ชัวร์ก่อนแชร์ : อาหารต้องห้าม สำหรับไขมันพอกตับ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ “อาหารต้องห้าม สำหรับไขมันพอกตับ 5 ชนิด ได้แก่ น้ำตาล เกลือ แอลกอฮอล์ เนื้อแดง และของทอด” 🎯 ตรวจสอบกับ ศ.ดร.นพ.สมบัติ ตรีประเสริฐสุข สาขาวิชาโรคทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรรมการบริหาร สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย อาหารต้องห้ามสำหรับไขมันพอกตับ 5 ชนิดที่มีการแชร์กันเป็นความจริง ปัจจุบันมีอาหารหลายกลุ่มที่จำเป็นต้องห้ามและควรจะหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโภชนาการเกิน กินอาหารกลุ่มที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นง่าย ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ภาวะไขมันตับหรือตับคั่งไขมันแย่ลง “ไขมันพอกตับ” เรียกให้เห็นภาพชัด ๆ จะต้องเรียกว่า “ตับคั่งไขมัน” คำว่า “ตับคั่งไขมัน” เป็นชื่อโรคที่ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสภา “ไขมันพอกตับ” เป็นคำที่ไม่แนะนำให้ใช้ เพราะคนฟังมีความเข้าใจหรือรู้สึกว่าไขมันเพียงแค่พอก น่าจะล้างออกได้ง่าย แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ด้วยยา อาหาร หรือสมุนไพร ซึ่งไม่ใช่สิ่งของที่จะนำสบู่มาล้างออก เนื่องจากไขมันแทรกเข้าไปในทุกอณูของเซลล์ตับ การนำไขมันออกจากเซลล์ตับจึงต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลง ทั้งพฤติกรรมการกิน การอยู่ และการออกกำลังกาย คนที่ “ตับคั่งไขมัน” มีอาหารต้องห้ามหลายกลุ่ม 1. น้ำตาล ให้ลดเท่าที่จำเป็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 4 วิธี นอนหลับไวขึ้น จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ 4 วิธีที่ทำให้นอนหลับได้ไวขึ้น มีตั้งแต่ (1.) อย่าบังคับให้ตัวเองหลับ (2.) อาบน้ำอุ่น (3.) ฟังดนตรี (4.) ไม่เล่นมือถือก่อนนอน 🎯 ตรวจสอบกับ พญ.ปุณฑริก ศรีสวาท ฝ่ายจิตเวชศาสตร์ และศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย “จริงบางส่วน จะมีเพียงเรื่องการอาบน้ำซึ่งขึ้นกับความชอบของแต่ละบุคคลด้วย ถ้ามีการอธิบายเพิ่มเติมข้อมูลนี้สามารถแชร์ได้ และวิธีที่ทำให้นอนหลับไวขึ้นก็ไม่ได้มีแค่ 4 วิธีนี้เท่านั้น ยังมีวิธีการอื่น ๆ อีกที่จะช่วยให้หลับได้เร็วขึ้น” 1.อย่าบังคับให้ตัวเองหลับ อย่ากดดันสมอง ? จริง… ในคนที่พยายามเกี่ยวกับเรื่องการนอน ขอแนะนำว่าให้ลดความพยายามตรงนี้ลง เพราะเมื่อไหร่ที่เราพยายาม ความผ่อนคลายก็จะหายไป “การนอน” เป็นเพื่อนกับ “ความผ่อนคลาย” ถ้าเขาไม่ได้มากับเพื่อนเขา เราก็จะนอนไม่หลับ มีการแนะนำให้ “นับแกะ” เพื่อดึงความสนใจออกไปอยู่กับสิ่งอื่น ซึ่งการนับแกะเป็นกิจกรรมที่ค่อนข้างน่าเบื่อและเป็นการทำซ้ำ ๆ ลองสังเกตดูก็ได้ว่าเวลาที่เราทำอะไรซ้ำ ๆ จะค่อนข้างน่าเบื่อหน่อย ๆ ก็จะเข้าสู่การนอนได้ง่าย แต่ถ้าทำอะไรที่น่าเบื่อมาก ๆ ก็จะเกิดอาการหงุดหงิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ตากระตุก สัญญาณเตือนของโรคร้าย จริงหรือ ?

