ชัวร์ก่อนแชร์ : หัวไชเท้า ล้างหลอดเลือด บำรุงหัวใจ ไล่มะเร็ง จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่า หัวไชเท้า เป็นอาหารทางการแพทย์ เสริมภูมิคุ้มกัน กำมะถันจะขับไล่เชื้อโรค ล้างคราบจากหลอดเลือด บำรุงหัวใจ ขับไล่มะเร็ง ฟื้นฟูตับไต และใบหัวไชเท้ายังกำจัดสารพิษจากร่างกายได้ 🎯 ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางส่วนจริง แต่อาจต้องมีคำอธิบายเพิ่มเติมมากขึ้น ว่า “อาหารทางการแพทย์” นักกำหนดอาหารและแพทย์จะดูแลให้ผู้ป่วยกินเพิ่มเติม เพื่อให้ภาวะทางโภชนาการดีขึ้น ถ้าจะบอกว่าหัวไชเท้าอย่างเดียวคืออาหารทางการแพทย์ไม่สามารถพูดได้อย่างนั้น กำมะถันในหัวไชเท้าขับไล่เชื้อโรคทุกชนิด ฆ่าปรสิต หนอน พยาธิในลำไส้ ? หัวไชเท้ามีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ เรียกว่า กลูโคซิโนเลต (glucosinolate) เป็นสารที่หัวไชเท้าสร้างขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวเอง ไม่ให้หนอนเข้ามาทำลายหัวไชเท้า สารที่มีกำมะถันไม่ได้มีเฉพาะในหัวไชเท้า มีอยู่ในพืชตระกูลกะหล่ำทั้งหมด เช่น กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอกโคลี นอกจากนี้ ไม่ได้หมายความว่ากินหัวไชเท้าแล้วจะไปฆ่าปรสิต หนอน พยาธิ ในร่างกาย เรื่องนี้ไม่มีการศึกษาในคน ออร์กาโนซัลเฟอร์ช่วยให้หลอดเลือดสะอาด ? มีการทดสอบออร์กาโนซัลเฟอร์ (organosulfur) ในสัตว์ทดลอง ว่าสามารถไปลดระดับแอลดีแอลคอเลสเตอรอล แต่การศึกษาในคนมีน้อย จึงไม่สามารถยืนยันได้ว่าทำให้หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำของคนสะอาด […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 10 ประโยชน์จากหัวไชเท้า จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์ 10 ประโยชน์จากหัวไชเท้า ตั้งแต่ชะล้างสารพิษ ลดน้ำหนัก แก้ท้องอืด บรรเทาอาการอักเสบ ขับปัสสาวะ แก้หวัด เสริมภูมิคุ้มกัน บำรุงปอด บำรุงผิว และรักษาฝ้า 🎯 ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางส่วนจริง บางส่วนไม่มีข้อมูลที่สามารถบอกได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ 1. หัวไชเท้า ชะล้างสารพิษ อุดมด้วยไฟเบอร์ ? หัวไชเท้ามีไฟเบอร์สูง ช่วยเรื่องการขับถ่าย กระบวนการขับถ่ายคือการขับสารพิษออกจากร่างกายโดยธรรมชาติ มีการศึกษาพบว่าสารสกัดจากหัวไชเท้าช่วยทำให้ตับมีความสามารถในการกำจัดสารพิษ ปัจจุบัน ยังไม่มีการศึกษาวิจัยในคนที่บอกว่าหัวไชเท้าช่วยชะล้างสารพิษได้ 2. หัวไชเท้า ลดน้ำหนัก เพราะพลังงานต่ำ ไฟเบอร์สูง จริง… หัวไชเท้าเป็นผัก มีน้ำ มีไฟเบอร์ ช่วยให้คนกินอิ่มได้ แต่การกินหัวไชเท้าเพียงอย่างเดียวไม่สามารถช่วยลดน้ำหนักได้อย่างจริงจัง ทั้งนี้ การกินหัวไชเท้าอย่างเดียวเพื่อลดน้ำหนัก สิ่งที่ตามมาก็คือทำให้ร่างกายขาดสารอาหารได้ 3. หัวไชเท้า แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และท้องผูก จริงครึ่งเดียว หัวไชเท้าช่วยทำให้ระบบขับถ่ายดีมากขึ้น แต่ยังไม่มีข้อมูลที่บอกว่าหัวไชเท้าช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 8 ประโยชน์ของแก้วมังกร จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ว่า “แก้วมังกร” ผลไม้ของสายสุขภาพ มีประโยชน์อย่างน้อย 8 อย่าง เช่น แหล่งสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อสู้โรคเรื้อรัง มีไฟเบอร์สูง มีพรีไบโอติก เสริมภูมิคุ้มกัน อุดมด้วยธาตุเหล็ก บำรุงหัวใจ และบำรุงผิว 🎯 ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.สุดาทิพย์ แซ่ตั้น ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เนื้อของแก้วมังกรมีประโยชน์ที่หลากหลาย มีวิตามิน เกลือแร่ มีน้ำตาลให้พลังงานกับร่างกายได้ มีน้ำสูงสามารถให้ความชุ่มชื้นต่อร่างกาย ให้เกิดความชุ่มคอได้ แต่ประโยชน์หลักของแก้วมังกรอยู่ที่ “เปลือก” มากกว่า สิ่งที่เห็นเป็นสีต่าง ๆ คือสารต้านอนุมูลอิสระ ถ้าหวังจะได้รับวิตามินและเกลือแร่จากแก้วมังกรอย่างเดียว เพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ อาจจะไม่สามารถหวังได้ แก้วมังกร : แหล่งสารต้านอนุมูลอิสระ ? แก้วมังกรไม่ได้มีสารต้านอนุมูลอิสระทุกสายพันธุ์ บางสายพันธุ์ไม่มีเลย บางสายพันธุ์มีสารต้านอนุมูลอิสระแต่ไม่ได้มากเมื่อเทียบกับส่วนเปลือก แก้วมังกร : ต่อสู้และป้องกันโรคเรื้อรังได้ ?  โรคเรื้อรังหลายชนิด เช่น หัวใจ มะเร็ง เบาหวาน และข้ออักเสบ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ดื่มเบียร์ได้ประโยชน์ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ประโยชน์ที่จะได้จากการดื่มเบียร์ มีตั้งแต่ช่วยลดความดันเลือด ป้องกันเบาหวาน ต้านความเครียด และช่วยให้อายุยืนได้ 🎯 ตรวจสอบกับ ผศ.ดร.กฤษกมล ณ จอม อาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ “เบียร์” มีสารสำคัญจริง เพราะมีข้าวบาร์เลย์เพาะงอกเป็นวัตถุดิบ มีดอกสมุนไพรฮอปส์ (hops) ที่ผ่านการหมัก เพราะฉะนั้นในตัวเบียร์มีสารสำคัญมากถึง 2,000 ชนิด เบียร์ช่วยลดความดันเลือด ลดความเสี่ยงเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ป้องกันโรคเบาหวาน และโรคหัวใจ ได้จริงไหม ? ในเบียร์มีสารโพลีฟีนอล (polyphenols) มีสารฟลาโวนอยด์ (flavonoid) มาก ๆ สารพวกนี้จะไปกระตุ้นการทำงานของอินซูลินทำให้ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ข้าวบาร์เลย์มีอะราบิโนไซแลน (arabinoxylan) ที่ดูดซึมคอเลสเตอรอลออกไป สารสำคัญตัวอื่น ๆ ก็เหมือนกัน จะไปป้องกันการออกซิเดชันของไขมันตัวไม่ดี จึงช่วยลดเรื่องความดันและโรคหัวใจได้เช่นกัน ดื่มเบียร์ : ป้องกันมะเร็งและช่วยให้ผิวสวย ? เวลาดื่มเบียร์จะได้รสขม สารให้รสขมพวกแซนโทฮูมอล (xanthohumol) เป็นสารต้านการเกิดอนุมูลอิสระ สารต้านมะเร็ง แน่นอนจะไปช่วยเรื่องความสวยความงาม ป้องกันเซลล์ถูกทำลาย เบียร์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จักและเข้าใจมะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่คืออะไร เกิดจากสาเหตุใด และมีอาการแสดงอย่างไร 🎯 ตรวจสอบกับ ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล “มะเร็งรังไข่” เป็น “เนื้องอก” ชนิดร้ายที่รังไข่ เนื้องอกรังไข่ แบ่งออกเป็นเนื้องอกชนิดธรรมดา เนื้องอกกึ่งดีกึ่งร้าย และเนื้อร้ายหรือมะเร็ง มะเร็งรังไข่ ก็คือ รังไข่กลายเป็นเนื้องอกชนิดร้าย เนื้องอกชนิดร้าย ? เนื้องอกชนิดร้าย หมายความว่ามีความประพฤติแตกต่างไปจากเนื้อเยื่อปกติ หรือเนื้องอกธรรมดา 2 อย่างคือ ลุกลาม และแพร่กระจาย สมมุติว่าต้นกำเนิดเป็นมะเร็ง หรือเนื้องอกชนิดร้ายที่รังไข่ จะลุกลามออกนอกรังไข่ไปที่อวัยวะใกล้เคียง หรือจะแพร่กระจายไปที่ไหนก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ต้นตออยู่ที่รังไข่ และแพร่กระจายไปที่ลำไส้ ไปที่ปอด และอื่น ๆ อย่างนี้เป็นต้น สาเหตุของการเป็นมะเร็งรังไข่ ? ต้นตอที่แท้จริงของการเกิดมะเร็งรังไข่ วิทยาการกำลังหาคำตอบอยู่ แต่สิ่งที่พบก็คือมีสารพันธุกรรมของเซลล์ที่ผิดปกติ และความประพฤติที่เปลี่ยนไป เช่น แทนที่จะเป็นเนื้อเยื่อธรรมดา ไม่เติบโตไร้การควบคุม ก็เติบโตไร้การควบคุม และมีความประพฤติ 2 อย่าง คือลุกลาม […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : หญิงโสด เสี่ยงลิ่มเลือดอุดตันเพราะมะเร็งรังไข่ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์บทความ “ศัลยแพทย์เตือน! เคสผู้ป่วยหญิงโสด มีอาการพูดจาสับสน สมองตาย สุดท้ายตรวจพบมะเร็งรังไข่ ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในอวัยวะต่าง ๆ ได้” 🎯 ตรวจสอบกับ ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ข้อมูลกลุ่มนี้เป็นข้อมูลที่มีส่วนจริง และยังมีส่วนที่ต้องลงในรายละเอียดเพิ่มมากกว่านี้ จึงสามารถที่จะเข้าใจได้อย่างถูกต้องครบถ้วน ผู้หญิงโสดมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่มากกว่าผู้หญิงไม่โสด ? ผู้หญิงโสดเป็นมะเร็งรังไข่ได้มากขึ้นไหม พบว่าไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันอย่างมีนัยสำคัญมากนัก ผู้หญิงโสดหรือไม่โสดก็มีโอกาสเกิดมะเร็งรังไข่ได้หมด อุบัติการณ์ก็ใกล้เคียงกัน ไม่ได้ต่างกันอย่างชัดเจน เพียงแต่ว่าถ้ารังไข่ได้พักนาน ๆ ก็จะพบว่าอุบัติการณ์ลดลงสักนิดหนึ่ง เช่น มีการท้องหลาย ๆ ครั้ง ผู้หญิงที่ไม่มีลูก ไม่ได้ใช้รังไข่ มีโอกาสจะเกิดมะเร็งรังไข่ได้มากกว่าผู้หญิงที่มีลูก ? “การใช้งานรังไข่” ประเด็นนี้น่าสนใจ ต้องชวนคิดว่ารังไข่มีหน้าที่หรือทำงานอะไร รังไข่มีงานสำคัญ ๆ อยู่ 2 งาน งานที่ 1 สร้างฮอร์โมนเพศหญิง งานที่ 2 สร้างไข่ขึ้นมาเพื่อการเจริญพันธุ์และการปฏิสนธิ เพราะฉะนั้นผู้หญิงทุกคนได้ใช้งานรังไข่อยู่แล้ว ถึงแม้ว่าจะมีลูกหรือไม่มีลูกก็ตาม มีอาการสับสน พูดไม่รู้เรื่อง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : โรคซึมเศร้า – ลักษณะ อาการ ภาวะ

โรคซึมเศร้า เป็นอย่างไร แบ่งได้เป็นกี่ระดับ ฟื้นฟูได้เองหรือไม่ และแบบไหนควรพบแพทย์ 🎯 ตรวจสอบกับ ศ.นพ.มาโนช หล่อตระกูล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คำว่า “ซึมเศร้า” มีได้ตั้งแต่ (1) มีอาการซึมเศร้า (2) เป็นภาวะซึมเศร้า ยังไม่เป็นโรค (3) เป็นโรคซึมเศร้า อาการซึมเศร้า เรื่อง “อาการซึมเศร้า” บางวันผิดหวัง เสียใจเรื่องอะไรก็มีอาการซึมเศร้าได้ แค่ 1-2 วันก็หาย มีเรื่องสบายใจเข้ามาก็ดีขึ้น ภาวะซึมเศร้า ส่วน “ภาวะซึมเศร้า” ก็อาจจะมีอาการหลาย ๆ อาการ เช่น ผิดหวังความรัก ตกงาน ก็อาจจะเป็นสักพักหนึ่งโดยมากเป็นหลังจากการปรับตัว ภาวะซึมเศร้าจะดีขึ้นเองได้ มีคนให้คำปรึกษา มีคนพูดคุยอะไรก็ดีขึ้นได้ แต่ถ้าเป็นโรคซึมเศร้าค่อนข้างมาก แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายค่อนข้างมาก ถ้าเป็นโรคซึมเศร้าก็ต้องให้การรักษาอย่างจริงจัง ได้รับการช่วยเหลือโดยบุคลากรที่มีอาชีพเฉพาะจะมีส่วนช่วยมาก อาการแสดงออกเมื่อเป็นโรคซึมเศร้า ถ้าเป็นโรค… โดยทั่วไปมีอาการแทบทุกวันติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป ก็จะมีอาการหลัก ๆ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ข้อดี-ข้อเสีย ของการกินเผ็ด จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์บทความ “ข้อดี-ข้อเสีย ของการกินเผ็ด” ข้อดี : ช่วยให้เจริญอาหาร กระเพาะอาหารขยายตัว ลดอาการแสบร้อนในทางเดินอาหาร อายุยืนขึ้น เร่งกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย ต้านเชื้อแบคทีเรีย ป้องกัน/บรรเทาอาการเจ็บป่วย ข้อเสีย : ทำให้ปวดแสบร้อนในช่องปากและทางเดินอาหารและถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้น ระคายเคืองต่อเยื่อบุต่าง ๆ ในร่างกาย เกิดการท้องเสีย อาจจะเกิดโรคกระเพาะอาหารและกรดไหลย้อน 🎯 ตรวจสอบกับ อาจารย์ นพ.อาลันณ์ จันท์จารุณี อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มีบางส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงที่จริง แต่ว่าการกินเผ็ดก็อาจจะไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน การกินเผ็ด : “ข้อดี” ? ที่แชร์กัน 1. กินเผ็ดช่วยให้เจริญอาหาร จริง… แต่ไม่ได้เป็นสำหรับทุกคน เพราะคนที่ไม่ได้ชื่นชอบการกินอาหารเผ็ด กินแล้วไม่สบายช่องปาก ก็อาจทำให้การกินลดลงได้ 2. สารแคปไซซิน (capsaicin) ช่วยให้กระเพาะอาหารขยายตัวและรับอาหารได้นานขึ้น จริง… สารแคปไซซินจะทำให้กระเพาะอาหารทำงานได้นานขึ้น ผลิตน้ำย่อยที่มากขึ้น แต่ไม่จำเป็นต้องกินเพื่อให้กระเพาะอาหารขยายตัว 3. กินเผ็ดลดอาการแสบร้อนในทางเดินอาหาร เพราะร่างกายจะชินและทนได้มากขึ้น จริงบางส่วน… […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รสเผ็ด ในตำราแพทย์ (แผนไทย-แผนปัจจุบัน)

“รสเผ็ด” กินอย่างไร “เป็นยา” และ “มีประโยชน์หรือโทษ” ต้องกินอะไร “แก้เผ็ด” ได้ผล 🎯 มีคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ 1. ภกญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี 2. อาจารย์ นพ.อาลันณ์ จันท์จารุณี อาจารย์ประจำสาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล  “แพทย์แผนไทย” กับรสเผ็ด ภกญ.ดร.ผกากรอง ขวัญข้าว กล่าวถึง “ความเผ็ดร้อน” ที่แพทย์แผนไทยเรียกว่า “รสยา” คำว่า “รส” แสดงถึงคุณสมบัติของตัวสมุนไพรที่ทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง คนโบราณเรียนรู้สรรพคุณของยาผ่านการ “ชิม” “รสเผ็ดร้อน” จะไปช่วยการไหลเวียนของเลือด และทำให้ลม ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ธาตุของร่างกายกระจายออกไปจากจุดกำเนิดได้ดีมากยิ่งขึ้น ลดอาการปวดและอาการชาลงได้ ความเผ็ดร้อนในทางการแพทย์แผนไทยบอกว่าไปเพิ่มไฟย่อย เพิ่มน้ำย่อย ทำให้รู้สึกอยากอาหารแล้วกินอาหารได้ดีขึ้น “อาหารรสเผ็ด” ปริมาณเท่าไหร่ที่มีความเหมาะสม ซึ่งแต่ละคนก็จะมีความสามารถทนรับความเผ็ดแตกต่างกัน ถ้ากินแล้วยังรู้สึกว่าปกติดี ไม่ได้แสบร้อนมากเกินไป ไม่มีท้องเสีย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : น้ำตาเทียม และวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง

น้ำตาเทียมมีกี่ชนิด ชนิดไหนเหมาะกับใคร วิธีการใช้งานที่ถูกต้องเป็นอย่างไร 🎯 ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์  ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ธรรมชาติของดวงตาคนเราจำเป็นต้องมี “น้ำ” หล่อเลี้ยงดวงตา ฉาบบริเวณผิวตาดำและตาขาวอยู่ตลอดเวลา เพื่อช่วยในการหักเหของแสงให้ดวงตาทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เห็นภาพชัดขึ้น ภาวะที่น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาน้อยจะทำให้คนคนนั้นรู้สึกเคืองตา ตาแดง ตาแห้ง แก้ปัญหา “ตาแห้ง” ด้วยน้ำตาเทียม ปัจจุบันมีการใช้น้ำตาเทียมเพื่อแก้ปัญหาตาแห้ง โดยทั่วไป “น้ำตาเทียม” ไม่ค่อยมีผลข้างเคียงหรือเป็นอันตรายกับดวงตา จึงมีการนำน้ำตาเทียมมาใช้อย่างแพร่หลาย แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องเคืองตา ฝืดตา ตาแห้งมาก แนะนำว่าครั้งแรกควรจะไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจว่าภาวะนั้นไม่ได้เกิดจากโรคตาอื่น ๆ แต่เป็นจากภาวะตาแห้งอย่างเดียว เพราะถ้าเกิดจากโรคต่าง ๆ จะได้รักษาที่ต้นเหตุอย่างเหมาะสม ภาวะ “ตาแห้ง” เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง ผลจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือนานมากขึ้น รวมทั้งมลภาวะทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็นฝุ่น PM2.5 ที่เกินค่ามาตรฐาน ก็จะยิ่งทำให้น้ำที่หล่อเลี้ยงลูกตาระเหยผิดปกติ อีกสาเหตุที่พบบ่อยคือการมีโรคประจำตัวหรือกินยาบางชนิด แต่มีผลข้างเคียงทำให้น้ำหล่อเลี้ยงลูกตาน้อยลง ประเภทของน้ำตาเทียม “น้ำตาเทียม” แบ่งได้ 2 ชนิด คือ ชนิดที่ต้องใช้ให้หมดภายใน 24 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตาโหล เบ้าตาลึก

ตาโหล เบ้าตาลึก เป็นอย่างไร และวิธีการแก้ไข ทำอย่างไร 🎯 ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง “ตาโหล” และ “เบ้าตาลึก” เป็นลักษณะกายภาพของแต่ละคน บางคนที่มีโหนกของบริเวณคิ้วสูง หรือบริเวณกระดูกเบ้าตาข้างล่างนูนเด่นชัดขึ้นมา จะทำให้รู้สึกเหมือนตาลึกเข้าไป คนที่ “ตาโหล เบ้าตาลึก” มีขนาดลูกตาปกติถือเป็นเรื่องธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้ แต่บางคนอาจรู้สึกว่าทำให้ดวงตาดูไม่สวยงาม ตาโหล เบ้าตาลึก เป็นมาตั้งแต่กำเนิด ? โดยทั่วไปภาวะ “ตาโหล เบ้าตาลึก” ถ้าไม่ได้เกิดจากโรคหรือความผิดปกติของโครโมโซมที่มีส่วนอื่นของร่างกายผิดปกติไปด้วย มักจะเป็นกรรมพันธุ์ที่ถ่ายทอดมาจากยีนคุณพ่อคุณแม่ ทำให้ลักษณะหน้าตาคล้าย ๆ กัน และมีโครงสร้างใบหน้าที่มีตาโหลหรือเบ้าตาลึกได้ คนที่มี “ตาโหล เบ้าตาลึก” มาตั้งแต่เกิด พบว่าช่วง 5-6 ขวบแรก จะมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก มีทั้งตาโหลหรือเบ้าตาลึกดีขึ้นและแย่ลง เมื่อเด็กโตขึ้นอายุเกิน 5-6 ขวบไปแล้ว โครงสร้างของกระดูกบริเวณใบหน้าค่อนข้างอยู่ตัว อาจทำให้ลักษณะ “ตาโหล เบ้าตาลึก” ติดตัวจนโตเป็นผู้ใหญ่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : นอนหลับตาไม่สนิท หรือตากระต่าย

ตากระต่าย หรือนอนหลับตาไม่สนิท เกิดจากสาเหตุใด อันตรายหรือไม่ และมีวิธีการรักษาอย่างไร 🎯 ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “ตากระต่าย” คือการเรียกลักษณะของคนบางคนที่เวลานอนหลับหรือหลับตาแล้ว เปลือกตาบนและเปลือกตาล่างไม่ลงมาประกบกันสนิท จะทำให้เห็นบริเวณที่เป็นตาขาวหรือตาดำ “นอนหลับตาไม่สนิท” หรือ “ตากระต่าย” ศัพท์ทางการแพทย์เรียกว่า Lagophthalmos การเรียกว่า “ตากระต่าย” น่าจะเป็นลักษณะเฉพาะอย่างหนึ่งของกระต่าย ที่บางครั้งเวลานอนหลับเปลือกตาบนและเปลือกตาล่างอาจจะหลับไม่สนิท ทำให้คนสมัยก่อนเรียกภาวะนี้ว่า “ตากระต่าย” ลักษณะ “ตากระต่าย” เกิดขึ้นเอง ไม่ได้ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ และภาวะตากระต่ายนี้อาจจะเป็นทุกคน บางคนอาจจะเป็นมาก บางคนอาจจะเป็นน้อย หรือบางคนอาจจะเป็นนาน ๆ ครั้ง เพราะเราอาจจะไม่ได้สังเกตตัวเองว่าตื่นมาตอนเช้ามีอาการเคืองตา หรือมีคนทักว่าเวลานอนหลับแล้วหลับตาไม่สนิท บ่งบอกว่าเกิดภาวะตากระต่าย ภาวะตากระต่ายเกิดจากอะไร  ภาวะตากระต่ายสามารถเกิดได้กับทุกคนที่การทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณรอบเปลือกตาไม่แข็งแรง “ตากระต่าย” อาจเกิดขึ้นได้จากภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดทำตา 2 ชั้น หรือทำศัลยกรรมเปลือกตา โดยเฉพาะช่วงแรกหลังผ่าตัดใหม่ ๆ จะมีปัญหาเรื่องหลับตาไม่สนิท ถ้ามีอาการเคืองตา ตาแดง ต้องรีบกลับไปพบจักษุแพทย์หรือแพทย์ที่ทำการผ่าตัดเปลือกตาให้ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เด็กทารกกับภาวะตากระต่าย […]

1 11 12 13 14 15 18