ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : TERMINALLY ONLINE — ปรากฏการณ์ยุคดิจิทัล ที่หลายคนเป็นโดยไม่รู้ตัว !

ปรากฏการณ์ที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคนในยุคดิจิทัลอย่างมาก ทำให้มีพฤติกรรม ความคิดที่แยกระหว่างโลกจริงและโลกออนไลน์ไม่ออก 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล พฤติกรรมที่ไม่สามารถแยกระหว่างโลกความจริงกับโลกออนไลน์ ทั้งด้านความคิด ค่านิยม และการแสดงออก ขอให้นึกถึงท่าอากาศยาน มีสายการบินเข้า สายการบินออก จะรู้สึกได้ว่าสนามบินพลุกพล่านจอแจตลอดเวลา มีคนเข้าและมีคนออก เมื่อนำคำ Terminally Online มาใช้กับ Digital หมายถึง การใช้อินเทอร์เน็ตอย่างต่อเนื่องยาวนาน สม่ำเสมอ ไม่หยุดหย่อน จนเรื้อรัง ในภาษาทางการแพทย์ ใช้คำว่า Chronically Online Chronic แปลว่า เรื้อรัง Chronically Online พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตต่อเนื่องยาวนานทั้งวันทั้งคืน นั่งทำงานก็ยังเปิดออนไลน์ ซื้อของก็ออนไลน์ คุยกับเพื่อนก็ออนไลน์ เล่นเกมออนไลน์ นั่นคือ“ออนไลน์” ในทุกอิริยาบถของชีวิต การแยกระหว่าง “โลกจริง” กับ “โลกออนไลน์” ? ขณะนี้สังคมกำลังพูดถึงเรื่องนี้ เทรนด์ฮิตคืออะไร มีการนำเหตุการณ์เหล่านั้นมาพูดคุยในชีวิตจริง และบางอย่างในชีวิตจริงที่ควรจะอยู่ในชีวิตจริง นำไปใส่ในออนไลน์ ไม่สามารถแยกออกได้ระหว่างเส้นแบ่งโลกจอกับโลกจริงเป็นอย่างไร […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิธีสังเกตโรคกระเพาะ-กรดไหลย้อน จริงหรือ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์วิธีสังเกตความแตกต่างของโรคกระเพาะกับกรดไหลย้อน ที่เป็นโรคคล้ายกันแต่ต่างกันทั้งสาเหตุและอาการ จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “โรคกระเพาะอาหาร” และ “โรคกรดไหลย้อน” เป็นโรคที่ทำให้หลายคนเกิดความสับสนได้ บางคนคิดว่าตัวเองเป็นโรคกระเพาะอาหาร หรือว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน บางคนก็คิดว่าเป็นทั้งโรคกระเพาะอาหาร และโรคกรดไหลย้อนพร้อมกัน ทั้งโรคกระเพาะอาหาร และโรคกรดไหลย้อน เกิดจาก “กรด” เหมือนกัน โรคหนึ่ง “กรดอยู่ในกระเพาะ” ทำให้เกิดอาการแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ ในขณะที่ “กรดไหลย้อน” เป็นเรื่องของอาการเรอเปรี้ยวและอาการแสบร้อนกลางอก ซึ่งอยู่คนละตำแหน่ง คนละอวัยวะกัน อาการของโรค “กรดไหลย้อน” และ “กระเพาะอาหาร”​มีความแตกต่างกัน จริงหรือ ? โรคกระเพาะอาหาร (Dyspepsia) เกิดขึ้นที่กระเพาะอาหาร อิ่มก็ปวดแสบ หิวก็ปวดแน่น โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease : GERD) เป็นโรคของหลอดอาหาร อยู่บริเวณกลางทรวงอกหรือลำคอ มักเป็นหลังมื้ออาหาร มีอาการแสบร้อนกลางหน้าอก และไม่ควรมาอยู่บริเวณลิ้นปี่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 เครื่องดื่มที่ไม่ควรใส่กระบอกน้ำเก็บอุณหภูมิ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์ 5 เครื่องดื่ม ที่ไม่ควรใส่ในกระบอกน้ำเก็บอุณหภูมิ ได้แก่ นม ยาจีน น้ำผลไม้ น้ำเกลือ และน้ำชา จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.ดร.บุศรินทร์ จงเจริญยานนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการบรรจุและวัสดุ และรองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องที่แชร์กันมีบางส่วนจริง และบางส่วนไม่จริง กระบอกน้ำเก็บอุณหภูมิส่วนใหญ่ทำมาจากสเตนเลส (stainless) มี 2 ชั้นซ้อนกัน คือ ผนังชั้นนอก ฉนวนสุญญากาศ ผนังชั้นใน ระหว่างผนังชั้นนอกและผนังชั้นในทำให้เป็นสภาวะ “สุญญากาศ” จึงทำให้แก้วสามารถเก็บรักษาอุณหภูมิทั้งร้อนและเย็นของเครื่องดื่มไว้ได้ ไม่ควรใส่ “นม” ในกระบอกน้ำเก็บอุณหภูมิ จริงหรือ ? “นม” หรือเครื่องดื่มที่มีนมเป็นส่วนประกอบ จัดเป็นอาหารที่เน่าเสียได้ง่าย องค์การอนามัยโลกแนะนำว่าไม่ควรเก็บอาหารกลุ่มเน่าเสียได้ง่ายที่อุณหภูมิ 5-60 องศาเซลเซียส (ช่วงอันตราย) ถ้ามีความจำเป็นจะต้องเก็บไว้ สามารถเก็บไว้ไม่เกิน 2 ชั่วโมง และถ้าสภาพอุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ให้เก็บได้ไม่เกิน 1 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : SASAENG ? — แฟนคลับตัวยง คลั่งรักจนเกินเหตุ !

คำยอดฮิตบนสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้เรียกแฟนคลับที่คลั่งไคล้ศิลปินจนเกินเหตุ เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัย และสุขภาพจิตของศิลปิน ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล SASAENG เป็นคำศัพท์ในอุตสาหกรรมบันเทิงของเกาหลีใต้ คำว่า “SA” มาจากคำว่า “ส่วนตัว” คำว่า “SAENG” มาจากคำว่า “ชีวิต” กลุ่มแฟนคลับที่ชื่นชม ชื่นชอบนักร้อง ดารา ศิลปิน แต่ว่าระดับของการชื่นชม ชื่นชอบ ถึงขั้นรุกล้ำ คุกคาม หมกมุ่น ทำให้ชีวิตศิลปินหรือบุคคลสาธารณะไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างปกติ ทำให้รู้สึกถึงความไม่ปลอดภัย ระดับความรุนแรงของพฤติกรรม “SASAENG” ระดับความรุนแรงของพฤติกรรม “SASAENG” มีดังนี้ ระดับที่ 1 เริ่มรุกล้ำข้อมูลส่วนตัวของศิลปิน เช่น รู้ตารางงานและข้อมูลส่วนตัวของศิลปินต่าง ๆ ระดับที่ 2 เริ่มติดตามอย่างหมกมุ่น เช่น ตามศิลปินทางออนไลน์ และออนไซต์หลาย ๆ สถานที่ ระดับที่ 3 เริ่มแอบถ่ายศิลปินทุกช่วงเวลาที่ดำเนินชีวิตตามปกติ เพื่อเก็บไว้ดูส่วนตัว ระดับที่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 สาเหตุโรคกระเพาะอาหาร จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์ 10 สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร ตั้งแต่กินอาหารไม่ตรงเวลา การกินยาบางชนิด ความเครียด ไปจนถึงติดเชื้อแบคทีเรีย จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ผศ.นพ.ปิยะพันธ์ พฤกษพานิช สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “กระเพาะอาหาร” ทำหน้าที่ย่อยอาหาร ผลิตน้ำย่อย (กรดย่อยอาหาร) แต่กระเพาะอาหารไม่ถูกย่อย เพราะมีกลไกสร้างเมือกเคลือบผิวกระเพาะอาหารไว้ “โรคกระเพาะอาหาร” ไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ทำให้ทรมาน รบกวนการใช้ชีวิต เพราะแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ มีท้องอืดแน่นหลังกินอาหาร สาเหตุโรคกระเพาะอาหารที่แชร์กัน 10 ข้อ มีดังต่อไปนี้ ข้อ 1. กินยาบางชนิดอย่างต่อเนื่อง ยากลุ่มต้านการอักเสบ (Non-steroidal Anti-inflammatory drugs : NSAIDs) ยากลุ่มนี้ช่วยแก้อาการปวด บวม แดง ร้อน และลดการอักเสบโดยตรงของร่างกาย รวมทั้งมีฤทธิ์ลดไข้ ผลข้างเคียงของยากลุ่มต้านการอักเสบอย่างหนึ่งก็คือ ลดการป้องกันผิวกระเพาะอาหาร ทำให้กระเพาะเกิดแผลและระคายเคืองได้ง่าย ถ้าจำเป็นต้องกินยากลุ่มนี้จะต้องกินหลังอาหารทันที และกินเมื่อจำเป็นในช่วงสั้นที่สุด ข้อ 2. […]

ชัวร์ก่อนแชร์: อสุจิชายทั่วโลกจะเป็น 0 ในปี 2050 จริงหรือ?

28 กุมภาพันธ์ 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศชายเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีการอ้างว่าปริมาณอสุจิของชายทั่วโลกจะหมดไปในปี 2050 หลังมีงานวิจัยที่พบว่าปริมาณอสุจิของผู้ชายลดลงจาก 50 ปีที่แล้วถึง 62% บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ข้ออ้างดังกล่าว นำมาจากงานวิจัยปี 2023 เผยแพร่ทางวารสาร Human Reproduction Update เป็นการวิเคราะห์อภิมานและการปริทัศน์อย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการสำรวจปริมาณอสุจิของเพศชายตั้งแต่ปี 1973-2018 จากตัวอย่าง 14,000 ตัวอย่าง ผลสำรวจพบว่าค่าเฉลี่ยจำนวนอสุจิทั้งหมด (Total Sperm Count) ของผู้ชายในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และออสเตรเลียเมื่อปี 1973 อยู่ที่ 335.7 ตัว ส่วนค่าเฉลี่ยจำนวนอสุจิทั้งหมดของผู้ชายในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และออสเตรเลียเมื่อปี 2018 อยู่ที่ 126.6 ตัว […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check FACTSHEET : รู้จักแคทตาไลติกของรถยนต์

25 กุมภาพันธ์ 2568 – ตามที่มีการแชร์ข้อสงสัยเกี่ยวกับแคทตาไลติกของรถยนต์ว่า คืออะไร รูปร่างหน้าตาเป็นแบบไหน มีหน้าที่และมีความสำคัญอย่างไรกับรถยนต์ของเราบ้าง ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2567 ตัวแปลงไอเสียคืออะไร ท่อแคทตาไลติก (Catalytic Converter) หรือตัวแปลงไอเสียเป็นตัวกรองที่ช่วยลดมลภาวะ มันตั้งอยู่หลังจากที่ไอเสียจากกระบอกสูบทั้งหมดรวมกัน ตัวแปลงไอเสียทำงานอย่างไร มันถูกออกแบบมาเพื่อให้เครื่องยนต์เผาไหม้ก๊าซ ก๊าซจากเครื่องยนต์ผ่านปฏิกิริยาในตัวแปลงไอเสีย ทำให้ความเป็นพิษลดลง อายุการใช้งาน หากได้รับการบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง สามารถใช้งานได้นานกว่า 200,000 กม. การบำรุงรักษา การบำรุงรักษาระบบเครื่องยนต์ทั้งหมดสามารถยืดอายุการใช้งานของตัวแปลงไอเสียได้ การทำความสะอาด แทนที่จะถอดตัวแปลงไอเสียที่อุดตันออก สามารถทำความสะอาดได้ด้วยน้ำยาทำความสะอาดพิเศษ อันตรายจากการถอดออก การถอดออกเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและอาจส่งผลต่อสุขภาพของผู้โดยสารในรถยนต์ ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์: หยุดหลั่งอสุจิ 7 วันเพิ่มฮอร์โมนเพศชาย จริงหรือ?

26 กุมภาพันธ์ 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับสุขภาวะทางเพศชายเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อความเชื่อว่าการละเว้นจากกิจกรรมทางเพศเพื่อป้องกันการหลั่งอสุจิเป็นเวลา 7 วัน จะช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมน Testosterone ฮอร์โมนเพศชายที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อในร่างกายได้ถึง 45% บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : Semen Retention หรือความเชื่อเรื่องประโยชน์ต่อสุขภาพจากการละเว้นจากการหลั่งน้ำอสุจิ ถือเป็นหนึ่งข้อมูลเท็จเกี่ยวกับสุขภาพของเพศชายที่เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตอย่างแพร่หลายมากที่สุด ตามการสำรวจในงานวิจัยที่เผยแพร่ทางวารสาร International Journal of Impotence Research เมื่อปี 2022 โดยพบว่าเป็นความเชื่อที่แพร่หลายในกลุ่มชายที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยม ในสหรัฐอเมริกายังมีกระแสทางออนไลน์ที่เรียกว่า Nofap ซึ่งเผยแพร่มาจากกระทู้ในเว็บไซต์ Reddit เมื่อปี 2011 โดยรณรงค์ให้ผู้ชายละเว้นจากการสำเร็จความใคร่เป็นเวลา 90 วัน จุดประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ชายบำบัดอาการเสพติดการดูหนังผู้ใหญ่มากเกินไป ก่อนจะขยายผลเป็นการละเว้นการหลั่งอสุจิเพื่อสุขภาพ โดยอ้างว่าจะเป็นการเพิ่มระดับฮอร์โมน Testosterone หนึ่งในข้ออ้างคือการอ้างอิงงานวิจัยปี 2003 ซึ่งเปรียบเทียบระดับฮอร์โมน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 4 วิธี ทำให้เลือดสมดุลมากขึ้น จริงหรือ ?

23 กุมภาพันธ์ 2568 – บนโซเชียลมีการแชร์แนะนำ 4 วิธี ที่ทำให้เลือดสมดุลมากขึ้นทำให้ค่า PH อยู่ในเกณฑ์ปกติ เลือดไหลเวียนดี และช่วยให้ร่างกายแข็งแรง มีตั้งแต่ ลดความเครียดพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงสารเสพติด หรืออาหารหวานหรือมัน และดื่มน้ำให้มาก หืม ! ชัวร์เหรอ ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ภก.ดร.บดินทร์ ติวสุวรรณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ 4 ธันวาคม 2567 4 วิธีที่แชร์กันในโซเชียลมีเดีย ความเครียดกับความเป็นกรดในเลือด ความเครียดไม่ได้ทำให้เลือดเป็นกรดโดยตรง แต่ความเครียดอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อสมดุลนี้ได้ การนอนหลับกับการรักษาสมดุล การนอนดึกไม่ได้ส่งผลโดยตรงต่อสมดุลกรดด่างในเลือด แต่การพักผ่อนไม่เพียงพออาจส่งผลต่อภูมิคุ้มกันและสุขภาพโดยรวม ซึ่งอาจส่งผลกระทบทางอ้อมต่อการควบคุมความเป็นกรดด่าง อาหารและเครื่องดื่ม การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ จะผ่านระบบย่อยอาหารและถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ร่างกายจะควบคุมให้เลือดมีค่า pH ที่เหมาะสม (7.4) ไม่ว่าเราจะกินอาหารที่เป็นกรดหรือด่าง การดื่มน้ำ การดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงานของระบบไหลเวียนเลือดและหัวใจ ซึ่งอาจส่งผลทางอ้อมต่อภาวะความเป็นกรดด่างของเลือดได้ น้ำด่าง […]

ปัจจัยองคชาตไม่แข็งตัว

24 กุมภาพันธ์ 2568แปลและเรียบเรียงบทความโดย: อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ปัญหาองคชาตไม่แข็งตัวหรือภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ (Erectile Dysfunction หรือ ED) เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเพศชายทั่วโลก ข้อมูลการสำรวจในสหรัฐฯ พบว่า มีชายชาวอเมริกันอายุมากกว่า 20 ปีประมาณ 18-30 ล้านราย ที่ประสบปัญหาอวัยวะเพศชายไม่แข็งตัวจากปัจจัยต่าง ๆ ปัจจัยจากความผิดปกติทางกาย ปัจจัยทางกายที่ส่งผลต่อการแข็งตัวขององคชาต คือปัญหาการไหลเวียนของเลือดที่รู้จักในชื่อภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) เมื่อหลอดเลือดแดงตีบตันจากการจับตัวของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะต่าง ๆ ทำได้ไม่ดี เช่นเดียวกับอวัยวะเพศ ดังนั้นภาวะไขมันในเลือดสูงขัดขวางการแข็งตัวขององคชาต โดยสาเหตุมาจากภาวะไขมันในเลือดสูงและภาวะโรคอ้วน อีกปัจจัยทางกายได้แก่ความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมน การลดลงของฮอร์โมนเพศชายชนิด Testosterone เพิ่มโอกาสการเกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ปัจจัยจากความผิดปกติทางจิตใจ ปัจจัยด้านจิตใจที่ส่งผลต่อการแข็งตัวขององคชาตคือความเครียดและความกังวล ซึ่งขัดขวางการส่งสัญญาณจากสมองไปกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดไปยังองคชาต นำไปสู่ปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัวเช่นกัน ข้อมูลจากเว็บไซต์ Healthline.com พบว่า ปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัวจากความเครียดและความกังวลสามารถพบได้ในชายทุกช่วงวัย โดยมีปัจจัยที่แตกต่างกันดังนี้ ปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัวในวัยรุ่นและคนหนุ่ม 90% เกิดจากความเครียดและความกังวล ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นชั่วคราว ปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัวในชายวัยกลางคน ส่วนหนึ่งมาจากความเครียดจากการทำงานและปัญหาส่วนบุคคล ปัญหาอวัยวะเพศไม่แข็งตัวในชายสูงวัย มักเกิดจากการความเสื่อมถอยทางกายเป็นหลัก […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ใช้ Hydrogen Peroxide ทาผิวรักษามะเร็ง จริงหรือ?

22 กุมภาพันธ์ 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการบำบัดผู้ป่วยมะเร็งเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีการแชร์คลิปวิดีโออ้างว่า สาร Hydrogen Peroxide ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อโรค หากนำมาทาที่ผิวหนัง Hydrogen Peroxide จะแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายไปทำลายเนื้อเยื่อของก้อนเนื้อร้าย และสามารถรักษามะเร็งให้หายขาดได้ บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : บุคคลที่กล่าวอ้างได้แก่ ชาร์ลอต เกอร์สัน บุตรสาวผู้ล่วงลับของ แม็กซ์ เกอร์สัน แพทย์เจ้าของแนวคิด Gerson therapy ที่ใช้การแพทย์ทางเลือกบำบัดผู้ป่วยมะเร็ง ซึ่งได้รับการยืนยันในภายหลังว่าไม่ได้ผลและยังเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย Hydrogen Peroxide เป็นสารเคมีที่นำไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ทั้งใช้เป็นน้ำยาฟอกขาว สารฟอกสี น้ำยาฆ่าเชื้อ น้ำยาบ้วนปาก ฯลฯ อย่างไรก็ดี ไม่มีหลักฐานว่า การทา Hydrogen Peroxide บนผิวหนังจะสามารถทำลายเนื้อเยื่อของก้อนเนื้อร้ายตามที่กล่าวอ้าง สถาบันโรคมะเร็งสหรัฐฯ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สาร Selenium ใช้เพื่อรักษามะเร็ง จริงหรือ?

21 กุมภาพันธ์ 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการบำบัดผู้ป่วยมะเร็งเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ เมื่อมีคลิปวิดีโออ้างว่า สาร Selenium ซึ่งพบในอาหารทั่วไป มีประโยชน์ในการรักษามะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่เหตุที่ไม่มีการศึกษาวิจัยในวงกว้าง เนื่องจากเป็นสิ่งที่หาได้ในธรรมชาติ จึงไม่สร้างกำไรให้กับบริษัทผู้ผลิตยานั่นเอง บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : Selenium เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย พบในอาหารหลายชนิด เช่น อาหารทะเล เนื้อไก่ เนื้อวัว ถั่ว และธัญพืช ศูนย์การแพทย์ Memorial Sloan Kettering Cancer Centre (MSKCC) แนะนำว่า ในแต่ละวันควรรับแร่ธาตุ Selenium ในปริมาณ 55 ไมโครกรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่หาได้จากแหล่งอาหารทั่วไป โดยระดับสูงสุดที่ร่างกายรับได้ควรไม่เกิน 400 ไมโครกรัมต่อวัน หากรับแร่ธาตุ […]

1 9 10 11 12 13 292
...