ชัวร์ก่อนแชร์ FACTSHEET : ไหล่ติด

20 เมษายน 2568 ภาวะไหล่ติด หรือที่มีชื่อทางการแพทย์ว่า Adhesive Capsulitis เป็นภาวะที่ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ สร้างความเจ็บปวดและข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยหลายราย แม้ภาวะนี้อาจดูเหมือนเป็นเพียงอาการปวดเมื่อยธรรมดาในระยะแรก แต่หากไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่การจำกัดการเคลื่อนไหวของหัวไหล่อย่างถาวรได้ บทความนี้จะพาไปรู้จักสาเหตุ อาการ การฟื้นตัวตามธรรมชาติ ไปจนถึงบทบาทสำคัญของกายภาพบำบัดในการฟื้นฟู ภาวะไหล่ติดคืออะไร? ผู้เชี่ยวชาญ อธิบายถึงภาวะไหล่ติดคือการอักเสบของเส้นเอ็นและแคปซูลหุ้มข้อบริเวณข้อไหล่ แคปซูลหุ้มข้อนี้โดยปกติจะมีลักษณะยืดหยุ่นและช่วยรองรับการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ แต่เมื่อเกิดการอักเสบขึ้น แคปซูลนี้จะค่อย ๆ หนาตัวขึ้น ตึงตัว และเกิดการหดรั้ง ทำให้พื้นที่ภายในข้อไหล่ลดลง การเคลื่อนไหวของกระดูกต้นแขนที่อยู่ในเบ้าข้อไหล่จึงถูกจำกัดไปด้วย สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง ภาวะไหล่ติดสามารถเกิดขึ้นได้โดยมีสาเหตุที่หลากหลาย บางครั้งอาจเริ่มต้นจากเพียงการเคลื่อนไหวแขนที่ผิดท่าเล็กน้อยหรือการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยที่ผู้ป่วยอาจจำไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้ยังมีความเชื่อมโยงอย่างชัดเจนกับโรคประจำตัวบางชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะไหล่ติดได้สูงกว่าคนทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ยังรวมถึง: กลไกที่โรคเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะไหล่ติดยังไม่เป็นที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ แต่อาจเกี่ยวข้องกับการอักเสบในร่างกายหรือการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน อาการและการดำเนินของโรค ภาวะไหล่ติดมักมีการดำเนินของโรคเป็น 3 ระยะ การวินิจฉัย การวินิจฉัยภาวะไหล่ติดส่วนใหญ่อาศัยการซักประวัติและตรวจร่างกายโดยแพทย์หรือนักกายภาพบำบัด ผู้เชี่ยวชาญจะทดสอบพิสัยการเคลื่อนไหวของหัวไหล่ ทั้งแบบที่ผู้ป่วยขยับเอง (Active ROM) และแบบที่ผู้ตรวจช่วยขยับ (Passive ROM) หากพบว่าทั้งการเคลื่อนไหวแบบ Active และ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : กระเทียมไม่ควรแช่ตู้เย็น จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์แนะนำเกี่ยวกับการเก็บกระเทียมว่า “กระเทียมห้ามแช่ตู้เย็น” นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ไม่ควรเก็บกระเทียมในตู้เย็น เพราะอุณหภูมิและความชื้นในตู้เย็นอาจทำให้กระเทียมสูญเสียประโยชน์ และเกิดสภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดเชื้อราบางชนิดได้ หากปอกเปลือกแล้ว แช่ตู้เย็นได้ แต่ควรใส่ในภาชนะปิดสนิท FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า “กระเทียมห้ามแช่ตู้เย็น” เป็นข้อมูลที่มักมีการส่งต่อและเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ ทั้งในรูปแบบข้อความ อินโฟกราฟิก และคลิป ที่เป็นลักษณะการให้ความรู้เกี่ยวกับการเก็บรักษาผักและผลไม้ ซึ่ง “กระเทียม” เป็นหนึ่งสิ่งที่ได้รับการแนะนำว่า “ไม่ควรแช่ตู้เย็น” หากนำมารับประทานอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้ รวมทั้งยังมีประชาชนสอบถามในประเด็นดังกล่าวเข้ามาที่ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ด้วย ทำไม ? กระเทียมไม่ควรแช่เย็นดร.ปัทนภา ศรีชมเชย นักกำหนดอาหารวิชาชีพ ผู้จัดการศูนย์โภชนาการและกำหนดอาหาร รพ.เทพธารินทร์ ให้ข้อมูลผ่านรายการ 100.5 อาสาเตือนภัยไว้ว่า “กระเทียม” มีความชื้นค่อนข้างสูง จึงไม่ควรเก็บไว้ในตู้เย็นในครัวเรือนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำ เนื่องจากอุณหภูมิในตู้เย็นอาจทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราบางชนิดได้  กระเทียมที่ปอกเปลือกแล้วหากนำไปเก็บในตู้เย็นควรเก็บในภาชนะปิดสนิท เนื่องจากกระเทียมอาจดูดซับความชื้น โดยเฉพาะ เชื้อราแอสเปอร์จิลลัส (Aspergillus flavus และ Aspergillus parasiticus) ที่สามารถเจริญเติบโตได้บนกระเทียมจนส่งผลให้เกิดสารพิษอะฟลาทอกซิน […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : SMS M-Flow ปลอมระบาด ! ระวังโดนหลอก

หนึ่งในกลลวงที่กำลังระบาดและสร้างความเสียหายให้กับประชาชนคือ การแอบอ้างเป็นหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงส่งข้อความ SMS หลอกลวง ล่าสุด พบมีการแอบอ้างเป็น M-Flow ระบบเก็บเงินค่าผ่านทางอัตโนมัติ เพื่อหวังโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวและทรัพย์สินของผู้ใช้งาน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้ตรวจสอบพบว่า รูปแบบของข้อความ SMS ปลอมที่มิจฉาชีพใช้ในการหลอกลวง มักจะมาในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ แล้ว SMS รูปแบบใดบ้างที่เราควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ? ช่องทางการชำระค่าบริการ M-Flow มี 3 ช่องทางหลักเท่านั้น คือ ขอย้ำอีกครั้ง! M-Flow ไม่มีการส่ง Link เพื่อให้ชำระค่าบริการผ่านทาง SMS โดยเด็ดขาด หากท่านได้รับ SMS ที่น่าสงสัย โปรดอย่าหลงเชื่อ และแจ้งไปยังหน่วยงาน M-Flow หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป 17 เมษายน 2568ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทเขียนและเรียบเรียงโดย เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

ชัวร์ก่อนแชร์ : 3 โรค 2 ภัย ที่ทุกวัยต้องระวังช่วงฤดูร้อน

ช่วงนี้ประเทศไทยต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด แดดแรง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรคหลายชนิด โดยเฉพาะเชื้อที่ปนเปื้อนในน้ำและอาหาร ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขอนามัย และนำไปสู่โรคต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง นอกจากนี้ สภาพอากาศที่ร้อนจัดยังอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางอ้อมได้อีกด้วย การตระหนักรู้และป้องกันอย่างถูกวิธีจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการเฝ้าระวัง “3 โรค 2 ภัย” ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อน เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และรักษาคุณภาพชีวิตของตนเองและคนรอบข้างให้ปลอดภัย 3 โรค ต้องระวัง! 1. โรคอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning)โรคอาหารเป็นพิษ นับเป็นหนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูร้อน โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่มีอุณหภูมิสูง ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของเชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัสบางชนิดได้เป็นอย่างดี หากบริโภคอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อเหล่านี้เข้าไป อาจทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร และนำไปสู่ภาวะเจ็บป่วยได้ สาเหตุ : เกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ไวรัสโปรโตซัว หรือสารพิษที่สร้างจากเชื้อแบคทีเรีย ความรุนแรงของโรคอาจทำให้เสียชีวิตได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดและปริมาณของเชื้อก่อโรค อาการมักเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันหลังรับประทานอาหารปนเปื้อน ได้แก่– คลื่นไส้– อาเจียน– ปวดท้อง– อาจถ่ายเหลว จากข้อมูลโรคอาหารเป็นพิษย้อนหลัง 5 ปี (ระหว่างปี พ.ศ. […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ฮีตสโตรก ทำไมต้องอย่าให้หัวร้อน

เมื่ออุณหภูมิพุ่งสูงจนร่างกายปรับตัวไม่ทัน สิ่งที่เราต้องเผชิญอาจไม่ใช่แค่ความไม่สบายตัว แต่คือภัยเงียบที่แฝงตัวอยู่ภายใต้แสงแดดจ้า นั่นคือ “ฮีตสโตรก” ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิภายในได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะในวันที่อากาศร้อนจัดอย่างที่ประเทศไทยกำลังเผชิญในขณะนี้ การรู้เท่าทัน ป้องกัน และรับมืออย่างถูกวิธี จึงอาจเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยรักษาชีวิตของคุณและคนรอบข้างเอาไว้ได้ โรคฮีตสโตรกเกิดตอนไหน?“โรคฮีตสโตรก” (Heatstroke) โรคลมร้อน เกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีอุณหภูมิความร้อนสูงมาก โดยเฉพาะอุณหภูมิที่มากกว่า 40 องศาเซลเซียส จนทำให้ร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ โรคฮีตสโตรก แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ1. โรคฮีตสโตรกทั่วไป (classical or nonexertional heat stroke; NEHS)– พบในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง– เกิดจาก การอยู่ในสภาพอากาศที่มีความร้อนสูง ทำให้กลไกการระบายและควบคุมความร้อนทำงานล้มเหลว ร่างกายไม่สามารถปรับตัวกับความร้อนจึงมีอุณหภูมิแกนของร่างกายสูงขึ้นเกิน 40 องศาเซลเซียส  2. โรคฮีตสโตรกจากการออกกำลังกาย (exertional heat stroke; EHS)– พบในวัยหนุ่มสาว– เกิดจาก การทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายอย่างหนักกลางแจ้งเป็นเวลานานหรือในสภาพอากาศร้อนจัด ทำให้เพิ่มการสร้างความร้อนของร่างกายมากกว่าที่ร่างกายจะสามารถระบายความร้อนได้ทัน จนกระทั่งอุณหภูมิแกนของร่างกายสูงขึ้นเกิน 40 องศาเซลเซียส จากการรวบรวมรายงานการเสียชีวิตที่อาจจะเกี่ยวข้องกับความร้อน จากภาวะอากาศร้อนในปี […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : หมอสั่งสูงวัย “ห้ามล้ม”

13 เมษายน “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ” อย่าลืมใส่ใจสุขภาพผู้สูงอายุ “การหกล้ม” ปัญหาใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม อาจนำไปสู่อาการบาดเจ็บรุนแรง และส่งผลกระทบต่อสุขภาพชีวิตของผู้สูงอายุได้ ผู้สูงอายุหกล้มทุกปีข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุ 60 ปี หกล้มทุกปี ซึ่งการหกล้มเพียงครั้งเดียวนั้น อาจส่งผลให้เกิดอาการบาดเจ็บรุนแรง นำไปสู่ภาวะทุพพลภาพหรือจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่การหกล้ม1. ปัจจัยเสี่ยงด้านร่างกายอันดับที่ 1 โรคประจำตัว เช่น อาการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด จากโรคความดันโลหิต หรือภาวะปลายประสาทเสื่อมจากโรคเบาหวาน เป็นต้นอันดับที่ 2 การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ทำให้ระบบกล้ามเนื้อและการทรงตัว รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายไม่แข็งแรงอันดับที่ 3 ภาวะขาดสารอาหาร เช่น การขาดโปรตีน ธาตุอาหาร วิตามินอันดับที่ 4 การบาดเจ็บของเท้า ที่ส่งผลให้ประสาทสัมผัสการรับรู้บกพร่อง 2. ปัจจัยเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมจากสถิติของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 65 หกล้มภายในบ้าน โดยสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย เช่น– พื้นลื่น/มีสิ่งกีดขวาง มองไม่เห็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง ! 5 มุกมิจฉาชีพอาจ “สาด” ใส่คุณช่วงสงกรานต์

13 เมษายน 2568 เทศกาลสงกรานต์…เทศกาลแห่งความสุข ผู้คนต่างมองหาความสะดวกสบายและโปรโมชันพิเศษต่าง ๆ ทำให้มิจฉาชีพอาจจะฉวยโอกาส “สาด” กลโกงรูปแบบต่าง ๆ ใส่คุณได้ทุกเมื่อ ชัวร์ก่อนแชร์ได้รวบรวม 5 มุกที่มิจฉาชีพอาจนำมาใช้หลอกลวงคุณในช่วงสงกรานต์ เพื่อให้คุณเตรียมตัวรับมือและเล่นน้ำสงกรานต์ได้อย่างสบายใจไร้กังวล ! 1. ที่พักทิพย์ ใครที่กำลังวางแผนเที่ยวช่วงสงกรานต์ต้องระวัง !  “ที่พักราคาดี วิวสวย” ที่โผล่ขึ้นมาตามเพจเฟซบุ๊กหรือเว็บไซต์ที่ไม่คุ้นเคย อาจเป็นเพียงภาพลวงตา มิจฉาชีพมักสร้างบัญชีปลอม หรือเว็บไซต์เลียนแบบโรงแรม รีสอร์ท ที่พักต่าง ๆ พร้อมเสนอราคาที่ดึงดูดใจ เมื่อคุณหลงเชื่อโอนเงินมัดจำไปแล้ว พวกเขาก็จะเชิดเงินหนีหาย ทิ้งให้คุณเคว้งคว้างไร้ที่พักในช่วงวันหยุด วิธีรับมือ: จองที่พักผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่น่าเชื่อถือ มีรีวิวจากผู้ใช้งานจริง อย่าหลงเชื่อข้อเสนอที่ถูกเกินจริงจนน่าสงสัย หากเป็นเพจเฟซบุ๊กแนะนำให้ตรวจสอบที่ความโปร่งใสของเพจ ดูว่าเคยเปลี่ยนชื่อเพจมาหรือไม่ หากพบว่าเคยเปลี่ยนชื่อ หรือมีแอดมินอยู่ต่างประเทศ เสี่ยงเป็นมิจฉาชีพ แนะนำควรโทรศัพท์สอบถามข้อมูลกับทางที่พักก่อนเสมอ 2. ตั๋วทิพย์ อยากกลับบ้านไปรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ หรือเดินทางไปสังสรรค์กับเพื่อนฝูงต่างจังหวัด ต้องระวังการซื้อตั๋วรถไฟ ตั๋วเครื่องบิน หรือตั๋วรถโดยสารราคาถูกจากบุคคลที่ไม่รู้จัก หรือเพจที่ไม่น่าเชื่อถือ มิจฉาชีพอาจสร้างตั๋วปลอมขึ้นมา หรือหลอกให้โอนเงินแล้วไม่ส่งตั๋วให้ ทำให้คุณพลาดการเดินทางในช่วงเวลาสำคัญ วิธีรับมือ: […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : โดนสาดไม่ใช่แค่เปียก สงกรานต์นี้ระวัง 5 โรคแอบแฝง

เข้าสู่เทศกาลสงกรานต์อย่างเป็นทางการ หลายคนออกไปร่วมสนุกกับกิจกรรมสาดน้ำอย่างชุ่มฉ่ำทั่วประเทศ ทั้งคลายร้อนทั้งสร้างรอยยิ้ม แต่ท่ามกลางความสนุกนั้น อย่าลืมใส่ใจเรื่องความปลอดภัย เพราะอาจมีเชื้อโรคแอบแฝงมาโดยไม่รู้ตัว และ ก่อน-ระหว่าง-หลัง เล่นน้ำควรทำอย่างไรให้ปลอดภัยลดความเสี่ยง ควบคู่กับความสนุกเย็นฉ่ำ อย่าลืมว่า “น้ำ” ก็อาจทำหน้าที่เป็นตัว “นำ” พาเชื้อก่อโรคมาสู่ร่างกายเราได้ และหากเล่นน้ำกลางแดดเปรี้ยงก็อาจเสี่ยงป่วยได้!มาทำความรู้จักกับ 5 โรคที่แอบแฝง ที่ควรระวังในช่วงสงกรานต์นี้ เพื่อให้สนุกได้อย่างมั่นใจ และปลอดภัยตลอดเทศกาล 1. โรคตาแดงโรคตาแดง (Red Eye) คือภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณตาขาว ซึ่งมักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะในกลุ่ม อะดีโนไวรัส (Adenovirus) และบางกรณีอาจเกิดจาก เอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) โรคนี้สามารถ แพร่กระจายได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีผู้คนรวมตัวกันหนาแน่น เช่น งานเทศกาล โรงเรียน ซึ่งเทศกาลสงกรานต์ก็มีการรวมตัวกันของผู้คนจำนวนมาก ทำให้อาจติดเชื้อจากการสัมผัสน้ำและอุปกรณ์ปนเปื้อนเชื้อ หรือมีผู้ป่วยตาแดงอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ โรคตาแดง สามารถหายได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์ หากได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี หรือรีบมาพบจักษุแพทย์เพื่อรับการรักษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ 2. ฮีตสโตรกแม้จะเล่นน้ำเปียก ๆ เย็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: กฟภ. แจ้งเตือน! ไลน์ปลอมระบาด หลอกติดตั้งมิเตอร์

เตือนภัย ! ตอนนี้มีไลน์ปลอมแพร่ระบาดแอบอ้างเป็น “ฝ่ายมิเตอร์ไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)” หลอกลวงประชาชน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ยืนยัน บัญชี LINE ชื่อ “ฝ่ายมิเตอร์ไฟฟ้า” เป็นบัญชีปลอม โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เปิดให้บริการติดต่อผ่านไลน์ ไอดี @PEAThailand และของแท้ต้องมีโล่สีเขียวเท่านั้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สามารถติดต่อได้ที่ จากฐานข้อมูลศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า มิจฉาชีพมักแอบอ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทั้ง  หากได้รับข้อความหรือการติดต่อในลักษณะดังกล่าว ควรตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลและทรัพย์สิน 10 เมษายน 2568ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ : King Power ปิดทุกสาขาสิ้นเดือนนี้ จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ คิง เพาเวอร์ประกาศปิดทุกสาขาภายในสิ้นเดือน นั้น  📌 บทสรุป : ❌  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ บริษัท คิงเพาเวอร์ ยังเปิดให้บริการตามปกติ ทุกสาขา ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบกับ บริษัทคิง เพาเวอร์ ยืนยันว่า ไม่จริง ทางบริษัท คิง เพาเวอร์ ยังเปิดให้บริการตามปกติ ทุกสาขา ดังนี้  – คิง เพาเวอร์ รางน้ำ เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 10.00 – 21.00 น. – คิง เพาเวอร์ ศรีวารี เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 11.00 – 20.00 น. – คิง เพาเวอร์ พัทยา เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 11.00 – […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : น้ำลดเยอะ สัญญาณภัยธรรมชาติ จริงหรือ?

ตามที่สื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ภาพและคลิปน้ำในแม่น้ำที่จังหวัดสมุทรปราการลดลงผิดปกติ จนทำให้ประชาชนเกิดความหวั่นใจว่าจะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ นั้น บทสรุป : แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม เหตุการณ์ในคลิปเป็นน้ำขึ้น-น้ำลงตามปรากฏการณ์ธรรมชาติ สาเหตุที่น้ำลดลงต่ำมากเป็นเพราะแรงดึงดูดระหว่างโลกและดวงจันทร์เพิ่มขึ้น ไม่ใช่สัญญาณการเกิดภัยธรรมชาติดังที่มีการตั้งข้อสังเกตในช่องแสดงความคิดเห็น FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ภาพและคลิปที่ส่งต่อในไลน์ดังกล่าว มีการเผยแพร่ผ่านทางเพจเฟซบุ๊กสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2568 และวันที่ 2 เมษายน 2568 โดยต้นโพสต์เป็นการรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบริเวณท่าเรือข้ามฟากปากน้ำ-พระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ที่น้ำในแม่น้ำแห้ง ทำให้การสัญจรทางเรือระหว่างสองฝั่งต้องหยุดให้บริการชั่วคราว ทั้งนี้ ลักษณะข้อความที่โพสต์เป็นการบอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป ไม่ได้ชี้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่น่าตกใจหรือเป็นสัญญาณการเกิดภัยธรรมชาติ  อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้เฟซบุ๊กบางส่วนเกิดกังวลว่าสถานการณ์ดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณเตือนการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น “น้ำแห้งจนน่ากลัว” “แห้งแบบนี้น่ากลัวจัง ทำให้คิดถึงสึนามิ” จึงเป็นเหตุให้มีผู้อ่านเกิดความกังวลและได้สอบถามเข้ามาที่ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ศาสตราจารย์ ดร.สันติ ภัยหลบลี้ อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลผ่านเพจเฟซบุ๊ก มิตรเอิร์ธ – mitrearth ว่า สาเหตุที่น้ำลดลงเป็นจำนวนมากส่วนหนึ่งเป็นเพราะปรากฏการณ์ Perigee ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดวงจันทร์ใกล้โลกมากที่สุด […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ริกเตอร์หรือแมกนิจูด? ไขความต่างของสองคำที่มาพร้อมแรงสั่นสะเทือน

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ใกล้กับเมืองมัณฑะเลย์ ในประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนตระหนักและเริ่มให้ความสนใจกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินไหวมากยิ่งขึ้น โดยคำศัพท์ที่ได้ยินจากการรายงานข่าว ได้แก่ “ริกเตอร์” และ “แมกนิจูด” มักก่อให้เกิดความสับสนว่า แท้จริงแล้วแผ่นดินไหวมีวิธีการวัดขนาดอย่างไร และค่าที่รายงานนั้นหมายถึงอะไรกันแน่ ดร.สุทธิพงษ์ น้อยสกุล อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลผ่านรายการ Mahidol Science Café ถามตอบข้อสงสัยแผ่นดินไหว เอาไว้ว่า แท้จริงแล้วในการวัดค่าแผ่นดินไหวนั้น “ไม่มีหน่วยวัด” แต่ “ริกเตอร์” คือชื่อมาตราวัดขนาดแผ่นดินไหว ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่หลาย ประเทศไทยก็ใช้มาตราริกเตอร์ในการวัดขนาดแผ่นดินไหวด้วยเช่นกัน ริกเตอร์ กรมทรัพยากรธรณีให้ข้อมูลเกี่ยวกับมาตราริกเตอร์ (Richter scale) ไว้ดังนี้ มาตราริกเตอร์ (Richter scale) ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2478 โดย Charles F.Richter […]

1 2 3 206
...