มีคำอธิบายจาก ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย 📌 สรุป : ✅ แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม อาจจะจริงและไม่จริง เนื่องจากภาวะตากระตุกจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ ตั้งแต่โรคที่ไม่มีอันตรายอะไรไปจนถึงอาจจะเป็นโรคที่มีความรุนแรงได้ ตากระตุกข้างซ้ายหรือข้างขวา มีอะไรต่างกัน หรือไม่ ตากระตุกอาจจะเกิดข้างเดียว หรือเกิดพร้อมกัน 2 ข้างก็ได้ ขึ้นกับว่าสาเหตุที่เป็นเกิดจากอะไร ถ้าเกิดจากการระคายเคืองที่เป็นพร้อมกัน เช่น คนเป็นภูมิแพ้ก็อาจจะมีการกระตุกทั้ง 2 ข้างได้ ถ้าเกิดจากการใช้งานหนัก ข้างที่มีความต้านทานหรือมีความแข็งแรงน้อยกว่าก็อาจเกิดการล้าก่อนได้ ในขณะเดียวกันเกิดจากโรคของตัวกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาท ขึ้นกับว่าเกิดข้างซ้ายหรือข้างขวา ก็จะทำให้เกิดอาการผิดปกติที่ข้างนั้นได้ ความเชื่อที่ว่า กระตุกขวาร้าย ซ้ายดี ก็คงเป็นความเชื่อของคนสมัยก่อน แต่ว่าไม่ได้มีหลักฐานทางการแพทย์ในปัจจุบันว่าการกระตุกข้างซ้ายข้างขวามีผลกับโชคชะตาอย่างไรบ้าง ถ้าตากระตุก 2 สัปดาห์ขึ้นไปควรพบแพทย์ กรณีที่เป็นเรื้อรังค่อนข้างนานเกิน 2 สัปดาห์ หรือเป็นรุนแรงจนกระทบการดำเนินชีวิตประจำวันเช่น เปลือกตาบางจังหวะหลับตาจนกระทั่งไม่มั่นใจที่จะทำอะไร ถือว่าเป็นอาการรุนแรงที่ต้องไปพบแพทย์​เพื่อจะแก้ปัญหานี้ รวมทั้งกรณีที่มีความผิดปกติอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การบวมหรือการอักเสบบริเวณเปลือกตา ก็อาจบ่งบอกว่ามีโรคร้ายบริเวณดวงตา ควรไปพบแพทย์เพื่อความสบายใจ และหาสาเหตุที่ถูกต้องเพื่อให้การรักษาต่อไป […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ปวดตา

“ปวดตา” เป็นเพราะอะไร ป้องกัน บรรเทา หรือ รักษาอย่างไร 🎯 ตรวจสอบกับ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย “ดวงตา” เป็นอวัยวะที่อยู่บริเวณสำคัญของร่างกาย อาการปวดที่ดวงตาอาจจะเกิดจากโรคของดวงตาเอง หรือเป็นอาการที่สะท้อนมาจากอาการผิดปกติของบริเวณรอบ ๆ ดวงตาได้ อาการปวดตาที่เกิดจากสาเหตุในดวงตาเองก็เป็นตัวที่บอกถึงโรคตาต่าง ๆ ได้มากมาย ปัจจุบันที่พบได้บ่อย ๆ เช่น การใช้สายตามาก ๆ เล่นคอมพิวเตอร์หรือมือถือเป็นเวลานาน เกิดการเพ่งตาใช้เวลาหลายชั่วโมงต่อวัน ก็อาจจะทำให้เกิดอาการปวดหรือล้าที่บริเวณรอบ ๆ ดวงตา หรือในดวงตาได้ นอกจากนั้น ภาวะที่เกิดจากการอักเสบติดเชื้อ ก็จะทำให้มีอาการปวด ถ้ามีอาการของโรคตากุ้งยิงก็จะปวดที่บริเวณเปลือกตา ถ้ามีอาการติดเชื้ออยู่ข้างในดวงตา เช่น เป็นโรคตาแดง หรือมีการติดเชื้อบริเวณในลูกตา ก็จะมีอาการปวดที่บริเวณดวงตา อาการปวดตาที่มีสาเหตุมาจากโรคอื่น ๆ ทางร่างกายมีอะไรบ้าง กรณีที่เป็นโรคของอวัยวะอื่น ๆ ทำให้อาการปวดตาเข้ามาที่ดวงตา พบได้บ่อย ๆ เช่น คนที่เป็นไซนัสอักเสบ หรือในคนที่เป็นโรคไมเกรนก็อาจจะทำให้อาการปวดร้าวมาที่ดวงตาได้ หรือในคนที่ติดเชื้อ เช่นเป็นงูสวัดที่บริเวณผิวหนัง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : การรักษาโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือ โรค MS

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือ โรค MS มีวิธีการรักษาอย่างไร ผู้ป่วยสามารถหาซื้อยากินเองได้หรือไม่ มีคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.พญ.จิราพร จิตประไพกุลศาล อาจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล  “MS” เป็นชื่อย่อของ “โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง” ที่ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจและสื่อสารกันง่าย ย่อมาจากคำว่า Multiple Sclerosis โรค MS เป็นโรคที่พบน้อย ประเทศไทยมีประมาณ 0.7 รายต่อประชากรแสนราย ปกติแล้ว เซลล์ประสาทของคนเราจะมีการนำกระแสประสาท จากเซลล์หนึ่งต่อไปที่เซลล์ถัดไป ระหว่างการเดินทางของกระแสประสาท จะผ่านปลอกประสาท ทำให้กระแสประสาทเคลื่อนที่ได้เร็ว อย่างเช่นเวลาเราคิด แล้วเราจะขยับมือ จะเร็วมาก เราจะไม่รู้ตัว ปลอกประสาทเป็นตัวที่ช่วยนำความเร็วของกระแสประสาท  ในภาวะของโรค MS คือมีการอักเสบ การนำกระแสประสาทของผู้ป่วยก็จะช้าลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ ประชากรกลุ่มที่พบโรค MS มีหลายวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยกลางคน ผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็นผู้สูงอายุได้ ผู้ป่วยกลุ่มที่พบมากที่สุดอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ อายุประมาณ 10 กว่าปี ไปจนถึง 20-30 ปี และพบในผู้หญิงได้บ่อยกว่าผู้ชาย ในประเทศไทยพบได้ทั้งสองเพศ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : เบาหวานขึ้นตา

มีคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา คืออะไร โรคเบาหวาน คือภาวะผิดปกติที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินค่าทั่วไป ปัจจุบัน มีคนไทยเป็นโรคเบาหวานประมาณ 5-6 ล้านคน โรคเบาหวานจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นมากับอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอวัยวะที่มีหลอดเลือดเล็ก ๆ ไปเลี้ยง เพราะว่าโรคเบาหวานจะทำให้หลอดเลือดเล็ก ๆ เหล่านั้นมีความผิดปกติ  และเกิดการอุดตันหรือแตกได้ อวัยวะของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อนพบได้บ่อย และเป็นสาเหตุตาบอดอันดับต้น ๆ ของคนไทย คือภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา  ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา พบได้ในคนอายุเท่าไหร่ โรคเบาหวานพบในกลุ่มคนอายุน้อย และกลุ่มที่เป็นหลังอายุ 40 ปี และทั้ง 2 กลุ่มมีความเสี่ยงที่จะทำให้โรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตาได้ รวมทั้งอาจจะทำให้คนที่เป็นเบาหวานเกิดการเสื่อมของส่วนต่าง ๆ ของดวงตาได้เร็วขึ้น ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา แบ่งได้ 3 ระยะ 1.ระยะที่ยังไม่มีอาการอะไร อาจจะยังไม่มีความผิดปกติของหลอดเลือดที่จอประสาทตาหรือเริ่มมีความผิดปกติแล้ว จะทราบได้จากการตรวจโดยจักษุแพทย์เท่านั้น ซึ่งโดยทั่วไปยังไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอะไร แต่จำเป็นต้องได้รับการตรวจ อาจจะต้องถี่ขึ้น (ทุก 3 เดือน หรือทุก […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET :รู้จักโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือ โรค MS

โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งคืออะไร เกิดขึ้นได้อย่างไร และอาการเป็นอย่างไร มีคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ รศ.พญ.จิราพร จิตประไพกุลศาล อาจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง หรือโรคที่รู้จักกันในชื่อ MS คืออะไร “MS” เป็นชื่อย่อของ “โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง” ที่ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจง่าย สื่อสารกันง่าย ย่อมาจากคำว่า Multiple Sclerosis โรค MS เป็นโรคที่พบน้อย ประเทศไทยมีประมาณ 0.7 รายต่อประชากรแสนราย ระบบการทำงานของประสาทและหน้าที่ของปลอกประสาท เซลล์ประสาทของคนเราจะมีการนำกระแสประสาท จากเซลล์หนึ่งต่อไปที่เซลล์ถัดไป ระหว่างการเดินทางของกระแสประสาท จะผ่านปลอกประสาท ทำให้กระแสประสาทเคลื่อนที่ได้เร็ว อย่างเช่นเวลาเราคิด แล้วเราจะขยับมือ จะเร็วมาก เราจะไม่รู้ตัว ปลอกประสาทเป็นตัวที่ช่วยนำความเร็วของกระแสประสาท  ในภาวะของโรค MS คือมีการอักเสบ การนำกระแสประสาทของผู้ป่วยก็จะช้าลง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ ประชากรกลุ่มที่พบโรค MS มีหลายวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงวัยกลางคน ผู้ป่วยบางรายอาจจะเป็นผู้สูงอายุได้ ผู้ป่วยกลุ่มที่พบมากที่สุดอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ อายุประมาณ 10 กว่าปี ไปจนถึง 20-30 ปี […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : สีดวงตาบอกโรคได้ จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์ มีการแชร์แนะนำว่า สีของดวงตา สามารถบอกโรคต่าง ๆ ได้ เช่น ที่หัวตามีจุดสีเหลือง แปลว่ามีคอเลสเตอรอลสูง 🎯 ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ ศาสตราจารย์วุฒิคุณ นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานวิชาการ ราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย 📌 สรุป : ✅ จริงบางส่วน ❌บางส่วนมีความคลาดเคลื่อน หากจะแชร์ต่อต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการดูสีของดวงตา 1.ดวงตาดำคล้ำ แสดงว่าเป็นโรคภูมิแพ้ ไซนัส หรือโพรงจมูกอักเสบ เรื่องนี้จริง เพราะว่าคนที่มีอาการภูมิแพ้หรือไซนัส อาจจะมีอาการคันบริเวณดวงตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็ก ด้วยลักษณะนิสัยที่เคยชิน ก็คือเวลาคันจะขยี้ตา ทำให้รอบ ๆ ดวงตามีอาการบวมช้ำ และสีค่อนข้างเข้มข้น 2.ดวงตามีสีเหลือง แสดงว่าตับทำงานผิดปกติ เสี่ยงต่อโรคตับอักเสบหรือโรคดีซ่าน ภาวะที่มีอาการเหลืองของบริเวณตาขาว ที่อยู่นอกตาดำทั้งหมดนี้ พบได้บ่อยในคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบตับหรือท่อน้ำดี เพราะว่ามีการอุดตันจะทำให้บิลิรูบินซึ่งอยู่ในตับและน้ำดีกระจายไปทั่วร่างกาย มักจะมาติดหรือย้อมติดบริเวณตาขาว จะเห็นเป็นสีเหลืองซึ่งบอกได้ชัดเจนว่าน่าจะมีปัญหาเรื่องโรคตับหรือระบบท่อน้ำดี 3.ที่ตาขาวมีจุดสีเหลืองที่หัวตา แสดงว่ามีคอเลสเตอรอลสูง ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่มีคอเลสเตอรอลสูง ในคนปกติก็อาจจะเกิดขึ้นได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ เรื่องนี้คงบอกไม่ได้ว่าการที่มีปื้นสีเหลือง ๆ อยู่บริเวณรอบเปลือกตาจะเป็นอาการบอกว่าคอเลสเตอรอลสูง ในกรณีของคนที่มีไขมันหรือคอเลสเตอรอลในเลือดสูงจะมีความผิดปกติที่สังเกตได้ที่ดวงตา ก็คือบริเวณรอบ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ขี้เถ้าช่วยให้ผลไม้หวานขึ้น จริงหรือ ?

บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์คลิปแนะนำวิธีทำให้ผลไม้หวานขึ้น ด้วยการฝาน ตัดขั้ว แล้วจุ่มขี้เถ้าวางไว้ 1 คืน จริงหรือ ? 🎯 ตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ ดร.กาญจนา บุญเรือง ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 📌 สรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ จากที่เห็นในสื่อสังคมออนไลน์ การปาดผลไม้แล้วใช้ขี้เถ้าทา เพื่อให้ผลไม้มีรสหวานขึ้น เรื่องนี้ยังไม่พบข้อมูลที่มีการพิสูจน์ โพแทสเซียม : สารให้ความหวาน จริงหรือ ? ในคลิปที่แชร์กันบอกว่าในขี้เถ้ามีโพแทสเซียมช่วยให้ผลไม้หวานนั้น “ไม่จริง” “โพแทสเซียม” ไม่ใช่สารให้ความหวาน แถมมีรสชาติแปร่ง ๆ กร่อย ๆ ด้วยซ้ำ ในขี้เถ้าพบโพแทสเซียมประมาณ 1-5 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นกับชนิดของเนื้อไม้ที่นำมาเผาถ่านด้วย วิธีที่แนะนำอาจทำให้องค์ประกอบภายในของผลไม้ส่วนที่สัมผัสกับขี้เถ้าเปลี่ยนไปได้ ใน “ขี้เถ้า” มีส่วนที่หลงเหลือจากการเผาคือแร่ธาตุต่าง ๆ เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม ซิลิกา อาจจะอยู่ในรูปของเกลือ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : รู้จักอาการชาปลายประสาท

