ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เวย์โปรตีน คืออะไร ? ทำไมต้องกิน ?

🎯 ตรวจสอบกับ ผศ. ภกญ. ดร.รสริน ตันสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวย์โปรตีนคืออะไร เวย์คือโปรตีนในน้ำนมชนิดหนึ่งซึ่งเป็นส่วนของเหลวที่เหลือจากการตกตะกอนโปรตีนเคซีนในการผลิตชีส โดยปกติชีสมักผลิตจากนมวัวซึ่งมีปริมาณโปรตีนอยู่ 3.5% ประกอบไปด้วยโปรตีน 2 ชนิด ได้แก่ casein 2.8% และ whey 0.7% หรือคิดเป็น casein 80% และ whey 20% โดยประมาณ ประโยชน์ของเวย์โปรตีน เวย์เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูง มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน ย่อยง่าย ร่างกายดูดซึมไปใช้ได้เร็ว ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ มีกรดอะมิโนที่จำเป็น (essential amino acid) อยู่ครบ และมีกรดอะมิโนชนิด branched-chain amino acid (BCAA) (ได้แก่ leucine, isoleucine และ valine) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หรือสร้างเนื้อเยื่อเพิ่มเติม เวย์โปรตีนมี 3 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : แพ้กลูเตน

🎯 ตรวจสอบกับ ผศ. ภกญ. ดร.รสริน ตันสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลูเตน คืออะไร ? กลูเตน (gluten) คือโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบในธัญพืช (cereal) จำพวกข้าวสาลี (wheat) ข้าวไรน์ (rye) ข้าวบาร์เลย์ (barley) ข้าวโอ๊ต (oat) ซึ่งแป้งที่ทำจากข้าวสาลีถูกใช้เป็นวัตถุดิบอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหารหลากหลายประเภท โดยเฉพาะในอาหารประเภทเบเกอรี่ เมื่อกินเข้าไปแล้วก่อให้เกิดอาการแพ้ในบางคนที่ร่างกายไวต่อกลูเตน (แพ้กลูเตน) อาจมีอาการท้องเสีย แก๊สในกระเพาะ ท้องอืด รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเซลิแอค (Celiac Disease) อาหารประเภทธัญพืชมักมีโปรตีนกลูเตนเป็นส่วนประกอบ ยกตัวอย่างเช่น ซีเรียล ขนมปัง ขนมเค้กที่อบจากแป้งสาลี แพนเค้ก วาฟเฟิ้ล เพรสเซล คุ้กกี้ แครกเกอร์ พิซซ่า ซาลาเปา รวมไปถึงเส้นพาสต้า หรือเส้นสปาเกตตี้ เส้นมักกะโรนี เป็นต้น นอกจากแป้งที่มีกลูเตนแล้ว ยังมีผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่พบกลูเตน ? […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : 7 สัญญาณบ่งบอกโรค SLE หรือโรคแพ้ภูมิตนเอง จริงหรือ ?

🎯 มีคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ นพ.กันย์ พงษ์สามารถ กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ และรูมาติสซั่ม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มีการแชร์ 7 สัญญาณบ่งบอกโรค SLE บนสื่อสังคมออนไลน์ ข้อ 1 มีไข้เรื้อรังไม่ทราบสาเหตุ จริง… ผู้ป่วยโรค SLE สามารถพบอาการไข้ได้บ่อย แต่สามารถพบผู้ป่วยโรคอื่นที่มีไข้อ่อนเพลียได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มโรคมะเร็ง ก็มีอาการไข้อ่อนเพลียเรื้อรังนำมาได้เหมือนกัน ข้อ 2 เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เบื่ออาหาร น้ำหนักลด เป็นอาการแสดงของผู้ป่วยโรค SLE ได้ แต่พบในโรคอื่นได้เหมือนกัน ข้อ 3 มีผื่นขึ้นที่หน้าและร่างกาย โดยไม่ได้เกิดจากอาการแพ้ เรื่องนี้ถูก เพราะอาการผื่นขึ้นเป็นอาการที่พบบ่อยอย่างหนึ่งในผู้ป่วยโรค SLE โดยเฉพาะผื่นไวแสง อย่างไรก็ตาม โรคที่เกิดผื่นไวแสง ยังมีโรคอื่น ๆ อีกที่ไม่ใช่โรค SLE ข้อ 4 มีอาการปวดบวมตามข้อ โดยเฉพาะตอนเช้าหรือตอนตื่นนอน อาการปวดตามข้อ อาจจะเกิดจากการใช้งานก็ได้ แต่ลักษณะที่บอกว่าเป็นตอนเช้า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ลักษณะของผู้ป่วย SLE หรือโรคแพ้ภูมิตนเอง

🎯 มีคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ นพ.กันย์ พงษ์สามารถ กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ และรูมาติสซั่ม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ผู้ป่วย SLE พบมากมั้ย โดยปกติ พบอุบัติการณ์ของโรค SLE ประมาณ 40-50 คน ในประชากร 1 แสนคน ถ้าดูจำนวนประชากรเฉพาะพื้นที่ จะพบว่า คนเอเชีย แอฟริกา หรือกลุ่มฮิสแปนิก (Hispanic) ที่ใช้ภาษาสเปนในสหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนเป็นโรค SLE มากกว่าคนผิวขาว สัดส่วนระหว่างเพศหญิงกับเพศชาย ปรากฏว่าโรค SLE พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 8-9 เท่า กลุ่มโรค SLE ที่พบในเด็กก่อนวัยเจริญพันธุ์ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย แต่สัดส่วนอาจจะน้อยลงมา อยู่ที่ 4 ต่อ 1 โรค SLE ที่ปรากฏเด่นชัดช่วงไหน ส่วนใหญ่พบโรค SLE มากที่สุดช่วงเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ ส่วนหนึ่งผู้ป่วยอาจจะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของฮอร์โมนเพศ คือในช่วงอายุ 12-40 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรค SLE หรือ โรคแพ้ภูมิตนเอง

🎯 มีคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ นพ.กันย์ พงษ์สามารถ กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ และรูมาติสซั่ม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข โรค SLE คืออะไร โรค SLE เป็นโรคแพ้ภูมิตนเองชนิดหนึ่ง SLE ย่อมาจาก Systemic Lupus Erythematosus โรค SLE ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของตัวเอง มีกลุ่มภูมิคุ้มกันชนิดหนึ่งที่เล่นงานเนื้อเยื่อดี ๆ ของตัวเราได้หลาย ๆ ระบบพร้อมกัน อาการที่ปรากฏขึ้น จะเกิดที่อวัยวะใด ๆ ก็ได้ และค่อนข้างหลากหลาย โรค SLE เป็นโรคที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ แทนที่ภูมิคุ้มกันจะไปจัดการกับเชื้อโรคหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย แต่กลับเล่นงานเนื้อเยื่อปกติของร่างกาย โรคแพ้ภูมิตนเอง อาจจะเป็น SLE หรือโรคแพ้ภูมิชนิดอื่น ๆ ก็ได้ อาการแสดงที่ปรากฏของโรค SLE อาการแสดงที่ปรากฏคือการทำลายอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย พบได้บ่อยหลายอวัยวะ เช่น 1. ไขข้อ เกิดอาการข้ออักเสบ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ยื่นจอเมื่อเด็กงอแง ใช้ได้จริงหรือ ?

🎯 บนสื่อสังคมออนไลน์ มีการแชร์ภาพและคำเตือนว่า ยื่นจอเมื่อเด็กงอแง ใช้ได้จริงหรือ ? 📌 บทสรุป :  ✅ ชัวร์ แชร์ได้ มีคำอธิบายเพิ่มเติม  ✅ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การทำให้เด็กหยุดร้องไห้ด้วยการยื่นจอให้เด็ก เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจจากอารมณ์ขุ่นมัว เป็นวิธีแก้ปัญหาระยะสั้น แต่ระยะยาวแก้ไม่ได้ ซ้ำร้ายอาจส่งผลทำให้เด็กคนนั้นไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ ปัจจุบัน เวลาเห็นเด็กร้องไห้งอแงไม่พอใจ พ่อแม่จำนวนมากจะหยิบยื่นสื่อหน้าจอให้ มีส่วนหนึ่งยื่นให้แล้วเปิดทันทีเด็กก็จะหยุดร้อง นั่นคือเรากำลังเบี่ยงเบนความสนใจจากอารมณ์ขุ่นมัวของเด็กไปอยู่ที่หน้าจอ ทำให้พ่อแม่เห็นว่าสื่อหน้าจอมีข้อดี จึงใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ 👉 การยื่นจอ เกิดผลเฉพาะหน้า แต่ระยะยาวเด็กควบคุมตัวเองไม่ได้ การยื่นจอให้เด็กจะใช้ได้ผลในระยะสั้น แต่เป็นการบ่มเพาะทำให้เด็กควบคุมตัวเองไม่ได้ระยะยาว ปัจจุบัน เริ่มมีข้อมูลการศึกษาวิจัยพบว่าถ้าพ่อแม่ใช้สื่อหน้าจอเพื่อจะทำให้เด็กสงบ กลับกลายเป็นว่าลูกมีโอกาสที่จะควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้สูงมากขึ้น จากข้อมูลนี้ สรุปว่าการใช้สื่อหน้าจอเพื่อให้เด็กสงบอาจทำให้เด็กขาดโอกาสเรียนรู้วิธีที่จะทำอย่างไรให้ตัวเองสงบได้ 👉 ทำอย่างไร พ่อแม่ไม่ต้องยื่นจอให้เด็ก ถ้าไม่มีจอ พ่อแม่ต้องเบี่ยงเบนความรู้สึกไม่พอใจ เช่น พาลูกนับ 1-10 หรือประเด็นที่พบบ่อยคือใช้วิธีสะท้อนอารมณ์เด็ก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : หลายผลเสียจากการติดจอ จริงหรือ ?

🎯 บนสื่อสังคมออนไลน์ มีการแชร์ภาพและคำเตือนว่า หลายผลเสียจากการติดจอ จริงหรือ ? 📌 บทสรุป :  ✅ ชัวร์ แชร์ได้ มีคำอธิบายเพิ่มเติม  ✅ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรณีที่สื่อสังคมออนไลน์มีการเตือนความเสี่ยงหลายอย่างจากการติดจอ เช่น โมโหร้าย สมาธิสั้น ไปจนถึงเจ้าอารมณ์ พัฒนาการช้านั้น มีความจริงในบางส่วน เรื่องพฤติกรรม เช่น ซน สมาธิสั้น การควบคุมตัวเองไม่ได้ โมโห หงุดหงิด มีข้อมูลว่าความสัมพันธ์เหล่านี้เกิดขึ้นร่วมด้วย การใช้สื่อที่ไม่เหมาะสมอาจจะส่งผลต่อการเรียนได้ เด็กใช้สื่อหน้าจอไม่สามารถกำกับควบคุมตัวเองได้ และทำงานที่ได้รับมอบหมายจากโรงเรียนไม่สำเร็จ นอกจากนี้ ส่งผลด้านร่างกายด้วย ข้อมูลการศึกษาช่วงล็อกดาวน์พบว่ามีผลต่อการใช้สื่อหน้าจอมาก เรื่องภาวะสายตาสั้น ส่วนคนที่สายตาสั้นอยู่แล้วแนวโน้มสายตาสั้นเพิ่มมากขึ้น โรคทางกายอื่น ๆ เช่น โรคอ้วน มีข้อมูลมานานแล้ว ซึ่งเป็นลักษณะพฤติกรรมเนือยนิ่ง ทำให้เด็กขาดโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย รวมไปถึงปัญหาการนอน ถ้าใช้สื่อหน้าจอที่ไม่เหมาะสม จะสัมพันธ์กับปัญหาการนอนมากขึ้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แค่เปิด “จอ” ทิ้งไว้ ก็เป็นภัยกับลูกแล้ว จริงหรือ ?

🎯 บนสื่อสังคมออนไลน์ มีการแชร์ภาพและคำเตือนว่า “แค่เปิด ‘จอ’ ทิ้งไว้ ก็เป็นภัยกับลูกแล้ว จริงหรือ ?” 📌 บทสรุป :  ✅ ชัวร์ แชร์ได้ มีคำอธิบายเพิ่มเติม  ✅ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่องนี้จริง โดยเฉพาะเด็กปฐมวัย ก่อนอายุ 2-3 ขวบลงมา ปัจจุบันมีข้อมูลงานวิจัยมากพอสมควร ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ การเปิดจอทิ้งไว้ ทางการแพทย์เรียกว่า “Background media” หมายความว่า เป็นสื่อที่ผลิตขึ้นมาสำหรับผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่จะเปิดไว้และดู เพียงแต่เด็กถูกเลี้ยงดูอยู่ในห้องนั้นด้วย ซึ่งเด็กอาจจะไม่ได้รับประโยชน์จากสื่อที่เปิดทิ้งไว้เหล่านี้ ปัจจุบัน งานวิจัยยังไม่สามารถแยกออกมาแต่ละส่วนได้ คือทั้งภาพและเสียง หรือจะรวมหมดทั้งภาพและเสียง การเปิดเฉพาะภาพ หรือเฉพาะเสียง ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลมากเพียงพอขนาดนั้น แต่ถ้ายิ่งเปิดก็จะมีการรับทางประสาทสัมผัสทางเดียว เช่น ทางตา หรือทางหู ก็จะส่งผลได้เหมือนกัน แต่อาจจะไม่ได้มากเท่า 👉 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ติดจอ ทำให้เด็กเป็นออทิสติก จริงหรือ ?

🎯 ชัวร์ก่อนแชร์ : ติดจอ ทำให้เด็กเป็นออทิสติก จริงหรือ ? 📌 บทสรุป :  ✅ ชัวร์ แชร์ได้ มีคำอธิบายเพิ่มเติม  ✅ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 👉 เรื่องเด็กติดจอเสี่ยงเป็นออทิสติก มีความสัมพันธ์เกิดขึ้นได้ จากข้อมูลงานวิจัยทั้งในไทยและต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา พบว่าเด็กที่ใช้สื่อหน้าจอจำนวนมากและใช้เร็ว มีความสัมพันธ์กับการวินิจฉัยพฤติกรรมคล้ายออทิสติก ขณะเดียวกัน เด็กออทิสติกก็สัมพันธ์กับการใช้สื่อหน้าจอเพิ่มขึ้น 👉 “ออทิสติก” เป็นโรคของระบบประสาทและพัฒนาการ อาการค่อย ๆ ปรากฏให้เห็นในภายหลัง อาการหลัก ๆ ของเด็กออทิสติกคืออยู่ในโลกส่วนตัว มีพฤติกรรมไม่ค่อยมองหน้า ไม่สบตา เรียกชื่อไม่ค่อยหัน ใช้ภาษาท่าทางไม่มาก สิ่งสำคัญคือเด็กกลุ่มนี้พูดสื่อสารล่าช้าและมีภาษาของตัวเอง นอกจากนี้ มีพฤติกรรมซ้ำ ๆ ชอบเล่นอะไรที่มีลักษณะหมกมุ่น เด็กบางคนมีพฤติกรรมชอบสะบัดมือหรือหมุนตัว กรณีที่เป็นมากอาจจะทำร้ายตัวเอง 👉 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนงดจอ! ก่อน 2 ขวบ จริงหรือ ?

