สหประชาชาติเตือนจีน-สหรัฐเลี่ยงทำสงครามเย็นครั้งใหม่

เจนีวา 20 ก.ย.-เลขาธิการสหประชาชาติ เตือนเกี่ยวกับสงครามเย็นครั้งใหม่ที่อาจเกิดขึ้น และเรียกร้องให้จีนกับสหรัฐแก้ไขความสัมพันธ์ที่มีปัญหา ก่อนที่ปัญหาของทั้งสองประเทศมหาอำนาจจะขยายวงกว้างไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก นายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ หรือยูเอ็น เผยกับสำนักข่าวเอพีในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาก่อนเปิดฉากการประชุมผู้นำโลกประจำปีของยูเอ็นในสัปดาห์นี้ท่ามกลางปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ความวิตกกังวลเรื่องสภาพอากาศ และข้อพิพาทที่เกิดขึ้นทั่วโลกว่า จีนกับสหรัฐควรร่วมมือกันในเรื่องสภาพอากาศและเจรจาเกี่ยวกับการค้าและเทคโนโลยี แม้จะเกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เศรษฐกิจ ความปลอดภัยของเครือข่ายออนไลน์ และอำนาจอธิปไตยในทะเลจีนใต้ นายกูเตอร์เรสได้ย้ำเตือนว่า กลยุทธ์ทางการเมืองและการทหารของจีนกับสหรัฐจะก่อให้เกิดอันตรายและทำให้โลกแตกแยก จึงต้องแก้ไขความสัมพันธ์ที่มีปัญหาของทั้งสองประเทศให้ได้โดยเร็ว นายกูเตอร์เรสยังระบุว่า ทุกฝ่ายต้องหลีกเลี่ยงการทำให้เกิดสงครามเย็นที่จะแตกต่างจากครั้งก่อนและอาจเป็นสงครามที่อันตรายและจัดการได้ยากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากสงครามเย็นระหว่างสหภาพโซเวียตกับสหรัฐมีกฎเกณฑ์ชัดเจนและทั้งสองฝ่ายต่างตระหนักถึงความเสี่ยงจากการทำลายล้างด้วยอาวุธนิวเคลียร์ แต่ในปัจจุบันสิ่งต่าง ๆ ล้วนแปรเปลี่ยนได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม ทั้งยังกล่าวว่า ข้อตกลงระหว่างสหรัฐกับอังกฤษในการมอบเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ให้ออสเตรเลียเพื่อให้ปฏิบัติการได้โดยไม่มีการตรวจพบในทวีปเอเชียเป็นเพียงชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของปริศนาซับซ้อนในความสัมพันธ์ที่มีปัญหาระหว่างจีนกับสหรัฐ เลขาธิการยูเอ็นยังกล่าวถึงสามประเด็นสำคัญที่บรรดาผู้นำโลกจะหารือร่วมกันในสัปดาห์นี้ว่า ประกอบด้วยปัญหาวิกฤตสภาพอากาศที่เลวร้าย การระบาดของโรคโควิด-19 ที่ยังคงรุนแรง และอนาคตที่ไม่แน่นอนของอัฟกานิสถานภายใต้รัฐบาลชุดใหม่ของกลุ่มตาลีบัน. -สำนักข่าวไทย

ยูเอ็นจะจัดประชุมว่าด้วยความช่วยเหลืออัฟกานิสถาน

สหประชาชาติจะจัดการประชุมด้านความช่วยเหลือระหว่างประเทศที่กรุงนครเจนิวา ของสวิตเซอร์แลนด์ในวันที่ 13 กันยายนนี้ เพื่อช่วยป้องกันสิ่งที่นายอันโตนิโอ กูเทอร์เรซ เลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติ เรียกว่าเป็น มหันตภัยทางด้านมนุษยธรรมครั้งใหญ่ มิให้เกิดขึ้นในอัฟกานิสถาน

เผยตาลีบันอาจประกาศจัดตั้งรัฐบาลใหม่ในวันนี้

กลุ่มตาลีบันอาจประกาศจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของอัฟกานิสถานได้อย่างเร็วสุดในวันนี้ โดยที่ระบอบการปกครองใหม่จะอยู่ภายใต้การเฝ้าจับตาตรวจสอบอย่างเข้มงวดจากนานาชาติ หลังกลุ่มตาลีบันให้คำมั่นว่าจะปกครองอัฟกานิสถานด้วยความอดทนมากขึ้น โดยเฉพาะประเด็นสิทธิสตรี

เอดีบีระบุโรคระบาดกระทบเรื่องเป้าหมายการพัฒนา

ธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ เอดีบี กล่าววันนี้ว่า การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อาจจะทำให้ประชาชนมากถึง 80 ล้านคนในประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียอยู่ในสภาพความยากจนขั้นรุนแรงเมื่อปีที่แล้วและอาจส่งผลกระทบกับความคืบหน้าในเรื่องเป้าหมายการพัฒนาของโลกในการขจัดความยากจนและความหิวโหยให้หมดไปภายในปี 2030

ชี้ผู้นำทหารเมียนมาเล็งเกาะกุมอำนาจอย่างมั่นคง

ทูตพิเศษของสหประชาชาติว่าด้วยกิจการเมียนมากล่าววานนี้ว่า ผู้นำกองทัพเมียนมาดูเหมือนจะมีเจตนามุ่งมั่นที่จะเกาะกุมอำนาจอย่างมั่นคงหลังก่อการรัฐประหารในเดือนกุมภาพันธ์และยึดอำนาจจากนางอองซาน ซูจี ผู้นำรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง

เมียนมาว่าไม่เกี่ยวข้องกับกรณีทูตประจำยูเอ็นถูกปองร้าย

กระทรวงต่างประเทศเมียนมากล่าววานนี้ว่า กรณีที่มีการกล่าวอ้างว่ามีการวางแผนการป้องร้าย นายจอ โม ตุน ทูตเมียนมาประจำสหประชาชาติ ในนครนิวยอร์คของสหรัฐ ไม่มีความเกี่ยวข้องอะไรกับเมียนมาและคดีภายในของทางสหรัฐเอง

ยูเอ็นชี้โลกเผชิญคลื่นความร้อนรุนแรงบ่อยขึ้น

เจนีวา 9 ส.ค. – องค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น ระบุในรายงานด้านวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศว่า คลื่นความร้อนรุนแรงที่เคยเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวทุกๆ 50 ปี อาจเกิดเร็วขึ้นเป็นทุก 10 ปี เนื่องจากภาวะโลกร้อน ในขณะที่ฝนตกหนักและภัยแล้งก็จะเกิดบ่อยขึ้นกว่าเดิม คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือไอพีซีซี ของยูเอ็น ได้ประเมินความเป็นไปได้ของเหตุการณ์รุนแรงต่าง ๆ ในสถานการณ์ที่หลากหลาย โดยที่รายงานดังกล่าวพบว่า คลื่นความร้อนมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นบ่อยกว่าเหตุการณ์รุนแรงอื่น ๆ โดยที่จากเดิมจะเกิดขึ้นเพียงครั้งหนึ่งทุก 50 ปี อาจเกิดขึ้นบ่อยขึ้นเป็นทุก 6 ปีจากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส และคาดว่าอาจเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดิมภายในเวลา 200 ปี ทั้งนี้ ถ้าอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นเป็น 4 องศาเซลเซียสจากการปล่อยมลพิษสูง ก็จะทำให้เกิดคลื่นความร้อนรุนแรงบ่อยขึ้นเป็นทุก 1-2 ปี รายงานดังกล่าวยังระบุเพิ่มเติมว่า เหตุฝนตกหนักที่เกิดขึ้นครั้งเดียวทุก 10 ปีมีแนวโน้มที่จะเกิดเร็วขึ้น 1.3 เท่าในปัจจุบัน และตกหนักขึ้นกว่าเดิมถึงร้อยละ 6.7 เมื่อเทียบกับช่วง 50 ปีก่อนถึงปี 2443 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดภาวะโลกร้อนจากฝีมือของมนุษย์ […]

ยูเอ็นระบุภาวะขาดแคลนอาหารของเกาหลีเหนือรุนแรงขึ้น

สหประชาชาติกล่าวในรายงานว่า สถานการณ์ความมั่นคงด้านอาหารของเกาหลีเหนือคาดหมายว่า จะย่ำแย่ลงอีกในช่วง 4 เดือนข้างหน้า เนื่องจากช่องทางความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมค่อนข้างจำกัดและการค้าที่ไม่ราบรื่น

เกษตร​ฯ​ เสนอ​ UN พลิกโฉมสู่​ “ระบบอาหาร​และ​เกษตร​ที่​ยั่งยืน”

“รมว.เฉลิม​ชัย” ​แถลง​ต่อ UN​ ไทยนำโมเดล​เศรษฐกิจ​สีเขียว​มาใช้​แล้ว​ มุ่งบรรลุการพัฒนา​ที่​ยั่งยืน​ ด้านปลัด​เกษตร​ฯ​ เชิญ​ชวนทุกประเทศ​ปรับระบบผลิต​อาหาร​ให้​เป็นมิตร​กับ​สิ่งแวดล้อม​ มีคุณภาพ​และ​ปลอด​ภ​ัยใ​นราคาที่เข้าถึง​ได้

เมียนมาพยายามเปลี่ยนตัวทูตประจำ ยูเอ็น อีกครั้ง

รัฐบาลทหารเมียนมา พยายามหาทางเปลี่ยนตัวทูตประจำสหประชาชาติอีกครั้ง หลังจากที่แสดงตัวต่อต้านการที่กองทัพก่อรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งของนางอองซาน ซูจี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ตำรวจเฮติยิงปะทะกลุ่มมือปืนที่ลอบสังหาร ปธน.

กองกำลังความมั่นคงของเฮติยิงปะทะกับกลุ่มมือปืนผู้ก่อเหตุลอบสังหารประธานาธิบดีโฌเวแนล โมอิส ผู้นำเฮติ วัย 53 ปี ที่บ้านพักของเขาในวันพุธ

ธุรกิจอาหารวางแนวทางพัฒนาระบบอาหารยั่งยืน

กรุงเทพฯ 6 ก.ค.-กลุ่มธุรกิจอาหารเสวนาวางแนวทางและข้อเสนอการพัฒนาระบบอาหารอย่างยั่งยืนรองรับการประชุม UN Food Systems Summit 2021เดือนกันยายนนี้ ในงานเสวนาในหัวข้อระบบอาหารที่ยั่งยืนของผู้บริหารและพนักงานในเครือเจริญโภคภัณฑ์เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การประชุมสุดยอดสหประชาชาติ UN Food Systems Summit 2021 ที่จะจัดขึ้นในเดือนกันยายนนี้ รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องระบบอาหาร นายนพปฎล เดชอุดม ประธานคณะผู้บริหารด้านความยั่งยืนองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า ในการเสวนา มีการเสนอแนวทางพัฒนาระบบอาหาร เช่น การพัฒนานวัตกรรมร่วมกับเกษตรกรรายย่อยและ SME ในการผลิตอาหารที่ปลอดภัยและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ การใช้ฐานข้อมูลและระบบ GIS เพื่อตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูกไม่ให้รุกล้ำพื้นที่ป่าและแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ การให้บริการทางการเงินแก่เกษตรกรรายย่อย การเสนอให้ภาครัฐออกนโยบายจูงใจผู้ประกอบการมุ่งสู่การบริหารจัดการขยะอาหารเป็นศูนย์ เช่นมาตรการจูงใจทางภาษีและความช่วยเหลือเชิงเทคนิค ทั้งนี้ เป้าหมายของการประชุม UN Food Systems Summit 2021 เน้นการพัฒนาแผนงานไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี ค.ศ. 2030 ศึกษาและร่วมกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาในระบบอาหาร เรียกร้องให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้บริโภค ร่วมมือกันเพื่อขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลง รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ และกระตุ้นให้เกิดการหารือกันในเวทีสาธารณะ ในประเด็นการพัฒนาระบบอาหารให้เกิดความยั่งยืนต่อธรรมชาติและมนุษย์-สำนักข่าวไทย

1 9 10 11 12 13 38
...