ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : นอนกลางวัน

การง่วงกลางวันมีสาเหตุมาจากอะไร ? การนอนกลางวันที่ดีเป็นแบบไหน ? 🎯 ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ปกติต้องใช้คำว่าการนอนเป็นหนี้ คือเราง่วงเพราะร่างกายมีการใช้พลังงาน เมื่อมีการใช้พลังงาน ร่างกายจะสะสมความง่วงมากขึ้นเรื่อย ๆ ในแต่ละวัน สังเกตได้จากเวลาเราไปวิ่งมาราธอนหรือว่าไปออกกำลังกายหนัก ๆ ก็จะง่วงมากแล้วก็เพลียมาก ยิ่งใช้พลังงานมากความง่วงก็จะยิ่งมาก เวลาเรานอนก็เป็นการใช้ความง่วงเหล่านี้ไป ถ้าใช้ไม่หมดสิ่งที่เหลือก็จะเป็นหนี้ ก็จะทำให้เราง่วงในวันถัดมา เวลาเรานอนสั้น ๆ หรือนอนไม่พอ ร่างกายก็จะเอาคืน นอนเพื่อใช้ความง่วงที่เกิดจากการใช้พลังงานของร่างกายเราให้หมดไป สาเหตุนอนกลางวัน เรื่องของการงีบหลับกลางวัน มีเหตุผลหรือสาเหตุที่ทำให้ต้องงีบหลับกลางวัน ถ้าเหตุผลหรือสาเหตุที่ทำให้ต้องงีบหลับกลางวันเกิดจากการขาดการนอน เช่น sleep loos หรือสูญเสียการนอน หรือการนอนของเราไม่มีคุณภาพ ก็จะแนะนำให้เอาคืน เราสูญเสียการนอนไปเรื่อย ๆ จะส่งผลกับสุขภาพในระยะยาว มีคำถามว่า “กลางวันควรนอนมั้ย” ง่วงก็นอน ไม่ง่วงก็ไม่นอน ถ้าง่วงแปลว่าร่างกายกำลังส่งสัญญาณเตือนอะไรบางอย่าง ถ้าเกิดง่วงก็แปลว่าเมื่อคืนขาดการนอนหรือเปล่า เร็ว ๆ นี้ขาดการนอนหรือเปล่า เขาพยายามเอาคืน การงีบหลับกลางวันที่มีคุณภาพ ทำอย่างไร […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 6 สัญญาณเตือนไขมันพอกตับ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ 6 สัญญาณเตือนไขมันพอกตับ เช่น อ่อนเพลียไม่ทราบสาเหตุ จุกแน่นท้อง เบื่ออาหาร จุกชายโครงขวา นอนไม่หลับ และคันตามผิวหนัง 🎯 ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย เรื่องที่แชร์กันนี้ไม่น่าจะจริง เพราะว่าตับคั่งไขมันส่วนใหญ่ยังไม่รุนแรง มักไม่มีอาการ ถ้าหากจะพบอาการดังเช่นที่แชร์กันนี้ น่าจะเป็น 2 กลุ่ม (1) กลุ่มคนที่เป็นระยะท้าย ๆ เริ่มมีตับแข็งแล้ว (2) กลุ่มที่มีโรคร่วม ไขมันพอกตับ หรือตับคั่งไขมัน : อาการของโรคที่มักเกิดจากโภชนาการเกิน ตับมีไขมันคั่ง “คั่ง” ก็คือไขมันเต็มไปหมด ไขมันแทรกเข้าไปในทุกอณูของเนื้อเซลล์ตับ ไม่ใช่พอกอยู่ด้านนอก ข้อ 1. อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้ง ๆ ที่เมื่อคืนก็หลับเต็มที่ เรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นอาการของโรคตับคั่งไขมัน ควรไปดูเรื่องของคุณภาพการนอน ถ้าระยะเวลาชั่วโมงที่นอนพอ แต่ตื่นมาแล้วยังรู้สึกอ่อนเพลีย ภาวะที่พบบ่อยร่วมกับโรคอ้วนและโรคตับคั่งไขมันก็คือ “ภาวะนอนกรน” ซึ่งจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : นอนไม่พอ งีบกลางวัน เสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อม จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์เรื่องการนอนหลับไม่เพียงพอ และการงีบหลับกลางวัน เสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ ? 