มาเลเซียขยายล็อกดาวน์ต่อ

นายกรัฐมนตรีมูห์ยิดดิน ยัสซินของมาเลเซียประกาศขยายมาตรการล็อกดาวน์ทั้งประเทศที่จะสิ้นสุดในวันที่ 28 มิถุนายนนี้ต่อไปอีก และจะไม่ผ่อนคลายจนกว่ายอดผู้ติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 รายวันจะต่ำกว่า 4,000 คน

มาเลเซียคาดไวรัสกลายพันธุ์ทำตายก่อนถึง รพ.มากขึ้น

กัวลาลัมเปอร์ 20 มิ.ย.- ผู้เชี่ยวชาญในมาเลเซียสันนิษฐานว่า สาเหตุที่ผู้ติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 เสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาลมีจำนวนมากขึ้น อาจเป็นเพราะติดเชื้อไวรัสปรับปรุงสายพันธุ์ที่แพร่ได้ง่ายขึ้น เช่น สายพันธุ์เดลตาที่พบในอินเดียเป็นแห่งแรก ศ.อาวัง บัลกิบา อาวัง มาห์มุด ประธานคณะทำงานเฉพาะกิจเรื่องยุทธศาสตร์และการวิเคราะห์ทางระบาดวิทยาโรคโควิด-19 ของรัฐบาลเผยกับหนังสือสเตรทส์ไทมส์ของสิงคโปร์ว่า ผู้ติดเชื้ออาจมีอาการทรุดลงเร็วขึ้นเพราะไวรัสปรับปรุงสายพันธุ์ แต่เนื่องจากไม่มีรายงานการชันสูตรพลิกศพ ทำให้ไม่ทราบว่าเสียชีวิตจากสาเหตุใด และไม่เห็นภาพความสามารถในการก่อโรคของสายพันธุ์ที่พบอยู่ในปัจจุบัน ผู้ติดเชื้ออาจคิดว่าเป็นไข้หวัดธรรมดาจึงไม่ไปตรวจหาเชื้อ หรือไม่สามารถเข้าถึงสถานพยาบาล ส่วนผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการอาจแพร่เชื้อให้ผู้อื่นโดยไม่รู้ตัว ศ.อาวัง บัลกิบาแนะนำว่า รัฐบาลต้องเร่งฉีดวัคซีนให้มากขึ้นจากวันละ 2 แสนโดสในขณะนี้เป็น 3 แสน-5 แสนโดส จึงจะลดการแพร่ระบาดจากผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการลงได้ ข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียระบุว่า นับจนถึงวันที่ 14 มิถุนายนมีผู้ติดเชื้อที่ถูกระบุว่าเสียชีวิตขณะนำตัวส่งโรงพยาบาลทั้งหมด 370 ราย ในจำนวนนี้ 195 รายหรือกว่าครึ่งเกิดขึ้นในช่วง 4 สัปดาห์สุดท้าย เทียบกับการระบาดในปีที่แล้วทั้งปีที่มีผู้ติดเชื้อเสียชีวิตขณะนำตัวส่งโรงพยาบาล 136 คน ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 471 คนเมื่อปีก่อน เป็นกว่า 3,000 คนแล้วในปีนี้ ยอดติดเชื้อสะสมตั้งแต่ปีก่อนกว่า 691,100 […]

ก่อนเกมไทย-มาเลเซีย

ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบ 2 กลุ่ม G ที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นัดสุดท้าย “ช้างศึก” ทีมชาติไทย พบ “เสือเหลือง” มาเลเซีย เวลาไทย 23.45 น.

คาดฉลามในมาเลเซียป่วยโรคผิวหนังเพราะอุณหภูมิทะเลสูง

กัวลาลัมเปอร์ 14 มิ.ย. – นักชีววิทยาทางทะเลกำลังสอบสวนโรคผิวหนังลึกลับที่เกิดขึ้นกับฉลามครีบขาวในมาเลเซีย โดยมีรายงานเบื้องต้นบางฉบับชี้ว่าโรคดังกล่าวเป็นผลมาจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้น นักดำน้ำที่เกาะสิปาดันนอกชายฝั่งตะวันออกของรัฐซาบาห์บนเกาะบอร์เนียวของมาเลเซีย ซึ่งเป็นจุดดำน้ำที่มีชื่อเสียง คณะผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยปุตรามาเลเซียและภาครัฐ รวมถึงกลุ่มอนุรักษ์ได้เริ่มค้นหาที่มาของโรคผิวหนังดังกล่าวในฝูงฉลามที่พวกเขาพบเจอ ในขณะที่ทีมงานพยายามวินิจฉัยว่าสาเหตุของโรคเกิดขึ้นได้อย่างไร พวกเขากลับพบว่าอุณหภูมิผิวน้ำทะเลของเกาะสิปาดันเพิ่มขึ้นเป็น 29.5 องศาเซลเซียสในเดือนพฤษภาคม ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิที่เคยบันทึกไว้ในปี 2528 นักชีววิทยาทางทะเลระดับอาวุโสของรีฟการ์เดียน กลุ่มอนุรักษ์ที่ไม่แสวงหาผลกำไร เผยว่า ทีมงานค่อนข้างมั่นใจว่าอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ฉลามในท้องทะเลของเกาะสิปาดันมีอาการป่วย โดยตัดปัจจัยด้านมนุษย์ออกไป เนื่องจากเกาะสิปาดันเป็นพื้นที่คุ้มครองทางทะเล ซึ่งห้ามการประมงเด็ดขาดและไม่มีการตั้งถิ่นฐานหรือโรงงานอุตสาหกรรมในละแวกนี้ ขณะที่ศาสตราจารย์ด้านสัตวแพทย์ศึกษาของมหาวิทยาลัยปุตรามาเลเซียระบุว่า รายงานการพบเห็นโรคผิวหนังของฉลามครีบขาวเกิดขึ้นพร้อมกับรายงานพบปะการังฟอกขาวในทะเลของเกาะสิปาดัน อย่างไรก็ดี กระบวนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์อย่างเต็มรูปแบบยังไม่เสร็จสิ้น ก่อนหน้านี้ ช่างภาพใต้น้ำได้ถ่ายภาพฉลามครีบขาวตัวหนึ่งที่มีจุดและรอยโรคบนหัวในทะเลนอกชายฝั่งรัฐซาบาห์จนกลายเป็นกระแสร้อนแรงในสื่อโซเชียลมีเดียเมื่อเดือนเมษายน ขณะที่อาจารย์ระดับอาวุโสจากสถาบันวิจัยทางทะเลบอร์เนียวของมหาวิทยาลัยมาเลเซียซาบาห์ระบุว่า ทีมวิจัยได้พยายามจับฉลามครีบขาวบางตัวเพื่อเก็บตัวอย่างสำหรับการทดสอบเพื่อหาสาเหตุของโรคเมื่อเดือนก่อน แต่ประสบความล้มเหลว และเตรียมวางแผนจับฉลามอีกครั้งในเดือนหน้า. -สำนักข่าวไทย

มาเลเซียจะส่งรถออกฉีดวัคซีนโควิดให้คนในตลาด

มาเลเซียจะส่งรถออกฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ให้แก่พ่อค้าแม่ค้าและคนทำงานตามตลาดค้าปลีกและค้าส่งตั้งแต่สัปดาห์หน้า

มาเลเซียจะใช้เงิน 6 หมื่นล้านบาทอุดหนุนราคาพลังงาน

กระทรวงการคลังมาเลเซียกล่าวว่า คาดว่าในปีนี้ มาเลเซียต้องใช้จ่ายเงินราว 8,000 ล้านริงกิต หรือ ประมาณ 60,630 ล้านบาทในการอุดหนุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันสำหรับปรุงอาหาร ซึ่งมากกว่างบประมาณที่กำหนดไว้เดิมที่ 3,780 ล้านริงกิต หรือ ประมาณ 28,500 ล้านบาท

ทีมช้างศึกเดินหน้าฝึกซ้อมเตรียมพบมาเลเซีย

อากิระ นิชิโนะ นำช้างศึกเดินหน้าฝึกซ้อมต่อเพื่อเตรียมทีมพบมาเลเซีย ในเกมสุดท้ายศึกคัดบอลโลก ส่วนฟุตซอลทีมชาติไทย เข้าขอบคุณผู้ว่าการ กกท.หลังครบกักตัว 14 วัน

มาเลเซียคาดได้รับวัคซีนแอสตราเซเนกาที่ผลิตในไทยล่าช้า

นายไครี จามาลลุดดิน รัฐมนตรีวิทยาศาสตร์ของมาเลเซียกล่าววันนี้ว่า มาเลเซียคาดหมายว่าจะได้รับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของแอสตราเซเนกา ที่ผลิตในประเทศไทยล่าช้ากว่ากำหนด

มาเลเซียคาดจะได้วัคซีนโควิด 16 ล้านโดสใน 2 เดือน

นายกรัฐมนตรีมูห์ยิดดิน ยัสซินของมาเลเซียรับปากว่า จะเร่งการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 คาดว่าจะได้รับวัคซีน 16 ล้านโดสภายใน 2 เดือน และจะเปิดศูนย์ฉีดเพิ่มอีก 300 แห่งทั่วประเทศ

ญี่ปุ่นระงับการผลิตรถยนต์ในมาเลเซีย

ญี่ปุ่นระงับการผลิตและขายรถยนต์ในมาเลเซีย เนื่องจากประเทศเข้าสู่การล็อกดาวน์ โรงงานส่วนใหญ่กำลังปิดตัวลงจนถึงวันที่ 14 มิ.ย.

เสริมกำลังทหาร-ตร.เข้มข้นตลอดแนวชายแดน หลังมาเลเซียประกาศล็อกดาวน์วันนี้

ฐบาลมาเลเซียเริ่มการล็อกดาวน์ หลังผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นกว่า 9,000 ราย ด้านเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงใน จ.สงขลา ดูแลพื้นที่รอยต่อกับประเทศมาเลเซีย เสริมกำลังเจ้าหน้าที่ทหารเพิ่มอีก 1 หมวด ลาดตระเวนเข้มข้น หวั่นมีผู้ลักลอบเข้ามาโดยไม่ผ่านจุดคัดกรอง เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเฉพาะโควิด-19 สายพันธุ์แอฟริกา และอินเดีย ที่ระบาดหนักในมาเลเซียอยู่ในขณะนี้

มาเลเซียเผย WTO ตกลงสอบอียูจำกัดการใช้น้ำมันปาล์ม

กัวลาลัมเปอร์ 31 พ.ค.- รัฐบาลมาเลเซียแจ้งวันนี้ว่า องค์การการค้าโลกหรือดับเบิลยูทีโอ (WTO) ตกลงตามคำขอของมาเลเซียแล้ว เรื่องตั้งคณะขึ้นสอบสวนกฎหมายของสหภาพยุโรปหรืออียู (EU) ที่จำกัดการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพที่มีส่วนผสมของน้ำมันปาล์ม นายโมห์ด ไครุดดิน อามัน ราซาลี รัฐมนตรีสินค้าโภคภัณฑ์ของมาเลเซียแถลงว่า ดับเบิลยูทีโอยอมรับคำร้องครั้งที่ 2 ของมาเลเซียเมื่อวันศุกร์เรื่องตั้งคณะขึ้นสอบสวนกฎหมายของอียู (EU) ที่จำกัดการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพที่มีส่วนผสมของน้ำมันปาล์ม มาเลเซียยื่นคำขอเรื่องนี้ตั้งแต่การหารือกับอียูเมื่อวันที่ 17 มีนาคมไม่ได้ผล และจะเดินหน้าฟ้องร้องอียูต่อไป มาเลเซียและอินโดนีเซียผลิตน้ำมันปาล์มรวมกันร้อยละ 85 ของทั้งโลก โดยเป็นผู้ผลิตใหญ่อันดับ 2 และ 1 ของโลกตามลำดับ ทั้งสองประเทศแยกกันร้องเรียนกับดับเบิลยูทีโอหลายครั้งในช่วงหลายปีมานี้ว่า กฎหมายอียูเรื่องพลังงานหมุนเวียนเป็นการเลือกปฏิบัติ กฎหมายนี้กำหนดให้ทยอยยกเลิกใช้น้ำมันที่มีส่วนผสมของน้ำมันปาล์มภายในปี 2573 ตามที่อียูกำหนดให้น้ำมันปาล์มไม่ใช่พลังงานหมุนเวียน เนื่องจากมีการตัดไม้ทำลายป่า ผู้ผลิตหลายรายร้องเรียนว่า สมาชิกอียูบางประเทศทยอยเลิกใช้ก่อนที่กฎหมายกำหนด.-สำนักข่าวไทย

1 25 26 27 28 29 110
...