23 ตุลาคม 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (สหรัฐอเมริกา)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ
บทสรุป:
การเร่งที่อาศัยแอนติบอดี (ADE) คือภาวะที่แอนติบอดีช่วยให้ไวรัสโจมตีเซลล์มากขึ้น จากการตรวจสอบในสัตว์ทดลอง, อาสาสมัคร และประชาชนที่รับวัคซีน ไม่พบการเกิดภาวะ ADE จากวัคซีนโควิด 19 แต่อย่างใด
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา โดย โรเบิร์ต มาโลน นักชีววิทยาระดับโมเลกุล ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการพอดแคสว่าวัคซีนโควิด 19 จะทำให้การติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มีความอันตรายยิ่งขึ้น เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิด “การเร่งที่อาศัยแอนติบอดี” หรือ Antibody Dependent Enhancement (ADE) ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต จนคลิปการสัมภาษณ์ถูกนำไปส่งต่อทางโลกออนไลน์นับหมื่นครั้ง
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
การเร่งที่อาศัยแอนติบอดี (ADE) คือภาวะที่แอนติบอดีซึ่งควรทำหน้าที่ป้องกันการจู่โจมของไวรัส กลับช่วยให้ไวรัสโจมตีเซลล์มากขึ้น
การเกิดภาวะ ADE ได้รับรายงานครั้งแรกจากเคสผู้ติดเชื้อไวรัสเดงกี เมื่อนักวิจัยพบว่า การติดเชื้อไวรัสเดงกีมาแล้วครั้งหนึ่ง หากกลับไปติดเชื้อไวรัสเดงกี 1 ใน 4 สายพันธุ์ที่แตกต่างจากการติดเชื้อครั้งแรก อาการจะรุนแรงกว่าเดิมอย่างมาก
ภาวะ ADE สร้างความท้าทายต่อผลิตวัคซีนหลายชนิด ทั้งวัคซีนไวรัสเดงกี, วัคซีนไวรัส RSV, วัคซีนโรคหัด รวมถึงวัคซีนป้องกันโคโรนาไวรัสชนิดต่างๆ ทั้ง SARS, MERS และโควิด 19
ในการทดลองวัคซีนโควิด 19 ระยะแรก นักวิทยาศาสตร์ก็มีความกังวลเรื่องการเกิดภาวะ ADE ในกลุ่มอาสาสมัคร แต่การศึกษาภาวะ ADE ในอดีต ช่วยให้การพัฒนาวัคซีนโควิด 19 มีความปลอดภัยอย่างมาก
หนึ่งในวิธีการลดความเสี่ยงการเกิดภาวะ ADE จากวัคซีนโควิด 19 คือการเลือกใช้โปรตีนจากหนามของไวรัสแทนที่จะใช้โปรตีนจากส่วนอื่นๆ ของไวรัส ซึ่งเคยทำให้อาสาสมัครวัคซีนโคโรนาไวรัสชนิดอื่นๆ เกิดภาวะ ADE มาก่อน พร้อมทั้งเฝ้าติดตามการเกิดภาวะ ADE ในสัตว์ทดลองและอาสาสมัครอย่างใกล้ชิด
ผลการวิจัยจนถึงปัจจุบันพบว่า การตรวจสอบในสัตว์ทดลอง, อาสาสมัคร และประชาชนที่รับวัคซีน ไม่พบสัญญาณบ่งชี้การเกิดภาวะ ADE จากวัคซีนโควิด 19 แต่อย่างใด
นอกจากนี้ การฉีดวัคซีนโควิด 19 ครบ 2 โดส ยังป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 อย่างมีประสิทธิภาพ และหากเกิดการติดเชื้อหลังฉีดวัคซีน (Breakthrough Infection) อาการก็จะไม่รุนแรงเท่ากับผู้ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนอีกด้วย
- หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
- LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
- FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
- Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
- IG :: https://instagram.com/SureAndShare
- Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
- TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter