ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: SMS ปลอมอ้าง ธ.กรุงเทพ หลอกเหยื่อกรอก OTP แฮกบัตรเครดิต

ช่วงนี้มิจฉาชีพกำลังอาละวาดหนัก ส่ง SMS หลอกลวง อ้างเป็นธนาคารกรุงเทพ มาพร้อมกับกลลวงแลกแต้มบัตรเครดิต เพื่อหลอกให้กดลิงก์ กรอกข้อมูลส่วนตัว และรหัส OTP โดยกรณีล่าสุดเผยให้เห็นถึงความแนบเนียนของกลโกงที่เลียนแบบเว็บไซต์ธนาคารจริง ผู้เสียหายรายหนึ่งได้เปิดเผยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2568 กล่าวว่าตนเองได้รับ SMS ระบุว่า “แต้มบัตรเครดิตของธนาคารกรุงเทพจะหมดอายุ ให้รีบแลก” พร้อมแนบลิงก์ ด้วยความไม่ทันระวัง ผู้เสียหายได้คลิกเข้าสู่ลิงก์ดังกล่าว ซึ่งนำไปสู่หน้าเว็บไซต์ที่ออกแบบมาให้คล้ายเว็บไซต์ของธนาคารจริง ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและกรอกข้อมูลบัตรเครดิต รวมถึงรหัส OTP ลงไปบนเว็บไซต์ปลอมนั้น เพียงไม่กี่นาทีหลังจากนั้น บัญชีบัตรเครดิตของผู้เสียหายก็ถูกนำไปทำธุรกรรมโดยไม่ได้รับอนุญาตหลายรายการ สูญเสียเงินไปจำนวนมาก ด้านธนาคารกรุงเทพก็ได้ประกาศเตือนภัยว่า ขณะนี้มีมิจฉาชีพปลอมเป็นธนาคาร ส่ง SMS ให้ท่านกดลิงก์ แลกแต้มที่ใกล้หมดอายุ กรุณาอย่าหลงเชื่อกดลิงก์ดังกล่าว หรือ กรอกข้อมูลส่วนตัว หรือรหัส OTP ใด ๆ และขอเรียนว่า ธนาคารไม่มีนโยบายส่ง SMS ที่มีลิงก์ ให้กับลูกค้า หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามได้ที่ 02 6384000 กด 9 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง ! ไลน์ปลอมอ้าง PEA หลอกขโมยข้อมูลส่วนตัว

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  ออกโรงเตือนประชาชนระวังมิจฉาชีพแอบอ้างเป็น กฟภ. สร้างบัญชีไลน์ปลอม เพื่อหลอกลวงให้ลงทะเบียนรับสิทธิ์หรือขอข้อมูลส่วนตัว ย้ำชัด ไม่มีนโยบายดังกล่าว และไม่มีการติดต่อกับประชาชนผ่านไลน์ตามที่มีข่าวปรากฏ เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ หรือให้ข้อมูลส่วนตัวแก่บุคคลหรือผู้แอบอ้างให้แอดไลน์เด็ดขาด เนื่องจากอาจถูกนำข้อมูลไปใช้ในทางที่มิชอบ ก่อให้เกิดความเสียหายตามมา ทั้งนี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมี บัญชีไลน์ทางการเพียงบัญชีเดียวเท่านั้น คือ @PEAThailand ที่มีโล่สีเขียว หากประชาชนมีข้อสงสัย หรือต้องการตรวจสอบข้อมูล สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ PEA Contact Center โทร 1129 หรือที่ สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่ ทั่วประเทศ 9 กรกฎาคม 2568เสาวภาคย์ รัตนพงศ์ ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง SMS ปลอม อ้างแต้ม PPT หมดอายุ

9 กรกฎาคม 2568 บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR แนะผู้ใช้บริการ blueplus+ และผลิตภัณฑ์ในเครือ OR ระวังภัยออนไลน์ หลังพบมิจฉาชีพส่ง SMS ปลอม แจ้งเตือนคะแนนหมดอายุ หรือชวนลงทุน แอบอ้างผลิตภัณฑ์ในเครือ OR หรือ Café Amazon พร้อมแนบลิงก์หลอกให้คลิกก่อนสูญเงิน – ข้อมูลส่วนตัว ของแท้สังเกตได้จากไหน ? SMS ของแท้จะต้องส่งจากผู้ส่งชื่อ blueplus หากเป็นการแจ้งเตือนคะแนนหมดอายุผ่าน SMS จะไม่มีลิงก์ใดๆ แนบมาด้วย หากไม่แน่ใจ  ให้ติดต่อสอบถามกับช่องทางทางการ ของ blueplus+ โดยตรง เช่น อีเมล blueplus@pttorcampaign.com, แอปพลิเคชัน blueplus+ และ เว็บไซต์ www.blueplus.com เท่านั้น 9 กรกฎาคม 2568เสาวภาคย์ รัตนพงศ์ ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง ! เว็บไซต์ปลอมอ้าง ปตท. หลอกลงทุนหุ้น

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨ปตท.เตือนภัย มิจฉาชีพแอบอ้างชื่อและโลโก้ หลอกลงทุนผ่านลิงก์ปลอม https://www.pttplc-official.com/  ปตท. ยืนยัน ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและไม่มีการดำเนินการตามที่มีการนำเสนอในเว็บไซต์แต่อย่างใด โดยสามารถสอบถามข้อเท็จจริงได้ที่ โทรศัพท์ PTT Contact Center 1365 และติดตามข่าวสารได้จากเว็บไซต์ https://www.pttplc.com และ Facebook Fanpage : PTT News https://www.facebook.com/PTTNews เท่านั้น            ทั้งนี้ ปตท. อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อผู้เกี่ยวข้องจนถึงที่สุด และ ปตท. ขอความร่วมมือให้ประชาชนทุกท่านโปรดใช้ความระมัดระวังในการรับฟังข้อมูลข่าวสารและโปรดหลีกเลี่ยงการส่งต่อข้อความหรือเนื้อหาที่เป็นความเท็จอันจะเป็นการส่งเสริมการกระทำความผิดทางกฎหมายของกลุ่มบุคคลที่มีเจตนาไม่สุจริตในการหลอกลวงต่อประชาชน 3 กรกฎาคม 2568เสาวภาคย์ รัตนพงศ์ ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง ! มิจฉาชีพแอบอ้างเป็น 425°

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 เตือนภัยสายไอที ขณะนี้มีกลโกงรูปแบบใหม่ มิฉาชีพแอบอ้างเป็นพนักงาน 425° ใช้เบอร์ส่วนตัวโทรศัพท์ไปหาลูกค้า โดยแจ้งว่า สินค้าของทางบริษัทฯ ไม่ได้คุณภาพ ต้องการคืนเงินค่าสินค้า จากนั้นจะหลอกให้โอนเงิน ให้ใส่ OTP ในช่องจำนวนเงิน  บริษัท 425° ยืนยัน ไม่มีนโยบายติดต่อลูกค้าโดยใช้เบอร์หรือ Line ส่วนตัว โดยทีมงานจะติดต่อหาลูกค้าผ่านทางช่องทางต่อไปนี้เท่านั้น – เบอร์โทรศัพท์ 094-425-4251– LINE OA : @425degree (ที่มีโล่เขียว)– LINE : @425afterservice หากมีข้อสงสัยหรือสอบถามปัญหาเพิ่มเติม สามารถติดต่อฝ่ายบริการลูกค้าได้ที่ Facebook Page, Line@ และเบอร์โทรศัพท์ 094-425-4251 24 มิถุนายน 2568เสาวภาคย์ รัตนพงศ์ ทีมข่าวไซเบอร์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: แอปฯ กรุงไทย NEXT ปิดปรับปรุงตั้งแต่ 13-14 มิ.ย. 68 จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ ว่า ธนาคารกรุงไทย จะปิดปรับปรุงระบบ KTB NEXT ตั้งแต่วันที่ 13 – 14 มิ.ย. 68 นั้น ❌ บทสรุป ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ –วันศุกร์ที่ 13 มิ.ย. 68 เวลา 22.00 น. ถึง วันเสาร์ที่ 14 มิ.ย. 68 เวลา 18.00 น. ปิดปรับปรุงระบบ เฉพาะแอปพลิเคชัน Krungthai Business แอปพลิเคชันสำหรับกลุ่มลุกค้าธุรกิจเท่านั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า เว็บไซต์ธนาคารกรุงไทยได้ออกประกาศชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดการปิดปรับปรุงระบบแอปพลิเคชัน NEXT โดยมีกำหนดการจริง ดังนี้ Krungthai NEXT แอปพลิเคชันสำหรับบุคคลทั่วไป จะปิดปรับปรุงระบบ วันศุกร์ที่ 20 มิ.ย. 68 เวลา 01.00 – 06.00 น.Krungthai […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: เห็นภาพตัวเองบนหน้าจอ อย่ารับสาย เสี่ยงโดนบันทึกหน้าและเสียง หลอกคนใกล้ชิด จริงหรือ ?