🎯 ตรวจสอบกับ พล.ต. รศ.นพ.สามารถ นิธินันทน์ อายุรแพทย์ สาขาประสาทวิทยา กรรมการสมาคมโรคหลอดเลือดสมองไทย โรคของปลายประสาท คือปลายจริง ๆ ปลายมือ ก็เรียกปลายประสาท ปลายเท้า ก็เรียกปลายประสาท บางคนมาบ่นว่า “ชา” เหมือนสวมถุงมือเลย บางคนมาบอกว่า “ชา” เหมือนสวมถุงเท้า เส้นประสาทของคนเรา เริ่มจากตรงกลางไขสันหลัง ออกไปที่ปลายมือ ปลายเท้า คนที่ปลายประสาทเสื่อม มักเริ่มจากปลายมือและปลายเท้าก่อน ร่างกายกับกลไกที่ทำให้เกิดอาการชา หลังจากกินอาหารเข้าไป ระบบย่อยที่กระเพาะอาหารทำงาน กระบวนการดูดซึมแร่ธาตุและสารอาหารไปเลี้ยงตามอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา จนสุดปลายทาง การไหลเวียนของเลือดและเส้นประสาทดี ร่างกายก็ปกติไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้ปรากฏ บางคนไม่เป็นเช่นนั้น ถ้ามีการถูกรบกวนด้วยโรคบางอย่างทำให้การเคลื่อนไหว หรือการเคลื่อนที่ของกระแสประสาทไม่ดีก็เกิดอาการชาได้ สำหรับปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการชา เกี่ยวกับเลือดและการไหลเวียนของกระแสประสาท เนื่องจากเส้นประสาทของคนเรามีอาหารไปเลี้ยง การนำอาหารจากต้นทางคือตัวไขสันหลัง และตัวรากประสาทที่ไขสันหลังไปสู่ปลายทาง ถ้าไหลเวียนได้ดี อาการชาก็ไม่เกิด แต่ถ้ามีการกดทับ การส่งอาหารจากต้นทางไปสู่ปลายทางไม่ดี ส่งผลต่อกระแสประสาท ทำให้เกิดอาการชาได้เหมือนกัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : 11 ประโยชน์ ของ โอเมก้า 9 จริงหรือ ?

🎯 ตรวจสอบกับ ผศ. ภกญ. ดร.รสริน ตันสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประโยชน์ 11 ข้อ เกี่ยวกับกรดไขมันโอเมก้า 9 ที่มีการแชร์กันบนสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า จริงบางส่วน ส่วนมากยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน ข้อ 1. โอเมก้า 9 ช่วยลดการสะสมของคอเลสเตอรอล มีหลักฐานว่าช่วยลดไขมันเลว (Low density lipoprotein : LDL) และไขมันรวม (Total Cholesterol) ซึ่งเป็นไขมันชนิดไม่ดีและเพิ่มไขมันดี (High density Lipoprotein : HDL) ได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ได้แนะนำให้กินกรดไขมันโอเมก้า 9 แทนการออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายมีหลักฐานที่ชัดเจนว่าทำให้เพิ่มไขมันชนิดดี หรือ HDL ได้ ข้อ 2. โอเมก้า 9 ช่วยกระบวนการเผาผลาญ ลดไขมันชนิดเลว การเผาผลาญในร่างกายไม่ได้เกิดจากไขมันที่กินเข้าไปอย่างเดียว แต่เกิดจากการกินอย่างสมดุลมากกว่า  […]

ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : กรดไขมัน “โอเมก้า 3”

🎯 ตรวจสอบกับ ผศ. ภกญ. ดร.รสริน ตันสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาอาหารและเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย มีทั้ง “โอเมก้า 3” และ “โอเมก้า 6” กรดไขมันโอเมก้า 3 คือกรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก (Alpha Linolenic Acid : ALA) เวลากินเข้าไปเกิดกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย ทำให้ตัวสายของกรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิกยาวขึ้น และมีพันธะคู่ที่มากขึ้น จากนั้นจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปของกรดไขมันอีพีเอ (Eicosapentaenoic Acid : EPA) และกรดไขมันดีเอชเอ (Docosahexaenoic Acid : DHA) ซึ่ง EPA กับ DHA จะเป็นประโยชน์ต่อระบบประสาทและสมอง เรียกว่า กรดไขมัน “โอเมก้า 3” การที่จะบอกว่ากรดไขมันตัวไหนเป็นโอเมก้า 3 ต้องดูจากสูตรโครงสร้าง ซึ่งสูตรโครงสร้างของกรดไขมันประกอบด้วยปลายทั้ง 2 ข้าง คือ เมทิล และคาร์บอกซีลิก […]

1 12 13 14 15 16 17