ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน HPV ถูกฟ้อง-ห้ามฉีดในญี่ปุ่น จริงหรือ?

13 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน HPV เผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าบริษัท Merck ผู้ผลิตวัคซีน HPV ยี่ห้อ Gardasil กำลังถูกดำเนินคดีในข้อหาแอบอ้างประสิทธิผลของวัคซีน HPV ขณะที่หลายประเทศ รวมถึงประเทศญี่ปุ่นได้สั่งห้ามการฉีดวัคซีน HPV ในเด็กผู้หญิงเรียบร้อยแล้ว บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบพบว่า แม้ Merck จะถูกกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากวัคซีน Gardasil ยื่นฟ้องเพื่อเรียกร้องการเยียวยาผลกระทบจากวัคซีน แต่เป็นการดำเนินคดีทางแพ่ง ไม่ใช่การดำเนินคดีในข้อหาฉ้อโกงตามที่กล่าวอ้าง โฆษกของบริษัท Merck และตัวแทนบริษัทกฎหมายของฝ่ายโจทย์ที่ยื่นฟ้องบริษัท Merck ยืนยันว่า การฟ้องร้องยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น และยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะเข้าสู่ขั้นตอนของการไต่ส่วนดำเนินคดี ส่วนข้ออ้างเรื่องประเทศญี่ปุ่นสั่งห้ามการฉีดวัคซีน HPV ในประเทศ ก็เป็นข้อมูลเท็จที่เกิดจากการนำข้อมูลเก่ามาสร้างความเข้าใจผิด ญี่ปุ่นเคยไม่แนะนำวัคซีน HPV แต่ไม่ได้ห้ามฉีด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน HPV ก่ออาการข้างเคียงหลายชนิด จริงหรือ?

07 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน HPV เผยแพร่ทางเว็บไซต์ในสหรัฐอเมริกา โดยองค์กร Children’s Health Defense เผยแพร่รายงานโจมตีแผนรณรงค์ฉีดวัคซีน HPV ในหลายประเทศทั่วโลกว่า จะนำไปสู่ความสูญเสียครั้งใหญ่ สาเหตุเป็นเพราะวัคซีน HPV นำไปสู่อาการข้างเคียงเกี่ยวกับโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองและโรคระบบประสาทหลายชนิดทั้ง อาการล้าเรื้อรัง อาการปวดทั่วร่างกายเรื้อรัง การเกิดอาการหัวใจเต้นเร็วระหว่างเปลี่ยนท่า และ อาการปวดกล้ามเนื้อเหตุสมองและไขสันหลังอักเสบ บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบโดย Fact Checker ในต่างประเทศพบว่า Children’s Health Defense คือองค์กรต่อต้านวัคซีนที่ก่อตั้งโดย โรเบิร์ต เอฟ. เคนเนดี จูเนียร์ อดีตนักการเมืองพรรคเดโมแครต ที่ผันตัวมาลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในฐานะผู้สมัครอิสระเมื่อปี 2024 ก่อนจะหันมาให้การสนับสนุน โดนัลด์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน HPV เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก จริงหรือ?

06 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน HPV เผยแพร่ทาง Instagram ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างรายงานจากการประชุมขององค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ที่พบว่าการฉีดวัคซีน HPV เพิ่มความเสี่ยงการป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก ในกลุ่มคนที่มีเชื้อไวรัส HPV ผ่านทางเพศสัมพันธ์มาแล้ว บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : จากการตรวจสอบโดย Fact Checker ในต่างประเทศพบว่า บุคคลที่อยู่ในคลิปวิดีโอคือ ปีแอร์ คอรี แพทย์ผู้ก่อตั้ง Front Line COVID-19 Critical Care Alliance องค์กรต่อต้านการรณรงค์ฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยปัจจุบัน ปีแอร์ คอรี ถูกองค์กรแพทยสภา American Board of Internal Medicine […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สตรีมีครรภ์ฉีดวัคซีน Tdap เสี่ยงแพร่เชื้อไอกรนสู่ทารก จริงหรือ?

02 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน Tdap เผยแพร่ทาง Facebook ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าการฉีดวัคซีน Tdap ให้กับแม่เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ โรคไอกรน และโรคบาดทะยักแก่ทารกในครรภ์ นอกจากจะไม่มีประโยชน์แล้ว ยังเพิ่มความเสี่ยงทำให้ทารกได้รับเชื้อโรคไอกรนจากแม่ที่ฉีดวัคซีน แล้วติดเชื้อแบบไม่มีอาการ บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : อย่างไรก็ดี ตรรกะที่ว่าวัคซีนเป็นอันตราย เพราะทำให้แม่ที่ฉีดวัคซีนติดเชื้อแบบไม่มีอาการ และแพร่เชื้อไปยังทารกโดยไม่รู้ตัว ต่างจากแม่ที่ไม่ฉีดวัคซีน ที่ติดเชื้อแล้วจะแสดงอาการอย่างชัดเจน ทำให้ง่ายต่อการสังเกตและหลีกเลี่ยง เป็นการอ้างที่ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการก่อโรคและการทำงานของวัคซีนอย่างชัดเจน โดยปกติแล้ว การแพร่เชื้อจะเกิดขึ้นในระยะที่เชื้อโรคกำลังฟักตัวช่วง 1-2 สัปดาห์ ไม่ว่าผู้เป็นพาหะของโรคจะฉีดวัคซีนหรือไม่ก็ตาม นอกจากนี้ ผู้ติดเชื้อโรคไอกรนที่ไม่ฉีดวัคซีน สามารถแพร่เชื้อได้มากกว่าผู้ป่วยที่ฉีดวัคซีน ไม่ว่าผู้ป่วยจะแสดงอาการหรือไม่ก็ตาม ความถี่ของโรคไอกรนในทารก ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) พบว่า 1 ใน 3 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนรวม Tdap ไม่ควรฉีดให้สตรีมีครรภ์ จริงหรือ?

01 ธันวาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน Tdap เผยแพร่ทาง Instagram ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าการฉีดวัคซีน Tdap เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ โรคไอกรน และโรคบาดทะยัก ไม่มีความปลอดภัยต่อสตรีมีครรภ์ เนื่องจากบริษัทผู้ลิตวัคซีนยอมรับว่าไม่มีสตรีมีครรภ์อยู่ในกลุ่มตัวอย่างการทดลองวัคซีน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : วัคซีน Tdap คือวัคซีนรวมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคคอตีบ โรคไอกรน และโรคบาดทะยัก สำหรับผู้ที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป รวมถึงสตรีมีครรภ์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันแก่ทารกในช่วง 2 เดือนแรก ซึ่งยังไม่มีภูมิคุ้มกันจากวัคซีน โดยแนะนำให้สตรีมีครรภ์ฉีดวัคซีน Tdap จำนวน 1 โดสในช่วงอายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ ในสหรัฐฯ มีวัคซีน Tdap 2 ชนิดที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ทารกเสี่ยงใหลตายจากวัคซีน DTaP จริงหรือ?

30 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน DTaP เผยแพร่ทาง Instagram และ Facebook ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าการฉีดวัคซีน DTaP เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคคอตีบ โรคไอกรน และโรคบาดทะยัก ให้กับทารกเป็นอันตราย เพราะเพิ่มความเสี่ยงการเสียชีวิตด้วยโรคใหลตาย หลักฐานมาจากข้อมูลในฉลากวัคซีน DTaP ที่ระบุว่าโรคใหลตายในทารก เป็นหนึ่งในอาการไม่พึงประสงค์จากวัคซีน DTaP บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : วัคซีนที่ตกเป็นเป้าโจมตี ได้แก่ INFANRIX วัคซีน DTaP ของบริษัท GSK Biologicals โดยในเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลของวัคซีน INFANRIX ที่รับรองโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ก็มีการระบุ โรคใหลตายในทารก (Sudden Infant Death Syndrome […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน DTaP ไม่จำเป็นต่อทารก ภูมิธรรมชาติปลอดภัยกว่า จริงหรือ?

29 พฤศจิกายน 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีน DTaP เผยแพร่ทาง Instagram ในต่างประเทศ โดยอ้างว่าวัคซีนรวมเพื่อป้องกันโรคคอตีบ โรคไอกรน และโรคบาดทะยัก ไม่ควรนำมาฉีดให้ทารก เพราะไม่มีความจำเป็น โดยอ้างว่าสัดส่วนการเสียชีวิตจากโรคไอกรนลดลงตั้งแต่ก่อนการผลิตวัคซีน DTaP และสัดส่วนการพบเด็กป่วยด้วยโรคคอตีบในปัจจุบันก็น้อยมาก นอกจากนี้ ภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อโดยธรรมชาติมีประสิทธิภาพมากกว่าวัคซีน บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : วัคซีน DTaP ช่วยลดการติดเชื้อโรคไอกรนได้จริง กราฟที่แสดงการเสียชีวิตจากโรคต่าง ๆ ก่อนการผลิตวัคซีนในสหรัฐอเมริกา ทั้ง โรคคอตีบ และ โรคไอกรน เป็นข้อมูลที่อ้างอิงจากเว็บไซต์ healthsentinel.com ซึ่งมีประวัติเผยแพร่เนื้อหาด้านสุขภาพด้วยข้อมูลที่น่าสงสัยในความถูกต้อง นอกจากเป็นข้อมูลที่ไม่น่าเชื่อถือแล้ว การนำยอดการเสียชีวิตที่ลดลงก่อนการผลิตวัคซีน มาด้อยค่าวัคซีน ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะจุดประสงค์หลักของวัคซีน นอกจากลดโอกาสการเสียชีวิตแล้ว ยังลดโอกาสการติดเชื้อและป่วยจากโรคดังกล่าวอีกด้วย เดวิด กอร์สกี […]

U.S. ambassador to Australia Caroline Kennedy

คนในตระกูลเคนเนดี ไม่ปลื้ม RFK Jr.

แคนเบอร์รา 18 พ.ย.- คนในตระกูลเคนเนดีที่มีบทบาททางการเมืองในสหรัฐแสดงความเห็นต่อต้านกรณีนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐเสนอชื่อนายโรเบิร์ต เคนเนดี จูเนียร์ หรือ อาร์เอฟเค จูเนียร์ (RFK Jr.) เป็นรัฐมนตรีสาธารณสุข ทั้งนี้หลังจากที่นายทรัมป์ประกาศเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายนเสนอชื่ออาร์เอฟเค จูเนียร์ ผู้ต่อต้านวัคซีนตัวยงให้เป็นรัฐมนตรีสาธารณสุข ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงความเหมาะสม เพราะเขามีจุดยืนต่อต้านแนวทางการแพทย์หลายด้าน ล่าสุดคนในตระกูลเคนเนดีได้แสดงความเห็นต่อต้านเช่นกัน นางแคโรไลน์ เคนเนดี ทูตสหรัฐประจำออสเตรเลีย ซึ่งมีเป็นศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้อง ได้กล่าวว่า มุมมองของอาร์เอฟเค จูเนียร์เป็นอันตรายอย่างยิ่ง เขาเชื่อและเผยแพร่ข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับวัคซีน ซึ่งขัดแย้งกับความจริงและความเห็นของชาวอเมริกันส่วนใหญ่ เรื่องนี้เธอและครอบครัวทราบดีมาตั้งแต่เด็ก.-812(814).-สำนักข่าวไทย

Robert F Kenedy Jr. talks

“ทรัมป์” เลือกคนต่อต้านวัคซีนเป็น รมว.สาธารณสุข 

วอชิงตัน 15 พ.ย.- นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐสร้างเสียงฮือฮาอีกครั้ง จากการเสนอให้นายโรเบิร์ต เอฟ เคนเนดี จูเนียร์ เป็นรัฐมนตรีสาธารณสุข ทั้งที่เป็นผู้ต่อต้านวัคซีนและข้อมูลการแพทย์  นายโรเบิร์ต เอฟ เคนเนดี จูเนียร์หรืออาร์เอฟเค จูเนียร์ (RFK Jr.) วัย 70 ปี เป็นทายาทตระกูลดังทางการเมืองของสหรัฐ โดยเป็นหลานของนายจอห์น เอฟ เคนเนดีหรือเจเอฟเค (JFK) ประธานาธิบดีที่ถูกลอบสังหารในปี 2506 เขาได้ลงสมัครชิงทำเนียบขาวในปีนี้ด้วยโดยไม่สังกัดพรรค แต่ต่อมาถอนตัวในวันที่ 23 สิงหาคม และหันไปสนับสนุนนายโดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อแลกกับตำแหน่งในรัฐบาล และเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายนตามเวลาสหรัฐ นายทรัมป์ได้ประกาศเสนอให้อาร์เอฟเค จูเนียร์เป็นรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นกระทรวงที่มีงบประมาณสูงถึง 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 105 ล้านล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 22.8 ของงบประมาณปี 2567 ทั้งหมด อีกทั้งยังกำกับดูแลหน่วยงานสำคัญ เช่น สำนักงานอาหารและยาหรือเอฟดีเอ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด-19 ทำให้แพ้เนื้อสัตว์ จริงหรือ?

17 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 เผยแพร่โดยนักทฤษฎีสมคบคิดในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่าสาเหตุที่ประชากรโลกมีอาการแพ้อาหารเพิ่มขึ้น มาจากส่วนประกอบโปรตีนในวัคซีนโควิด-19 ที่ชื่อว่า Alpha-Gal ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้ผู้ได้รับวัคซีนเกิดอาการแพ้เนื้อสัตว์ และเป็นส่วนหนึ่งของแผนการให้ประชากรโลกลดการกินเนื้อสัตว์เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : Alpha-Gal Syndrome โรคแพ้เนื้อแดงจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม Alpha-Gal Syndrome คืออาการแพ้ที่เกิดจาการบริโภคเนื้อแดงจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 2002 ระดับความรุนแรงของอาการมีตั้งแต่ ผิวหนังเป็นผื่น คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก ความดันต่ำ เวียนศีรษะ ท้องร่วง ปอดท้องรุนแรง สาเหตุหลักเชื่อว่ามาจากการถูกกัดโดยแมลงดูดกินเลือด เช่น หมัด เมื่อตัวแมลงเหล่านี้ไปดูดเลือดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งมี Alpha-Gal (Galactose-α-1,3-galactose) โมเลกุลน้ำตาลคาร์โบไฮเดรตอยู่ในร่างกาย แมลงเหล่านี้จะกลายเป็นพาหะนำ Alpha-Gal มาสู่คน เมื่อถูกแมลงกัด […]

Jynneos mpox vaccine

อนามัยโลกให้ใช้วัคซีนเอ็มพ็อกซ์กับวัยรุ่นได้

เจนีวา 14 ต.ค.- องค์การอนามัยโลกอนุมัติให้ใช้วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษวานรหรือเอ็มพ็อกซ์ของบริษัทบาวาเรียนนอร์ดิกกับวัยรุ่นแล้ว หลังจากที่อนุมัติให้ใช้กับผู้ใหญ่ไปเมื่อเดือนกันยายน องค์การอนามัยโลกแถลงในวันนี้ว่า ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนจีนนีโอส (Jynneos) ของบาวาเรียนนอร์ดิกที่เป็นบริษัทผู้ผลิตวัคซีนของเดนมาร์กกับวัยรุ่นอายุ 12-17 ปี เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม หลังจากสหภาพยุโรปอนุมัติให้ใช้กับวัยรุ่นเมื่อเดือนกันยายน ขณะที่สหรัฐให้ใช้กับผู้ใหญ่อายุ 18 ปีขึ้นไปเท่านั้น รอยเตอร์ระบุว่า เด็ก วัยรุ่น และผู้มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางเป็นพิเศษต่อการแพร่ระบาดของโรคเอ็มพ็อกซ์ที่สร้างความวิตกไปทั่วโลก เป็นการติดเชื้อไวรัสมีทำให้ผู้ติดเชื้อมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ และเป็นผื่นที่มีตุ่มน้ำอยู่ข้างใน องค์การอนามัยโลกประกาศให้เอ็มพ็อกซ์เป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขโลกเมื่อเดือนสิงหาคม นับเป็นครั้งที่ 2 ในรอบ 2 ปี หลังจากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้แพร่จากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกไปยังประเทศเพื่อนบ้านในทวีปแอฟริกา และได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนจีนนีโอสกับผู้ใหญ่เป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน ขณะเดียวกันบาวาเรียนนอร์ดิกกำลังเตรียมการทดลองเชิงคลินิกเพื่อประเมินความปลอดภัยของการใช้วัคซีนกับเด็กอายุ 2-12 ขวบ คาดว่าจะเริ่มได้ในเดือนนี้.-814.-สำนักข่าวไทย

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน RSV ทำให้ป่วยโรคระบบประสาท GBS จริงหรือ?

12 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : เกิดความกังวลต่อการฉีดวัคซีนไวรัส RSV ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุในสหรัฐอเมริกา เมื่อพบผู้ฉีดวัคซีนป่วยเป็นโรคระบบประสาทส่วนปลาย Guillain-Barré Syndrome (GBS) สูงกว่าที่คาด โดยเฉพาะจากผู้รับวัคซีน Abrysvo ของบริษัท Pfizer ที่พบสัดส่วนผู้ป่วยโรค GBS สูงกว่าวัคซีนไวรัส RSV ยี่ห้ออื่น ๆ บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : Guillain-Barré Syndrome (GBS) คือโรคที่เซลล์เนื้อเยื่อประสาทส่วนปลายถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันตนเอง สาเหตุทั้งจากการติดเชื้อโรคหรือการฉีดวัคซีน ส่งผลให้เกิดอาการชาที่ปลายมือและเท้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง จนถึงการเป็นอัมพาต แม้ส่วนใหญ่จะสามารถรักษาให้หายเป็นปกติ แต่มีผู้ป่วยบางรายที่ถูกทำลายระบบประสาทไปอย่างถาวร GBS เป็นโรคที่พบได้ยาก แต่พบได้บ่อยกว่าในผู้ป่วยสูงอายุและเพศชาย ความชุกของโรคอยู่ที่ 1-2 รายต่อประชากร 100,000 รายต่อปี โดยผู้ที่อายุต่ำกว่า […]

1 2 3 142
...