ชัวร์ก่อนแชร์ : ท่าบิดกระดูกสันหลัง ทำให้หลับสบาย จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์ท่าบิดกระดูกสันหลังบริหารกาย ทำก่อนนอน ช่วยให้ผ่อนคลาย และหลับสบายได้ 🎯 ตรวจสอบกับ นพ.ณภัทร์ ศิรินิ่มนวลกุล อาจารย์แพทย์ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และ ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ท่าบิดกระดูกสันหลังบริหารกาย ช่วยให้ผ่อนคลาย และหลับสบายได้ สามารถใช้ได้จริง แชร์ต่อได้ แต่ต้องเลือกท่าให้ถูกต้อง โดยปกติแล้ว สิ่งที่จะช่วยให้การนอนดีขึ้น คือการออกกำลังกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนนอน ซึ่งมีหลายท่าด้วยกัน ปกติแล้วการยืดเหยียดกล้ามเนื้อจะช่วยลดอาการปวด เป็นการเพิ่มความผ่อนคลายให้กับกล้ามเนื้อและร่างกาย เมื่อใดที่ร่างกายผ่อนคลายจิตใจก็จะผ่อนคลายตามด้วย ซึ่งจะช่วยเรื่องการนอนได้ดีขึ้น การบริหารร่างกายก่อนนอน มีท่าจำนวนมาก ขึ้นกับว่าตัวเราปวด และ/หรือ ตึงกล้ามเนื้อบริเวณไหน เราก็คลายตรงบริเวณนั้น ควรเลือก “ท่าบริหาร” อย่างไร แนะนำว่าควรเลือกท่าบริหารตามอาการปวด เช่น ปวดคอ บ่า ไหล่ ก็จะเน้นการยืดคอ บ่า ไหล่ (ท่าดึงศีรษะ ดึงคอ หรือก้มหน้า และหงายหลังกับแรงต้าน) จะสังเกตอย่างไรว่ายืดถูกท่าหรือผิดท่า เป็นต้นว่า ถ้ายืดแล้วปวด ก็ไม่แนะนำให้ทำต่อ เพราะอาจจะมีเรื่องอื่น ๆ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาหาร 3 ชนิดช่วยให้หลับสบาย จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์ มีการแชร์อาหาร 3 ชนิด กินก่อนนอนช่วยให้หลับสบาย ได้แก่ นม กล้วย และถั่วลิสง 🎯 ตรวจสอบกับ นพ.ณภัทร์ ศิรินิ่มนวลกุล อาจารย์แพทย์ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และ ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อาหารทั้ง 3 ชนิดที่แชร์กันว่าช่วยให้หลับสบายนั้น จริงบางส่วน และต้องดูด้วยว่าเป็นกล้วยชนิดไหน เป็นถั่วชนิดไหน เพราะว่าช่วยได้แตกต่างกัน นมและผลิตภัณฑ์จากนม กินก่อนนอน ช่วยให้หลับสบาย จริงหรือ ? การดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมช่วยให้เรื่องการนอนดีขึ้น ตัวนมและผลิตภัณฑ์จากนมมีกรดอะมิโนหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือ ทริปโตเฟน (Tryptophan) และทริปโตเฟนเป็นสารตั้งต้นของเมลาโทนิน (Melatonin) คือตัวที่ทำให้เกิดการนอนหลับในร่างกายของเรา สำหรับ “นม” จะเป็นนมอุ่น หรือนมแช่เย็น ก็มีผลไม่ต่างกัน ขึ้นกับความชอบของแต่ละคนมากกว่า บางคนดื่มนมวัวแล้วแพ้น้ำตาลแล็กโทส (lactose) ก็เปลี่ยนไปดื่มนมที่เป็นผลิตภัณฑ์จากพืช เช่น นมอัลมอนด์ นมถั่วเหลือง ก็พอช่วยได้ ปริมาณนมและผลิตภัณฑ์จากนมก่อนนอน ที่แนะนำก็คือ นม 1 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สุสาน EV ถูกทิ้งเป็นซากเพราะแบตฯ เสื่อม จริงหรือ?

