ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน HPV เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก จริงหรือ?

06 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน HPV เผยแพร่ทาง Instagram ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างรายงานจากการประชุมขององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ที่พบว่าการฉีดวัคซีน HPV เพิ่มความเสี่ยงการป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก ในกลุ่มคนที่มีเชื้อไวรัส HPV ผ่านทางเพศสัมพันธ์มาแล้ว บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบโดย Fact Checker ในต่างประเทศพบว่า บุคคลที่อยู่ในคลิปวิดีโอคือ ปีแอร์ คอรี แพทย์ผู้ก่อตั้ง Front Line COVID-19 Critical Care Alliance องค์กรต่อต้านการรณรงค์ฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยปัจจุบัน ปีแอร์ คอรี ถูกองค์กรแพทยสภา American Board of Internal Medicine […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : วิธีตรวจสภาพรถยนต์มือสองเบื้องต้น จริงหรือ ?

3 ธันวาคม 2567 – บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ วิธีตรวจสภาพรถยนต์มือสองเบื้องต้น เช่น ตรวจดูสภาพโครงสร้างหลัก และ นำเลขตัวรถไปเช็กประวัติกับศูนย์บริการ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ตรวจสอบกับ สุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ แชร์ว่า : 5 วิธีการตรวจสอบสภาพรถยนต์มือสองเบื้องต้น ได้แก่ สรุป : เป็นวิธีที่ทั่วไปที่ใช้ตรวจสอบหาซื้อรถยนต์มือสอง เพื่อช่วยให้ผู้ซื้อตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและหลีกเลี่ยงการซื้อรถยนต์ที่มีปัญหาได้ สัมภาษณ์เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน HPV ไม่ลดความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก จริงหรือ?

04 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน HPV เผยแพร่ทางคลิปวิดีโอใน X ที่สหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่า ผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแอนเจลิส (UCLA) พบว่าการรณรงค์ฉีดวัคซีน HPV ให้กับเด็กหญิง ไม่ช่วยลดโอกาสการป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูกเหมือนที่หน่วยงานสาธารณสุขคาดไว้ เพราะหลังจากเริ่มรณรงค์ฉีดวัคซีน HPV ในสหรัฐอเมริกามาตั้งแต่ปี 2006 ปัจจุบันกลับพบว่ายอดผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกกลับเพิ่มขึ้น บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบโดย Fact Checker ในต่างประเทศพบว่า บุคคลที่อยู่ในคลิปวิดีโอคือ ดร.ปีเตอร์สัน ปีแอร์ แพทย์โรคผิวหนัง สมาชิกของ America’s Frontline Doctors องค์กรที่ตั้งขึ้นมาเพื่อต่อต้านการรณรงค์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2019 โดยหลายปีที่ผ่านมา America’s Frontline Doctors […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ป้องกันและรักษาโรคไอกรน

2 ธันวาคม 2567 – โรคไอกรน โรคติดต่อที่อาจรุนแรง ในผู้ป่วยบางกลุ่ม โดยเฉพาะเด็กเล็ก โรคนี้เป็นแล้วจะต้องรักษาอย่างไร และมีป้องกันด้วยวิธีใดได้บ้าง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.นพ.นพพร อภิวัฒนากุล หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ไอกรนคืออะไร? ไอกรนเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากแบคทีเรีย อาจมีอาการไอมาก ไอจนอาเจียน ในบางรายอาจรุนแรง โดยเฉพาะในเด็กเล็ก การรักษาโรคไอกรน การป้องกันโรคไอกรน ข้อควรระวัง สัมภาษณ์เมื่อ : 19 พฤศจิกายน 2567ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : Social Conformity ? — เมื่อความคิด ยึดติดตามสังคม !

30 พฤศจิกายน 2567 – สิ่งนี้…เป็นพฤติกรรมธรรมชาติของมนุษย์ ที่ต้องการเป็นที่ยอมรับ และ สิ่งนี้ …สามารถเปลี่ยนเรื่องผิดให้เป็นเรื่องถูกได้ หากคนส่วนใหญ่มองว่าถูก คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน 🎯 ตรวจสอบกับ ผศ.อภิสิทธิ์ ศุภกิจเจริญ คณะสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยรามคำแหง สัมภาษณ์เมื่อ 6 กันยายน 2567 ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ 27 ตุลาคม 2565 Social Conformity คืออะไร? Social Conformity คือพฤติกรรมที่มนุษย์ต้องการการยอมรับจากสังคม จนบางครั้งอาจทำให้เรื่องผิดกลายเป็นเรื่องถูกได้หากคนส่วนใหญ่มองว่าถูก ในสังคมออนไลน์ Social Conformity ส่งผลทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ดังนี้ ปัจจัยที่ทำให้เกิด Social Conformity ข้อควรระวัง ก่อนที่จะคล้อยตามสังคม ควรมีจุดยืนของตัวเอง มีความมั่นใจในตัวเอง และใช้ critical thinking พิจารณาว่าสิ่งนั้นดีหรือไม่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จักโรคไอกรน

29 พฤศจิกายน 2567 – โรคไอกรน มีอาการเป็นอย่างไร เราติดเชื้อไอกรนได้อย่างไร กลุ่มใดคือกลุ่มเสี่ยง ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.นพ.นพพร อภิวัฒนากุล หัวหน้าหน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล รู้จักโรคไอกรน โรคไอกรนเป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis ทำให้เกิดอาการไอเรื้อรังเป็นเวลานาน โดยเฉพาะในเด็กเล็ก โรคนี้สามารถแพร่เชื้อได้ง่ายผ่านทางการไอ จาม หรือการสัมผัสกับน้ำมูกหรือเสมหะของผู้ป่วย อาการของโรคไอกรน อาการของโรคไอกรนแบ่งเป็น 3 ระยะ: กลุ่มเสี่ยงของโรคไอกรน ทุกคนสามารถติดเชื้อโรคไอกรนได้ แต่กลุ่มเสี่ยงที่มีอาการรุนแรง ได้แก่: การป้องกันโรคไอกรน วิธีป้องกันโรคไอกรนที่ดีที่สุดคือการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรน นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย ล้างมือบ่อยๆ และสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ การรักษาโรคไอกรน โรคไอกรนสามารถรักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ การรักษาที่ทันท่วงทีสามารถช่วยลดความรุนแรงของอาการและป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น ข้อควรระวัง หากคุณหรือคนในครอบครัวมีอาการไอเรื้อรัง ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง เนื่องจากอาการไออาจเกิดจากโรคอื่น ๆ ได้ เช่น วัณโรค หรือโรคหอบหืด สรุป โรคไอกรนเป็นโรคติดเชื้อที่สามารถป้องกันและรักษาได้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับโรคนี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่ถูกต้อง สัมภาษณ์เมื่อ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สตรีมีครรภ์ฉีดวัคซีน Tdap เสี่ยงแพร่เชื้อไอกรนสู่ทารก จริงหรือ?

02 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน Tdap เผยแพร่ทาง Facebook ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าการฉีดวัคซีน Tdap ให้กับแม่เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ โรคไอกรน และโรคบาดทะยักแก่ทารกในครรภ์ นอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงทำให้ทารกได้รับเชื้อโรคไอกรนจากแม่ที่ฉีดวัคซีน แล้วติดเชื้อแบบไม่มีอาการ บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี ตรรกะที่ว่าวัคซีนเป็นอันตราย เพราะทำให้แม่ที่ฉีดวัคซีนติดเชื้อแบบไม่มีอาการ และแพร่เชื้อไปยังทารกโดยไม่รู้ตัว ต่างจากแม่ที่ไม่ฉีดวัคซีน ที่ติดเชื้อแล้วจะแสดงอาการอย่างชัดเจน ทำให้ง่ายต่อการสังเกตและหลีกเลี่ยง เป็นการอ้างที่ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการก่อโรคและการทำงานของวัคซีนอย่างชัดเจน โดยปกติแล้ว การแพร่เชื้อจะเกิดขึ้นในระยะที่เชื้อโรคกำลังฟักตัวช่วง 1-2 สัปดาห์ ไม่ว่าผู้เป็นพาหะของโรคจะฉีดวัคซีนหรือไม่ก็ตาม นอกจากนี้ ผู้ติดเชื้อโรคไอกรนที่ไม่ฉีดวัคซีน สามารถแพร่เชื้อได้มากกว่าผู้ป่วยที่ฉีดวัคซีน ไม่ว่าผู้ป่วยจะแสดงอาการหรือไม่ก็ตาม ความถี่ของโรคไอกรนในทารก ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) พบว่า 1 ใน 3 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนรวม Tdap ไม่ควรฉีดให้สตรีมีครรภ์ จริงหรือ?

01 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน Tdap เผยแพร่ทาง Instagram ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าการฉีดวัคซีน Tdap เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ โรคไอกรน และโรคบาดทะยัก ไม่มีความปลอดภัยต่อสตรีมีครรภ์ เนื่องจากบริษัทผู้ลิตวัคซีนยอมรับว่าไม่มีสตรีมีครรภ์อยู่ในกลุ่มตัวอย่างการทดลองวัคซีน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : วัคซีน Tdap คือวัคซีนรวมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบ โรคไอกรน และโรคบาดทะยัก สำหรับผู้ที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป รวมถึงสตรีมีครรภ์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแก่ทารกในช่วง 2 เดือนแรก ซึ่งยังไม่มีภูมิคุ้มกันจากวัคซีน โดยแนะนำให้สตรีมีครรภ์ฉีดวัคซีน Tdap จำนวน 1 โดสในช่วงอายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ ในสหรัฐฯ มีวัคซีน Tdap 2 ชนิดที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปวดหัวแบบไหน ต้องไปหาหมอ

“ปวดศีรษะ” หรือ “ปวดหัว” อาการที่หลายคนเคยเป็นและเคยหาย แต่ปวดมากแค่ไหนต้องไปพบแพทย์ ปวดศีรษะแบบไหนกินยาก็เพียงพอแล้ว หรือปวดศีรษะแบบไหน เป็นสัญญาณอันตราย ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ อ.นพ.ประกิต อนุกูลวิทยา อายุรแพทย์โรคระบบประสาท คลินิกโรคปวดศีรษะ สาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรรมการชมรมศึกษาโรคปวดศีรษะ ภายใต้สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย อาการ “ปวดศีรษะ” อาจจะเป็นสัญญาณที่ทำให้ต้องหันมามองตัวเองว่า “ทำไมถึงปวด” มีอะไรบางสิ่งบางอย่างที่ร่างกายบ่งชี้ หรือเป็นสัญญาณเตือนว่าจะต้องดูแลตัวเองมากขึ้น หรือต้องไปพบแพทย์ ส่วนใหญ่คนที่ปวดศีรษะมักจะไม่อยากไปพบแพทย์ คิดว่าปวดศีรษะแบบตึงเครียดธรรมดาเดี๋ยวก็หายเอง ดังนั้น ต้องประเมินด้วยว่าอาการปวดศีรษะรบกวนชีวิตประจำวันของเราหรือไม่ การปล่อยอาการปวดศีรษะทิ้งไว้นาน ๆ โดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่ได้เริ่มยาที่ถูกต้อง และมีการใช้ยาแก้ปวดที่ไม่ถูกต้อง สุดท้ายก็จะกลายเป็นปวดศีรษะแบบเรื้อรัง ขอแนะนำว่าควรได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ใช้ขนาดยาที่ถูกต้อง และ/หรือ ได้รับการดูแลรักษาในระยะเวลาที่ถูกต้อง “อาการปวดศีรษะ” ไม่สามารถหายได้เองทุกอาการ ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะยิ่งเพิ่มโอกาส “ปวดเรื้อรัง” ? กรณีผู้ป่วยไมเกรน ส่วนหนึ่งร่างกายทำงานหนัก เช่น อดนอน หรือมีภาวะเครียด ก็ทำให้เกิดอาการปวดไมเกรนขึ้นมา ดังนั้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ KEYWORD : CALIPHSOOH ? — โรคทางจิต เมื่อเสพติดการชอปปิง !

สิ่งนี้…เป็นโรคทางจิต ที่เกี่ยวกับการชอปปิงซื้อของมากเกินไป และ สิ่งนี้ …พบว่าในปัจจุบันสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งผู้หญิง และผู้ชาย ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ธาม เชื้อสถาปนศิริ อาจารย์ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล SHOPAHOLIC โรคทางจิตชนิดหนึ่ง ใช้เรียกบุคคลที่มีการใช้จ่ายเงินซื้อของ หรือ Shopping เกินตัว จนทำให้เกิดปัญหาตามมา SHOPAHOLIC เป็นพฤติกรรมเสพติดการซื้อสินค้าที่ไม่จำเป็น ซื้อสินค้าที่ไม่ได้ใช้ หรือซื้อสินค้าที่ไม่ได้มีความต้องการ มีรูปแบบ 4 อย่าง ได้แก่ Compulsive buying Emotional buying Addictive buying Social buying 1. Compulsive buying การซื้อของแบบบีบบังคับห้ามใจตัวเองให้หยุดซื้อไม่ได้ 2. Emotional buying การระบายอารมณ์ความเครียดด้วยการซื้อของ  3. Addictive buying การซื้อของที่มีความสนใจมาเก็บสะสมไว้จำนวนมาก 4. Social buying การซื้อของตามแรงกดดันของสังคม ซื้อตามผู้อื่น ปัจจัยกระตุ้น SHOPAHOLIC […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปวดหัว ยิ่งกินยา ยิ่งติดยา จริงหรือ ?

ปวดหัวแค่ไหน ถึงควรใช้ยา จริงหรือไม่ ยิ่งปวดหัว ยิ่งกินยา ยิ่งติดยา และทำให้ยิ่งปวดหัวมากกว่าเดิม 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ  อ.นพ.ประกิต อนุกูลวิทยา อายุรแพทย์โรคระบบประสาท คลินิกโรคปวดศีรษะ สาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรรมการชมรมศึกษาโรคปวดศีรษะ ภายใต้สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย ผู้ป่วยไม่อยากกินยามากเพราะกลัวติดยา แต่เป็นความเข้าใจผิดของผู้ป่วย เนื่องจากเป็นยาคนละตัวกัน กรณีของผู้ป่วยปวดศีรษะไมเกรน ยามี 2 ชนิดคือ ยาแก้ปวด และยาป้องกัน ไม่ทำให้ติด เป็นตัวยาที่ใช้รักษาผู้ป่วยปวดศีรษะที่ถี่ขึ้นด้วย กินยาแก้ปวดศีรษะมาก ๆ จะติดหรือไม่ ? เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของยา ถ้าเป็นยาแก้ปวดสามารถทำให้เกิดโรคปวดศีรษะจากการใช้ยาแก้ปวดมากเกินไป (Medical overuse headache : MOH) เกิดจากการใช้ยาแก้ปวด เมื่อกินยามากขึ้นก็จะทำให้ปวดศีรษะมากขึ้นด้วย เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) สามารถบรรเทาปวดจากสาเหตุต่าง ๆ ได้หลากหลาย เช่น ปวดศีรษะ ปวดจากข้อเสื่อม ปวดกล้ามเนื้อ และใช้เป็นยาลดไข้ กลุ่มยาเอ็นเสด (NSAIDs) […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปวดหัวแบบคลัสเตอร์

ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ คือ โรคแบบใด อาการเป็นอย่างไร ใครมีความเสี่ยงจะเป็น และหากเป็นแล้ว จะดูแลรักษาอย่างไร ? 🎯 ตรวจสอบข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ อ.นพ.ประกิต อนุกูลวิทยา อายุรแพทย์โรคระบบประสาท คลินิกโรคปวดศีรษะ สาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรรมการชมรมศึกษาโรคปวดศีรษะ ภายใต้สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headache) ผู้ป่วยปวดแล้วจะทรมานมาก บางคนดิ้นทุรนทุราย เอาศีรษะโขกกับของแข็งค่อนข้างรุนแรงมาก เป็นอาการปวดศีรษะข้างเดียว ตำแหน่งที่ปวดบริเวณเบ้าตา เหนือเบ้าตา และขมับ ระยะเวลาที่ปวดประมาณ 15 นาที ถึง 3 ชั่วโมง ขณะที่ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะก็จะมีอาการทางระบบประสาทอัตโนมัติที่อยู่บนใบหน้าร่วมด้วย เช่น น้ำตาไหล ตาแดง คัดจมูก หรือหนังตาตก ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ปวดมักจะปวดช่วงใดช่วงหนึ่งของปี หรือช่วงใดช่วงหนึ่งของวัน เช่น ปวดเดือนกุมภาพันธ์ทุกปี หรือปวดตอนกลางคืนทุกวันของช่วงเวลานั้น ปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ เหมือน หรือ แตกต่างจากปวดศีรษะทั่วไปหรือไม่ ? มีอาการปวดศีรษะเหมือนกัน ผู้ป่วยปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ จะปวดอยู่ข้างเดียวข้างนั้นตลอด การสั่งการของระบบประสาทอัตโนมัติ […]

1 3 4 5 6 7 277
...