ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การป้องกันและรักษาภาวะตามัว

ภาวะตามัวป้องกันได้หรือไม่ และมีวิธีการรักษาอย่างไร 🎯 ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ดวงตาเป็นอวัยวะสำคัญที่ใช้ในการมองสิ่งต่าง ๆ และมีความสำคัญกับทุกคน คำว่า “ตามัว” หมายถึง ภาวะการมองเห็นที่ไม่ชัด โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ตามัวชั่วคราว และตามัวถาวร “สายตาผิดปกติ” กับภาวะ “ตามัว” ภาวะสายตาผิดปกติเป็นปัญหาใหญ่ที่มีการขยายตัวค่อนข้างมากในเด็กยุคใหม่ ในงานวิจัยพบว่าการปรับพฤติกรรมของเด็ก ให้เด็กมีกิจกรรมกลางแจ้งมากขึ้นอย่างน้อยสัปดาห์ละ 11 ชั่วโมง จะช่วยลดโอกาสภาวะสายตาสั้น และการสั้นมากขึ้นเรื่อย ๆ ของเด็กได้ การทำกิจกรรมกลางแจ้งป้องกันตามัวของเด็กได้ เพราะการที่เด็กมีกิจกรรมกลางแจ้ง จะช่วยทำให้เด็กคลายการเพ่งของลูกตา รวมทั้งการได้วิตามินดีจากแสงแดด เพราะมีงานวิจัยเชื่อว่าจะสามารถลดการสั้นมากขึ้นของสายตาเด็กได้ การปล่อยให้ลูกนั่งเล่นมือถือ หรือนั่งเล่นคอมพิวเตอร์ การที่เด็กอยู่แต่ในห้องอาจเป็นต้นเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้เด็กไทยยุคใหม่มีภาวะสายตาผิดปกติมากขึ้น “โรคต้อกระจก” กับภาวะ “ตามัว” การป้องกันโรคต้อกระจก ทำได้ด้วยการหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นต้นเหตุ ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ยาบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ (ทั้งชนิดกินและชนิดหยอด) ในคนมีโรคประจำตัวที่เป็นต้นเหตุให้เลนส์ตาเสื่อมเร็วขึ้น เช่น โรคเบาหวาน ก็ต้องพยายามควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีขึ้น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เข้าใจสาเหตุภาวะตามัว

ภาวะตามัวมีกี่แบบ อันตรายหรือไม่ และเกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง 🎯 ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย คำว่า “ตามัว” หมายถึงภาวะที่การมองเห็นไม่ชัด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ตามัวชั่วคราว และตามัวถาวร ตามัวชั่วคราว ตามัวชั่วคราวพบบ่อยในคนนี้มีตาแห้ง บางจังหวะรู้สึกเหมือนมองภาพไม่ชัด พอกะพริบตาก็อาจจะดีขึ้น หรือขยี้ตาเบา ๆ ก็ดีขึ้น อีกกลุ่มเกิดจากการใช้สายตามาก ๆ เช่น คนที่ทำงานอยู่กับคอมพิวเตอร์หรือเล่นมือถือทั้งวัน บางขณะมองภาพโฟกัสไม่ได้เลยเพราะตาล้า ในคนที่มีโรคอย่างอื่นของระบบอื่นร่วมด้วย เช่น ไมเกรน หรือมีความไม่สมบูรณ์ของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณสมองที่เกี่ยวกับการมองเห็นก็อาจจะเกิดตาพร่ามัวชั่วคราวหลาย ๆ วินาทีและก็กลับมามองเห็น จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาจากแพทย์เฉพาะทางอย่างถูกต้อง มีอาการ “หน้ามืด” เกี่ยวข้องกับ “ตามัว” ด้วย ที่เรียกกันว่าภาวะ “หน้ามืดตามัว” ซึ่งอาจจะเกิดจากความเหน็ดเหนื่อย หรือระดับน้ำตาลในเลือดตก หรือมีการบีบตัวของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงบริเวณสมองบางส่วน ก็อาจจะทำให้เหมือนการมองเห็นภาพโทนสีมืดลงและก็อาจจะเป็นลมได้ พวกนี้มักจะไม่ได้เป็นอาการจากดวงตาโดยตรงแต่ว่าอาจเกิดจากระบบอื่นของร่างกายได้ ตามัวถาวร จักษุแพทย์พบตามัวถาวรจำนวนมาก แบ่งตามชนิดได้ 4 กลุ่มใหญ่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปัญหาโรคตาในผู้สูงอายุ

โรคตายอดฮิตในผู้สูงวัยมีอะไรบ้าง จะสังเกต ป้องกันและเฝ้าระวังได้อย่างไร 🎯 ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ผู้สูงอายุและคนที่อายุเกิน 60 ปี หรือหลังเกษียณไปแล้วก็จะเริ่มมีปัญหาดวงตาที่เกิดจากความเสื่อมตามสภาพการใช้งาน โรคตาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ สายตายาว ต้อกระจก ต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม สายตายาว ภาวะสายตายาวจะพบบ่อยที่สุด คือหลังอายุ 40-50 ปีไปแล้ว ความสามารถในการเพ่งลดลง จำเป็นต้องยื่นหนังสือออกไปห่างหรือจำเป็นต้องมีแว่นสายตายาว ก็จะทำให้สามารถกลับมามองเห็นตัวหนังสือได้  โรคต้อกระจก ที่พบบ่อยที่สุดและเป็นทุกคน คือการเสื่อมของเลนส์ตาที่ความใสจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุ ทำให้เลนส์แก้วตามีลักษณะขุ่นขาวเหมือนกระจกฝ้า คนทุกคนจำเป็นต้องเป็นโรคต้อกระจก คือการมองเห็นจะมัวเป็นหมอก โดยทั่วไปมักจะเริ่มที่อายุ 60 กว่าขึ้นไป 70-80 ต้องได้รับการรักษาด้วยการสลายต้อและเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียมใหม่ก็จะกลับมามองเห็นได้ ต้อหิน โรคที่มีความสำคัญและอันตรายมาก ๆ ในวัยสูงอายุ คือโรคต้อหิน ซึ่งเป็นสาเหตุตาบอดอันดับ 1 ของคนไทยและคนทั้งโลกที่แก้ไขไม่ได้ จำเป็นต้องเฝ้าระวัง เพราะผู้ป่วยอาจจะไม่รู้ตัว หลังจากอายุ 50-60 ปีไปแล้วควรจะต้องไปตรวจวัดความดันในลูกตา เพราะว่าความดันในลูกตาที่สูงจะไปกดขั้วประสาทตาทำให้มีการเสื่อม […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปัญหาโรคตาในคนวัยทำงาน

ปัญหาโรคตาในคนวัยทำงานมีอะไรบ้าง และจะป้องกันหรือรักษาได้อย่างไร 🎯 ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญของคนช่วงวัยทำงาน มีโรคตาหลายโรคที่พบได้จากช่วงวัยทำงาน ตั้งแต่อายุ 20-40 ปี หลาย ๆ โรคเกิดจากความเสื่อมปกติของร่างกายคนเรา บางโรคก็เกิดจากพฤติกรรมการใช้สายตาที่เปลี่ยนไปของคนยุคปัจจุบัน ปัญหาโรคตาที่พบบ่อยในคนวัยทำงาน 1. “ตาล้า” ใช้สายตามากและต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ไม่วาจะเป็นการใช้แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือก็ตาม ลูกตามีการเพ่ง ทางการแพทย์เรียกว่า Accommodation จะทำให้เกิดอาการล้า ปวดบริเวณลูกตา ปวดบริเวณขมับ บางคนอาจจะทำให้ตามัว มองไม่ชัด ปวดศีรษะ และรู้สึกไม่สบาย มีคำแนะนำการใช้สายตาด้วยสูตร 20-20-20 ดังนี้ ทุก ๆ 20 นาที ของการใช้งานสายตามองใกล้ ควรหยุดพัก 20 วินาที โดยการมองไปที่ระยะไกลอย่างน้อย 20 ฟุต (6 เมตร) เพื่อให้ดวงตาคลายการเพ่ง จะทำให้กลับมานั่งทำงานได้อย่างปลอดภัยและไม่รู้สึกปวดศีรษะ 2. “ตาแห้ง” […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปัญหาโรคตาในเด็ก

ปัญหาโรคตา หรือภาวะดวงตาผิดปกติที่เกิดขึ้นในเด็กมีอะไรบ้าง จะป้องกันหรือรักษาได้อย่างไร 🎯 ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย โรคตาในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่แรกคลอด จนถึงเด็กโต สามารถแบ่งได้เป็น 3 ช่วงวัย ช่วงวัยที่ 1 แรกเกิด-ก่อนเริ่มเดินได้ สิ่งที่พบได้คือ โรคตาที่ผิดปกติแต่กำเนิด (ตาขาว ตาดำ เปลือกตา) และจอประสาทตาผิดปกติ คุณพ่อคุณแม่ช่วยกันสังเกตว่าเด็กที่คลอดออกมาตา 2 ข้างมีขนาดเท่ากันหรือไม่ ตาดำมีลักษณะสีดำไม่เป็นสีขาว หรือเปลือกตาทั้ง 2 ข้างลืมขึ้นทั้ง 2 ข้างหรือไม่ ช่วงที่เด็กอายุ 2-3 เดือน โดยเฉพาะเด็กที่คลอดก่อนกำหนด จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคจอประสาทตาผิดปกติ และในเด็กที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 30 สัปดาห์ หรือน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่า 1,500 กรัม จะต้องพาไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจจอประสาทตาเมื่ออายุประมาณ 1 เดือน ช่วงวัยที่ 2 อายุประมาณ 3-12 ปี สิ่งที่พบบ่อยคือ ตาเข ตาเหล่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : การป้องกัน “โควิด-19” ด้วยความห่วงใยจาก…ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา

1 มกราคม 2567 สัมภาษณ์โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ เรียบเรียงโดย คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ศ.เกียรติคุณ ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับ “โควิด-19” รับปีใหม่ 2567 ธรรมชาติของโคโรน่าไวรัส (โควิด-19) จะอยู่กับโลกนี้ไปอีกนาน เพราะไวรัสตัวนี้กลายพันธุ์ตลอดเวลา และจะพบสายพันธุ์ใหม่ ๆ เมื่อไหร่ก็ตามที่พบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ (อย่างโอไมครอน) โดยหลักการของไวรัสที่แพร่ระบาดรวดเร็ว จะไปทดแทนสายพันธุ์เดิม และถือเป็นความโชคดีของโลกใบนี้ ที่มีสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นแต่ไม่รุนแรง คงจำกันได้ ตอนที่ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์เดลตาเกิดขึ้น อัตราการเสียชีวิตทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากมาย และตอนนี้เป็นโอไมครอนก็ยังเกิดการกลายพันธุ์อยู่เรื่อย ๆ ถ้าไปดูย้อนหลัง ช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ประเทศไทยมีการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เพิ่มขึ้น แต่อัตราการเสียชีวิตไม่ได้เพิ่มขึ้นคู่ขนานไปกับการติดเชื้อ โชคดีว่าสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นกระจายเร็วแต่ไม่ได้รุนแรง โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ “JN.1” องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ 1 สายพันธุ์ เรียกว่า JN.1 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จักเมลาโทนิน

เมลาโทนินคืออะไร เป็นสารที่ร่างกายสร้างเองได้หรือไม่ หรือจำเป็นกับร่างกายมากแค่ไหน และเกี่ยวข้องกับการนอนหลับอย่างไร 🎯 ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมลาโทนิน (Melatonin) คือฮอร์โมนที่ร่างกายผลิตจากต่อมไพเนียล (Pineal gland) ซึ่งอยู่ในสมองของเรานี่เอง ในร่างกายทุกคนมีเมลาโทนิน ต่อมไพเนียลผลิตเมลาโทนินเมื่อพระอาทิตย์ตก ดวงตาไม่ได้รับแสง โดยต่อมไพเนียลหลั่งเมลาโทนินออกมา เพื่อบอกร่างกายว่าเป็นเวลาของการพักผ่อน หรือเป็นเวลาของการเข้านอนแล้ว ตัวฮอร์โมนชนิดนี้ เมื่อคนเราอายุมากขึ้น (อาจจะเลย 55 ปี หรือ 60 ปีขึ้นไป) ก็อาจจะผลิตเมลาโทนินได้ลดลง ดังนั้น อาจมีการใช้อาหารเสริมจำพวกเมลาโทนินเข้ามาชดเชยหรือช่วยได้ ปฏิกิริยาของเมลาโทนินกับร่างกาย เมื่อเมลาโทนินออกมาร่างกายจะมีอาการง่วง เช่น หาว หนังตาตก ก็อยู่ในสภาพพร้อมหลับ เขาหลั่งเมลาโทนินอยู่ในช่วงขาขึ้น เขาจะเริ่มหลั่งน้อย ๆ ตั้งแต่ช่วงพระอาทิตย์ตก พอเขาขึ้นถึงจุดสูงสุดร่างกายเราจะง่วง สังเกตได้ว่าเราจะง่วงเวลาเดิม ๆ ทุกวัน เพราะว่าเมลาโทนินทำงานสัมพันธ์กับนาฬิกาชีวิต (Circadian Rhythm) ซึ่งนาฬิกาชีวิตจะค่อนข้างตรงเวลา ยิ่งถ้าเรามีกิจวัตรประจำวันที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ นาฬิกาชีวิตก็ทำงานค่อนข้างตรงเวลาในเวลาเดิมทุกวัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ท่าบิดกระดูกสันหลัง ทำให้หลับสบาย จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์แชร์ท่าบิดกระดูกสันหลังบริหารกาย ทำก่อนนอน ช่วยให้ผ่อนคลาย และหลับสบายได้ 🎯 ตรวจสอบกับ นพ.ณภัทร์ ศิรินิ่มนวลกุล อาจารย์แพทย์ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และ ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ท่าบิดกระดูกสันหลังบริหารกาย ช่วยให้ผ่อนคลาย และหลับสบายได้ สามารถใช้ได้จริง แชร์ต่อได้ แต่ต้องเลือกท่าให้ถูกต้อง โดยปกติแล้ว สิ่งที่จะช่วยให้การนอนดีขึ้น คือการออกกำลังกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อก่อนนอน ซึ่งมีหลายท่าด้วยกัน ปกติแล้วการยืดเหยียดกล้ามเนื้อจะช่วยลดอาการปวด เป็นการเพิ่มความผ่อนคลายให้กับกล้ามเนื้อและร่างกาย เมื่อใดที่ร่างกายผ่อนคลายจิตใจก็จะผ่อนคลายตามด้วย ซึ่งจะช่วยเรื่องการนอนได้ดีขึ้น การบริหารร่างกายก่อนนอน มีท่าจำนวนมาก ขึ้นกับว่าตัวเราปวด และ/หรือ ตึงกล้ามเนื้อบริเวณไหน เราก็คลายตรงบริเวณนั้น ควรเลือก “ท่าบริหาร” อย่างไร แนะนำว่าควรเลือกท่าบริหารตามอาการปวด เช่น ปวดคอ บ่า ไหล่ ก็จะเน้นการยืดคอ บ่า ไหล่ (ท่าดึงศีรษะ ดึงคอ หรือก้มหน้า และหงายหลังกับแรงต้าน) จะสังเกตอย่างไรว่ายืดถูกท่าหรือผิดท่า เป็นต้นว่า ถ้ายืดแล้วปวด ก็ไม่แนะนำให้ทำต่อ เพราะอาจจะมีเรื่องอื่น ๆ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : อาหาร 3 ชนิดช่วยให้หลับสบาย จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์ มีการแชร์อาหาร 3 ชนิด กินก่อนนอนช่วยให้หลับสบาย ได้แก่ นม กล้วย และถั่วลิสง 🎯 ตรวจสอบกับ นพ.ณภัทร์ ศิรินิ่มนวลกุล อาจารย์แพทย์ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และ ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย อาหารทั้ง 3 ชนิดที่แชร์กันว่าช่วยให้หลับสบายนั้น จริงบางส่วน และต้องดูด้วยว่าเป็นกล้วยชนิดไหน เป็นถั่วชนิดไหน เพราะว่าช่วยได้แตกต่างกัน นมและผลิตภัณฑ์จากนม กินก่อนนอน ช่วยให้หลับสบาย จริงหรือ ? การดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมช่วยให้เรื่องการนอนดีขึ้น ตัวนมและผลิตภัณฑ์จากนมมีกรดอะมิโนหลายชนิด หนึ่งในนั้นคือ ทริปโตเฟน (Tryptophan) และทริปโตเฟนเป็นสารตั้งต้นของเมลาโทนิน (Melatonin) คือตัวที่ทำให้เกิดการนอนหลับในร่างกายของเรา สำหรับ “นม” จะเป็นนมอุ่น หรือนมแช่เย็น ก็มีผลไม่ต่างกัน ขึ้นกับความชอบของแต่ละคนมากกว่า บางคนดื่มนมวัวแล้วแพ้น้ำตาลแล็กโทส (lactose) ก็เปลี่ยนไปดื่มนมที่เป็นผลิตภัณฑ์จากพืช เช่น นมอัลมอนด์ นมถั่วเหลือง ก็พอช่วยได้ ปริมาณนมและผลิตภัณฑ์จากนมก่อนนอน ที่แนะนำก็คือ นม 1 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : วิธีรักษา ตับคั่งไขมัน

ตับคั่งไขมัน มีกี่ระยะ หายเองได้หรือไม่ ? หากเป็นแล้วจะรักษาอย่างไร หายขาดหรือไม่ ? 🎯 ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย โรคตับคั่งไขมันเป็นเพื่อนพ้องของโรคอ้วน จะไม่มีอาการเตือน การดำเนินโรคแบบค่อยเป็นค่อยไป ซ่อนอยู่ในร่างกาย จะทำให้เราประมาท หรือชะล่าใจ ส่วนใหญ่ไม่มีอายุกำหนด คนที่อายุแค่ 20-30 ปี และมีน้ำหนักขึ้นมาก ก็เป็นโรคตับคั่งไขมันได้ เมื่อตับคั่งไขมัน ระยะเวลาเฉลี่ยเกิน 10 ปีไปแล้ว ตับจะเริ่มอักเสบ ขอให้ลองนึกภาพเป็นการ์ตูน เซลล์ตับเป็นรูปสี่เหลี่ยม เมื่อมีไขมันแทรกเข้าไป เซลล์ตับจะอ้วนจากสี่เหลี่ยมเป็นวงกลมใหญ่ บวม และตาย นี่คือลักษณะของตับที่อักเสบเป็นระยะเวลานาน ๆ เมื่อเซลล์ตับตายก็จะถูกแทนที่ด้วยพังผืด ถ้าเกิดจุดเล็ก ๆ อย่างนี้ทุกจุดในเนื้อตับ สภาพตับก็จะเปลี่ยนเป็นตับเริ่มแข็งหรือมีพังผืด ในระยะยาวก็จะเหมือนคนที่เป็นโรคตับอักเสบจากไวรัส จากแอลกอฮอล์ ก็คือนำไปสู่ตับแข็ง นี่คือเหตุที่น่ากังวลและคล้าย ๆ เป็นระเบิดเวลาที่ซ่อนอยู่ในตัวเรา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ตื่นกลางดึก

ทำไมเราต้องตื่นกลางดึก ? ตื่นกลางดึกบ่อย ๆ เป็นอันตรายหรือไม่ ตื่นแล้วนอนต่อไม่ได้ควรทำอย่างไร ? 🎯 ตรวจสอบกับ นพ.ณภัทร์ ศิรินิ่มนวลกุล อาจารย์แพทย์ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และ ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “ตื่นกลางดึก” เป็นเรื่องปกติ มีการนำคนปกติที่ไม่เคยมีปัญหาเรื่องของการนอนมาตรวจคลื่นสมองระหว่างการหลับ พบว่าค่าเฉลี่ยของการตื่นปกติอยู่ที่ประมาณ 10-15 ครั้งต่อคืน นี่คือตัวเลขปกติ บางคนรู้สึกว่าไม่น่าจะมากขนาดนั้น เพราะคนเรามีการตื่นกลางดึกตามคลื่นสมอง คือสมองตื่นแต่เราอาจจะจำไม่ได้ว่าเราตื่น ถ้าเราตื่นประมาณ 2-3 นาที สมองไม่ได้จำว่าเราตื่น ถ้าเราเริ่มตื่นนานกว่านั้น 5-10 นาที หรือตื่นแล้วลุกไปเข้าห้องน้ำ ลุกไปทำนู่นทำนี่ แล้วกลับมานอนต่อ อย่างนี้จะเป็นการตื่นที่สมองของเราจำได้ สมมุติตื่นกลางดึกแล้วกลับมานอนต่อ แต่ต้องใช้เวลาเกินครึ่งชั่วโมงขึ้นไป ระยะเวลา 3 วันต่อสัปดาห์ นานเป็นเดือนหรือหลายเดือนขึ้นไป อย่างนี้น่าจะมีปัญหาแล้ว มีสาเหตุอะไรบ้าง ที่ทำให้ตื่นกลางดึกและไม่สามารถนอนต่อได้ ตื่นกลางดึกแล้วกลับไปนอนต่อไม่ได้ มีสาเหตุหลายอย่าง เช่น 1. เกิดจากปัญหาด้านอารมณ์ จิตใจ บางคนมีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล ก็จะเกิดปัญหาการนอนที่ไม่ต่อเนื่อง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้ได้อย่างไร ตับคั่งไขมัน

รู้ได้อย่างไร ตับคั่งไขมัน หรือที่หลายคนเรียกว่า ไขมันพอกตับ เมื่อโภชนาการเกิน ทำให้เกิดพังผืดในตับ เราจะรู้ได้อย่างไรว่ากำลังเป็นโรคนี้ 🎯 ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย โดยทั่วไป โรคตับคั่งไขมันไม่น่าจะมีอาการอะไรแสดงมา ส่วนใหญ่จะเกิดหลังทราบจากการวินิจฉัยของแพทย์ ผู้ป่วยที่แพทย์บอกว่าสงสัยมีโรคตับคั่งไขมัน ส่วนใหญ่จะวิตกกังวล และเริ่มบ่นว่าเริ่มเจ็บชายโครงด้านขวา แน่นท้อง อึดอัด จุกเสียด เหล่านี้ไม่ใช่อาการของโรคตับคั่งไขมัน เพราะว่าโรคตับคั่งไขมันส่วนใหญ่ไม่มีอาการ การตรวจสุขภาพประจำปี และรับรู้ว่าเกี่ยวข้องกับโรคตับคั่งไขมัน กรณีที่ไม่มีอาการใด ๆ เลย ส่วนใหญ่รู้ได้จากการตรวจสุขภาพประจำปี ค่าตับ AST (Aspartate Transaminase)  และ ALT (Alanine Transminase) ทั้งสองตัวนี้มักจะขึ้นเกินกว่าค่าปกติ ค่าปกติ อยู่ที่ 40 ยูนิต/ลิตร พบว่าค่าทำงานตับของผู้ป่วยโรคตับคั่งไขมันส่วนใหญ่ขึ้นสูงไม่เกิน 100 ต้น ๆ หรือสูงกว่าค่าปกติ 2-3 เท่า สมมุติว่าค่าตับสูงมากกว่า […]

1 10 11 12 13 14 16