“ธนกร” แจงสภาฯ ล่ม ไม่เกี่ยวเอกภาพรัฐบาล

ทำเนียบฯ 19 ธ.ค.- โฆษกรัฐบาลแจงเหตุสภาฯ ล่ม ไม่เกี่ยวเอกภาพรัฐบาล ควรเป็นความรับผิดชอบของ ส.ส.ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลที่ร่วมกันเป็น กมธ. อัดโหยหาอำนาจมากกว่าปกป้องประโยชน์ประชาชน

(19 ธ.ค. 64) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ระบุว่า เหตุสภาฯ ล่มล่าสุดเป็นเรื่องเกี่ยวกับเอกภาพของรัฐบาล และการที่จะมีการเลือกตั้งหลายๆ อย่าง เช่น การเลือกตั้งซ่อม หรือการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ว่า เรื่ององค์ประชุมควรถือเป็นความรับผิดชอบของทุกฝ่าย เพราะ ส.ส.เสมือนตัวแทนประชาชน แม้ว่าการขอตรวจสอบองค์ประชุม หรือการไม่แสดงตนจะเป็นสิทธิของฝ่ายค้านก็ตาม อย่างไรก็ตาม น่าสังเกตว่า ที่ผ่านมาหากฝ่ายค้านขอตรวจสอบองค์ประชุม หรือไม่แสดงตนนั้น จะเป็นการทำเพื่อตอบโต้รัฐบาล แต่เหตุสภาฯ ล่มล่าสุดนั้น อยู่ระหว่างการพิจารณาญัตติที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว ซึ่งมี ส.ส.เกือบทุกพรรคร่วมกันเสนอญัตติ ดังนั้น จึงควรเป็นความรับผิดชอบของ ส.ส.ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลที่ร่วมกันเป็นกรรมาธิการ ไม่ควรจะโยนว่าเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล


นายธนกร กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่ฝ่ายค้านระบุว่า การประชุมสภาฯ ล่มบ่อยครั้ง เพราะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ทำให้ไม่มีความรับผิดชอบต่องานสภาฯ นายกฯ ควรมาตอบกระทู้ถามสดด้วยตัวเอง เหมือนกับสมัยที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกฯ นั้น ถ้ามาสภาฯ เพื่อตอบกระทู้ตามสคริปที่ทีมงานเขียนให้ อ่านถูกบ้างผิดบ้าง แต่ไม่รู้ถึงปัญหาและข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น แบบนั้นคงจะไม่ได้ประโยชน์อะไร สู้เอาเวลาไปลงมือแก้ปัญหาให้ประชาชนอย่างจริงจังยังจะดีเสียกว่า ที่สำคัญ การอ้างว่าไม่หนีตอบกระทู้ในสภาฯ แต่กลับหนีคดีทุจริตไปต่างประเทศนั้น ความรับผิดชอบของทั้ง 2 เรื่องนี้เทียบกันไม่ได้เลย ฝ่ายค้านจึงไม่ควรจะมีหน้าไปถามหาความรับผิดชอบจากใครได้อีก นอกจากนี้ การที่ฝ่ายค้านขู่เล่นเกมสภาฯ ล่มต่อไป โดยอ้างว่าเป็นการให้บทเรียนรัฐบาลจนกว่าจะยุบสภาฯ นั้น แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ฝ่ายค้านโหยหาอำนาจมากกว่าการปกป้องประโยชน์ของประชาชนด้วยการตรวจสอบการบริหารประเทศของรัฐบาลผ่านกลไกรัฐสภาใช่หรือไม่

“เชื่อว่าจากนี้ไป วิปรัฐบาลคงจะมีการหารือกับวิปฝ่ายค้านถึงแนวทางการทำหน้าที่ว่า อย่ามองอะไรเป็นเกมการเมืองไปหมด ซึ่งการพิจารณาญัตติที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้วนั้น ควรเป็นความรับผิดชอบของ ส.ส.ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาลที่ร่วมกันเป็นกรรมาธิการ ไม่ควรจะโยนว่าเป็นกฎหมายของฝ่ายรัฐบาลเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า เหตุสภาฯ ล่มที่เกิดขึ้นนั้นไม่เกี่ยวกับเอกภาพของรัฐบาล แต่เป็นเพราะฝ่ายค้านจ้องแต่จะเล่นเกมการเมืองไปเสียหมดมากกว่า” นายธนกร กล่าว .-สำนักข่าวไทย


ดูข่าวเพิ่มเติม

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

สำนักสงฆ์หูตาทิพย์

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์”

ขุดพบ 12 ศพ ในสำนักสงฆ์ลัทธิประหลาด “สอนหู-ตาทิพย์” พระอ้างใช้สอนวิปัสสนากรรมฐาน เบื้องต้นอายัดไว้พิสูจน์ดีเอ็นเอ พร้อมเอาผิดหัวหน้าสำนักสงฆ์ ฐานนำศพเก็บไว้ในสถานที่ที่ไม่ใช่สุสานและฌาปนสถาน

“สนธิ” ยื่นถอด “ตั้ม-เดชา” ออกจากทนาย

“สนธิ ลิ้มทองกุล” หอบหลักฐานบุกสภาทนายความ ถอดทนายตั้ม-ทนายเดชา ออกจากทนาย ระบุ ได้รับมอบอำนาจจาก “มาดามอ้อย” แล้ว เดินหน้าเอาผิด ทนายตั้มแบบสุดซอย ไม่ให้มีคนตกเป็นเหยื่อผู้รู้กฎหมายอีก

รัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มยูเครน

ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ของรัสเซีย แถลงยืนยันว่ารัสเซียยิงขีปนาวุธข้ามทวีปรุ่นใหม่ถล่มภาคตะวันออกยูเครนเมื่อวานนี้ ตอบโต้ที่ยูเครนใช้ขีปนาวุธที่ได้รับมอบจากสหรัฐและอังกฤษ

ข่าวแนะนำ

“เหนือ-อีสาน-กลาง” อากาศเย็น ภาคใต้ฝนตกหนัก

กรมอุตุฯ รายงานภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง อากาศเย็นในตอนเช้า มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนภาคใต้ฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก

โค้งสุดท้าย ศึกสองนารีชิงเก้าอี้ นายก อบจ.นครฯ

เหลือไม่ถึง 2 วันแล้ว ที่ชาวนครศรีธรรมราชจะได้ออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งนายก อบจ.นครฯ ศึกนี้เป็นการสู้กันเองของพรรคร่วมรัฐบาล ฝ่ายหนึ่งต้องการรักษาฐานที่มั่นไว้ให้ได้ อีกฝ่ายต้องการเจาะฐานให้แตก เพื่อหวังครองที่นั่งการเมืองระดับชาติในสมัยหน้า

ร้อนระอุโค้งสุดท้าย ศึกชิงเก้าอี้ นายก อบจ.อุดรธานี

การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ครั้งนี้ดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครจาก 2 พรรคใหญ่ลงชิงชัย ต่างเร่งเครื่องเต็มที่ในโค้งสุดท้าย การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 24 พ.ย.นี้ ใครจะเป็นผู้คว้าชัยชนะและสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญให้จังหวัดอุดรธานี ไปติดตามจากรายงาน

ความเห็นนักวิชาการ คดีทักษิณ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้อง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง ขณะที่นักวิชาการชี้ว่าไม่ได้พลิกไปจากความคาดหมาย และผลจากคดีนี้ ไม่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนทางการเมือง แต่ก็ยังมีจุดเสี่ยงที่ต้องระวัง