15 กุมภาพันธ์ 2565
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (สหรัฐอเมริกา)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: พิสูจน์ไม่ได้
บทสรุป:
- พบหนูทดลองที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข้าเส้นเลือดป่วยเป็นโรคหัวใจอักเสบ-ลิ่มเลือดอุดตัน
- ผู้วิจัยแนะนำให้ทดสอบการฉีดยาก่อนให้วัคซีน (Aspiration) แม้หลายประเทศไม่แนะนำวิธีนี้
- ไม่มีหลักฐานว่าอาการที่เกิดกับหนูทดลองจะเกิดขึ้นกับมนุษย์
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีข้อกล่าวอ้างผ่านคลิปวิดีโอทาง Youtube ในสหรัฐอเมริกา โดยชี้ว่าการฉีดวัคซีนโควิด 19 ผิดวิธี จนวัคซีนซึ่งควรฉีดเข้ากล้ามเนื้อกลับเข้าไปในเส้นเลือดดำโดยไม่ตั้งใจ คือสาเหตุการเกิดลิ่มเลือดอุดตันและอาการหัวใจอักเสบ
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
ข้ออ้างดังกล่าวนำมาจากผลวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Clinical Infectious Diseases ของมหาวิทยาลัย Oxford University โดยพบว่าหนูทดลองที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA (Pfizer และ Moderna) เข้าทางเส้นเลือดดำแทนการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ มีอาการป่วยเป็นโรคหัวใจอักเสบ
นอกจากนี้ งานวิจัยฉบับก่อนการตีพิมพ์ที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ bioRxiv โดยทีมวิจัยจากประเทศเยอรมนี พบว่าการฉีดวัคซีนชนิดอะดีโนไวรัส เวกเตอร์ (AstraZeneca และ Johnson & Johnson) เข้าทางเส้นเลือดดำแทนการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ทำให้เกิดอาการเกร็ดเลือดต่ำและลิ่มเลือดอุดตันเช่นกัน
งานวิจัยทั้งสองได้ตั้งข้อสันนิฐานว่า หากการฉีดวัคซีนผิดวิธีกระตุ้นให้เกิดอาการไม่พึ่งประสงค์ ความเสี่ยงเหล่านั้นอาจลดลงได้ หากบุคลากรทางการแพทย์ทดสอบการฉีดยาก่อนให้วัคซีน (Aspiration) เพื่อให้มั่นใจว่าเข็มฉีดยาไม่สัมผัสโดนเส้นเลือดดำโดยไม่ตั้งใจ โดยก่อนฉีดวัคซีนให้คนไข้ควรดึงกระบอกลูกสูบกลับคืน เพื่อทดสอบว่าไม่มีเลือดถูกสูบกลับเข้ามายังกระบอกฉีด เพื่อยืนยันว่าปลายเข็มฉีดยาไม่สัมผัสโดนเส้นเลือดดำ
เฮเลน เพทูซิส แฮริส นักวัคซีนวิทยาและรองศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย University of Auckland ประเทศนิวซีแลนด์ อธิบายว่าการทำ Aspiration เป็นวิธีการเพื่อใช้ป้องกันการฉีดวัคซีนเข้าเส้นเลือดดำโดยไม่ตั้งใจ แต่การทดสอบที่ผ่านมาแทบไม่พบว่ามีเลือดถูกสูบกลับมายังกระบอกฉีด บุคลาการทางการแพทย์จำนวนมากจึงเลิกใช้วิธีนี้ไปในที่สุด
สอดคล้องกับหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ที่ไม่แนะนำการ Aspiration ก่อนฉีดวัคซีน ส่วนองค์การอนามัยทวีปอเมริกา (PAHO) ได้อธิบายถึงสาเหตุที่ไม่แนะนำให้ทำ Aspiration ระหว่างฉีดวัคซีนด้วยเหตุผลต่างๆ อาทิ เพิ่มความเจ็บปวดของผู้รับวัคซีน, เป็นการสูญเสียวัคซีน รวมถึงข้อเท็จจริงที่ว่าบริเวณกล้ามเนื้อที่ใช้ฉีดวัคซีนไม่ใช่จุดที่มีหลอดเลือดใหญ่ที่ทำให้เสี่ยงต่อการฉีดเข้าเส้นเลือด
เลโอ นิโคไล นักหทัยวิทยาจากมหาวิทยาลัย Ludwig Maximilian University of Munich หัวหน้าทีมวิจัยเรื่องลิ่มเลือดอุดตันจากการฉีดวัคซีนอะดีโนไวรัส เวกเตอร์เข้าเส้นเลือดดำ ยอมรับว่าผลการวิจัยซึ่งทดสอบกับหนูทดลอง ยังไม่อาจยืนยันได้ว่าอาการดังกล่าวจะเกิดขึ้นกับมนุษย์
เฮเลน เพทูซิส แฮริส ตั้งข้อสังเกตว่าอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังจากฉีดวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA ส่วนใหญ่จะพบในกลุ่มผู้ชายอายุน้อย จึงยังไม่ชัดเจนว่าการฉีดวัคซีนเข้าเส้นเลือดโดยไม่ตั้งใจมีผลต่ออาการข้างเคียงจากวัคซีนมากน้อยแค่ไหน
อย่างไรก็ดี ยังมีหลายประเทศรวมถึงประเทศเดนมาร์กที่แนะนำให้บุคลากรทางการแพทย์ทำ Aspiration ก่อนการฉีดวัคซีนโควิด 19
เฮเลน เพทูซิส แฮริสและเลโอ นิโคไล ให้ข้อเสนอแนะว่า ในอนาคตควรมีการเก็บข้อมูลเปรียบเทียบระหว่างประเทศที่แนะนำให้ใช้การ Aspiration ก่อนฉีดวัคซีนโควิด 19 และประเทศที่ไม่ใช้วิธี Aspiration เพื่อสำรวจว่าวิธีไหนลดการเกิดผลข้างเคียงจากวัคซีนโควิด 19 มากกว่ากัน เพื่อนำไปสู่การกำหนดแนวทางการฉีดวัคซีนในอนาคต
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter