ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด-19 ทำให้แพ้เนื้อสัตว์ จริงหรือ?

17 ตุลาคม 2567
แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถ
ตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล


ข้อมูลที่ถูกแชร์ :

มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 เผยแพร่โดยนักทฤษฎีสมคบคิดในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่าสาเหตุที่ประชากรโลกมีอาการแพ้อาหารเพิ่มขึ้น มาจากส่วนประกอบโปรตีนในวัคซีนโควิด-19 ที่ชื่อว่า Alpha-Gal ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้ผู้ได้รับวัคซีนเกิดอาการแพ้เนื้อสัตว์ และเป็นส่วนหนึ่งของแผนการให้ประชากรโลกลดการกินเนื้อสัตว์เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อม


บทสรุป :

  1. Alpha-Gal Syndrome คือโรคแพ้เนื้อแดงจากการกินเนื้อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งมีโมเลกุลน้ำตาล Alpha-Gal เป็นส่วนประกอบ
  2. วัคซีนโควิด-19 ไม่มีโปรตีนจากสัตว์หรือโมเลกุลน้ำตาล Alpha-Gal เป็นส่วนประกอบ จึงไม่ทำให้เป็นโรคแพ้เนื้อแดงได้
  3. Alpha-Gal Syndrome ระบาดในสหรัฐฯ จากการถูกกัดโดยหมัดซึ่งดูดเลือดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง :

Alpha-Gal Syndrome โรคแพ้เนื้อแดงจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม


Alpha-Gal Syndrome คืออาการแพ้ที่เกิดจาการบริโภคเนื้อแดงจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 2002 ระดับความรุนแรงของอาการมีตั้งแต่ ผิวหนังเป็นผื่น คลื่นไส้ อาเจียน หายใจลำบาก ความดันต่ำ เวียนศีรษะ ท้องร่วง ปอดท้องรุนแรง

สาเหตุหลักเชื่อว่ามาจากการถูกกัดโดยแมลงดูดกินเลือด เช่น หมัด เมื่อตัวแมลงเหล่านี้ไปดูดเลือดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งมี Alpha-Gal (Galactose-α-1,3-galactose) โมเลกุลน้ำตาลคาร์โบไฮเดรตอยู่ในร่างกาย แมลงเหล่านี้จะกลายเป็นพาหะนำ Alpha-Gal มาสู่คน เมื่อถูกแมลงกัด Alpha-Gal ที่เข้าสู่ร่างกายจะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายสร้างแอนติบอดีเพื่อตอบสนองต่อโมเลกุลน้ำตาล Alpha-Gal

เมื่อมีการรับโมเลกุลน้ำตาล Alpha-Gal จากการกินเนื้อสัตว์ในภายหลัง จะก่อให้เกิดการแพ้จากอาการ Alpha-Gal Syndrome ในที่สุด

โมเลกุลน้ำตาล Alpha-Gal พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด ยกเว้น ลิง วานร และมนุษย์ ผู้ป่วยที่มีอาการ Alpha-Gal Syndrome จึงไม่สามารถบริโภคเนื้อแดงหรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ เป็นต้น และสามารถกินได้แค่เนื้อสัตว์ที่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น เนื้อไก่ เนื้อเป็ด เนื้อปลา และสัตว์ทะเลต่าง ๆ เท่านั้น

Alpha-Gal มีอยู่ในวัคซีนต่าง ๆ ยกเว้นวัคซีนโควิด-19

นักทฤษฎีสมคบคิดพยายามหาหลักฐานอ้างว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรค Alpha-Gal Syndrome โดยเชื่อมโยงข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ที่เตือนถึงส่วนประกอบของ Alpha-Gal ในวัคซีนหลายชนิด การพบหลักฐานผู้ฉีดวัคซีนโรคงูสวัดแล้วป่วยเป็นโรค Alpha-Gal Syndrome และอ้างว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทำให้ป่วยเป็นโรคงูสวัด

อย่างไรก็ดี สำนักงานความปลอดภัยจากการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน (Immunization Safety Office) ของ CDC ชี้แจงว่า วัคซีนบางชนิดใช้เจลาตินเป็นสารให้ความคงตัวในวัคซีน ซึ่งมี Alpha-Gal เป็นส่วนประกอบ เช่น วัคซีนโรคงูสวัด

ดังนั้นผู้ป่วย Alpha-Gal Syndrome ที่ได้รับวัคซีนที่มี Alpha-Gal เป็นส่วนประกอบ จะเกิดอาการแพ้ได้

แต่ในวัคซีนโควิด-19 ที่อนุมัติในสหรัฐฯ ไม่มีส่วนประกอบจากเนื้อสัตว์หรือเจลาติน ทำให้วัคซีนโควิด-19 ไม่มี Alpha-Gal เป็นส่วนประกอบแต่อย่างใด ดังนั้นการฉีดวัคซีนโควิด-19 จึงไม่ทำให้ป่วยเป็นโรค Alpha-Gal Syndrome หรือกระตุ้นให้ผู้ป่วย Alpha-Gal Syndrome เกิดอาการแพ้อย่างแน่นอน

ส่วนการป่วยเป็นโรคงูสวัด จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อผู้ป่วยมีเชื้อไวรัส Varicella-Zoster Virus (VZV) อยู่ในร่างกายจากการป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนเท่านั้น ดังนั้นผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่ไม่เคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส จะไม่สามารถเป็นโรคงูสวัดได้

ส่วนข้อสันนิษฐานว่าวัคซีนโควิด-19 อาจไปกระตุ้นให้ผู้มีเชื้อไวรัส Varicella-Zoster Virus ในร่างกายเกิดอาการกำเริบจนป่วยเป็นโรคงูสวัด ก็ยังไม่ได้รับการพิสูจน์อย่างชัดเจนว่าเป็นจริงหรือไม่

ผู้ป่วย Alpha-Gal Syndrome เพิ่มขึ้นในสหรัฐฯ

ข้อมูลจากสถาบันการแพทย์ Mayo Clinic ระบุว่า ชาวอเมริกันที่ป่วยเป็นโรค Alpha-Gal Syndrome ส่วนใหญ่ เกิดจากการถูกแมลงชนิดต่าง ๆ กัด โดยเฉพาะหมัดชนิด Lone Star tick ซึ่งคาดว่าแมลงเหล่านี้ได้รับโมเลกุลน้ำตาล Alpha-Gal จากการดูดเลือดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เมื่อมากัดมนุษย์ โมเลกุลน้ำตาล Alpha-Gal ก็ส่งผ่านเข้าสู่ร่างกาย นำไปสู่การป่วยด้วยอาการ Alpha-Gal Syndrome

ข้อมูลจาก CDC พบว่า ระหว่างปี 2010-2022 มีชาวอเมริกันป่วยด้วยโรค Alpha-Gal Syndrome ประมาณ 450,000 ราย

มหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา ได้พิสูจน์ด้วยการนำตัวอย่างเซรุ่มจากเลือดของชาวเมือง 400 รายที่อาศัยอยู่ในรัฐทางตอนใต้ของสหรัฐฯ ซึ่งพบการแพร่ระบาดของโรค Alpha-Gal Syndrome อย่างสูง ทีมวิจัยได้ตรวจสอบเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการฉีดวัคซีนโควิด-19 กับโรค Alpha-Gal Syndrome

โดยพบว่า หลังจากฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว ระดับแอติบอดีต่อโมเลกุลน้ำตาล Alpha-Gal ในร่างกายของผู้รับวัคซีนไม่เพิ่มสูงขึ้นแต่อย่างใด จึงสรุปได้ว่าการฉีดวัคซีนโควิด-19 ไม่ใช่สาเหตุทำให้ผู้รับวัคซีนป่วยด้วยโรค Alpha-Gal Syndrome หรือก่อให้เกิดการแพ้เนื้อแดงจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่อย่างใด

ข้อมูลอ้างอิง :

https://science.feedback.org/review/why-alex-jones-claim-infowars-covid19-vaccines-cause-meat-allergy-is-baseless/
https://factcheck.afp.com/doc.afp.com.33RA3QC

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

บิ๊กอ๊อดรอดคุก

“บิ๊กอ๊อด” รอดคุก คดี “บอส อยู่วิทยา” อัยการเนตร คุก 3 ปี

“บิ๊กอ๊อด-ตร.” ทำคดี “บอส” รอดคุก ศาลยกฟ้อง ส่วน “อัยการเนตร” ศาลสั่งจำคุก 3 ปี และ “อัยการชัยณรงค์” จำคุก 2 ปี

รวบทันควัน คนร้ายบุกเดี่ยวชิงเงินธนาคาร

จับแล้ว คนร้ายบุกเดี่ยวชิงทรัพย์ธนาคารกลางเมืองเชียงใหม่ ได้เงินสดกว่า 40,000 บาท ก่อนวิ่งหลบหนี ล่าสุดจนมุมตำรวจรวบตัวได้ที่ศาลาริมทางข้างถนน

สป.สายไหม

“กัน จอมพลัง” หอบหลักฐานร้องสอบ สป.สายไหม เอี่ยวเว็บพนัน

“กัน จอมพลัง” หอบหลักฐาน ร้องตรวจสอบ สป.สายไหม เอี่ยวเว็บพนันออนไลน์ ยินดีให้ตำรวจตรวจสอบกลับ มั่นใจประวัติขาวสะอาด ย้ำ “ลูกพีช” ควรขอโทษอย่างจริงใจ

ข่าวแนะนำ

นายกฯ เตรียมเดินทางเยือนราชอาณาจักรกัมพูชา

นายกรัฐมนตรี มีกำหนดเดินทางเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาอย่างเป็นทางการ ในโอกาสครบรอบ 75 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-กัมพูชา และการส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ปัญหาและการพัฒนาของสองประเทศ โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยรายงาน

9 ทันโลก : เตรียมเริ่มกระบวนการเลือกโป๊ปองค์ใหม่

หลังจากสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส ประมุขแห่งศาสนจักรสิ้นพระชนม์ รายงาน 9 ทันโลกวันนี้จะพาไปรำลึกถึงพระองค์และติดตามกระบวนการเลือกพระสันตะปาปาพระองค์ใหม่

พิพากษาแก๊งช่วยแก้ความเร็วรถ “บอส”

วันนี้คดีทายาทเครื่องดื่มชูกำลัง ขับรถชนตำรวจเสียชีวิต กลับมาถูกพูดถึงอีกครั้ง เมื่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ตัดสินจำคุกอดีตรองอัยการสูงสุด และอดีตอัยการอีก 1 คน ฐานความผิดแก้ความเร็วรถคันเกิดเหตุ หวังช่วยผู้ต้องหา