจผ่อนปรนลง นายเจษฎา ศิวรักษ์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม เพื่อเศรษฐกิจและสังคม สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นต่อโฉมหน้าของอุตสาหกรรมไฮเทคของประเทศมหาอำนาจ อิทธิพลที่จะส่งผลต่อประเทศไทยหากผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เป็นชัยชนะของพรรคเดโมแครตและส่งผลให้นายโจ ไบเดน มีความเป็นไปได้ที่จะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ว่า เชื่อว่า Tech war หรือการแข่งขันทางการค้าและเทคโนโลยีระหว่างประเทศมหาอำนาจอาจจะยังคงมีอยู่ แต่การมาของไบเดนน่าจะมีความประนีประนอมกับประเทศจีนมากขึ้น เพราะบริษัทไฮเทคของสหรัฐจำนวนมากอยากขายของให้จีนอยู่ รวมถึงความต้องการมีส่วนแบ่งตลาดที่ยังมีความสำคัญ เช่น Apple ก็ยังต้องการให้มีส่วนแบ่งตลาดในจีนรวมทั้งบริษัทที่ขายชิพ เช่น อินเทล และเอเอ็มดี ในส่วนของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดยเฉพาะกับเทคโนโลยี 5G น่าจะมีความร่วมมือกับสหภาพยุโรปมากขึ้น แต่ในอาเซียนจะมีบางประเทศได้ประโยชน์ ไบเดนคงพยายามสนับสนุน ประเทศ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินโดนีเซีย รวมทั้งออสเตรเลีย ขณะที่อาจมีการสกัดกั้นหัวเว่ยผ่านประเทศที่มีการเลือกพัฒนา 5G core ด้วยเทคโนโลยีจากจีน ในส่วนประเทศไทยขึ้นอยู่กับสหรัฐว่าจะตีความให้ไทยเป็นประเทศภายใต้การครอบงำของจีน หรือไม่ ถ้าถูกมองเช่นนั้นเราอาจไม่ได้ประโยชน์จากการสนับสนุนของอเมริกา ก่อนหน้านี้เคยประเด็นที่เกิดขึ้นกับเวียดนามที่มีการห้ามใช้าเทคโนโลยีหลัก หรือ5G core จากจีน และบางประเทศมีการแสดงท่าทีชัดเจนเช่น ออสเตรเลีย อินเดียที่มีนโยบายกีดกัน 5G จากหัวเว่ย ท่าทีที่เหมาะสมที่สุดของรัฐบาลไทยคือการวางตัวเป็นกลางจะเหมาะสมที่สุด เราเปิดรับเทคโนโลยีจากทุกด้าน เพราะรัฐบาลเชื่อในการแข่งขัน การเปิดให้มีการแข่งข้ไม่มีการกีดกัน จะทำให้เกิดนวัตกรรม และการสร้างสรรค์ หากมีการออกนโยบายกีดกัน จะทำให้การสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมหายไป ดังนั้นนโยบายเป็นกลางและสนับสนุนการแข่งขัน จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย อย่างไรก็ดีรัฐบาลควรมต้องมีนโยบายที่ชัดเจนในการปกป้องเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology Safeguard Agreement) การปกป้องเทคโนโลยีของประเทศต้นทาง จะได้รับการคุ้มครองไม่ให้รั่วไหลไปยังประเทศปลายทางที่ทางต้นทางไม่ต้องการได้-สำนักข่าวไทย.
กรุงเทพฯ 5 พ.ย. ทวิตเตอร์เผยช้อปปิ้งออนไลน์โตแรงยุคโควิด-19 ชาวทวิตภพมากกว่า 4ใน 5 คนนิยมซื้อของออนไลน์ นายอาร์วินเดอร์ กุจรัล กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทวิตเตอร์ กล่าวว่า ข้อมูลจาก สตาติสต้าบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด พบว่า ในปี 2562 มีการใช้จ่ายผ่านอีคอมเมิร์ซทั่วโลกเป็นมูลค่ากว่า 3.53 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ข้อมูลจาก MediaRadar บริษัทที่ปรึกษาด้านการตลาดและโฆษณา พบว่ามีการใช้จ่ายค่าโฆษณาเกี่ยวกับอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นจากเดิม 4.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 9.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงระหว่างที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 สำหรับตลาดอีคอมเมิร์ซ (eCommerce) และ เอ็มคอมเมิร์ซ (mCommerce) ในประเทศไทยมีมูลค่ารวมกันราว 3.98 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ห้างสรรพสินค้าเกือบทุกแห่งในประเทศไทยต้องปิดตามมาตรการของรัฐที่ขอให้ทุกคนอยู่บ้าน #StayAtHome กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคหันมาช้อปปิ้งออนไลน์ การดิสรัปต์ที่สำคัญครั้งนี้ส่งผลไปถึงไลฟ์สไตล์ของผู้คนในการเลือกซื้อสินค้าทำให้อีคอมเมิร์ซในประเทศมีการเติบโตขึ้นอย่างมหาศาลเนื่องจาก การช้อปปิ้งออนไลน์กลายเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในชีวิตประจำวันไปแล้ว แบรนด์ต่างๆ จึงหันมาลงทุนศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น เพื่อจะได้ทำความเข้าใจว่าผู้บริโภคเลือกสิ่งที่ชอบและไม่ชอบอย่างไร อะไรคือสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อ และการซื้อของออนไลน์มีลำดับขั้นตอนอย่างไร เป็นต้น “ไม่แปลกใจเลยว่าบทสนทนาที่พูดคุยเกี่ยวกับการช้อปปิ้งบนทวิตเตอร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเพิ่มมากขึ้น และเราจะเห็นช่วงพีคที่สุดในช่วงใกล้ๆ วันแห่งการช้อปปิ้งออนไลน์ทั้งก่อนและหลังวันที่มีการจัดโปรโมชั่น ทั้งนี้ การช้อปปิ้งยังเป็นหัวข้อการสนทนาที่มีการพูดคุยได้ตลอดทั้งปีบนทวิตเตอร์ ยิ่งผู้บริโภคหันมาใช้อีคอมเมิร์ซและเอ็มคอมเมิร์ซมากขึ้นจะพบว่าเทรนด์การสนทนาในหัวข้อที่เกี่ยวกับการช้อปปิ้งออนไลน์ยังคงมีการเติบโตอย่างรวดเร็วต่อเนื่องแบรนด์ต่างๆ ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีในการทำการตลาด โดยเฉพาะจะต้องมีความเข้าใจว่าทำไมผู้บริโภคจึงเลือกซื้อของทางออนไลน์และสิ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อดังกล่าว เราพบว่าแบรนด์ในประเทศไทยต่างหันมาใช้ทวิตเตอร์ในการคอนเน็คกับกลุ่มผู้บริโภคและกลุ่มผู้ใช้งานทวิตเตอร์ประเทศไทย” วันแห่งการช้อปปิ้งกลายเป็นเหมือนแม่เหล็กดึงดูดทั้งแบรนด์และผู้บริโภค ทวิตเตอร์นับเป็นแพลตฟอร์มที่แบรนด์เลือกใช้สร้างคอนเน็คกับนักช้อปออนไลน์ จากการวิจัยล่าสุดพบว่าผู้ใช้งานทวิตเตอร์ประเทศไทยมากกว่า 4 ใน 5 คน มีการซื้อของออนไลน์ ทั้งนี้แบรนด์สามารถทำความเข้าใจเทรนด์ของผู้บริโภคได้ถือเป็นเรื่องที่จำเป็น ทวิตเตอร์ขอแนะนำ 3 พฤติกรรมหลักในการช้อปปิ้งเพื่อช่วยให้เข้าใจเทรนด์การช้อปออนไลน์ของผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น ผู้บริโภคเลือกซื้ออะไรกันบ้าง 5 ผลิตภัณฑ์ที่ผู้ใช้งานทวิตเตอร์ในประเทศไทยนิยมสั่งซื้อผ่านทางออนไลน์เมื่อเดือนที่ผ่านมาอันดับหนึ่ง แชมพู ร้อยละ84.7 รอลงมาคือ น้ำยาปรับผ้านุ่ม ร้อยละ 75.6น้ำยาซักผ้า / ผงซักฟอก ร้อยละ 74.2 ครีมนวดผมร้อยละ 66.9 และเสื้อผ้า ร้อยละ66.7 ปัจจัยหลักในการช่วยกระตุ้นผู้บริโภคตัดสินใจซื้อของทางออนไลน์ มาจาก 4 เหตุผลหลักคือ การจัดส่งฟรี ส่วนลดต่างๆ การจ่ายเงินเมื่อได้รับสินค้า และเสียงสนับสนุนและการพูดถึงของผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคสนใจในเรื่องอะไรเป็นพิเศษผู้หญิงคือกลุ่มที่นิยมพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องช้อปปิ้งบนทวิตเตอร์มากที่สุดในประเทศไทยเพียงแค่รู้ว่าผู้บริโภคมีความสนใจทั่วไปในเรื่องอะไร ก็จะสามารถช่วยให้แบรนด์ปรับกลยุทธ์ทางการตลาดและกำหนดกลุ่มเป้าหมายในการทำโฆษณาได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ สาวๆ นักช้อปบนทวิตเตอร์มีความสนใจในเรื่องของดนตรี, อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ, การทำอาหาร, ความงามและเครื่องสำอาง ในขณะที่หนุ่มนักช้อปมีความสนใจในเรื่องเทคโนโลยี, ดนตรี, การเล่นกีฬาและข่าวสาร การซื้อของออนไลน์ไม่ได้เป็นเพียงแค่การล็อกอินเพื่อเข้าไปซื้อแล้วล็อกออฟออกจากระบบเท่านั้น แต่ขั้นตอนในการช้อปปิ้งออนไลน์นั้นยาวนานกว่าที่คิด และมีความแตกต่างจากเดิมไปมาก การศึกษาหาข้อมูลและการวางแผนก่อนจ่ายเงินซื้อของถือเป็นส่วนที่สำคัญในขั้นตอนการซื้อของ โดยร้อยละ 94 ของนักช้อปออนไลน์บนทวิตเตอร์มักจะหาข้อมูลจากรายการสิ่งของที่อยากได้ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ โปรโมชั่นของวันแห่งการช้อปปิ้งที่สร้างปรากฎการณ์ ไม่ว่าจะเป็น 7/7, 8/8, 9/9, 10/10, 11/11 และ 12/12 กลายเป็นช่วงเวลาของการสร้างมูลค่ามหาศาลสำหรับวงการค้าปลีกในประเทศไทย ปัจจุบันมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตกว่า 4.57 พันล้านคนทั่วโลกและในประเทศไทยมีการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตราวร้อยละ 75 จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมวันแห่งการช้อปปิ้งจึงเป็นการจัดโปรโมชั่นออนไลน์และกลายเป็นช่วงเวลาสำคัญในการทำอีคอมเมิร์ซ ซึ่งทวิตเตอร์ถือเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่ผู้บริโภคนิยมพูดคุยเกี่ยวกับการช้อปปิ้งในประเทศไทย-สำนักข่าวไทย.
กรุงเทพฯ 31 ต.ค.-นายกฯ พอใจการแก้ปัญหาความยากจนได้ผล คนจนลดเหลือ 4.3 ล้านคน จาก 6.7 ล้านคน น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่านายกรัฐมนตรีพอใจภาพรวมผลลัพธ์การแก้ไขปัญหาความยากจน ภายหลังสํานักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) รายงานสถานการณ์ความยากจนในปี 2562 ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น โดยสัดส่วนคนจนลดลงจากปี 2561 ที่มีอยู่จำนวน 6.7 ล้านคนมาอยู่ที่จำนวน 4.3 ล้านคนในปี 2562 ซึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของเศรษฐกิจและการขยายมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยของภาครัฐ อาทิ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ตามแนวทางประชารัฐเป็นต้น โดยมาตราการที่ออกมาส่งผลให้ภาพรวมคนไทยมีรายได้ในปี 2562 เพิ่มขึ้นเป็น 9,847 บาทต่อคนต่อเดือน จากปี 2560 ที่มีรายได้ 9,614 บาทต่อคนต่อเดือน “ตัวเลขที่เกิดขึ้นสะท้อนความสำเร็จในการลดปัญหาความยากจน แม้สัดส่วนคนจนในภาพรวมจะมีแนวโน้มลดลง แต่ยังต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป เนื่องจากในปี 2563 ประเทศไทยประสบกับภาวะวิกฤติโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และการจ้างงาน ซึ่งนายกรัฐมนตรี ย้ำจะต้องแก้ไขปัญหาความยากจนต่อไป เพราะสาเหตุของความยากจนมาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ด้านการศึกษา ปัญหาภาคเกษตรกรรม […]
กรุงเทพฯ 28 ต.ค. สมัครบอร์ด กสทช วันสุดท้าย ได้ 80 คนเข้าชิง 7 เก้าอี้ พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด มาตามคาด สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา สรุปผลการเปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กรรมการ กสทช.) จำนวน 7 ด้าน ระหว่างวันที่ 14-28 ตุลาคม 2563 มีผู้สมัครทั้งสิ้น 80 คน โดยผู้มาสมัครในวันสุดท้าย 21 คน หนึ่งในนี้มีพลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ เข้ารับการสรรหาด้านกิจการโทรทัศน์ ทั้งนี้มีกระแสข่าวก่อนหน้านี้ว่าพลโทสรรเสริญถูกวางตัวเป็นประธานบอร์ดกสทชคนต่อไป สำหรับขั้นตอนต่อจากนี้ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของคณะกรรมการสรรหากรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ จะส่งรายชื่อผู้สมัครไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบคุณสมบัติตามมาตรา 7 ก. และมาตรา 14/2 และตรวจสอบลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 7 ข. และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมพ.ศ. 2553 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 เมื่อได้รับผลการตรวจสอบดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการสรรหาจะพิจารณาคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ และจะเชิญผู้สมัครมาแสดงวิสัยทัศน์ที่แสดงถึงการนำความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ของผู้สมัครเพื่อนำมากำหนดทิศทางหรือเป้าหมายในการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. ต่อไป -สำนักข่าวไทย.
กรุงเทพฯ 26 ต.ค. – รมว.ดีอีเอส สั่งเฝ้าระบบเครือข่ายสารสนเทศภาครัฐเข้ม เผยพบความพยายามป่วนเว็บกสทช. – กระทรวงดีอี ด้วยการเข้าถึงเพิ่มขึ้นจำนวนมากแต่ยังรับมือได้ นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวถึงกรณีมีกลุ่มผู้เรียกตัวเองว่ากลุ่มไซเบอร์ทรีฟิงเกอร์ประกาศจะโจมตีเว็บไซต์สารสนเทศภาครัฐว่า ตนได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวแล้วตั้งแต่ช่วงเช้าซึ่งกระทรวงไม่ได้มีความห่วงกังวลกับประกาศดังกล่าว แต่ไม่ได้ประมาทหรือนิ่งนอนใจจึงได้แจ้งเตือนไปยังหน่วยงานที่ถูกระบุว่าจะมีการโจมตี และให้ตรวจสอบประกาศดังกล่าวว่าเป็นความจริงหรือไม่ โดยกระทรวงได้มอบหมายให้ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ไทยเซิร์ต) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จากการเฝ้าระวังเว็บไซต์สารสนเทศของหน่วยรัฐ ทำการเฝ้าระวังซึ่งผลการเฝ้าระวังพบว่ามีความผิดปกติบางจุดในบางช่วงเวลาในเว็บไซต์ของบางหน่วยงาน เช่น พบว่าเว็บไซต์ของสำนักงานกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) มีการสะดุดในระยะเวลาสั้นๆ โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีก็สามารถกลับมาใช้งานได้ตามปกติ ส่วนเว็บไซต์ของกระทรวงมีเครื่องมือที่ใช้เฝ้าระวังตรวจสอบพบว่ามีความพยายามเข้าสู่เว็บไซต์ของกระทรวงอย่างผิดปกติในช่วง12.00-13.00 น.โดยมีความพยายามเข้าสู่เว็บไซต์เข้ามาจำนวนมากผิดปกติหลายเท่า เพื่อทำให้เว็บไซต์เข้าถึงได้ใช้และอาจจะทำให้เกิดการล่มได้แต่อย่างไรก็ดีด้วยการเฝ้าระวังและการเตรียมการจึงไม่ทำให้เว็บไซต์ของกระทรวงเกิดความเสียหายและยังให้บริการได้ตามปกติ สำหรับการเฝ้าระวังในช่วงนี้คงจะมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษต่อเนื่องต่อไป ส่วนสิ่งที่เกิดขึ้นมองว่าเป็นเรื่องปกติที่มีสถานการณ์ทางการเมือง จะมีการดำเนินการในลักษณะที่เกิดขึ้น ทั้งที่เป็นการทำจริงและการขู่ “มันสะท้อนกว่าโลกเราเปลี่ยนไป เรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริงและเกิดขึ้นบ่อยครั้ง ระบบสารสนเทศจะมีไว้เฉพาะการใช้งานเทคโนโลยีอย่างเดียวคงไม่ได้ระบบเฝ้าระวังก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญ การเตรียมการเตรียมบุคลากรเพื่อรองรับการเตรียมการรับมือตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมาทำให้สามารถผ่อนหนักเป็นเบาและทำให้สถานการณ์ไม่รุนแรงมาก”-สำนักข่าวไทย.
กรุงเทพฯ 26 ต.ค. กสทช. กำชับดูแลระบบสารสนเทศหลังมีกลุ่มประกาศโจมตีเว็บระบบสารสนเทศหน่วยงานรัฐ พร้อมเร่งตรวจสอบข่าวลือกันแพร่เฟคนิวส์ ผู้สื่อข่าวรายงานตามที่มีผู้เรียกตัวเองว่าเครือข่ายนักรบไซเบอร์เพื่อประชาธิปไตยหรือ Cyber 3 Fingers ประกาศที่จะทำการโจมตีเว็บไซต์ระบบสารสนเทศของรัฐเพื่อเป็นการตอบโต้การใช้กำลังกับเยาวชนและนิสิตนักศึกษาและกดดันให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมลาออกจากตำแหน่ง โดย โดยในประกาศได้มีสัญลักษณ์ของสำนักนายกรัฐมนตรีสำนักงานกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติกระทรวงดีเท่าเพื่อนเศรษฐกิจและสังคมกองทัพบกและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานกสทช. ได้รับทราบประกาศดังกล่าวแล้วและไม่มีสั่งการกำชับให้ดูแลระบบสาระสนเทศรวมถึงการตรวจสอบข้อมูลที่ปรากฏว่าเป็นความจริงหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการเผยแพร่ข่าวลวงที่กำลังมีความพยายามสร้างข่าวลือในด้านต่างๆมากมายในสื่อโซเชียลในขณะนี้ ทั้งนี้ยังไม่พบว่ามีความผิดปกติใดใดเกิดขึ้น-สำนักข่าวไทย.
กรุงเทพฯ 19 ต.ค กสทช. แจงเพิ่งได้รับหนังสือจากกระทรวงดีอีเอส แจงหลักปฏิบัติการดำเนินการเกี่ยวกับเนื้อหาบนอินเทอร์เน็ตที่ผิด ชี้จะดำเนินการตาม กฎหมาย นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช.) กล่าวว่า เมื่อช่วงเย็นของวันนี้ (19 ต.ค. 2563) สำนักงานกสทช. เพิ่งได้รับหนังสือจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวง ดีอีเอส) เรื่อง ขอให้ดำเนินการระงับการกระทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ สำนักงาน กสทช. ขอเรียนว่า หลักปฏิบัติโดยทั่วไปเกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวเนื้อหาที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ตว่า ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2563 กระทรวงฯ เป็นผู้มีอำนาจในการชี้ว่าเนื้อหาใดที่ปรากฏอยู่บนอินเทอร์เน็ตผิดตาม พ.ร.บ. และจะประสานงานไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) และผู้ให้บริการโครงข่าย (IIG) ในประเทศไทยให้ดำเนินการตามกฎหมาย และจะส่งเรื่องมาให้สำนักงาน กสทช. ช่วยกำชับไปยัง ISP และ IIG ให้ดำเนินการอย่างรวดเร็ว สำหรับในกรณีนี้ หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความผิดร้ายแรง ได้มีคำสั่งที่ 11/2563 เรื่องระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะฝ่าฝืนข้อกำหนดออกตามความใน ม. 9 ประกอบ ม. 11 ตาม พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ให้สำนักงาน กสทช. และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดำเนินการเพื่อระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นออกจากระบบคอมพิวเตอร์ ทางกระทรวงฯ จึงได้ขอความร่วมมือให้สำนักงาน กสทช. จะประสานไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือทุกรายดำเนินการตามคำสั่งของหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความผิดร้ายแรง ต่อไป-สำนักข่าวไทย.