ชัวร์ก่อนแชร์: วิกฤติขาดแคลนเลือด เพราะเลือดของผู้บริจาคที่ฉีดวัคซีนดำ จริงหรือ?

27 พฤศจิกายน 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: USA TODAY (อเมริกา)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์


ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ

บทสรุป:


  1. “กรุงเทพธุรกิจ” ไม่ได้นำเสนอประเด็นดังกล่าว
  2. ภาพเลือดสีแดงสด และ เลือดสีเข้ม ไม่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน
  3. ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ยืนยันว่า ไม่ได้เกิดเหตุการณ์ดังที่แชร์กัน
  4. เป็นเพียงเรื่องหลอกลวงที่แชร์กันในกลุ่มต่อต้านวัคซีนมาตั้งแต่หลายเดือนก่อน

ข้อมูลที่ถูกแชร์:

มีการเผยแพร่ภาพข่าวจาก “กรุงเทพธุรกิจ” พร้อมภาพเลือดในหลอดฉีดยาที่เป็นสีดำ และอ้างว่าเป็นเลือดก่อนและหลังการฉีดวัคซีน ทำให้เกิดวิกฤติขาดแคลนเลือด เนื่องจากเลือดของผู้บริจาคที่ฉีดวัคซีนมีสีดำ

FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:


  1. ภาพจาก “กรุงเทพธุรกิจ” เป็นข่าวเรื่อง “สภากาชาดจ่ายเลือดได้เพียง 43% กระทบรักษา-ผ่าตัด” เมื่อ 21 พ.ย. 2564 โดยการขาดแคลนเลือดเป็นผลมาจากสาเหตุอื่น ที่ไม่เกี่ยวข้องใด ๆ กับการฉีดวัคซีน หรือ ผู้ฉีดวัคซีน ส่วนข้อความ “วิกฤติเริ่มขาดแคลนเลือดแล้ว เนื่องจากเลือดของผู้บริจาคที่ฉีดวัคซีน ดำ” ก็ไม่พบอยู่ในเนื้อหาข่าวต้นฉบับ (https://www.bangkokbiznews.com/social/973082)
  2. ภาพเลือดในกระบอกฉีดยา ไม่มีหลักฐานยืนยันได้ว่า เป็นเลือดอะไร หรือ จากแหล่งใด ข้อความที่เติมลงไปบนภาพ จะเป็นข้อความอะไรก็ได้ ภาพที่ไม่มีที่มาดังกล่าวเพียงภาพเดียวจึงไม่น่าเชื่อถือ และหากตรวจสอบภาพย้อนกลับ ก็พบว่า เป็นภาพเดียวกับที่แชร์กันในต่างประเทศ ซึ่งมีหลายสำนักข่าวนำเสนอข้อมูลหักล้างแล้วตั้งแต่ราวต้นเดือนตุลาคม 2564 โดยพบว่าเป็นเรื่องหลอกลวงจากกลุ่มต่อต้านวัคซีน
  3. ข้อความที่แชร์กันระบุว่า “เลือดมันดำคล้ำเป็นพิษใช้ไม่ได้…” “คนไม่ฉีดวัคซีน กาชาดต้องการ” นั้น ตรวจสอบกับ ศ.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร ที่ปรึกษาด้านวิชาการ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ยืนยันว่า ชุดข้อความดังกล่าว รวมทั้งภาพเลือดที่แชร์กัน ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

ศ.นพ.อิศรางค์ กล่าวว่า ที่กล่าวอ้างว่า “เลือดของผู้บริจาคโลหิตที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 มีสีดำคล้ำ ไม่สามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยได้” นั้น ไม่เป็นความจริง เพราะโลหิตเป็นของเหลวสีแดงที่ไหลเวียนอยู่ภายในหลอดเลือดในร่างกาย มีสารประกอบที่เรียกว่า “ฮีโมโกลบิน” ซึ่งมีธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบ ทำหน้าที่ขนส่งอ๊อกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย เลือดมีสีแดงเสมอ หรือแดงเข้ม ไม่เคยพบว่ามีสีดำ

ทั้งนี้ โลหิตบริจาคทุกยูนิต จะถูกนำไปส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล เมื่อผ่านกระบวนการตรวจคัดกรองทางห้องปฏิบัติการ สามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยได้

สำหรับขั้นตอนกระบวนการ ได้แก่ การตรวจคัดกรองโลหิต ตรวจหมู่โลหิต เอ บี โอ ระบบอาร์เอช, ตรวจ Antibody (แอน-ติ-บอ-ดี้) ต่อหมู่โลหิต, ตรวจการติดเชื้อที่ถ่ายทอดทางโลหิต อาทิ เชื้อไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซีเชื้อซิฟิลิส และเชื้อเอชไอวี และนำไปปั่นแยกเป็นส่วนประกอบโลหิต 3 ชนิด ได้แก่ เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด และพลาสมา

ศ.นพ.อิศรางค์ กล่าวยืนยันว่า ผู้ที่ฉีดวัคซีนและมีร่างกายแข็งแรงตามเกณฑ์สามารถบริจาคโลหิตได้ อย่างไรก็ตาม ผู้บริจาคจะต้องคัดกรองและประเมินตนเองก่อนมาบริจาคโลหิต เพื่อความปลอดภัยของท่านและส่วนรวม

ศ.นพ.อิศรางค์ ตั้งข้อสังเกตว่า เลือดที่มีสีดำนั้น เลือดที่ถูกกรด ก็จะมีสีดำ เช่น เมื่อเลือดออกในกระเพาะอาหาร การอาเจียน หรือ อุจจาระ ออกมาจะเป็นสีดำ

ข้อมูลอ้างอิง:

Fact check: COVID-19 vaccines don’t change blood color (usatoday.com)

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

ยึดรถบอสดิไคอน

ตำรวจยึดรถ “บอสพอล-บอสกันต์” เพิ่มเติมรวม 4 คัน

ตำรวจยึดรถ “บอสพอล-บอสกันต์” เพิ่มเติมรวม 4 คัน ขณะที่พนักงานสอบสวนชุดเล็กประชุมสรุปรายงานผลการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เตรียมรายงานคณะทำงานชุดใหญ่พรุ่งนี้

ระเบิดสะพานโจร

“ระเบิดสะพานโจร” ทำลายสายส่งเคเบิลขนาดใหญ่ ลักลอบพาดสายบนสะพานข้ามโขง

กสทช. จับมือตำรวจ สานต่อยุทธการ “ระเบิดสะพานโจร” ทำลายสายส่งเคเบิลขนาดใหญ่ ลักลอบพาดสายบนสะพานข้ามโขง อย่างอุกอาจ เอื้อแก๊งคอลเซ็นเตอร์

ว.วชิรเมธี

พระพยอมชี้ ท่าน ว.วชิรเมธี นั่งบนหิมะ ไม่ผิดวินัยสงฆ์

เพจดังลงภาพท่าน ว.วชิรเมธี นั่งสมาธิบนหิมะที่ญี่ปุ่น ด้านพระพยอมชี้ ไม่ผิดวินัยสงฆ์ คิดว่าท่าน ว.วชิรเมธี คงอยากทดสอบความอดทน

ข่าวแนะนำ

ต่างชาติประทับใจซ้อมขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

วันนี้มีการซ้อมใหญ่เสมือนจริง ครั้งที่ 2 ขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค ซึ่งไม่เพียงแต่คนไทย นักท่องเที่ยวต่างชาติก็ประทับใจกับความงดงาม

“พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ” ยันไม่ปล่อยผ่านคดีตากใบ เร่งตามผู้ต้องหาก่อนหมดอายุความ

ผบ.ตร.เผยคดีตากใบ เร่งติดตามตัวผู้ต้องหาก่อนหมดอายุความ เข้าตรวจค้น 29 ครั้ง เฝ้าจุดระวังติดตามกว่า 180 ครั้ง ยันไม่ปล่อยผ่าน