🎯 ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย การนอนไม่พอเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมได้ เรื่องนี้จริง เวลาที่เรานอนพัก สมองกำจัดของเสียต่าง ๆ และระบบน้ำเหลืองในร่างกายทำงานสัมพันธ์กับการนอนดึกมาก ๆ เวลาที่เราหลับลึก “ระบบน้ำเหลือง” ทำงานเหมือนรถเก็บขยะ ก็จะไปเก็บขยะตามเซลล์ต่าง ๆ และพวกบีตาอะไมลอยด์ (Beta-amyloid) ซึ่งเป็นสารที่พบมากในสมองคนที่เป็นอัลไซเมอร์ ในคนที่อดนอนหรือนอนไม่พอ บีตาอะไมลอยด์จะไม่ถูกเก็บไป ขณะที่คนนอนมากพอ บีตาอะไมลอยด์ลดลง ดังนั้น มีสมมุติฐานว่าถ้าเราอดนอนหรือนอนไม่พอ จะทำให้เกิดการสะสมของบีตาอะไมลอยด์มากขึ้น ก็จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคสมองเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ได้มากขึ้น แต่ขึ้นกับกรรมพันธุ์ของแต่ละคนด้วย การงีบหลับกลางวัน ทำให้เป็นโรคสมองเสื่อม ? จริง ๆ แล้ว การงีบกลางวันไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม แต่จากงานวิจัยพบว่าเกิดจากการที่สมองของเรามีความผิดปกติอยู่แล้ว ทำให้เรางีบหรือนอนกลางวันมากขึ้น ซึ่งความผิดปกติของสมองแบบนี้ สัมพันธ์กับการเกิดโรคสมองเสื่อม การงีบกลางวันจึงเป็นเพียงอาการแสดงอาการหนึ่งของสมองที่มีความผิดปกติ การนอนที่ปกติ อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้โรคสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ได้ เรื่องนี้ไม่แน่ใจว่าหมายถึงนอนกลางวันแล้วกลางคืนไม่นอนด้วยหรือเปล่า ถ้ามีความผิดปกติของนาฬิกาชีวิตแบบนี้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : สาเหตุ การป้องกัน โรคตับคั่งไขมัน

“ไขมันพอกตับ” หรือ “ตับคั่งไขมัน” โรคที่หลายคนเป็น แต่อาจไม่รู้ตัว โรคนี้เป็นอย่างไร และมีสาเหตุมาจากอะไร 🎯 ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย ชื่อโรค “ตับคั่งไขมัน” เป็นชื่อที่ถูกต้องตามราชบัณฑิตสภา เพราะว่าลักษณะชัดเจน ตับมีไขมันคั่งเต็มไปทั้งหมด ไขมันแทรกเข้าไปในทุกอณูของเนื้อเซลล์ตับ ไม่ใช่พอกอยู่ด้านนอก “ไขมันพอกตับ” เป็นคำที่แพทย์ไม่ค่อยใช้ เพราะฟังดูจะรู้สึกว่าแค่ “พอก” น่าจะล้างออก ภาวะ “ตับคั่งไขมัน” อาจลุกลามอันตราย โรคตับคั่งไขมันเป็น “1 ใน 3” สาเหตุที่พบว่าทำให้ตับแข็ง และสุดท้ายตับทรุดลงไปจนทำงานไม่ได้ ตับวาย หรือมะเร็งตับ เป็นมากอันดับต้น ๆ ใกล้เคียงกับสาเหตุการดื่มแอลกอฮอล์และไวรัสตับอักเสบ แพทย์มีการแบ่งสาเหตุของ “โรคตับคั่งไขมัน” ออกเป็น 3 กลุ่ม 1. ตับคั่งไขมัน : โภชนาการเกิน มีการกินอยู่เกินกว่าที่ใช้ จึงมักพบในผู้ป่วยที่มีโรคอ้วนร่วมด้วย 2. […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET :สูญเสียการนอน หรือการอดนอน

สูญเสียการนอน หรือ Sleep loss มีอาการเป็นอย่างไร ? เหมือนกับ “การนอนไม่หลับ” หรือไม่ ? “ไม่ถือว่าอดนอน” เราควรนอนวันละกี่ชั่วโมง ? 🎯 ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เรื่องนี้ ต้องแยกระหว่าง “สูญเสียการนอน” หรือ “การอดนอน” กับ “นอนไม่หลับ” เพราะไม่เหมือนกัน   “การอดนอน” หรือ Sleep loss มีเวลานอน มีโอกาสนอนเพียงพอ แต่ไม่ได้รับการนอนอย่างเหมาะสม เช่นทำงานดึก ดูเน็ตฟลิกซ์ ดูซีรีส์อะไรกันไป ตอนเช้าก็ต้องตื่นมาทำงานต่อ ทำให้ระยะเวลาการนอนสั้น คือสูญเสียการนอน “การนอนไม่หลับ” โอกาสนอนมีเพียงพอ เพียงแต่ร่างกายไม่สามารถผลิตการนอนได้ จึงต้องหาสาเหตุว่าร่างกายผลิตการนอนไม่ได้จากอะไร อาจจะเป็นความกังวล ความเครียด หรือว่าโรคทางกาย ผลกระทบจากการอดนอน ถ้าเป็นเรื่อง sleep loss หรือการสูญเสียการนอน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาหารเสริม สมุนไพร ช่วยล้างตับคั่งไขมัน จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์หลากหลายอาหารเสริมและสมุนไพร ที่ระบุว่าแก้ไขมันพอกตับ ตับคั่งไขมัน ล้างพิษตับได้🎯 ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย ปัจจุบัน ทางการแพทย์ยังไม่มีการศึกษาอาหารเสริมและสมุนไพรที่ช่วยเรื่องตับคั่งไขมันในคน ลดพังผืดตับหรือค่าตับอักเสบในเลือดให้ดีขึ้นหรือหายได้ จะเห็นได้ว่ายาแผนปัจจุบันที่แพทย์ใช้รักษาผู้ป่วยโรคตับก็ยังไม่สามารถลดไขมันที่คั่งในตับลงได้ ยาทำหน้าที่เพียงแค่ลดการอักเสบ สิ่งที่ควรปฏิบัติคือการกลับสู่วิถีชีวิตพื้นฐานดั้งเดิม ได้แก่ “ลดการกิน” (กินพอดี กินพอประมาณ) และ “เผาผลาญไขมันออกจากร่างกาย” ทั้งสมดุลเรื่องอาหารและการกิน รวมถึงการออกกำลังกายสม่ำเสมอ (ไม่เน้นการออกกำลังกายอย่างหนักและหักโหม แต่เน้นที่ความสม่ำเสมอและระยะเวลานานอยู่ในเกณฑ์เผาผลาญไขมันออกจากร่างกาย คือ 150 นาทีต่อสัปดาห์) ก็จะทำให้ตัวโรคดีขึ้นอย่างแน่นอน ผลิตภัณฑ์ที่กินแล้วช่วยล้างพิษตับได้ มีจริงหรือไม่ ? เซลล์ตับที่เป็นโรคตับคั่งไขมัน การทำงานของตับคล้าย ๆ คนอ้วนที่มีไขมันแทรกเข้าไปทุกเซลล์ การที่จะใช้ยา อาหารเสริม สมุนไพรใด ๆ ก็ตาม เพื่อล้างไขมันออกภายในไม่กี่วันหรือไม่กี่เดือน ย่อมเป็นไปไม่ได้ ปัจจุบัน ยังไม่มียาชนิดใดที่สามารถผลักดันไขมันหรือล้างออกจากเซลล์ตับได้ นอกจากผู้ป่วยได้พยายามออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และลดปริมาณการพอกพูนไขมันเข้าไปในตับใหม่ ดังนั้น กรณีนี้จึงไม่สามารถหวังผลจากการใช้ยาได้ ทั้งยาแผนปัจจุบัน และ/หรือ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : นอนไม่หลับ

การนอนไม่หลับทางการแพทย์เป็นอย่างไร ? จะต้องรักษาและปรับพฤติกรรมอย่างไร ? 🎯 ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “นอนไม่หลับ” มีตั้งแต่อาการนอนไม่หลับ พบได้ประมาณ 30-35 เปอร์เซ็นต์ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ชั่วคราว บางครั้งเครียด หรือมีภารกิจที่ต้องทำในวันรุ่งขึ้น ก็อาจจะนอนไม่หลับได้ สิ่งเหล่านี้เป็น “อาการ” เมื่อไหร่ก็ตามที่ “อาการ” เหล่านี้ เป็นมากกว่า 3 คืนต่อสัปดาห์ และเป็นมากกว่า 3 เดือน อย่างนี้เรียกว่าเป็น “โรคนอนไม่หลับ” พบได้ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั่วไป ดังนั้น ถ้าเริ่มมีอาการของโรคนอนไม่หลับ เป็นค่อนข้างเรื้อรัง และเป็นมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป แนะนำให้รักษา การนอนไม่หลับ มีสาเหตุมาจากอะไร “นอนไม่หลับ” เป็นได้ทั้งสาเหตุของโรคทางกายและโรคทางใจ บางครั้งเป็นเรื่องความเครียด เช่น มีเรื่องที่ต้องคิดจำนวนมาก ปิดสวิตช์ความคิดไม่ค่อยได้ หรือเป็นโรคทางกาย เช่น โรคหอบหืด […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาหารต้องห้าม สำหรับไขมันพอกตับ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ “อาหารต้องห้าม สำหรับไขมันพอกตับ 5 ชนิด ได้แก่ น้ำตาล เกลือ แอลกอฮอล์ เนื้อแดง และของทอด” 🎯 ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย อาหารต้องห้ามสำหรับไขมันพอกตับ 5 ชนิดที่มีการแชร์กันเป็นความจริง ปัจจุบันมีอาหารหลายกลุ่มที่จำเป็นต้องห้ามและควรจะหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโภชนาการเกิน กินอาหารกลุ่มที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ภาวะไขมันตับหรือตับคั่งไขมันแย่ลง “ไขมันพอกตับ” เรียกให้เห็นภาพชัด ๆ จะต้องเรียกว่า “ตับคั่งไขมัน” คำว่า “ตับคั่งไขมัน” เป็นชื่อโรคที่ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสภา “ไขมันพอกตับ” เป็นคำที่ไม่แนะนำให้ใช้ เพราะคนฟังมีความเข้าใจหรือรู้สึกว่าไขมันเพียงแค่พอก น่าจะล้างออกได้ง่าย แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ด้วยยา อาหาร หรือสมุนไพร ซึ่งไม่ใช่สิ่งของที่จะนำสบู่มาล้างออก เนื่องจากไขมันแทรกเข้าไปในทุกอณูของเซลล์ตับ การนำไขมันออกจากเซลล์ตับจึงต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลง ทั้งพฤติกรรมการกิน การอยู่ และการออกกำลังกาย คนที่ “ตับคั่งไขมัน” มีอาหารต้องห้ามหลายกลุ่ม 1. น้ำตาล ให้ลดเท่าที่จำเป็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 4 วิธี นอนหลับไวขึ้น จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ 4 วิธีที่ทำให้นอนหลับได้ไวขึ้น มีตั้งแต่ (1.) อย่าบังคับให้ตัวเองหลับ (2.) อาบน้ำอุ่น (3.) ฟังดนตรี (4.) ไม่เล่นมือถือก่อนนอน 🎯 ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “จริงบางส่วน จะมีเพียงเรื่องการอาบน้ำซึ่งขึ้นกับความชอบของแต่ละบุคคลด้วย ถ้ามีการอธิบายเพิ่มเติมข้อมูลนี้สามารถแชร์ได้ และวิธีที่ทำให้นอนหลับไวขึ้นก็ไม่ได้มีแค่ 4 วิธีนี้เท่านั้น ยังมีวิธีการอื่น ๆ อีกที่จะช่วยให้หลับได้เร็วขึ้น” 1.อย่าบังคับให้ตัวเองหลับ อย่ากดดันสมอง ? จริง… ในคนที่พยายามเกี่ยวกับเรื่องการนอน ขอแนะนำว่าให้ลดความพยายามตรงนี้ลง เพราะเมื่อไหร่ที่เราพยายาม ความผ่อนคลายก็จะหายไป “การนอน” เป็นเพื่อนกับ “ความผ่อนคลาย” ถ้าเขาไม่ได้มากับเพื่อนเขา เราก็จะนอนไม่หลับ มีการแนะนำให้ “นับแกะ” เพื่อดึงความสนใจออกไปอยู่กับสิ่งอื่น ซึ่งการนับแกะเป็นกิจกรรมที่ค่อนข้างน่าเบื่อและเป็นการทำซ้ำ ๆ ลองสังเกตดูก็ได้ว่าเวลาที่เราทำอะไรซ้ำ ๆ จะค่อนข้างน่าเบื่อหน่อย ๆ ก็จะเข้าสู่การนอนได้ง่าย แต่ถ้าทำอะไรที่น่าเบื่อมาก ๆ ก็จะเกิดอาการหงุดหงิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ตากระตุก สัญญาณเตือนของโรคร้าย จริงหรือ ?

มีคำอธิบายจาก ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย 📌 สรุป : ✅ แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม อาจจะจริงและไม่จริง เนื่องจากภาวะตากระตุกจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่โรคที่ไม่มีอันตรายอะไรไปจนถึงอาจจะเป็นโรคที่มีความรุนแรงได้ ตากระตุกข้างซ้ายหรือข้างขวา มีอะไรต่างกัน หรือไม่ ตากระตุกอาจจะเกิดข้างเดียว หรือเกิดพร้อมกัน 2 ข้างก็ได้ ขึ้นกับว่าสาเหตุที่เป็นเกิดจากอะไร ถ้าเกิดจากการระคายเคืองที่เป็นพร้อมกัน เช่น คนเป็นภูมิแพ้ก็อาจจะมีการกระตุกทั้ง 2 ข้างได้ ถ้าเกิดจากการใช้งานหนัก ข้างที่มีความต้านทานหรือมีความแข็งแรงน้อยกว่าก็อาจเกิดการล้าก่อนได้ ในขณะเดียวกันเกิดจากโรคของตัวกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาท ขึ้นกับว่าเกิดข้างซ้ายหรือข้างขวา ก็จะทำให้เกิดอาการผิดปกติที่ข้างนั้นได้ ความเชื่อที่ว่า กระตุกขวาร้าย ซ้ายดี ก็คงเป็นความเชื่อของคนสมัยก่อน แต่ว่าไม่ได้มีหลักฐานทางการแพทย์ในปัจจุบันว่าการกระตุกข้างซ้ายข้างขวามีผลกับโชคชะตาอย่างไรบ้าง ถ้าตากระตุก 2 สัปดาห์ขึ้นไปควรพบแพทย์ กรณีที่เป็นเรื้อรังค่อนข้างนานเกิน 2 สัปดาห์ หรือเป็นรุนแรงจนกระทบการดำเนินชีวิตประจำวันเช่น เปลือกตาบางจังหวะหลับตาจนกระทั่งไม่มั่นใจที่จะทำอะไร ถือว่าเป็นอาการรุนแรงที่ต้องไปพบแพทย์​เพื่อจะแก้ปัญหานี้ รวมทั้งกรณีที่มีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การบวมหรือการอักเสบบริเวณเปลือกตา ก็อาจบ่งบอกว่ามีโรคร้ายบริเวณดวงตา ควรไปพบแพทย์เพื่อความสบายใจ และหาสาเหตุที่ถูกต้องเพื่อให้การรักษาต่อไป […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปวดตา

“ปวดตา” เป็นเพราะอะไร ป้องกัน บรรเทา หรือ รักษาอย่างไร 🎯 ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “ดวงตา” เป็นอวัยวะที่อยู่บริเวณสำคัญของร่างกาย อาการปวดที่ดวงตาอาจจะเกิดจากโรคของดวงตาเอง หรือเป็นอาการที่สะท้อนมาจากอาการผิดปกติของบริเวณรอบ ๆ ดวงตาได้ อาการปวดตาที่เกิดจากสาเหตุในดวงตาเองก็เป็นตัวที่บอกถึงโรคตาต่าง ๆ ได้มากมาย ปัจจุบันที่พบได้บ่อย ๆ เช่น การใช้สายตามาก ๆ เล่นคอมพิวเตอร์หรือมือถือเป็นเวลานาน เกิดการเพ่งตาใช้เวลาหลายชั่วโมงต่อวัน ก็อาจจะทำให้เกิดอาการปวดหรือล้าที่บริเวณรอบ ๆ ดวงตา หรือในดวงตาได้ นอกจากนั้น ภาวะที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อ ก็จะทำให้มีอาการปวด ถ้ามีอาการของโรคตากุ้งยิงก็จะปวดที่บริเวณเปลือกตา ถ้ามีอาการติดเชื้ออยู่ข้างในดวงตา เช่น เป็นโรคตาแดง หรือมีการติดเชื้อบริเวณในลูกตา ก็จะมีอาการปวดที่บริเวณดวงตา อาการปวดตาที่มีสาเหตุมาจากโรคอื่น ๆ ทางร่างกายมีอะไรบ้าง กรณีที่เป็นโรคของอวัยวะอื่น ๆ ทำให้อาการปวดตาเข้ามาที่ดวงตา พบได้บ่อย ๆ เช่น คนที่เป็นไซนัสอักเสบ หรือในคนที่เป็นโรคไมเกรนก็อาจจะทำให้อาการปวดร้าวมาที่ดวงตาได้ หรือในคนที่ติดเชื้อ เช่นเป็นงูสวัดที่บริเวณผิวหนัง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือ โรค MS

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือ โรค MS มีวิธีการรักษาอย่างไร ผู้ป่วยสามารถหาซื้อยากินเองได้หรือไม่ มีคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.พญ.จิราพร จิตประไพกุลศาล อาจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล  “MS” เป็นชื่อย่อของ “โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง” ที่ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจและสื่อสารกันง่าย ย่อมาจากคำว่า Multiple Sclerosis โรค MS เป็นโรคที่พบน้อย ประเทศไทยมีประมาณ 0.7 รายต่อประชากรแสนราย ปกติแล้ว เซลล์ประสาทของคนเราจะมีการนำกระแสประสาท จากเซลล์หนึ่งต่อไปที่เซลล์ถัดไป ระหว่างการเดินทางของกระแสประสาท จะผ่านปลอกประสาท ทำให้กระแสประสาทเคลื่อนที่ได้เร็ว อย่างเช่นเวลาเราคิด แล้วเราจะขยับมือ จะเร็วมาก เราจะไม่รู้ตัว ปลอกประสาทเป็นตัวที่ช่วยนำความเร็วของกระแสประสาท  ในภาวะของโรค MS คือมีการอักเสบ การนำกระแสประสาทของผู้ป่วยก็จะช้าลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ ประชากรกลุ่มที่พบโรค MS มีหลายวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยกลางคน ผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็นผู้สูงอายุได้ ผู้ป่วยกลุ่มที่พบมากที่สุดอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ อายุประมาณ 10 กว่าปี ไปจนถึง 20-30 ปี และพบในผู้หญิงได้บ่อยกว่าผู้ชาย ในประเทศไทยพบได้ทั้งสองเพศ […]

1 13 14 15 16 17 18