ภาพที่ถูกแชร์ล้วนเป็นรถยนต์ EV ของบริษัทเช่ารถยนต์ในต่างประเทศ ที่ถูกทิ้งเป็นซากเพราะบริษัทปิดกิจการหรือรถยนต์ตกรุ่น ไม่เกี่ยวกับความบกพร่องของแบตเตอรี่รถยนต์แต่อย่างใด

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : วิธีรักษา ตับคั่งไขมัน

ตับคั่งไขมัน มีกี่ระยะ หายเองได้หรือไม่ ? หากเป็นแล้วจะรักษาอย่างไร หายขาดหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย โรคตับคั่งไขมันเป็นเพื่อนพ้องของโรคอ้วน จะไม่มีอาการเตือน การดำเนินโรคแบบค่อยเป็นค่อยไป ซ่อนอยู่ในร่างกาย จะทำให้เราประมาท หรือชะล่าใจ ส่วนใหญ่ไม่มีอายุกำหนด คนที่อายุแค่ 20-30 ปี และมีน้ำหนักขึ้นมาก ก็เป็นโรคตับคั่งไขมันได้ เมื่อตับคั่งไขมัน ระยะเวลาเฉลี่ยเกิน 10 ปีไปแล้ว ตับจะเริ่มอักเสบ ขอให้ลองนึกภาพเป็นการ์ตูน เซลล์ตับเป็นรูปสี่เหลี่ยม เมื่อมีไขมันแทรกเข้าไป เซลล์ตับจะอ้วนจากสี่เหลี่ยมเป็นวงกลมใหญ่ บวม และตาย นี่คือลักษณะของตับที่อักเสบเป็นระยะเวลานาน ๆ เมื่อเซลล์ตับตายก็จะถูกแทนที่ด้วยพังผืด ถ้าเกิดจุดเล็ก ๆ อย่างนี้ทุกจุดในเนื้อตับ สภาพตับก็จะเปลี่ยนเป็นตับเริ่มแข็งหรือมีพังผืด ในระยะยาวก็จะเหมือนคนที่เป็นโรคตับอักเสบจากไวรัส จากแอลกอฮอล์ ก็คือนำไปสู่ตับแข็ง นี่คือเหตุที่น่ากังวลและคล้าย ๆ เป็นระเบิดเวลาที่ซ่อนอยู่ในตัวเรา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตื่นกลางดึก

ทำไมเราต้องตื่นกลางดึก ? ตื่นกลางดึกบ่อย ๆ เป็นอันตรายหรือไม่ ตื่นแล้วนอนต่อไม่ได้ควรทำอย่างไร ? 🎯 ตรวจสอบกับ นพ.ณภัทร์ ศิรินิ่มนวลกุล อาจารย์แพทย์ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และ ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “ตื่นกลางดึก” เป็นเรื่องปกติ มีการนำคนปกติที่ไม่เคยมีปัญหาเรื่องของการนอนมาตรวจคลื่นสมองระหว่างการหลับ พบว่าค่าเฉลี่ยของการตื่นปกติอยู่ที่ประมาณ 10-15 ครั้งต่อคืน นี่คือตัวเลขปกติ บางคนรู้สึกว่าไม่น่าจะมากขนาดนั้น เพราะคนเรามีการตื่นกลางดึกตามคลื่นสมอง คือสมองตื่นแต่เราอาจจะจำไม่ได้ว่าเราตื่น ถ้าเราตื่นประมาณ 2-3 นาที สมองไม่ได้จำว่าเราตื่น ถ้าเราเริ่มตื่นนานกว่านั้น 5-10 นาที หรือตื่นแล้วลุกไปเข้าห้องน้ำ ลุกไปทำนู่นทำนี่ แล้วกลับมานอนต่อ อย่างนี้จะเป็นการตื่นที่สมองของเราจำได้ สมมุติตื่นกลางดึกแล้วกลับมานอนต่อ แต่ต้องใช้เวลาเกินครึ่งชั่วโมงขึ้นไป ระยะเวลา 3 วันต่อสัปดาห์ นานเป็นเดือนหรือหลายเดือนขึ้นไป อย่างนี้น่าจะมีปัญหาแล้ว มีสาเหตุอะไรบ้าง ที่ทำให้ตื่นกลางดึกและไม่สามารถนอนต่อได้ ตื่นกลางดึกแล้วกลับไปนอนต่อไม่ได้ มีสาเหตุหลายอย่าง เช่น 1. เกิดจากปัญหาด้านอารมณ์ จิตใจ บางคนมีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล ก็จะเกิดปัญหาการนอนที่ไม่ต่อเนื่อง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้ได้อย่างไร ตับคั่งไขมัน

รู้ได้อย่างไร ตับคั่งไขมัน หรือที่หลายคนเรียกว่า ไขมันพอกตับ เมื่อโภชนาการเกิน ทำให้เกิดพังผืดในตับ เราจะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็นโรคนี้ 🎯 ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย โดยทั่วไป โรคตับคั่งไขมันไม่น่าจะมีอาการอะไรแสดงมา ส่วนใหญ่จะเกิดหลังทราบจากการวินิจฉัยของแพทย์ ผู้ป่วยที่แพทย์บอกว่าสงสัยมีโรคตับคั่งไขมัน ส่วนใหญ่จะวิตกกังวล และเริ่มบ่นว่าเริ่มเจ็บชายโครงด้านขวา แน่นท้อง อึดอัด จุกเสียด เหล่านี้ไม่ใช่อาการของโรคตับคั่งไขมัน เพราะว่าโรคตับคั่งไขมันส่วนใหญ่ไม่มีอาการ การตรวจสุขภาพประจำปี และรับรู้ว่าเกี่ยวข้องกับโรคตับคั่งไขมัน กรณีที่ไม่มีอาการใด ๆ เลย ส่วนใหญ่รู้ได้จากการตรวจสุขภาพประจำปี ค่าตับ AST (Aspartate Transaminase)  และ ALT (Alanine Transminase) ทั้งสองตัวนี้มักจะขึ้นเกินกว่าค่าปกติ ค่าปกติ อยู่ที่ 40 ยูนิต/ลิตร พบว่าค่าทำงานตับของผู้ป่วยโรคตับคั่งไขมันส่วนใหญ่ขึ้นสูงไม่เกิน 100 ต้น ๆ หรือสูงกว่าค่าปกติ 2-3 เท่า สมมุติว่าค่าตับสูงมากกว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : นอนกลางวัน

การง่วงกลางวันมีสาเหตุมาจากอะไร ? การนอนกลางวันที่ดีเป็นแบบไหน ? 🎯 ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ปกติต้องใช้คำว่าการนอนเป็นหนี้ คือเราง่วงเพราะร่างกายมีการใช้พลังงาน เมื่อมีการใช้พลังงาน ร่างกายจะสะสมความง่วงมากขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละวัน สังเกตได้จากเวลาเราไปวิ่งมาราธอนหรือว่าไปออกกำลังกายหนัก ๆ ก็จะง่วงมากแล้วก็เพลียมาก ยิ่งใช้พลังงานมากความง่วงก็จะยิ่งมาก เวลาเรานอนก็เป็นการใช้ความง่วงเหล่านี้ไป ถ้าใช้ไม่หมดสิ่งที่เหลือก็จะเป็นหนี้ ก็จะทำให้เราง่วงในวันถัดมา เวลาเรานอนสั้น ๆ หรือนอนไม่พอ ร่างกายก็จะเอาคืน นอนเพื่อใช้ความง่วงที่เกิดจากการใช้พลังงานของร่างกายเราให้หมดไป สาเหตุนอนกลางวัน เรื่องของการงีบหลับกลางวัน มีเหตุผลหรือสาเหตุที่ทำให้ต้องงีบหลับกลางวัน ถ้าเหตุผลหรือสาเหตุที่ทำให้ต้องงีบหลับกลางวันเกิดจากการขาดการนอน เช่น sleep loos หรือสูญเสียการนอน หรือการนอนของเราไม่มีคุณภาพ ก็จะแนะนำให้เอาคืน เราสูญเสียการนอนไปเรื่อย ๆ จะส่งผลกับสุขภาพในระยะยาว มีคำถามว่า “กลางวันควรนอนมั้ย” ง่วงก็นอน ไม่ง่วงก็ไม่นอน ถ้าง่วงแปลว่าร่างกายกำลังส่งสัญญาณเตือนอะไรบางอย่าง ถ้าเกิดง่วงก็แปลว่าเมื่อคืนขาดการนอนหรือเปล่า เร็ว ๆ นี้ขาดการนอนหรือเปล่า เขาพยายามเอาคืน การงีบหลับกลางวันที่มีคุณภาพ ทำอย่างไร […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FactINFOcus : กล้วยสุกมีจุดดำ ต้องระวังเจอหนอนตัวยาว จริงหรือ? 

ตามที่มีการแชร์ข้อความว่า กินกล้วยสุกมีจุดดำ ต้องระวังทุกครั้ง เพราะแหวกผลกล้วย เจอหนอนสีขาว ตัวยาวมากนั้น บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ รศ.ดร.วิบูลย์ จงรัตนเมธีกุล อดีตอาจารย์ประจำภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กับ ศ.กิตติคุณ เบญจมาศ ศิลาย้อย ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล้วยที่มีจุดคือเป็นตามธรรมชาติ ไม่ใช่โรคหรือตัวบอกว่ามีแมลงอยู่ ถ้ามีแมลงอยู่ ผิวกล้วยจะนูนขึ้นและอย่ากังวลเกินไปว่าการรับประทานกล้วยที่สุกที่มีแมลงหรือมีหนอน เข้าไปสักตัวสองตัว จะเกิดปัญหาทางสุขภาพ

ชัวร์ก่อนแชร์ : 6 สัญญาณเตือนไขมันพอกตับ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ 6 สัญญาณเตือนไขมันพอกตับ เช่น อ่อนเพลียไม่ทราบสาเหตุ จุกแน่นท้อง เบื่ออาหาร จุกชายโครงขวา นอนไม่หลับ และคันตามผิวหนัง 🎯 ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย เรื่องที่แชร์กันนี้ไม่น่าจะจริง เพราะว่าตับคั่งไขมันส่วนใหญ่ยังไม่รุนแรง มักไม่มีอาการ ถ้าหากจะพบอาการดังเช่นที่แชร์กันนี้ น่าจะเป็น 2 กลุ่ม (1) กลุ่มคนที่เป็นระยะท้าย ๆ เริ่มมีตับแข็งแล้ว (2) กลุ่มที่มีโรคร่วม ไขมันพอกตับ หรือตับคั่งไขมัน : อาการของโรคที่มักเกิดจากโภชนาการเกิน ตับมีไขมันคั่ง “คั่ง” ก็คือไขมันเต็มไปหมด ไขมันแทรกเข้าไปในทุกอณูของเนื้อเซลล์ตับ ไม่ใช่พอกอยู่ด้านนอก ข้อ 1. อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้ง ๆ ที่เมื่อคืนก็หลับเต็มที่ เรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นอาการของโรคตับคั่งไขมัน ควรไปดูเรื่องของคุณภาพการนอน ถ้าระยะเวลาชั่วโมงที่นอนพอ แต่ตื่นมาแล้วยังรู้สึกอ่อนเพลีย ภาวะที่พบบ่อยร่วมกับโรคอ้วนและโรคตับคั่งไขมันก็คือ “ภาวะนอนกรน” ซึ่งจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : นอนไม่พอ งีบกลางวัน เสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อม จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เรื่องการนอนหลับไม่เพียงพอ และการงีบหลับกลางวัน เสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ ? 🎯 ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย การนอนไม่พอเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมได้ เรื่องนี้จริง เวลาที่เรานอนพัก สมองกำจัดของเสียต่าง ๆ และระบบน้ำเหลืองในร่างกายทำงานสัมพันธ์กับการนอนดึกมาก ๆ เวลาที่เราหลับลึก “ระบบน้ำเหลือง” ทำงานเหมือนรถเก็บขยะ ก็จะไปเก็บขยะตามเซลล์ต่าง ๆ และพวกบีตาอะไมลอยด์ (Beta-amyloid) ซึ่งเป็นสารที่พบมากในสมองคนที่เป็นอัลไซเมอร์ ในคนที่อดนอนหรือนอนไม่พอ บีตาอะไมลอยด์จะไม่ถูกเก็บไป ขณะที่คนนอนมากพอ บีตาอะไมลอยด์ลดลง ดังนั้น มีสมมุติฐานว่าถ้าเราอดนอนหรือนอนไม่พอ จะทำให้เกิดการสะสมของบีตาอะไมลอยด์มากขึ้น ก็จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ได้มากขึ้น แต่ขึ้นกับกรรมพันธุ์ของแต่ละคนด้วย การงีบหลับกลางวัน ทำให้เป็นโรคสมองเสื่อม ? จริง ๆ แล้ว การงีบกลางวันไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม แต่จากงานวิจัยพบว่าเกิดจากการที่สมองของเรามีความผิดปกติอยู่แล้ว ทำให้เรางีบหรือนอนกลางวันมากขึ้น ซึ่งความผิดปกติของสมองแบบนี้ สัมพันธ์กับการเกิดโรคสมองเสื่อม การงีบกลางวันจึงเป็นเพียงอาการแสดงอาการหนึ่งของสมองที่มีความผิดปกติ การนอนที่ปกติ อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้โรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ได้ เรื่องนี้ไม่แน่ใจว่าหมายถึงนอนกลางวันแล้วกลางคืนไม่นอนด้วยหรือเปล่า ถ้ามีความผิดปกติของนาฬิกาชีวิตแบบนี้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ Motor Check : ใช้น้ำล้างห้องเครื่อง ทำให้ระบบไฟเสียหาย จริงหรือ ?

12 ธันวาคม 2566 – ตามที่มีการแชร์คำเตือนสำหรับผู้ใช้งานรถยนต์ ว่า การใช้น้ำล้างห้องเครื่อง จะทำให้ระบบไฟของรถยนต์เกิดความเสียหายได้นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ นายสุรมิส เจริญงาม นักทดสอบและผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยียานยนต์ รถยนต์ในปัจจุบันเป็นระบบไฟฟ้าเสียส่วนใหญ่ การใช้เครื่องอัดฉีดน้ำแรงดันสูงฉีดเข้าไปที่ห้องเครื่อง จะทำให้ระบบไฟฟ้าภายในเกิดความเสียหายได้อย่างง่ายดาย ทำให้ระบบไฟฟ้าภายในรถทั้งหมดเกิดรวน ดังนั้นใช้เพียงผ้าเช็ดฝุ่นออกจากห้องเครื่องก็น่าจะเพียงพอแล้ว สัมภาษณ์เมื่อ : 30 ตุลาคม 2566ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : ณัฐพล อินทร์สวัสดิ์เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ชัวร์ก่อนแชร์: รถ EV ลุยน้ำท่วมไม่ได้ จริงหรือ?

รถยนต์ EV ส่วนใหญ่ผ่านมาตรฐาน IP67 ซึ่งป้องกันฝุ่นและน้ำเข้าตัวเครื่องได้ระดับหนึ่ง จึงสามารถวิ่งผ่านบริเวณที่มีน้ำท่วมได้ไม่ต่างจากรถยนต์น้ำมัน

1 59 60 61 62 63 277
...