ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สาเหตุ การป้องกัน โรคตับคั่งไขมัน

“ไขมันพอกตับ” หรือ “ตับคั่งไขมัน” โรคที่หลายคนเป็น แต่อาจไม่รู้ตัว โรคนี้เป็นอย่างไร และมีสาเหตุมาจากอะไร 🎯 ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย ชื่อโรค “ตับคั่งไขมัน” เป็นชื่อที่ถูกต้องตามราชบัณฑิตสภา เพราะว่าลักษณะชัดเจน ตับมีไขมันคั่งเต็มไปทั้งหมด ไขมันแทรกเข้าไปในทุกอณูของเนื้อเซลล์ตับ ไม่ใช่พอกอยู่ด้านนอก “ไขมันพอกตับ” เป็นคำที่แพทย์ไม่ค่อยใช้ เพราะฟังดูจะรู้สึกว่าแค่ “พอก” น่าจะล้างออก ภาวะ “ตับคั่งไขมัน” อาจลุกลามอันตราย โรคตับคั่งไขมันเป็น “1 ใน 3” สาเหตุที่พบว่าทำให้ตับแข็ง และสุดท้ายตับทรุดลงไปจนทำงานไม่ได้ ตับวาย หรือมะเร็งตับ เป็นมากอันดับต้น ๆ ใกล้เคียงกับสาเหตุการดื่มแอลกอฮอล์และไวรัสตับอักเสบ แพทย์มีการแบ่งสาเหตุของ “โรคตับคั่งไขมัน” ออกเป็น 3 กลุ่ม 1. ตับคั่งไขมัน : โภชนาการเกิน มีการกินอยู่เกินกว่าที่ใช้ จึงมักพบในผู้ป่วยที่มีโรคอ้วนร่วมด้วย 2. […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET :สูญเสียการนอน หรือการอดนอน

สูญเสียการนอน หรือ Sleep loss มีอาการเป็นอย่างไร ? เหมือนกับ “การนอนไม่หลับ” หรือไม่ ? “ไม่ถือว่าอดนอน” เราควรนอนวันละกี่ชั่วโมง ? 🎯 ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เรื่องนี้ ต้องแยกระหว่าง “สูญเสียการนอน” หรือ “การอดนอน” กับ “นอนไม่หลับ” เพราะไม่เหมือนกัน   “การอดนอน” หรือ Sleep loss มีเวลานอน มีโอกาสนอนเพียงพอ แต่ไม่ได้รับการนอนอย่างเหมาะสม เช่นทำงานดึก ดูเน็ตฟลิกซ์ ดูซีรีส์อะไรกันไป ตอนเช้าก็ต้องตื่นมาทำงานต่อ ทำให้ระยะเวลาการนอนสั้น คือสูญเสียการนอน “การนอนไม่หลับ” โอกาสนอนมีเพียงพอ เพียงแต่ร่างกายไม่สามารถผลิตการนอนได้ จึงต้องหาสาเหตุว่าร่างกายผลิตการนอนไม่ได้จากอะไร อาจจะเป็นความกังวล ความเครียด หรือว่าโรคทางกาย ผลกระทบจากการอดนอน ถ้าเป็นเรื่อง sleep loss หรือการสูญเสียการนอน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาหารเสริม สมุนไพร ช่วยล้างตับคั่งไขมัน จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์หลากหลายอาหารเสริมและสมุนไพร ที่ระบุว่าแก้ไขมันพอกตับ ตับคั่งไขมัน ล้างพิษตับได้🎯 ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย ปัจจุบัน ทางการแพทย์ยังไม่มีการศึกษาอาหารเสริมและสมุนไพรที่ช่วยเรื่องตับคั่งไขมันในคน ลดพังผืดตับหรือค่าตับอักเสบในเลือดให้ดีขึ้นหรือหายได้ จะเห็นได้ว่ายาแผนปัจจุบันที่แพทย์ใช้รักษาผู้ป่วยโรคตับก็ยังไม่สามารถลดไขมันที่คั่งในตับลงได้ ยาทำหน้าที่เพียงแค่ลดการอักเสบ สิ่งที่ควรปฏิบัติคือการกลับสู่วิถีชีวิตพื้นฐานดั้งเดิม ได้แก่ “ลดการกิน” (กินพอดี กินพอประมาณ) และ “เผาผลาญไขมันออกจากร่างกาย” ทั้งสมดุลเรื่องอาหารและการกิน รวมถึงการออกกำลังกายสม่ำเสมอ (ไม่เน้นการออกกำลังกายอย่างหนักและหักโหม แต่เน้นที่ความสม่ำเสมอและระยะเวลานานอยู่ในเกณฑ์เผาผลาญไขมันออกจากร่างกาย คือ 150 นาทีต่อสัปดาห์) ก็จะทำให้ตัวโรคดีขึ้นอย่างแน่นอน ผลิตภัณฑ์ที่กินแล้วช่วยล้างพิษตับได้ มีจริงหรือไม่ ? เซลล์ตับที่เป็นโรคตับคั่งไขมัน การทำงานของตับคล้าย ๆ คนอ้วนที่มีไขมันแทรกเข้าไปทุกเซลล์ การที่จะใช้ยา อาหารเสริม สมุนไพรใด ๆ ก็ตาม เพื่อล้างไขมันออกภายในไม่กี่วันหรือไม่กี่เดือน ย่อมเป็นไปไม่ได้ ปัจจุบัน ยังไม่มียาชนิดใดที่สามารถผลักดันไขมันหรือล้างออกจากเซลล์ตับได้ นอกจากผู้ป่วยได้พยายามออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และลดปริมาณการพอกพูนไขมันเข้าไปในตับใหม่ ดังนั้น กรณีนี้จึงไม่สามารถหวังผลจากการใช้ยาได้ ทั้งยาแผนปัจจุบัน และ/หรือ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : นอนไม่หลับ

การนอนไม่หลับทางการแพทย์เป็นอย่างไร ? จะต้องรักษาและปรับพฤติกรรมอย่างไร ? 🎯 ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “นอนไม่หลับ” มีตั้งแต่อาการนอนไม่หลับ พบได้ประมาณ 30-35 เปอร์เซ็นต์ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ชั่วคราว บางครั้งเครียด หรือมีภารกิจที่ต้องทำในวันรุ่งขึ้น ก็อาจจะนอนไม่หลับได้ สิ่งเหล่านี้เป็น “อาการ” เมื่อไหร่ก็ตามที่ “อาการ” เหล่านี้ เป็นมากกว่า 3 คืนต่อสัปดาห์ และเป็นมากกว่า 3 เดือน อย่างนี้เรียกว่าเป็น “โรคนอนไม่หลับ” พบได้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วไป ดังนั้น ถ้าเริ่มมีอาการของโรคนอนไม่หลับ เป็นค่อนข้างเรื้อรัง และเป็นมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป แนะนำให้รักษา การนอนไม่หลับ มีสาเหตุมาจากอะไร “นอนไม่หลับ” เป็นได้ทั้งสาเหตุของโรคทางกายและโรคทางใจ บางครั้งเป็นเรื่องความเครียด เช่น มีเรื่องที่ต้องคิดจำนวนมาก ปิดสวิตช์ความคิดไม่ค่อยได้ หรือเป็นโรคทางกาย เช่น โรคหอบหืด […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาหารต้องห้าม สำหรับไขมันพอกตับ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ “อาหารต้องห้าม สำหรับไขมันพอกตับ 5 ชนิด ได้แก่ น้ำตาล เกลือ แอลกอฮอล์ เนื้อแดง และของทอด” 🎯 ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย อาหารต้องห้ามสำหรับไขมันพอกตับ 5 ชนิดที่มีการแชร์กันเป็นความจริง ปัจจุบันมีอาหารหลายกลุ่มที่จำเป็นต้องห้ามและควรจะหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโภชนาการเกิน กินอาหารกลุ่มที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ภาวะไขมันตับหรือตับคั่งไขมันแย่ลง “ไขมันพอกตับ” เรียกให้เห็นภาพชัด ๆ จะต้องเรียกว่า “ตับคั่งไขมัน” คำว่า “ตับคั่งไขมัน” เป็นชื่อโรคที่ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสภา “ไขมันพอกตับ” เป็นคำที่ไม่แนะนำให้ใช้ เพราะคนฟังมีความเข้าใจหรือรู้สึกว่าไขมันเพียงแค่พอก น่าจะล้างออกได้ง่าย แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ด้วยยา อาหาร หรือสมุนไพร ซึ่งไม่ใช่สิ่งของที่จะนำสบู่มาล้างออก เนื่องจากไขมันแทรกเข้าไปในทุกอณูของเซลล์ตับ การนำไขมันออกจากเซลล์ตับจึงต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลง ทั้งพฤติกรรมการกิน การอยู่ และการออกกำลังกาย คนที่ “ตับคั่งไขมัน” มีอาหารต้องห้ามหลายกลุ่ม 1. น้ำตาล ให้ลดเท่าที่จำเป็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 4 วิธี นอนหลับไวขึ้น จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ 4 วิธีที่ทำให้นอนหลับได้ไวขึ้น มีตั้งแต่ (1.) อย่าบังคับให้ตัวเองหลับ (2.) อาบน้ำอุ่น (3.) ฟังดนตรี (4.) ไม่เล่นมือถือก่อนนอน 🎯 ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “จริงบางส่วน จะมีเพียงเรื่องการอาบน้ำซึ่งขึ้นกับความชอบของแต่ละบุคคลด้วย ถ้ามีการอธิบายเพิ่มเติมข้อมูลนี้สามารถแชร์ได้ และวิธีที่ทำให้นอนหลับไวขึ้นก็ไม่ได้มีแค่ 4 วิธีนี้เท่านั้น ยังมีวิธีการอื่น ๆ อีกที่จะช่วยให้หลับได้เร็วขึ้น” 1.อย่าบังคับให้ตัวเองหลับ อย่ากดดันสมอง ? จริง… ในคนที่พยายามเกี่ยวกับเรื่องการนอน ขอแนะนำว่าให้ลดความพยายามตรงนี้ลง เพราะเมื่อไหร่ที่เราพยายาม ความผ่อนคลายก็จะหายไป “การนอน” เป็นเพื่อนกับ “ความผ่อนคลาย” ถ้าเขาไม่ได้มากับเพื่อนเขา เราก็จะนอนไม่หลับ มีการแนะนำให้ “นับแกะ” เพื่อดึงความสนใจออกไปอยู่กับสิ่งอื่น ซึ่งการนับแกะเป็นกิจกรรมที่ค่อนข้างน่าเบื่อและเป็นการทำซ้ำ ๆ ลองสังเกตดูก็ได้ว่าเวลาที่เราทำอะไรซ้ำ ๆ จะค่อนข้างน่าเบื่อหน่อย ๆ ก็จะเข้าสู่การนอนได้ง่าย แต่ถ้าทำอะไรที่น่าเบื่อมาก ๆ ก็จะเกิดอาการหงุดหงิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : BED BUG รู้จัก “ตัวเรือด”

10 ธันวาคม 2566 – Bed Bug แมลงดูดเลือดที่กำลังแพร่ระบาด แมลงชนิดนี้อันตรายแค่ไหน และเราควรจัดการอย่างไร ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.ดร.เผด็จ สิริยะเสถียร หัวหน้าภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย BED BUG หรือตัวเรือด คืออะไร ? คือ แมลงดูดเลือดชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นแมลงตัวเล็กสีดำหรือสีน้ำตาล ลำตัวจะออกแบน รี มีขาแต่ไม่มีปีก มีปากที่แหลม ทั้งตัวผู้และตัวเมียดูดเลือดมนุษย์ ตัวเรือดนั้นสามารถแพร่พันธุ์ได้เร็วมาก ไข่จะมีสีขาวแต่พอใกล้ฟักตัวจะเป็นสีเข้มข้น ตัวเรือดมักชอบมาอยู่บนที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม หรือรอยแตกตามผนัง ดังนั้น ถ้ารู้สึกว่าตัวอะไรกัดบนที่นอน ให้สันนิษฐานว่าเป็นตัวเรือดไว้ก่อน จะได้เตรียมหาวิธีกำจัดทัน สัมภาษณ์เมื่อ : 23 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : BED BUG ป้องกันและกำจัด “ตัวเรือด”

11 ธันวาคม 2566 – ใครที่วางแผนเดินทางไปต่างประเทศ แต่ได้ยินข่าว Bed Bug แมลงดูดเลือดกำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ควรต้องเตรียมตัวอย่างไร และหากพบตัวเรือดที่บ้าน ต้องกำจัดอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ.นพ.ดร.เผด็จ สิริยะเสถียร หัวหน้าภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คำแนะนำวิธีกำจัดตัวเรือดเบื้องต้น 1. สำรวจแหล่งกบดานของตัวเรือดอยู่ตรงไหนบ้าง ไม่ว่าจะเป็นตามโครงเตียง ที่นอน โซฟา ตามซอกหลืบของผนัง ฯลฯ ถ้าพบว่ามีมูลจุดดำเล็ก ๆ เดาไว้ก่อนว่าตรงนั้นต้องมีตัวเรือดอยู่ 2. ใช้ความร้อนกำจัดตัวเรือด การซักด้วยน้ำร้อนอุณหภูมินี้จะทำให้ตัวเรือดถูกฆ่าอย่างรวดเร็วส่วนเฟอร์นิเจอร์ชิ้นไหนที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ ต้องค้น รื้อ ออกมา และใช้สเปรย์กำจัดตัวเรือด ต้องฉีดพ่นให้โดนตัวเรือดมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หลังจากใช้สเปรย์ฉีดจนทั่วแล้วหรืออาจจะทิ้งของใช้ที่มีตัวเรือด ฟูกที่นอนก็ควรเปลี่ยนใหม่ 3. การใช้สารสกัดสมุนไพร หรือน้ำมันหอมระเหยถือเป็นการไล่ตัวเรือดให้อพยพหนีไปเองได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจว่าตัวเรือดเป็นแมลงสายพันธุ์อึด ถึก พวกมันสามารถแอบซ่อนโดยไม่ต้องออกมากินเลือดได้นานถึง 6 เดือนหรือมากกว่านั้น สัมภาษณ์เมื่อ : 23 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ห้ามใช้น้ำดับเพลิงไหม้รถ EV จริงหรือ?

แบตเตอรี่ Lithium-Ion ในรถยนต์ EV ไม่มีโลหะลิเทียมเป็นส่วนประกอบของแบตเตอรี่ ไฟที่เกิดจากรถยนต์ EV จึงไม่ใช่ไฟ Class D หรือไฟที่เกิดจากโลหะซึ่งห้ามใช้น้ำดับไฟ ดังนั้นเพลิงไหม้รถยนต์ EV จึงสามารถใช้น้ำดับได้

ชัวร์ก่อนแชร์: รถ EV สิ้นเปลืองมากกว่าการใช้รถน้ำมัน จริงหรือ?

ผลการเปรียบเทียบในหลายประเทศ พบว่าการใช้รถ EV ประหยัดค่าพลังงานมากกว่ารถน้ำมัน ส่วนราคาสุทธิการเป็นเจ้าของรถยนต์ EV จะถูกกว่าการเป็นเจ้าของรถน้ำมันในอนาคต

ชัวร์ก่อนแชร์: ยาปลุกเซ็กซ์ทำให้ผู้ป่วยเอดส์เป็นมะเร็ง จริงหรือ?

แม้การใช้ป๊อปเปอร์จะมีผลต่อภูมิคุ้มกัน แต่สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยเอดส์เป็นมะเร็งชนิดคาโปซิ ซาร์โคมา มาจากสภาวะระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง

1 60 61 62 63 64 277
...