🎯 บนสื่อสังคมออนไลน์ มีการแชร์ภาพและคำเตือนว่า “งดจอ! ก่อน 2 ขวบ” พร้อมแสดงภาพเปรียบเทียบสมองเด็กที่อ่านหนังสือ ใยประสาทเรียงเป็นระเบียบ เด็กที่ดูจอ ใยประสาทกระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ 📌 บทสรุป :  ✅ ชัวร์ แชร์ได้ มีคำอธิบายเพิ่มเติม  ✅ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ศ.นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อพัฒนาศักยภาพเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 👉 ช่วงปฐมวัย (ตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ขวบ) สมองของเด็กมีความสำคัญมาก พ่อแม่จำเป็นต้องสร้างความสัมพันธ์เชิงบวก มีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ๆ และทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น มีการอ่านหนังสือนิทาน การเล่น การร้องเพลง จะเป็นการช่วยให้เซลล์ประสาทและโครงสร้างสมองมีการจัดเรียงตัวอย่างเหมาะสม เป็นรากฐานการเรียนรู้ขั้นต่อ ๆ ไป 👉 ถ้าการจัดเรียงตัวของใยประสาท “เป็นระเบียบ” และเด็กได้เรียนรู้ในชั้นที่สูงขึ้น ก็สามารถได้รับข้อมูลต่าง ๆ และเชื่อมโยงส่งผ่านสัญญาณประสาทและประมวลผลออกมา ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่า 👉 การจัดเรียงตัวของใยประสาท […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สมุนไพรรักษานอนกรน จริงหรือ ?

ชัวร์ก่อนแชร์ : สมุนไพรรักษานอนกรน จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์ว่า “ถ้าไม่อยากนอนกรน ใช้สมุนไพร 4 ชนิด คือใบแมงลัก หอมแดง พริกขี้หนู และขิงแก่ ใส่น้ำต้มจนเดือด ดื่มอุ่น ๆ ก่อนนอนทุกวัน”นั้น 📌 บทสรุป :  ❌ ไม่ควรแชร์  ❌ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ พญ.นวรัตน์ เกษมสุข ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน ข้อมูลเรื่องการนำสมุนไพรมาใช้รักษานอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับยังมีค่อนข้างจำกัด และที่สำคัญคือยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนเรื่องประโยชน์ของสมุนไพร จากข้อมูลที่แชร์กันคิดว่าไม่มีข้อเสียอะไรเป็นพิเศษ แต่ประโยชน์ที่ได้รับในแง่การรักษาคิดว่ายังไม่แนะนำ ที่บอกว่า “ไม่มีข้อเสีย” เพราะสมุนไพรที่แชร์กัน (ใบแมงลัก หอมแดง พริกขี้หนู ขิง) เป็นส่วนผสมที่มีอยู่ในเมนูอาหารไทยอยู่แล้ว ถ้าต้องการทดลองก็ได้ มีสิ่งที่ควรระมัดระวังเรื่องสมุนไพรรสจัด ข้อเสียที่เกิดขึ้นได้จาก “รสจัด”​ คือทำให้เกิดการระคายเคืองต่อช่องปาก ช่องคอ กล่องเสียง หลอดอาหาร รวมถึงอาจทำให้เกิดกรดไหลย้อน 👉 มีอาหารหรือสมุนไพรอะไรช่วยแก้นอนกรนได้ ? ปัจจุบัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : “บูลลี่” ในโรงเรียน

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูล : รศ.พญ.วนิดา เปาอินทร์ (กุมารแพทย์ เชี่ยวชาญด้านการคุ้มครองเด็ก) 🎯 เกิดเหตุการณ์เศร้าสะเทือนขวัญ วันอังคาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ช่วงพักเที่ยง ณ โรงอาหารโรงเรียนแห่งหนึ่ง นักเรียนรุ่นพี่ อายุ 16 ปี ใช้ขวานจามศีรษะ นักเรียนรุ่นน้อง อายุ 14 ปี ทั้งคู่มีเรื่องทะเลาะวิวาทกันมานานหลายเดือนแล้ว รุ่นพี่ต่อยแพ้รุ่นน้องตลอด และถูกเพื่อนร่วมชั้นบูลลี่ จนเกิดความอับอายและเครียด จึงก่อเหตุทำร้ายรุ่นน้องเสียชีวิต 🎯 ในภาษาไทยมีคำว่า กลั่นแกล้ง ข่มเหง รังแก และ ล้อเลียน สำหรับภาษาอังกฤษที่คุ้นเคยกัน  คือ bully และ bullying เมื่อพูดถึงการกลั่นแกล้ง ข่มเหง รังแก และ ล้อเลียน ส่วนใหญ่รู้จักคำทับศัพท์ “บูลลี่” บางเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจาก “บูลลี่” […]

1 15 16 17 18 19