ชัวร์ก่อนแชร์: ไวรัส RSV ติดแค่เด็กและไม่เป็นอันตราย จริงหรือ?

07 ตุลาคม 2567แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับไวรัส RSV เผยแพร่ทาง Instagram ในสหรัฐอเมริกา ที่อ้างว่าการฉีดวัคซีนไวรัส RSV เป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่ไม่จำเป็น เนื่องจากการติดเชื้อไวรัส RSV ไม่ต่างจากไข้หวัดทั่วไปและรักษาอย่างง่ายดายด้วยการใช้เครื่องพ่นละอองยา รวมถึงความเชื่อที่ว่ามีแต่เด็กเท่านั้นที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัส RSV บทสรุป : FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เป็นไวรัสชนิด RNA พบการติดเชื้อได้บ่อยในช่วงฤดูหนาวและฤดูฝน โดยทั่วไปผู้ติดเชื้อไวรัส RSV จะมีอาการไม่ต่างจากการเป็นไข้หวัด เช่น ไอ จาม มีน้ำมูก และเป็นไข้ อาการจะทุเลาใน 1-2 สัปดาห์ แต่ในกรณีที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น ปอดและหลอดลม อาจนำไปสู่อาการปอดอักเสบหรือโรคหลอดลมฝอยอักเสบได้ […]

Bavarian Nordic's vaccine against mpox

ดีอาร์คองโกเริ่มฉีดวัคซีนเอ็มพ็อกซ์

กินชาซา 5 ต.ค.- สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกหรือดีอาร์คองโก เริ่มโครงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษวานรหรือเอ็มพ็อกซ์ในวันนี้ ขณะที่ยอดผู้ติดเชื้อตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้สูงเกือบ 31,000 คนแล้ว รัฐมนตรีสาธารณสุขของดีอาร์คองโกเผยเมื่อวันศุกร์ตามเวลาท้องถิ่นว่า โครงการฉีดวัคซีนจะเริ่มที่เมืองโกมา จังหวัดนอร์ทคีวู ทางตะวันออกของประเทศเป็นจุดแรก โดยเน้นที่ประชากรวัยผู้ใหญ่ก่อน จากนั้นจะขยายลงไปยังจังหวัดเซาท์คีวู ซึ่งเป็นจุดที่พบการระบาดรุนแรงที่สุด รัฐมนตรีสาธารณสุขระบุว่า มีความท้าทายในการเข้าถึงพื้นที่ที่ยังเกิดความไม่สงบ และตามค่ายผู้พลัดถิ่นจากการสู้รบ พร้อมกับยอมรับว่า โครงการฉีดวัคซีนมีความล่าช้าเล็กน้อย เนื่องจากต้องฝึกฝนบุคลากร วางแผนเตรียมการ และพยายามเข้าถึงชุมชนต่าง ๆ ดีอาร์คองโกเผชิญกับการระบาดของเอ็มพ็อกซ์อย่างรุนแรง  มียอดผู้ติดเชื้อเกือบ 31,000 คน และ มีผู้เสียชีวิตแล้ว 988 คน ตั้งแต่ต้นปี องค์กรบรรเทาทุกข์เตือนว่า การที่ประชาชนต้องกลายเป็นคนพลัดถิ่นและอาศัยกันอย่างแออัดตามค่ายที่ไม่มีสุขอนามัย เป็นสาเหตุที่ทำให้เอ็มพ็อกซ์แพร่ระบาดมากยิ่งขึ้น การฉีดวัคซีนจึงจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันชุมชนเปราะบางเหล่านี้.-820(814).-สำนักข่าวไทย

Bavarian Nordic's smallpox and mpox vaccine

อนามัยโลกอนุมัติใช้วัคซีนเอ็มพ็อกซ์ระดับโลกเป็นขนานแรก

องค์การอนามัยโลกอนุมัติให้วัคซีนเอ็มวีเอ-บีเอ็น (MVA-BN) เป็นวัคซีนป้องกันโรคเอ็มพ็อกซ์ หรือฝีดาษวานร ขนานแรกที่ได้รับการบรรจุไว้ในรายชื่อวัคซีนที่ผ่านการรับรองในระดับมาตรฐานสากล

คองโกจะได้รับวัคซีนฝีดาษวานรในวันนี้

องค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก หรือ ดีอาร์ คองโก น่าจะได้รับวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษวานร หรือ เอ็มพอกซ์ ล็อตแรกในวันนี้ ขณะที่มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้แล้วกว่า 1 พันคน

คองโกคาดจะได้วัคซีนเอ็มพ็อกซ์ชุดแรกพรุ่งนี้

หัวหน้าคณะทำงานรับมือโรคเอ็มพ็อกซ์ หรือฝีดาษวานรระบาด ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก หรือดีอาร์คองโก คาดว่าจะได้รับวัคซีนป้องกันเอ็มพ็อกซ์ชุดแรกในวันพฤหัสบดี และชุดที่ 2 ในวันเสาร์

เริ่มให้วัคซีนโปลิโอในกาซา

ทีมงานขององค์การอนามัยโลก หรือดับเบิลยูเอชโอ (WHO) ตรวจสอบความพร้อมของวัคซีนโปลิโอที่เป็นชนิดใช้หยอดทางปาก ก่อนเริ่มให้วัคซีนกับเด็กๆ ในฉนวนกาซาในวันนี้

เปิดเคสเด็กในบุรุนดีรอดชีวิตจากเอ็มพ็อกซ์

กีเตกา 30 ส.ค.- เด็กหญิงวัย 12 ปีในบุรุนดี ยังมีแผลเป็นจาง ๆ ที่เกิดจากติดโรคเอ็มพ็อกซ์ หรือฝีดาษวานร ที่กำลังแพร่ระบาดหนักในทวีปแอฟริกา เด็กหญิงรายนี้เป็น 1 ในผู้โชคดีไม่กี่คนที่รอดชีวิตจากโรคเอ็มพ็อกซ์ เธอเล่าว่า เริ่มจากมีอาการหนาว จากนั้นปวดศีรษะมาก แม้แต่ยาก็ไม่ช่วยบรรเทาอาการปวด นอกจากนี้ยังเจ็บคอมากจนไม่สามารถรับประทานอาหารได้ ด้านบิดาเผยว่า ได้แต่ดูลูกสาววัย 12 ปี และลูกชายวัย 6 ขวบติดโรคนี้ทั้ง 2 คน และรู้สึกกลัว เพราะเห็นข่าวผู้ป่วยในสื่อสังคมออนไลน์ จึงตัดสินใจพาลูกไปโรงพยาบาล แพทย์แนะนำให้ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ จึงนำถังใส่น้ำและสบู่มาตั้งไว้หน้าบ้าน เพื่อให้ผู้มาเยี่ยมเยียนแต่ละคนได้ล้างมือก่อนเข้ามา รอยเตอร์ระบุว่า กรณีที่เกิดขึ้นกับเด็กทั้ง 2 รายในบุรุนดี สะท้อนถึงวิกฤตโรคเอ็มพ็อกซ์ในทวีปแอฟริกาที่พบการระบาดครั้งแรกตั้งแต่ปี 2513 แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก หรือดีอาร์ซี (DRC) ที่เกิดโรคเอ็มพ็อกซ์สายพันธุ์ใหม่ที่มีความรุนแรงขึ้น เพราะนับตั้งแต่เดือนมกราคมปีนี้ พบผู้ป่วยเข้าข่ายแล้วมากกว่า 27,000 คน และเสียชีวิต 1,100 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็ก ขณะที่บุรุนดีพบมากเป็นอันดับ 2 […]

ฮามาส-อิสราเอลตกลงหยุดยิงเพื่อให้วัคซีนในกาซา

สหประชาชาติ 30 ส.ค.- องค์การอนามัยโลกเผยว่า กองทัพอิสราเอลและฮามาสที่เป็นกลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์ตกลงหยุดยิงในกาซาใน 3 พื้นที่ ๆ ละ 3 วัน เพื่อเปิดทางให้แก่การให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอรอบแรกแก่เด็กจำนวน 640,000 คน นายริก ปีเปอร์กอร์น เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านดินแดนปาเลสไตน์ขององค์การอนามัยโลกเผยว่า โครงการให้วัคซีนจะเริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์นี้ในช่วงที่มีการหยุดยิงระหว่างเวลา 06.00-15.00 น.โดยจะเริ่มในพื้นที่ตอนกลางของกาซาก่อนเป็นแห่งแรกในช่วงที่มีการหยุดยิงเป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน จากนั้นจะย้ายไปยังพื้นที่ตอนใต้ของกาซาในช่วงที่หยุดยิงอีก 3 วัน และปิดท้ายที่พื้นที่ตอนเหนือของกาซาในช่วงหยุดยิงอีก 3 วัน ทั้ง 2 ฝ่ายพร้อมจะขยายเวลาหยุดยิงในแต่ละพื้นที่เป็น 4 วันหากมีความจำเป็น พร้อมกับย้ำว่า จำเป็นต้องมีการให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอรอบ 2 ในอีก 4 สัปดาห์หลังจากรอบแรก นายไมค์ ไรอัน ผู้อำนวยการเหตุฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลกกล่าวว่า การให้วัคซีนแต่ละรอบจะต้องครอบคลุมเด็กไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 จึงจะสามารถหยุดยั้งโรคโปลิโอระบาด และป้องกันไม่ให้ระบาดไปในต่างประเทศ องค์การอนามัยโลกแจ้งยืนยันเมื่อวันที่ 23 สิงหาคมว่า พบทารกติดเชื้อไวรัสโปลิโอชนิดที่ 2 ในกาซาเป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปี.-814.-สำนักข่าวไทย

อินโดนีเซียพบผู้ป่วยเอ็มพ็อกซ์รวม 88 รายแล้ว

อินโดนีเซียพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง หรือเอ็มพ็อกซ์ (mpox) รวม 88 รายแล้ว นับตั้งแต่ตรวจพบผู้ป่วยโรคนี้ครั้งแรก และหากนับเฉพาะในปีนี้ มีการตรวจพบแล้ว 14 ราย

ยูเอ็นวิตกหลังเด็กในกาซาเป็นโปลิโอเพราะขาดวัคซีน

สหประชาชาติ 18 ส.ค. – สหประชาชาติ หรือยูเอ็น แสดงความกังวล หลังจากมีรายงานพบเด็กในกาซาป่วยเป็นโปลิโอรายแรก เพราะไม่ได้รับวัคซีน พร้อมกับเรียกร้องให้ทุกฝ่ายเปิดทางให้แก่การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม นายอันโตนีโอ กูแตร์เรส เลขาธิการยูเอ็น เรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่มีความขัดแย้งในกาซา ให้การรับรองอย่างเป็นรูปธรรมว่าจะมีการหยุดยิงเพื่อให้มีการลำเลียงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ซึ่งจะช่วยให้โครงการให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอในกาซาสามารถดำเนินการต่อได้ นายกูแตร์เรสย้ำว่า จำเป็นต้องมีการให้วัคซีนในกาซาให้ได้อย่างน้อยละ 95 ของการให้วัคซีนแต่ละครั้ง รวมทั้งหมด 2 ครั้ง จึงจะสามารถป้องกันโปลิโอระบาด และลดอัตราเด็กเป็นโปลิโอในกาซาได้ เลขาธิการยูเอ็นแสดงความกังวลดังกล่าว หลังจากกระทรวงสาธารณสุขปาเลสไตน์แถลงเมื่อวันเสาร์ว่า พบเด็กเป็นโปลิโอรายแรกในกาซา เป็นทารกวัย 10 เดือน ในเมืองแดร์ อัลบาลาห์ ทางตอนกลางของฉนวนกาซา ที่ไม่ได้รับวัคซีน เรื่องนี้ทำให้มารดาหลายคนในเมืองนี้วิตกกังวลมากยิ่งขึ้น เพราะเด็กหลายคนป่วยเป็นโรคอื่นอยู่แล้ว เช่น โรคผิวหนัง โรคลำไส้ติดเชื้อ ในขณะที่กาซากำลังตกอยู่ในภาวะขาดแคลนอาหารและเวชภัณฑ์อย่างร้ายแรง นับตั้งแต่สงครามเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2566.-814.-สำนักข่าวไทย

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนคือแผนลดประชากรโลกของ WHO จริงหรือ?

อ้างถึงโครงการวัคซีนเพื่อการควบคุมภาวะเจริญพันธุ์ของ WHO เมื่อปี 1974 ที่มีการทดลองใช้วัคซีน anti-HCG ยับยั้งการตั้งครรภ์แบบชั่วคราว ไม่ใช่การทำหมันอย่างถาวร

ชัวร์ก่อนแชร์: บิล เกตส์ วางแผนลดประชากรโลกด้วยวัคซีน จริงหรือ?

บิล เกตส์ เชื่อว่า เมื่อระบบสาธารณสุขมีประสิทธิภาพและการเข้าถึงวัคซีนเป็นไปอย่างทั่วถึง อัตราการเสียชีวิตของทารกย่อมลดลง เมื่อนั้น หลาย ๆ ครอบครัวก็จะเลือกมีลูกน้อยลง ส่งผลให้อัตราการเพิ่มประชากรโลกลดลงอย่างมาก

1 2 3 4 5 142
...