16 กันยายน 2564
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Teyit (ตุรกี)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ
ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด
บทสรุป:
- พบอาสาสมัครป่วยเป็นโรค GBS ระหว่างการทดลองวัคซีน Sinopharm ไม่ใช่วัคซีน Sinovac ตามที่กล่าวอ้าง
- การสอบสวนพบว่าวัคซีนโควิด 19 ไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรค GBS แต่อย่างใด
ข้อมูลที่ถูกแชร์:
มีข้อความโจมตีความปลอดภัยของวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Sinovac เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศตุรกี โดยอ้างว่า Deutsche Welle สื่อของประเทศเยอรมนีรายงานพบชาวเปรูที่รับวัคซีน Sinovac แล้วป่วยเป็นอัมพาต เนื่องจากวัคซีนเข้าไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันและนำไปสู่การป่วยเป็นโรคกลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (GBS) โรคแพ้ภูมิตัวเองซึ่งเกิดกับระบบประสาทส่วนปลาย ก่อให้เกิดอาการแขนขาอ่อนแรง, เหน็บชาตามร่างกาย และอาจรุนแรงจนกลายเป็นอัมพาตในที่สุด
FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:
การตรวจสอบข้อเท็จจริงของ Teyit พบว่า เหตุการณ์ดังกล่าวมีรายงานมาตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2020 โดยเกิดขึ้นกับผู้ทดลองวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Sinopharm ในประเทศเปรู ไม่ได้เกิดกับผู้รับวัคซีนของบริษัท Sinovac ตามที่กล่าวอ้าง
เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้การทดลองวัคซีน Sinopharm ในประเทศเปรูถูกระงับเป็นการชั่วคราว เมื่อพบว่าหนึ่งในอาสาสมัครที่รับวัคซีนไม่สามารถเคลื่อนไหวแขนข้างหนึ่งได้ ก่อนที่จะได้รับการยืนยันว่าอาสมัครคนดังกล่าวเกิดอาการกิลแลง-บาร์เร (GBS) หลังจากรับวัคซีน แต่เมื่อตรวจสอบที่มาของอาการแล้ว พบว่าอาการ GBS ของอาสาสมัครไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนที่ได้รับแต่อย่างใด การทดลองวัคซีน Sinopharm จึงกลับมาดำเนินการอีกครั้ง ก่อนที่เปรูจะอนุมัติวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Sinopharm ตั้งแต่เดือนมกราคมเป็นต้นมา
โรค GBS เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองที่พบได้ยาก มีสัดส่วนผู้ป่วย 1 คนจาก 1 แสนคน โดยแต่ละปีมีชาวอเมริกันป่วยด้วยโรค GBS ประมาณ 3,000 ถึง 6,000 คน
นอกจากนี้ สัดส่วนการพบผู้รับวัคซีนโควิด 19 แล้วป่วยเป็นโรค GBS ก็อยู่ที่ 1 ต่อ 1 แสนคนเช่นกัน จึงประเมินได้ว่าวัคซีนโควิด 19 ไม่ใช่สาเหตุหลักของการเกิดโรค GBS
โดยผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า ความเสี่ยงของการเกิดโรค GBS ไม่ใช่ข้อกังวลในการรับวัคซีนโควิด 19 เพราะการติดเชื้อโควิด 19 ทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่ากันนับพันเท่า
หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ยืนยันว่า ไม่พบอาสาสมัครที่ทดลองวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA แล้วป่วยเป็นโรค GBS เช่นกัน พร้อมแนะนำให้ผู้ที่เคยป่วยเป็นโรค GBS สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้ตามปกติ
ข้อมูลอ้างอิง:
https://teyit.org/analiz-sinovac-asisinin-bagisiklik-sistemine-saldirarak-felc-biraktigi-iddiasi
- หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
- LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
- FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
- Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
- IG :: https://instagram.com/SureAndShare
- Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
- TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter