ชัวร์ก่อนแชร์ : ใส่แว่นดำขับรถตอนฝนตก ช่วยให้มองเห็นได้ดีขึ้น จริงหรือ ?

7 ธันวาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์แนะนำทริกให้ใส่แว่นดำขับรถตอนฝนตก จะช่วยให้มองเห็นได้ชัด และขับรถได้ดีขึ้นนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ การมองเห็นที่ชัดขึ้นไม่ได้เกิดจากการมองผ่านแว่นสีดำ แต่แว่นนั้นต้องมีคุณสมบัติลดการกระเจิงของแสง จึงทำให้มองเห็นชัดขึ้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย การขับรถตากฝน แล้วใส่แว่นกันแดด ทำไมถึงมองเห็นชัดขึ้น ? เพราะแว่นนั้นต้องมีคุณสมบัติลดการกระเจิงของแสงหรือการสะท้อนของแสงจึงทำให้มองเห็นชัดขึ้น ดังนั้นจึงไม่ใช่แว่นดำทุกอันจะมีคุณสมบัติทำให้มองเห็นภาพชัดขึ้นขณะขับรถตอนฝนตก แว่นกันแดด ทำหน้าที่ป้องกันรังสี UVA และ UVB ลดปริมาณแสงที่เข้าสู่ดวงตา ลดการกระเจิงของแสงที่เกิดจากการสะท้อนบนผิววัตถุที่มีความมันวาวทำให้มองภาพไม่ชัดเจน สัมภาษณ์เมื่อ : 24 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส 

ชัวร์ก่อนแชร์: ยาต้านไวรัส AZT ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงตายมากกว่าเชื้อเอดส์ จริงหรือ?

แม้ยา AZT จะก่อให้เกิดอาการข้างเคียงได้มากและทำให้เกิดไวรัสดื้อยาได้ง่าย แต่ก็ช่วยให้วงการแพทย์พบว่าการรักษาผู้ป่วยเอดส์จำเป็นต้องใช้ยาต้านไวรัสหลายสูตร

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต คลิปเตือน อาหารปลอม ต้องระวัง จริงหรือ ?

6 ธันวาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์เกี่ยวกับคำเตือนอาหารปลอมเอาไว้มากมาย ทั้งให้ระวังสาหร่ายที่ทำมาจากถุงดำ อีกทั้งยังมีเนื้อปลอม ไข่ปลอม และข้าวสารปลอมจากพลาสติกอีกด้วย ?! เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับจากชัวร์ก่อนแชร์ อันดับที่ 1 : คลิปเตือน เนื้อปลาปลอม จริงหรือ ? มีการแชร์คลิปเตือนให้ระวังเนื้อปลาปลอม มีวางขายตามท้องตลาดแล้ว บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ : ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต อาจารย์ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล “ในคลิปไม่ใช่ปลาปลอม แต่เป็นปลาแช่แข็งที่ไม่ได้คุณภาพ ทำให้เนื้อปลาแห้งคล้ายฟองน้ำหรือพลาสติก ปัจจัยหนึ่งเกิดจากบริเวณเนื้อปลาสัมผัสกับความเย็นมากเกินไป ทำให้ผิวปลาหยาบกระด้าง แผ่นหนังของปลาจะแข็งเพราะความเย็นจะดูดน้ำออก ทั้งนี้ ปลาแช่แข็งที่วางจำหน่ายจะแช่แข็งด้วยกรรมวิธี Quick Freezing (การแช่เยือกแข็งแบบเร็ว) มีการกำหนดอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ทำให้โปรตีนในเนื้อสัตว์แปรสภาพไปมากนัก บางครั้งโรงงานผลิตจะเติมสารป้องกันการแข็งตัวของน้ำแข็งไม่ให้มีขนาดใหญ่มากเกินไป จึงยังคงสภาพเนื้อสัตว์ได้ดี ข้อปฏิบัติสำหรับซื้อปลามาแช่แข็ง ต้องใส่เนื้อปลาในถุงหรือภาชนะที่ถูกอากาศน้อยที่สุด, หั่นปลาชิ้นไม่ใหญ่เกินไปเพื่อให้เย็นเร็วขึ้น, ไม่ควรแช่แข็งไว้นานเกิน 2 เดือน ก่อนนำมาปรุงอาหารควรละลายน้ำแข็งทิ้งไว้ในช่องธรรมดาก่อน 1 คืน เพื่อไม่ให้เนื้อปลาเปลี่ยนสภาพมากเกินไป แต่ห้ามแช่น้ำร้อน” […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เข้าใจสาเหตุเด็กมองไม่เห็นกะทันหัน

3 ธันวาคม 2566 ตามองไม่เห็นกระทันหันในเด็ก เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง และจะต้องรักษาอย่างไร ? ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 24 ตุลาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Keyword : MILKSHAKE DUCK ? — เปรียบวัฒนธรรมหนึ่ง ทางอินเทอร์เน็ต

2 ธันวาคม 2566 สิ่งนี้…เคยถูกยกเป็นคำศัพท์แห่งปี จากพจนานุกรมแมกควารี และสิ่งนี้… เป็นวลีหนึ่งที่เปรียบได้กับวัฒนธรรมทางอินเทอร์เน็ต อันเกี่ยวกับผู้มีชื่อเสียงชั่วข้ามคืน คือคำว่าอะไร ? มาร่วมไขคำตอบของคำปริศนากัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สัมภาษณ์เมื่อ : 23 สิงหาคม 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : จิรัชยา นวลนิ่มน้อย และ จิราภา อ่อนเกลี้ยง

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : แผลที่กระจกตา หรือ กระจกตาติดเชื้อ

1 ธันวาคม 2566 แผลที่กระจกตา เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง อันตรายแค่ไหน และจะมีวิธีการรักษาอย่างไร ? ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : หัวไชเท้า ล้างหลอดเลือด บำรุงหัวใจ ไล่มะเร็ง จริงหรือ ?

4 ธันวาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์แนะนำว่า หัวไชเท้า เป็นอาหารทางการแพทย์ เสริมภูมิคุ้มกัน กำมะถันจะขับไล่เชื้อโรค ล้างคราบจากหลอดเลือด บำรุงหัวใจ ขับไล่มะเร็ง ฟื้นฟูตับไต และใบหัวไชเท้ายังกำจัดสารพิษจากร่างกายได้นั้น บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ คุณสมบัติตามที่แชร์มายังไม่มีการวิจัยในคน ดังนั้นจึงยังไม่ควรแชร์ต่อ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สัมภาษณ์เมื่อ : 17 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : 5 สิ่งควรคำนึง ก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า จริงหรือ ?

5 ธันวาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์ 5 ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เช่น ดูขนาดของแบตเตอรี่ และ ดูไลฟ์สไตล์การใช้งานรถยนต์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ สัมภาษณ์เมื่อ : 21 พฤศจิกายน 2566 ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์

ชัวร์ก่อนแชร์: สมมุติฐานดูสเบิร์ก : HIV ≠ AIDS จริงหรือ?

สมมุติฐานดูสเบิร์กเคยถูกใช้กำหนดนโยบายรับมือโรคเอดส์ในแอฟริกาใต้ ทำให้มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรคเอดส์มากกว่า 3 แสนราย

ชัวร์ก่อนแชร์ : เปลี่ยนสีดวงตา ทำได้จริงหรือ ?

30 พฤศจิกายน 2566 – ตามที่มีการแชร์คลิปการเปลี่ยนสีดวงตา บริเวณรอบ ๆ รูม่านตา จากสีน้ำตาลเป็นสีฟ้า หรือสีอื่น ๆ ได้นั้น บทสรุป :  จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย อธิบายว่า ทางการแพทย์มีวิธีการเปลี่ยนสีม่านตาได้ แต่แพทย์จะใช้รักษาคนไข้ในบางกรณีเท่านั้น จึงไม่แนะนำให้ทำตามแฟชั่น ดังนั้นจึงไม่ควรแชร์ต่อ ในคลิปที่แชร์มาเป็นการเปลี่ยนสีดวงตา เรียกว่า corneal tattoo เป็นการป้ายสีลงบนผิวกระจกตา แต่การกระทำตามคลิปดังกล่าวนั้น เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ และผู้ที่ไปทำอาจได้รับอันตราย หากต้องการเปลี่ยนสีดวงตาตามแฟชั่น แพทย์แนะนำวิธีที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด คือการใส่คอนแทคเลนส์สีต่าง ๆ ด้วยคอนแทคเลนส์ที่ได้มาตรฐานรับรอง การเปลี่ยนสีกระจกตา ทางการแพทย์ใช้รักษาคนไข้กรณีใดบ้าง ? สำหรับผู้ที่กระจกตาเป็นฝ้าขาวหนาทึบ โดยที่ตาข้างนั้นมองไม่เห็นแล้ว แต่กลางตาดำเป็นฝ้าขาวแลดูไม่สวยงาม มีวิธีที่ทำให้กระจกตาที่เป็นฝ้าขาวให้มีสีเหมือนตาอีกข้าง คือสีดำหรือน้ำตาล แพทย์จะใช้วิธีที่เรียกว่า corneal tattoo เป็นการป้ายสีลงบนผิวกระจกตา หลังจากทำประมาณ 1 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : วัคซีนงูสวัด

30 พฤศจิกายน 2566 – วัคซีนงูสวัดป้องกันโรคงูสวัดได้แค่ไหน และใครที่ควรฉีด ต่อไปนี้คือข้อเท็จจริงและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล อุปนายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี สัมภาษณ์เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์ หมายเหตุ: เนื้อหานี้นำเสนอข้อเท็จจริงตามกรอบมาตรฐานของศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์โดยได้รับการสนับสนุนจาก “ทิงเกอร์” ผู้ขับเคลื่อนงานด้านการสื่อสารข้อมูลสุขภาพ

ชัวร์ก่อนแชร์: “โดนัลด์ ทรัมป์” แฉ “พ่อของคู่แข่งเลือกตั้ง” เคยร่วมงานกับมือสังหาร “เจเอฟเค” จริงหรือ?

การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญไม่พบหลักฐานว่าชายที่ถ่ายภาพร่วมกับมือสังหารเจเอฟเค เป็นคนเดียวกับพ่อคู่แข่งเลือกตั้งของ โดนัลด์ ทรัมป์

1 61 62 63 64 65 277
...