28 ธันวาคม 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vox Check (ยูเครน)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด
บทสรุป:
- สารภูมิต้านทานจะส่งผ่านไปยังทารกได้ ก็ต่อเมื่อแม่ผู้ให้น้ำนมมีสารภูมิต้านทานต่อโรคดังกล่าวในร่างกายเท่านั้น
- สารภูมิต้านทานในน้ำนมแม่ป้องกันโรคแค่ระยะเวลาหนึ่ง จึงควรให้ทารกได้รับวัคซีนตามวัยที่เหมาะสม
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศยูเครน โดยอ้างว่าน้ำนมแม่อุดมไปด้วยแอนติบอดี้หรือสารภูมิต้านทานที่จำเป็นสำหรับเด็กทารก จนไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนให้เด็ก
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
องค์การอนามัยโลก (WHO) ให้การรับรองว่าน้ำนมแม่คืออาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก ทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือนควรดื่มแต่น้ำนมแม่เท่านั้น ด้วยเด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ขวบ ควรดื่มน้ำนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมสำหรับทารก เพราะน้ำนมแม่มีสารอาหารที่จำเป็นสำหรับทารกแรกเกิดครบถ้วน และยังมีสารภูมิต้านทานสำหรับป้องกันโรคหลายชนิดอีกด้วย
อย่างไรก็ดี สถาบัน Robert Koch Institute ศูนย์วิจัยโรคติดเชื้อในประเทศเยอรมนี ยืนยันว่าสารภูมิต้านทานจากน้ำนมแม่ช่วยป้องกันโรคในเด็กทารกได้แค่ช่วงเวลาหนึ่ง สารภูมิต้านทานในน้ำนมแม่จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อผู้เป็นแม่มีสารภูมิต้านทานดังกล่าวจากการติดเชื้อหรือฉีดวัคซีนป้องกันโรคนั้นๆ มาก่อน และปริมาณของสารภูมิต้านทานในตัวแม่จะต้องมีมากพอในระหว่างที่ให้นมลูกอีกด้วย
การวิจัยปี 1962 มีการนำน้ำนมจากสตรีจำนวน 71 คนให้กับหนูทดลองที่ติดเชื้อโปลิโอ พบว่าสารภูมิต้านทานต่อโรคโปลิโอมีเฉพาะในน้ำนมของสตรีที่มีสารภูมิต้านทานต่อโรคโปลิโอเช่นกันเท่านั้น
งานวิจัยปี 2017 ซึ่งศึกษาเด็กทารกในวัยต่ำกว่า 6 เดือนจำนวน 296 คน ก็ไม่พบว่าน้ำนมแม่มีผลต่อการป้องกันการเกิดโรคไอกรนในเด็กเช่นกัน
สถาบัน Robert Koch Institute พบว่าสารภูมิต้านทานโรคไอกรนที่ทารกได้รับจากน้ำนมแม่จะลดลงทุกปี และไม่เพียงพอสำหรับการป้องกันโรค ถึงแม้การฉีดวัคซีนในระหว่างตั้งครรภ์จะส่งผ่านสารภูมิต้านทานด้วยน้ำนมแม่ได้ แต่ก็ไม่สามารถทดแทนการฉีดวัคซีนที่เด็กจำเป็นต้องได้รับเมื่ออายุครบ 2 เดือนได้
ผลวิจัยปี 2017 พบว่าน้ำตาลที่อยู่ในน้ำนมแม่อาจช่วยป้องกันการเกิดโรคสเตรปโตคอคคัสกลุ่มบีในเด็กทารก แต่ข้อมูลยังไม่มากพอและจำเป็นต้องศึกษาวิจัยเพิ่มเติม
กุมารแพทย์ชาวสวีเดนค้นพบว่า เด็กทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่ลดโอกาสเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อโรคฮิบ และเด็กที่ดื่มนมแม่เมื่อได้รับวัคซีนแล้วจะมีสารภูมิต้านทานโรคฮิบมากกว่าเด็กทั่วไป แต่ Robert Koch Institute ยืนยันว่าการฉีดวัคซีนโรคฮิบครบสูตร ก็เพียงพอสำหรับป้องกันการเกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากการติดเชื้อโรคฮิบได้เช่นกัน
WHO ยังยืนยันว่าการดื่มนมแม่ ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคไวรัสลงกระเพาะในเด็กทารกเช่นกัน แต่สาเหตุไม่ได้มาจากสารภูมิต้านทานในน้ำนม แต่เป็นเพราะน้ำนมจากแม่ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง จะมีความสะอาดปราศจากเชื้อโรคและจุลินทรีย์เจือปน
ข้อมูลอ้างอิง:
https://voxukraine.org/perebilshennya-grudne-moloko-zahyshhaye-ditej-vid-vaktsynokerovanyh-infektsij/
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter