ชัวร์ก่อนแชร์ : บริหารใบหน้าด้วย “ท่าสิงโต” แก้นอนกรนได้ จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์แนะนำว่า “ทำท่าสิงโตแก้นอนกรน ให้แลบลิ้นยาว ๆ เหลือบตามองบน บริหารก่อนนอน ทำต่อเนื่องอย่างน้อย 7 วัน อาการนอนกรนหายแน่นอน” นั้น 📌 บทสรุป :  ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ มีคำอธิบายเพิ่มเติม ❌ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ พญ.นวรัตน์ เกษมสุข ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล การแลบลิ้น เหลือบตา แบบท่าสิงโต แก้อาการนอนกรน มีบางส่วนถูก แต่ก็มีบางส่วนที่ผิดอยู่ ท่าแลบลิ้นที่แนะนำ คล้ายคลึงกับการออกกำลังกายโคนลิ้น ซึ่งในระยะหลังมีคำแนะนำการออกกำลังกายบริเวณช่องคอและโคนลิ้น เพื่อเพิ่มความตึงตัวของกล้ามเนื้อบริเวณคอหอย คาดว่ากล้ามเนื้อมีความตึงตัวดี การนอนกรนและการหยุดหายใจขณะหลับก็จะดีมากขึ้นด้วย 👉 การออกกำลังกายโคนลิ้น ทางการแพทย์เรียกว่าอะไร ? การออกกำลังกายโคนลิ้น โดยทั่วไปมีแนวทางอยู่หลายท่า เช่น มีการขยับปาก ขยับลิ้น แตะกระพุ้งแก้มซ้าย-ขวา แตะเพดาน หรือใส่อุปกรณ์เข้าไป เพื่อให้ผู้ป่วยขยับลิ้นไปแตะ หรือมีอุปกรณ์เป่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : วิตามินจากแปะก๊วยแก้นอนกรน จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์แนะนำ “ให้กินวิตามินที่ทำจากสารสกัดใบแปะก๊วยแก้อาการนอนกรน” นั้น 📌 บทสรุป :  ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ มีคำอธิบายเพิ่มเติม ❌ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ พญ.นวรัตน์ เกษมสุข ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ผ่านมามีความพยายามศึกษาประสิทธิผลของแปะก๊วยต่อการนอนหลับ มีข้อมูลว่าแปะก๊วยอาจจะเพิ่มคุณภาพการนอน ระยะเวลาหลับตื้น หลับลึก หลับฝัน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีข้อมูลเรื่องการนำแปะก๊วยมาใช้รักษาผู้ป่วยที่นอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ ก่อนอื่น ต้องเข้าใจกลไกการเกิดนอนกรนก่อน หลัก ๆ มีอยู่หลายกลไกด้วยกันที่เกี่ยวกับปัญหาโครงสร้าง เช่น ผู้ป่วยที่ต่อมทอนซิลโต เพดานอ่อนเนื้อเยื่อหย่อน อาจจะทำให้นอนกรนได้ง่าย หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาความตึงตัวของกล้ามเนื้อ รวมถึงผู้ที่มีปัญหาการตอบสนองของระบบทางเดินหายใจต่อการมีค่าออกซิเจนในเลือดลดลง การกินวิตามินเสริมไม่มีบทบาทสำคัญชัดเจนในเรื่องของกลไกการเกิดโรคนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ 👉 การกินวิตามินหรืออาหารเสริมเพื่อรักษาโรคนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ ดีมั้ย ? เรื่องการใช้วิตามินดีหรือไม่ดีจะต้องดูเรื่องคุณภาพของตัวยา ขนาด และไม่สามารถรับรองได้ว่าจะมีผลข้างเคียงหรือไม่เมื่อได้รับสารนั้น ๆ มากเกินไป การพยายามหาทางลัดเพื่อแก้ปัญหากับตัวเองก่อน จะทำให้การเข้าสู่ระบบตรวจประเมินล่าช้าออกไปได้ ถ้ามีอาการนอนกรนหรือว่าสงสัยว่าหยุดหายใจขณะหลับ แต่ถ้าได้รับการตรวจประเมินอย่างรวดเร็วจะเป็นผลดีมากกว่า 👉 นอนกรนรักษาหายขาดได้มั้ย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เลเซอร์รักษานอนกรน จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์ “เทคโนโลยีเลเซอร์ สามารถใช้รักษาอาการนอนกรนได้ เพียงเลเซอร์ผ่านช่องปาก รักษานอนกรนได้ผล”นั้น 📌 บทสรุป :  ❌ ไม่ควรแชร์ แต่มีคำอธิบายเพิ่มเติม ❌ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ พญ.นวรัตน์ เกษมสุข ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล การนำเลเซอร์มารักษาผู้ป่วยที่นอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับหลายแง่มุม นั่นคือการนำเลเซอร์มาใช้เป็นอุปกรณ์หนึ่งในการผ่าตัดตกแต่งเพดานอ่อน แต่จากคลิปวิดีโอที่แชร์กันน่าจะหมายถึงการยิงเลเซอร์เพื่อเพิ่มความตึงตัวของเพดานอ่อน ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการรักษา แต่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีปัญหานอนกรนเป็นหลัก ผลที่ได้กับผู้ป่วยจริง ๆ คือเสียงกรนที่เบาลง ในผู้ป่วยที่มีปัญหาอื่นด้วย วิธีการยิงเลเซอร์อาจแก้ปัญหาได้ไม่ครอบคลุม แต่ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงจากการหยุดหายใจขณะหลับการใช้เลเซอร์อาจจะไม่เพียงพอ นอกจากนี้ การจี้บริเวณเพดานอ่อนเป็นเพียงการแก้ปัญหาโครงสร้างเพียงจุดเดียว แต่ผู้ป่วยที่มีปัญหาของโครงสร้างหลาย ๆ ส่วน หรือมีกลไกการเกิดโรคอย่างอื่น จะมีความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่ผิดปกติด้วย การจี้ด้วยเลเซอร์เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ฉะนั้นต้องประเมินความรุนแรงของสาเหตุเพิ่มเติม 👉 อาการนอนกรนมีหลายสาเหตุ จึงควรตรวจหาสาเหตุก่อนเลือกวิธีการรักษา ปกติถ้านอนกรนก็มีคำแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมจากการตรวจร่างกาย ตรวจการนอนหลับ เพื่อประเมินความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละคน การนอนกรนและการหยุดหายใจขณะหลับ ต้องตรวจประเมินทางเดินหายใจ ตั้งแต่โพรงจมูก ลงมาถึงเพดานอ่อน คอหอย ทอนซิล จนถึงโคนลิ้นและกล่องเสียง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 5 ข้อควรปฏิบัติ แก้นอนกรนด้วยตนเอง จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์ว่า “5 ข้อแก้นอนกรนด้วยตนเอง เช่น งดดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน ลดน้ำหนัก ห้ามนอนหงาย งดดื่มชากาแฟยามบ่าย”นั้น 📌 บทสรุป :  ✅ ชัวร์ แชร์ได้ มีคำอธิบายเพิ่มเติม  ✅ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ พญ.นวรัตน์ เกษมสุข ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาพรวม เบื้องต้นทั้ง 5 ข้อ สามารถช่วยเรื่องนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับได้ 👉 ข้อ 1 หลีกเลี่ยงดื่มแอลกอฮอล์ก่อนนอน การหลีกเลี่ยงดื่มแอลกอฮอล์ก่อนเข้านอน เป็นคำแนะนำโดยทั่วไปที่เพิ่มคุณภาพการนอนอยู่แล้ว เพราะการดื่มแอลกอฮอล์จะมีผลต่อความตึงตัวของกล้ามเนื้อ และส่งผลต่อการหลับตื้นหลับลึก คุณภาพการนอนแย่ลง อาจจะทำให้เกิดการนอนกรนได้ หรือเป็นคนนอนกรนอยู่แล้วก็จะทำให้การนอนกรนแย่ลงได้อีก 👉 ข้อ 2 ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน การลดน้ำหนักช่วยเรื่องนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับได้มาก เพราะคนที่มีน้ำหนักมากจะมีเนื้อเยื่อไขมันบริเวณคอหอย ช่องคอ ทางเดินหายใจค่อนข้างมากตามไปด้วย เรื่องน้ำหนักเกินอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ทางเดินหายใจอุดกั้นได้ง่ายกว่าที่ควรจะเป็น ทำให้เกิดการนอนกรน และมีหยุดหายใจขณะหลับตามมาด้วย ฉะนั้นคนที่มีน้ำหนักเกินถ้าควบคุมน้ำหนักให้ลดลงมาได้ ก็คาดหวังว่าการนอนกรนหรือการหยุดหายใจขณะหลับจะดีขึ้นได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แอปเปิ้ลไซเดอร์ บำบัด 8 อาการได้ จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์ว่า “แอปเปิ้ลไซเดอร์ สามารถบำบัดได้สารพัดโรค ทั้งแก้ท้องเสีย สะอึก อาหารไม่ย่อย ไซนัส เจ็บคอ อ่อนเพลีย ตะคริว และฟันขาว”นั้น 📌 บทสรุป :  ❌ ไม่ควรแชร์  ❌ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ดร.ประมวล ทรายทอง ฝ่ายจุลชีววิทยาประยุกต์ และรองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่มีการแชร์ว่าแอปเปิ้ลไซเดอร์สามารถบำบัดอาการต่าง ๆ หลายอย่าง บางส่วนก็เป็นเรื่องจริง บางส่วนก็จริงเพียงบางส่วน หรือบางข้อความ และบางส่วนก็ไม่เป็นความจริง 👉 1.ท้องเสีย ให้จิบแอปเปิ้ลไซเดอร์ผสมน้ำสุกเย็นเจือจางทั้งวัน เพราะแอนตี้ไบโอติกในแอปเปิ้ลไซเดอร์จะช่วยฆ่าเชื้อในลำไส้ได้ ท้องเสียอาจจะเกิดมาจากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อหรืออาหารเป็นพิษจากเชื้อจุลินทรีย์หรือไวรัส หรืออาจเกิดจากกระเพาะหรือลำไล้เป็นแผลแล้วส่งผลให้เกิดอาการท้องเสีย ดังนั้น หากท้องเสียจากการติดเชื้อหรืออาหารเป็นพิษ สามารถดื่มแอปเปิ้ลไซเดอร์ผสมน้ำเจือจางเพื่อช่วยในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ เนื่องจากมีรายงานพบว่าแอปเปิ้ลไซเดอร์มีส่วนยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดได้ ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องดื่มแอปเปิ้ลไซเดอร์ทั้งวันแล้วอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาและหาสาเหตุของอาการท้องเสีย จะได้แก้อาการให้ตรงจุด เพราะหากดื่มแอปเปิ้ลไซเดอร์เป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลต่อการเกิดแผลในกระเพาะได้ 👉 2.สะอึก กินแอปเปิ้ลไซเดอร์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สมุนไพรรักษานอนกรน จริงหรือ ?

ชัวร์ก่อนแชร์ : สมุนไพรรักษานอนกรน จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์ว่า “ถ้าไม่อยากนอนกรน ใช้สมุนไพร 4 ชนิด คือใบแมงลัก หอมแดง พริกขี้หนู และขิงแก่ ใส่น้ำต้มจนเดือด ดื่มอุ่น ๆ ก่อนนอนทุกวัน”นั้น 📌 บทสรุป :  ❌ ไม่ควรแชร์  ❌ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ พญ.นวรัตน์ เกษมสุข ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน ข้อมูลเรื่องการนำสมุนไพรมาใช้รักษานอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับยังมีค่อนข้างจำกัด และที่สำคัญคือยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนเรื่องประโยชน์ของสมุนไพร จากข้อมูลที่แชร์กันคิดว่าไม่มีข้อเสียอะไรเป็นพิเศษ แต่ประโยชน์ที่ได้รับในแง่การรักษาคิดว่ายังไม่แนะนำ ที่บอกว่า “ไม่มีข้อเสีย” เพราะสมุนไพรที่แชร์กัน (ใบแมงลัก หอมแดง พริกขี้หนู ขิง) เป็นส่วนผสมที่มีอยู่ในเมนูอาหารไทยอยู่แล้ว ถ้าต้องการทดลองก็ได้ มีสิ่งที่ควรระมัดระวังเรื่องสมุนไพรรสจัด ข้อเสียที่เกิดขึ้นได้จาก “รสจัด”​ คือทำให้เกิดการระคายเคืองต่อช่องปาก ช่องคอ กล่องเสียง หลอดอาหาร รวมถึงอาจทำให้เกิดกรดไหลย้อน 👉 มีอาหารหรือสมุนไพรอะไรช่วยแก้นอนกรนได้ ? ปัจจุบัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สมุนไพรรักษานอนกรน จริงหรือ ?

ชัวร์ก่อนแชร์ : สมุนไพรรักษานอนกรน จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์ว่า “ถ้าไม่อยากนอนกรน ใช้สมุนไพร 4 ชนิด คือใบแมงลัก หอมแดง พริกขี้หนู และขิงแก่ ใส่น้ำต้มจนเดือด ดื่มอุ่น ๆ ก่อนนอนทุกวัน”นั้น 📌 บทสรุป :  ❌ ไม่ควรแชร์  ❌ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ พญ.นวรัตน์ เกษมสุข ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน ข้อมูลเรื่องการนำสมุนไพรมาใช้รักษานอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับยังมีค่อนข้างจำกัด และที่สำคัญคือยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนเรื่องประโยชน์ของสมุนไพร จากข้อมูลที่แชร์กันคิดว่าไม่มีข้อเสียอะไรเป็นพิเศษ แต่ประโยชน์ที่ได้รับในแง่การรักษาคิดว่ายังไม่แนะนำ ที่บอกว่า “ไม่มีข้อเสีย” เพราะสมุนไพรที่แชร์กัน (ใบแมงลัก หอมแดง พริกขี้หนู ขิง) เป็นส่วนผสมที่มีอยู่ในเมนูอาหารไทยอยู่แล้ว ถ้าต้องการทดลองก็ได้ มีสิ่งที่ควรระมัดระวังเรื่องสมุนไพรรสจัด ข้อเสียที่เกิดขึ้นได้จาก “รสจัด”​ คือทำให้เกิดการระคายเคืองต่อช่องปาก ช่องคอ กล่องเสียง หลอดอาหาร รวมถึงอาจทำให้เกิดกรดไหลย้อน 👉 มีอาหารหรือสมุนไพรอะไรช่วยแก้นอนกรนได้ ? ปัจจุบัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สมุนไพรรักษานอนกรน จริงหรือ ?

ชัวร์ก่อนแชร์ : สมุนไพรรักษานอนกรน จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์ว่า “ถ้าไม่อยากนอนกรน ใช้สมุนไพร 4 ชนิด คือใบแมงลัก หอมแดง พริกขี้หนู และขิงแก่ ใส่น้ำต้มจนเดือด ดื่มอุ่น ๆ ก่อนนอนทุกวัน”นั้น 📌 บทสรุป :  ❌ ไม่ควรแชร์  ❌ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ พญ.นวรัตน์ เกษมสุข ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน ข้อมูลเรื่องการนำสมุนไพรมาใช้รักษานอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับยังมีค่อนข้างจำกัด และที่สำคัญคือยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนเรื่องประโยชน์ของสมุนไพร จากข้อมูลที่แชร์กันคิดว่าไม่มีข้อเสียอะไรเป็นพิเศษ แต่ประโยชน์ที่ได้รับในแง่การรักษาคิดว่ายังไม่แนะนำ ที่บอกว่า “ไม่มีข้อเสีย” เพราะสมุนไพรที่แชร์กัน (ใบแมงลัก หอมแดง พริกขี้หนู ขิง) เป็นส่วนผสมที่มีอยู่ในเมนูอาหารไทยอยู่แล้ว ถ้าต้องการทดลองก็ได้ มีสิ่งที่ควรระมัดระวังเรื่องสมุนไพรรสจัด ข้อเสียที่เกิดขึ้นได้จาก “รสจัด”​ คือทำให้เกิดการระคายเคืองต่อช่องปาก ช่องคอ กล่องเสียง หลอดอาหาร รวมถึงอาจทำให้เกิดกรดไหลย้อน 👉 มีอาหารหรือสมุนไพรอะไรช่วยแก้นอนกรนได้ ? ปัจจุบัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : “คอมบูชา” สารพัดประโยชน์ ดื่มอย่างไร ?

🎯 ตามที่มีการแชร์ว่า “คอมบูชา ชาหมักที่ไม่เพียงให้ประโยชน์เหมือนชา แต่ยังอุดมด้วยคุณค่า ทั้งโพรไบโอติก สารต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันแบคทีเรีย ควบคุมระดับน้ำตาล และป้องกันมะเร็ง”นั้น 📌 บทสรุป :  ❌ จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์  ❌ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ดร.ประมวล ทรายทอง ฝ่ายจุลชีววิทยาประยุกต์ และรองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย สถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปัจจุบัน การศึกษาเรื่อง “คอมบูชา” อยู่ในระดับห้องทดลองและสัตว์ทดลอง ยังไม่มีการศึกษาในระดับมนุษย์ แม้จะได้ผลดีในระดับสัตว์ทดลอง ก็ไม่ได้หมายความว่าผลการศึกษาในระดับมนุษย์ จะให้ผลไปในทิศทางเดียวกัน 👉 “คอมบูชา” มีความเป็นมาอย่างไร ? ประวัติความเป็นมาของเครื่องดื่มชาหมักค่อนข้างยาวนาน มีต้นกำเนิดจากประเทศจีน สมัยของราชวงศ์ฉิน หรือประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว มีความเชื่อว่าคอมบูชาเป็นยาอายุวัฒนะที่ผลิตเพื่อถวายให้กับจิ๋นซีฮ่องเต้ และบันทึกสรรพคุณหลากหลายไว้ในตำรายาจีนแผนโบราณที่มีอายุมากกว่า 5,000 ปี ถึงแม้ต้นกำเนิดจะมาจากประเทศจีน แต่คอมบูชากลับได้รับความนิยมอย่างมากในญี่ปุ่น เมื่อแพทย์ชาวเกาหลีนำคอมบูชาถวายการรักษาอาการเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารของสมเด็จพระจักพรรดิแห่งญี่ปุ่นจนหายเป็นปกติ หลังจากเข้าสู่ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 คอมบูชาก็ค่อย ๆ ถูกลืมเลือนไป […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 8 พฤติกรรมการนอนกรน เสี่ยงหยุดหายใจ จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์ “8 พฤติกรรมการนอนกรน เช่น มีคนเห็นหยุดหายใจขณะหลับ กัดฟันและขากระตุก ตื่นนอนคอแห้งและเจ็บคอมากผิดปกติ ตื่นนอนมีอาการปวดศีรษะมาก ตื่นนอนแต่ยังง่วงนอนเหมือนพักผ่อนไม่พอ เป็นโรคความดันเลือดสูง ผู้ชายและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน มีอายุมากกว่า 50 ปี”จริงมั้ย ? 📌บทสรุป :  ✅ ชัวร์ แชร์ได้ มีคำอธิบายเพิ่มเติม ✅ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ พญ.นวรัตน์ เกษมสุข ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้ง 8 ข้อที่แชร์กันเป็นข้อมูลที่ค่อนข้างถูกต้อง เพราะการประเมินความเสี่ยงเรื่องหยุดหายใจขณะหลับ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการนอนกรนเป็นเรื่องที่จะต้องจัดการเพิ่มเติม ทางการแพทย์มีวิธีการประเมินอยู่ 8 ข้อคล้าย ๆ แบบสอบถาม 👉 ข้อ 1 มีคนเห็นหยุดหายใจขณะหลับ อาการที่พบคือนอนหลับอยู่ เสียงกรนหยุดหายไป ผู้ป่วยมีอาการอึดอัด แล้วก็มีอาการเฮือกขึ้นมา อาจจะสะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึก รู้สึกเหนื่อย คล้าย ๆ จมน้ำ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : กะทิ “ตัวร้ายทำลายสุขภาพ” จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์เตือนว่า “กะทิ” ตัวร้ายทำลายสุขภาพ ยิ่งกินมาก ยิ่งเสี่ยงไขมันสูง และอีกสารพัดโรค 📌 บทสรุป :  ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ มีคำอธิบายเพิ่มเติม ❌ 👉 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ รศ.ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ ประธานหลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหาร สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล การกินกะทิอย่างเหมาะสมไม่ได้เป็นตัวร้ายที่ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพเสมอไป ผลเสียต่อสุขภาพมาจากการกินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงปริมาณมาก ๆ อาจจะทำให้คอเลสเตอรอลสูงขึ้นได้ กะทิมีปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวสูง แต่เป็นกรดไขมันอิ่มตัวที่มีโมเลกุลปานกลางสัดส่วนที่สูงกว่า 👉 กินแกงกะทิอย่างไร ไม่ให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ? ควรกินแกงกะทิไม่เกิน 1 มื้อต่อวัน และกินพร้อมกับข้าวชนิดอื่น ๆ รวมทั้งการทำแกงกะทิใส่เนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำด้วย หรือเป็นแกงกะทิที่ใส่พืชผักจำนวนมาก เช่น แกงหยวกกล้วย หรือแกงขี้เหล็ก ปริมาณของผักที่มากจะช่วยให้ร่างกายได้ประโยชน์จากใยอาหาร รวมถึงสารสำคัญต่าง ๆ ที่มีในพืชผักด้วย ระหว่างแกงกะทิกับอาหารทอด พบว่าการกินแกงกะทิอาจจะได้รับไขมันปริมาณน้อยกว่าอาหารทอด แต่ได้ประโยชน์เพิ่มมากกว่า เพราะในแกงกะทิมีเครื่องเทศด้วย นั่นคือเมื่อไหร่ก็ตามที่กินแกงกะทิแล้วคิดว่ามีไขมันสูง ก็ควรกินอาหารชนิดอื่นที่มีปริมาณไขมันต่ำร่วมด้วย เช่น แกงจืด ผักนึ่ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : โรคลมแดดในเด็ก

21 เมษายน 2566เรียบเรียง : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล โรคลมแดด หรือ ฮีตสโตรก (Heat Storke) เกิดได้กับทุกคน ทุกเพศ และทุกวัยด้วย พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน เกิดจากการอยู่ท่ามกลางอากาศร้อนมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาในทันที เพราะอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า อาจทำให้อันตรายถึงแก่ชีวิต กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน ของวันที่ 21-13 เมษายน พ.ศ. 2566 หลายพื้นที่ค่าดัชนีความร้อนสูงมากกว่า 40 องศาเซลเซียส และมีบางพื้นที่อุณหภูมิสูงมากกว่า 50 องศาเซลเซียส ดัชนีความร้อน คืออะไร “ดัชนีความร้อน” คือ อุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในขณะนั้นว่าอากาศร้อนเป็นอย่างไร หรืออุณหภูมิที่ปรากฏในขณะนั้นเป็นเช่นไร โดยค่าดัชนีความร้อนคำนวณมาจากค่าอุณหภูมิอากาศและค่าความชื้นสัมพัทธ์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ระบุความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับผลกระทบจากความร้อนได้ เนื่องจากช่วงนี้ค่าดัชนีความร้อนสูงมากหลายพื้นที่ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจากความร้อน จึงมีการเตือนภัยหลายระดับดังต่อไปนี้ สีเขียว เฝ้าระวัง  ดัชนีความร้อน 27.0-31.9  องศาเซลเซียส ผลกระทบต่อสุขภาพ อ่อนเพลีย […]

1 14 15 16