6 ตุลาคม 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Factcheck.org (สหรัฐอเมริกา)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ
บทสรุป:
- ไม่มีประเทศใดอนุมัติการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในปศุสัตว์
- มีการกำหนดให้ปศุสัตว์ที่ฉีดวัคซีนสำหรับสัตว์ต้องรอให้วัคซีนสลายจนหมดก่อนนำไปชำแหละ เพื่อมั่นใจว่าจะไม่มีสารปนเปื้อนในเนื้อสัตว์
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่ามีการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในปศุสัตว์ หากกินเนื้อของสัตว์ที่ฉีดวัคซีน ก็จะได้รับผลกระทบจากวัคซีนที่ฉีดในสัตว์เช่นกัน
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
ดร.สุเรช คุจิปุดี ศาสตราจารย์ภาควิชาสัตวแพทย์และชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัย Penn State ยืนยันว่า ปัจจุบันยังไม่มีประเทศไหนที่อนุมัติการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในปศุสัตว์
องค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) ได้จัดอันดับให้โคกระบือและสุกรมีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 ในระดับต่ำมาก ส่วนสัตว์ปีกเช่นเป็ด, ไก่ และนก ไม่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 เลย
จากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ในตัวมิงค์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2020 ทำให้หน่วยงานตรวจสอบสุขภาพสัตว์และพืช (APHIS) ของสหรัฐอเมริกาเรียกร้องให้มีการผลิตวัคซีนโควิด 19 สำหรับสัตว์ นำไปสู่การผลิตวัคซีนโควิด 19 สำหรับสวนสัตว์โดยผู้ผลิตในสหรัฐฯ ส่วนผู้ผลิตจากรัสเซียก็กำลังทดลองวัคซีนโควิด 19 ในสุนัข, แมว, สุนัขจิ้งจอก และตัวมิงค์ แต่วัคซีนโควิด 19 สำหรับสัตว์ทุกชนิดยังอยู่ในระหว่างการทดลอง ไม่มีการผลิตออกมาใช้จริงแต่อย่างใด
การกินเนื้อสัตว์ที่ฉีดวัคซีนไม่เป็นอันตราย
แม้จะไม่มีการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในปศุสัตว์ แต่การฉีดวัคซีนชนิดอื่นๆ เพื่อป้องกันการระบาดในปศุสัตว์ถือเป็นเรื่องปกติ โดยสมาคมโคเนื้อแห่งชาติ (NCBA) ของสหรัฐฯ ได้กำหนด Withdrawal Period ซึ่งเป็นระยะเวลาซึ่งโคกระบือที่ได้รับวัคซีนต้องรอเวลาให้วัคซีนสลายจนหมดก่อนถูกส่งไปชำแหละ เพื่อมั่นใจว่าสารที่อยู่ในวัคซีนจะไม่ปนเปื้อนในเนื้อสัตว์เมื่อนำไปบริโภค
และต่อให้มีการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในปศุสัตว์ในอนาคต โอกาสที่สารในวัคซีนโควิด 19 จะส่งผลต่อผู้บริโภคก็แทบเป็นไปไม่ได้
แกรี วิทเทคเกอร์ ศาสตราจารย์ด้านไวรัสวิทยา มหาวิทยาลัย Cornell University อธิบายว่าในกรณีของวัคซีน mRNA โอกาสปนเปื้อนในเนื้อสัตว์ถือว่าน้อยที่สุด เพราะ mRNA มีความเปราะบางอย่างมาก จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมต้องเก็บรักษาวัคซีน mRNA ในอุณหภูมิเย็นจัด
อะดีโนไวรัสในวัคซีนชนิดไวรัส เวคเตอร์ อาจทนต่อสภาพแวดล้อมได้นานกว่า แต่จะไม่อยู่รอดจนถึงมือผู้บริโภค ส่วนเนื้อสัตว์ที่ฉีดวัคซีนไวรัสเชื้อเป็นตามทฤษฎีแล้วมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะหลงเหลือในเนื้อสัตว์ได้นานที่สุด แต่ก็จะถูกกำจัดด้วยความร้อนจากการปรุงอาหารในภายหลัง ดังนั้นการกินอาหารที่ไม่ทำให้สุกด้วยความร้อนยังเป็นอันตรายต่อร่างกายยิ่งกว่า
ข้อมูลอ้างอิง:
https://www.factcheck.org/2021/07/scicheck-meme-spreads-falsehood-about-vaccine-transfer/
- หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
- LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
- FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
- Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
- IG :: https://instagram.com/SureAndShare
- Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
- TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter