ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สายตายาวตามวัย

8 พฤศจิกายน 2567 – สายตายาวตามอายุจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ เราจะแก้ไข หรือชะลอปัญหาสายตายาวได้ยังไงบ้าง ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 🎯 ตรวจสอบกับ รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สายตายาวตามอายุคืออะไร? สายตายาวตามอายุ แก้ไขได้อย่างไร? คำแนะนำ สัมภาษณ์เมื่อ : 22 ตุลาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : BAITING ? — ภัยอันตราย จากการล่อลวง !

9 พฤศจิกายน 2567 – สิ่งนี้…คือ ภัยอันตรายที่มิจฉาชีพมักใช้รางวัล หรือสิ่งตอบแทนมาเป็นเหยื่อล่อ และ สิ่งนี้ …เป็นหนึ่งในรูปแบบกลวิธีจิตวิทยา Social Engineering ที่ใช้หลอกลวงผู้คน คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน 🎯 ตรวจสอบกับ พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ BAITING หรือ เหยื่อล่อ คืออะไร? ตัวอย่างเหยื่อล่อ วิธีป้องกัน สิ่งสำคัญคือ ต้องระวัง อย่าโลภ และอย่าหลงเชื่อคำล่อต่างๆ ของมิจฉาชีพ เพราะสุดท้ายแล้ว เราอาจตกเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว สัมภาษณ์เมื่อ 5 กันยายน 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยงเรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สาเหตุ อาการ และการรักษาไข้เลือดออก

10 พฤศจิกายน 2567 – ไข้เลือดออกอาการเป็นอย่างไร ควรพบแพทย์เมื่อไหร่ และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 🎯 ตรวจสอบกับ รศ.ดร.นพ.นพพร อภิวัฒนากุล หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สาเหตุของโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออก เกิดจากการติดเชื้อไวรัสแดงกี (Dengue virus) โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคมาสู่คน ซึ่งออกหากินในเวลากลางวันและดูดเลือดคนเป็นอาหาร เมื่อยุงลายดูดเลือดจากผู้ป่วยในระยะที่มีไข้ เมื่อยุงที่มีเชื้อไปกัดคนอื่น เชื้อไวรัสก็จะเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่โดนกัด ก่อนให้เกิดการติดเชื้อและป่วยตามมาหลังจากถูกกัดประมาณ 3-15 วัน ก็จะทำให้เกิดอาการของโรคได้ การรักษา เนื่องจากยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสที่มีฤทธิ์เฉพาะสำหรับไวรัสแดงกี การรักษาตามอาการจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยให้ยาพาราเซตามอล ในบ่วงที่มีไข้สูง ห้ามใช้ยาแอสไพริน ไอบูโพรเฟน เพราะจะทำให้เลือดออกรุนแรงขึ้น สัมภาษณ์เมื่อ : 22 ตุลาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ MotorCheck : คลิปน้ำมันฉุกเฉิน จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิปที่แนะนำว่า เมื่อน้ำมันเชื้อเพลิงใกล้หมดหรือหมดแล้ว ให้กดปุ่มเปิด-ปิดไฟฉุกเฉินติดกัน 3 ครั้ง เมื่อกดครบแล้ว จะมีน้ำมันฉุกเฉิน เพิ่มขึ้นมา เพื่อให้รถสามารถขับต่อไปได้ บทสรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้ทำการตรวจสอบ และสอบถามไปยัง ดร.นภดล กลิ่นทอง ผู้เชี่ยวชาญด้านรถยนต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ยืนยันว่า คลิปนี้ไม่จริง ไม่สามารถเป็นไปได้ “เนื่องจากปุ่มที่กดในคลิปนั้น เป็นปุ่มเปิด-ปิด ไฟฉุกเฉิน ซึ่งเป็นระบบไฟฟ้า และไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรกับระบบวงจรไฟฟ้าของน้ำมันเชื้อเพลิงเลย คลิปนี้จึงไม่เป็นความจริง“ 10 พฤศจิกายน 2567 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดเมนูอาหารเช้าอันตราย จริงหรือ ?

6 พฤศจิกายน 2567 – บนโซเชียลมีการแชร์สารพัดอาหารเช้าอันตราย ทั้งเตือน กาแฟและนมจืด ไม่ควรดื่มตอนท้องยังว่าง และปาท่องโก๋ที่เรากินกันนั้น มีแอมโมเนีย กินแล้วเสี่ยงไตพังได้ ?! 🎯 ตรวจสอบกับ วสุนธรี เสรีสุชาติ นักโภชนาการชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมโภชนาการวัยทำงานและสูงอายุ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย รศ.ดร.เอกราช เกตวัลห์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ดร.ภญ.พิมพิกา กาญจนดำเกิง ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อ.ดร.อมรรัตน์ อรุณนวล คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ต.อ.หญิง สุรีรัตน์ จารุหทัย นายแพทย์ (สบ 4) กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลตำรวจ อ.นพ.วิทวัส แนววงศ์ อายุรแพทย์ต่อมไร้ท่อฯ เบาหวาน ไทรอยด์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 🔎 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : รู้จัก ก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในรถยนต์

5 พฤศจิกายน 2567 – บนสังคมออนไลน์มีข้อสงสัยเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติที่ใช้กับรถยนต์ว่า มาจากที่ใด มีกี่รูปแบบ และแต่ละแบบต่างกันอย่างไร ติดตามข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญใน ชัวร์ก่อนแชร์ MOTOR CHECK กับคุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ จากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 🎯 ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) มี 2 ประเภทหลัก ๆ NGV มาจากไหน? ข้อดีของการใช้ NGV ข้อเสียของการใช้ NGV สรุป : NGV เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่น่าสนใจ มีข้อดีหลายอย่าง แต่ก็มีข้อจำกัด การเลือกใช้ NGV หรือน้ำมัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบุคคล เช่น ประเภทรถ ระยะทางการใช้งาน งบประมาณ ฯลฯ สัมภาษณ์เมื่อ : 25 ตุลาคม 2567 ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ณัฐพล […]

ชัวร์ก่อนแชร์: 3 รัฐส่อโกงนับคะแนน เพราะไม่ประกาศผลในคืนวันเลือกตั้ง จริงหรือ?

06 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีความพยายามอ้างว่า 3 รัฐสมรภูมิหรือ Swing State ได้แก่ จอร์เจีย มิชิแกน และ เพนซิลเวเนีย ส่อจะมีการบิดเบือนผลการนับคะแนนเลือกตั้ง เนื่องจากทั้ง 3 รัฐเปิดเผยว่าผลการเลือกตั้งของรัฐอาจจะประกาศไม่ทันคืนวันที่ 5 พฤศจิกายน ซึ่งตรงกับวันเลือกตั้งนั่นเอง นอกจากนี้ อดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ยังกล่าวหาว่า การเลือกตั้งในจอร์เจียไม่มีความโปร่งใส เพราะต้องใช้เวลานับคะแนนนานถึง 7 วันก่อนจะรู้ผล บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรดี เป็นเรื่องปกติที่แต่ละรัฐจะประกาศผลการลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่พร้อมกัน เนื่องจากแต่ละรัฐมีนโยบายการนับคะแนนที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งนโยบายการนับคะแนนที่แตกต่างกัน ไม่ใช่หลักฐานว่ามีการโกงการเลือกตั้งแต่อย่างใด สหรัฐฯ นับบัตรเลือกตั้งล่วงหน้าไม่พร้อมกัน ข้อมูลจากหน่ายงาน National Conference of […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ชื่อ “โดนัลด์ ทรัมป์” ถูกลบจากเว็บไซต์เลือกตั้งรัฐโอเรกอน จริงหรือ?

05 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่ออ้างว่ามีความพยายามแทรกแซงการเลือกตั้งประธานาธิบดีในรัฐโอเรกอน เมื่อชื่อของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ และ เจดี แวนซ์ ของพรรครีพับลิกัน ถูกลบออกจากหน้าเพจคู่มือผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ในเว็บไซต์ของรัฐมนตรีกิจการแห่งรัฐโอเรกอน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบพบว่า เหตุผลที่ชื่อของ โดนัลด์ ทรัมป์ และ เจดี แวนซ์ ไม่ปรากฎอยู่บนเมนูของเพจคู่มือผู้ใช้สิทธิในรัฐโอเรกอน ไม่ใช่เพราะถูกลบชื่อออก แต่ชื่อของคนทั้ง 2 ไม่เคยอยู่บนเมนูอยู่แล้ว โฆษกของรัฐมนตรีกิจการแห่งรัฐโอเรกอนชี้แจงว่า ผู้สมัครที่จะมีชื่ออยู่บนเมนูของเพจคู่มือผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในรัฐโอเรกอน คือผู้สมัครที่ส่งข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครมาเผยแพร่กับทางเว็บไซต์เท่านั้น แต่กระนั้น ไม่มีการบังคับให้ผู้สมัครทุกคนต้องส่งข้อมูลมาเผยแพร่ แต่ผู้สมัครที่ไม่ส่งข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครมายังเว็บไซต์จะไม่มีมีชื่อบนเมนูของเพจคู่มือผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง นอกจากนี้ รายชื่อของผู้สมัครทุกรายจะอยู่ในบัตรลงคะแนนเลือกตั้งของรัฐโอเรกอนทุกคน สำนักงานพรรครีพับลิกันแห่งรัฐโอเรกอน ชี้แจงเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม เพื่อยืนยันว่า ชื่อของ โดนัลด์ ทรัมป์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: จุดจบ “เบอร์นี เมดอฟฟ์” ปีศาจแชร์ลูกโซ่

05 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล คดีแชร์ลูกโซ่ที่โด่งดังที่สุดในสหรัฐฯ ได้แก่คดีที่ก่อโดย เบอร์นี เมดอฟฟ์ นักการเงินชาวอเมริกัน ผู้ใช้ชื่อเสียงในแวดวงตลาดหลักทรัพย์ ล่อล่วงให้ผู้คนและหน่วยงานต่าง ๆ นำเงินมาลงทุนนานนับทศวรรษ ประเมินความเสียหายกว่า 65,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นับเป็นคดีแชร์ลูกโซ่ที่มีมูลค่าความเสียหายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สาเหตุที่มีคนหลงเชื่อ เบอร์นี เมดอฟฟ์ เป็นจำนวนมาก เนื่องจากเขาคือผู้กว้างขวางในแวดวงตลาดหลักทรัพย์ในนิวยอร์ก เป็นผู้ริเริ่มการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นอดีตประธานของตลาดหลักทรัพย์ Nasdaq 3 สมัย (1990 1991 1993) เบอร์นี เมดอฟฟ์ ยังสร้างภาพผ่านกิจกรรมเพื่อการกุศล จนองค์กรไม่แสวงหากำไรหลายแห่งก็ตกเป็นเหยื่อของเขาจำนวนมาก ข้อมูลของสำนักงานอัยการสูงสุดของรัฐนิวยอร์กพบว่า 10% ของเงินที่เขาฉ้อโกงมาจากองค์กรไม่แสวงหากำไร แผนแชร์ลูกโซ่ของเมดอฟฟ์ เบอร์นี เมดอฟฟ์ ซ่อนกิจการแชร์ลูกโซ่เอาไว้เป็นความลับในชั้นที่ 17 ของอาคาร Lipstick Building ที่ตั้งสำนักงาน Bernard L. Madoff Investment Securities […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปวดหัวแบบคลัสเตอร์

4 พฤศจิกายน 2567 – ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ คือ โรคแบบใด อาการเป็นอย่างไร ใครมีความเสี่ยงจะเป็น และหากเป็นแล้ว จะดูแลรักษาอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ อ.นพ.ประกิต อนุกูลวิทยา อายุรแพทย์โรคระบบประสาท คลินิกโรคปวดศีรษะ สาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรรมการชมรมศึกษาโรคปวดศีรษะ ภายใต้สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย อาการปวดหัวแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headache) เป็นอาการปวดหัวรุนแรงข้างเดียวที่เกิดขึ้นเป็นช่วง ๆ ลักษณะเด่นคือ ปวดเหมือนมีอะไรทิ่มแทงในเบ้าตา หรือขมับข้างเดียว มักปวดมากจนทนไม่ไหว บางคนบอกว่าปวดรุนแรงกว่าไมเกรนเสียอีก อาการ สาเหตุ ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับ ปัจจัยกระตุ้น การรักษา สิ่งที่ควรทำ สัมภาษณ์เมื่อ : 24 ตุลาคม 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์: มิชิแกนมีผู้ขอใช้สิทธิเลือกตั้งมากกว่าผู้มีสิทธิ 5 แสนคน จริงหรือ?

05 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีการอ้างถึงความไม่โปร่งใสในการเลือกตั้งที่รัฐมิชิแกน เมื่อพบว่าในมิชิแกนมีผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวน 7.9 ล้านคน แต่มีผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง 8.4 ล้านคน นำไปสู่การกล่าวอ้างว่ามีแผนแทรกแซงผลเลือกตั้งในมิชิแกน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี การมีจำนวนผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง (Registered Voter) มากกว่าจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (Eligible Voter) ไม่ใช่หลักฐานว่ามีการโกงเลือกตั้งเกิดขึ้น เนื่องจากรัฐบัญญัติของสหรัฐฯ และกฎหมายระดับมลรัฐ ห้ามการยกเลิกสิทธิเลือกตั้งของผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง เพียงเพราะไม่ได้ไปลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง จึงมีการแบ่งผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งออกเป็นกลุ่ม Active Voter หรือผู้ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสม่ำเสมอหรือมีที่อยู่อาศัยชัดเจน และกลุ่ม Inactive Voter หรือผู้ที่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นเวลานานหรือมีที่อยู่อาศัยไม่ชัดเจน เช่นมีการย้ายถิ่นฐานไปที่อื่นหรือเสียชีวิตไปแล้ว ผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้งที่เข้าข่ายเป็น Inactive Voter คือผู้ที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งนาน 6 ปีติดต่อกัน หรือไม่ตอบรับการแจ้งเตือนเพื่อยืนยันที่อยู่อาศัย โดยผู้มีสถานะ Inactive […]

ชัวร์ก่อนแชร์: เรดาร์ตรวจอากาศ NEXRAD เปลี่ยนแปลงทิศทางเฮอริเคน จริงหรือ?

04 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับพายุเฮอริเคนในรัฐฟลอริดาเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่าเบื้องหลังเหตุพายุเฮอริเคนพัดกระหน่ำในรัฐฟลอริดาหลายครั้งติดต่อกัน มีสาเหตุมาจากการส่งเรดาร์ตรวจอากาศ NEXRAD ที่ทำให้พายุเฮอริเคนเปลี่ยนแปลงทิศทาง บทสรุป : 1.NEXRAD คือเรดาร์ตรวจสอบทิศทางพายุ2.ภาพที่อ้างว่าเป็นสัญญาณควบคุมทิศทางพายุของ NEXRAD แท้จริงแล้วคือภาพแสดงการอพยพของฝูงนกระหว่างที่พายุเฮลีนพัดขึ้นฝั่งฟลอริดา FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : NEXRAD เรดาร์ตรวจสอบทิศทางพายุ NEXRAD (Next-Generation Radar) เป็นเครือข่ายการส่งเรดาร์ความละเอียดสูงจำนวน 160 แห่งที่ดำเนินงานโดยองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) และใช้งานมาตั้งแต่ปี 1988 NEXRAD เป็นระบบเพื่อตรวจสอบปริมาณฝนและทิศทางลมสำหรับการพยากรณ์อากาศ การสะท้อนของเรดาร์ที่ส่งออกไปสามารถคำนวณได้ทั้ง ตำแหน่งและระยะทาง ขนาดและจำนวน รวมถึงทิศทางการเคลื่อนที่และความเร็วของวัตถุที่ตรวจสอบ โดยแยกได้ว่าเป็นสัญญาณจากสิ่งมีชีวิต (สัตว์ปีกหรือแมลง) หรือไม่มีชีวิต (ฝนหรือลมหรือลูกเห็บ) โดยคลิปวิดีโอที่แสดงแผนที่ NEXRAD ในช่วงที่พายุเฮอริเคนเฮลีนพัดขึ้นฝั่งในรัฐฟลอริดา มีภาพจุดสีฟ้าจำนวนมากเกิดขึ้นรอบ ๆ พายุ ซึ่งผู้โพสต์อ้างว่าเป็นหลักฐานการใช้ […]

1 7 8 9 10 11 277
...