ตามที่มีการแชร์ข้อความ ระบุว่า ระวัง ! เห็นภาพตัวเองบนหน้าจอ อย่ารับสาย เสี่ยงโดนบันทึกหน้าและเสียง หลอกคนใกล้ชิด นั้น ❌ บทสรุป ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ❌ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ข้อความนี้แปลมาจากคำเตือนภาษาจีนที่เผยแพร่ในปี 2567 และถูกนำมาแปลและแชร์ต่อเป็นภาษาไทยในปีเดียวกัน เว็บไซต์ Taiwan Factcheck Center ได้ตรวจสอบและเผยแพร่ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2567 ยืนยันว่า ไม่จริง ระบบ Face ID เป็นเทคโนโลยีการจดจำใบหน้าสำหรับระบบปฏิบัติการ iOS หากมีเบอร์ที่ไม่รู้จักวิดีโอคอลผ่าน Facetime หน้าจอโทรศัพท์จะแสดงภาพจากกล้องหน้า ทำให้ปรากฏภาพใบหน้าของผู้รับสายได้ อย่างไรก็ตาม มิจฉาชีพไม่สามารถขโมย Face ID ของอีกฝ่ายได้ เพียงแค่การวิดีโอคอล เนื่องจากระบบ Face ID ต้องการข้อมูลโครงสร้างใบหน้าทั้งเชิงลึกและแนวระนาบ ซึ่งการบันทึกข้อมูลภาพวิดีโอขณะวิดีโอคอล จะจับได้เพียงภาพ แนวระนาบเท่านั้น และหากไม่มีโทรศัพท์ของผู้ใช้ในมือ ก็เป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าถึงโทรศัพท์ของผู้ใช้จากระยะไกล หรือขโมยข้อมูลจากโทรศัพท์ของอีกฝ่ายได้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : โอนเงินก่อนเริ่มงาน = ระวังมิจฉาชีพ!

รู้ทันมิจฉาชีพ งานง่ายได้เงินเยอะ ไม่มีจริง! มิจฉาชีพแฝงตัวมาในคราบ “นายจ้าง” หลอกให้ทำงานเสริมออนไลน์ พร้อมออกอุบาย “โอนเงินก่อนทำภารกิจ” สุดท้ายสูญเงินหมดบัญชี! จากกรณีมีผู้โพสต์หางานเสริมทางออนไลน์ แล้วถูกมิจฉาชีพหลอกลวงโดยแฝงตัวในรูปแบบ “นายจ้าง” เสนอให้ทำงานง่าย ๆ แลกกับค่าตอบแทนและโบนัส พร้อมอุบายให้โอนเงินล่วงหน้าเพื่อเริ่มทำภารกิจและรับรายได้ โดยครั้งแรกมีการโอนเงินจริงกลับมา ทำให้เหยื่อหลงเชื่อและยินยอมทำภารกิจต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อหวังจะถอนเงินทุนคืนได้ในภายหลัง แต่สุดท้ายกลับถูกหลอกซ้ำจนสูญเงินจำนวนมาก นั้น จะเห็นได้ว่ามิจฉาชีพใช้วิธีการหลอกลวงที่แฝงมากับการหางาน โดยลักษณะการเรียกเก็บเงินล่วงหน้าก่อนทำภารกิจดังกล่าวนั้น คล้ายกับ “การเรียกหลักประกัน” ก่อนเริ่มงาน ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 10 กำหนดไว้ชัดเจนว่า “นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกเงินหรือหลักประกันใด ๆ จากลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบเงินสด หรือการให้บุคคลค้ำประกัน เว้นแต่กรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานนั้น ลูกจ้างต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับเงินหรือทรัพย์สินของนายจ้าง ซึ่งมีความเสี่ยงต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้” ในกรณีที่นายจ้างฝ่าฝืนหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 10 จะต้อง ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 144 แห่งพระราชบัญัติดังกล่าว รู้ทันก่อนตกเป็นเหยื่อ! วิธีหลอกล่อฉบับมิจฉาชีพ 1. มิจฉาชีพแนะนำตัวว่ามาจากแอปพลิเคชันต่าง ๆ […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : SMS M-Flow ปลอมระบาด ! ระวังโดนหลอก

หนึ่งในกลลวงที่กำลังระบาดและสร้างความเสียหายให้กับประชาชนคือ การแอบอ้างเป็นหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงส่งข้อความ SMS หลอกลวง ล่าสุด พบมีการแอบอ้างเป็น M-Flow ระบบเก็บเงินค่าผ่านทางอัตโนมัติ เพื่อหวังโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวและทรัพย์สินของผู้ใช้งาน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้ตรวจสอบพบว่า รูปแบบของข้อความ SMS ปลอมที่มิจฉาชีพใช้ในการหลอกลวง มักจะมาในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ แล้ว SMS รูปแบบใดบ้างที่เราควรต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ ? ช่องทางการชำระค่าบริการ M-Flow มี 3 ช่องทางหลักเท่านั้น คือ ขอย้ำอีกครั้ง! M-Flow ไม่มีการส่ง Link เพื่อให้ชำระค่าบริการผ่านทาง SMS โดยเด็ดขาด หากท่านได้รับ SMS ที่น่าสงสัย โปรดอย่าหลงเชื่อ และแจ้งไปยังหน่วยงาน M-Flow หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป 17 เมษายน 2568ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมทเขียนและเรียบเรียงโดย เสาวภาคย์ รัตนพงศ์

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: ระวัง ! 5 มุกมิจฉาชีพอาจ “สาด” ใส่คุณช่วงสงกรานต์

13 เมษายน 2568 เทศกาลสงกรานต์…เทศกาลแห่งความสุข ผู้คนต่างมองหาความสะดวกสบายและโปรโมชันพิเศษต่าง ๆ ทำให้มิจฉาชีพอาจจะฉวยโอกาส “สาด” กลโกงรูปแบบต่าง ๆ ใส่คุณได้ทุกเมื่อ ชัวร์ก่อนแชร์ได้รวบรวม 5 มุกที่มิจฉาชีพอาจนำมาใช้หลอกลวงคุณในช่วงสงกรานต์ เพื่อให้คุณเตรียมตัวรับมือและเล่นน้ำสงกรานต์ได้อย่างสบายใจไร้กังวล ! 1. ที่พักทิพย์ ใครที่กำลังวางแผนเที่ยวช่วงสงกรานต์ต้องระวัง !  “ที่พักราคาดี วิวสวย” ที่โผล่ขึ้นมาตามเพจเฟซบุ๊กหรือเว็บไซต์ที่ไม่คุ้นเคย อาจเป็นเพียงภาพลวงตา มิจฉาชีพมักสร้างบัญชีปลอม หรือเว็บไซต์เลียนแบบโรงแรม รีสอร์ท ที่พักต่าง ๆ พร้อมเสนอราคาที่ดึงดูดใจ เมื่อคุณหลงเชื่อโอนเงินมัดจำไปแล้ว พวกเขาก็จะเชิดเงินหนีหาย ทิ้งให้คุณเคว้งคว้างไร้ที่พักในช่วงวันหยุด วิธีรับมือ: จองที่พักผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่น่าเชื่อถือ มีรีวิวจากผู้ใช้งานจริง อย่าหลงเชื่อข้อเสนอที่ถูกเกินจริงจนน่าสงสัย หากเป็นเพจเฟซบุ๊กแนะนำให้ตรวจสอบที่ความโปร่งใสของเพจ ดูว่าเคยเปลี่ยนชื่อเพจมาหรือไม่ หากพบว่าเคยเปลี่ยนชื่อ หรือมีแอดมินอยู่ต่างประเทศ เสี่ยงเป็นมิจฉาชีพ แนะนำควรโทรศัพท์สอบถามข้อมูลกับทางที่พักก่อนเสมอ 2. ตั๋วทิพย์ อยากกลับบ้านไปรดน้ำดำหัวญาติผู้ใหญ่ หรือเดินทางไปสังสรรค์กับเพื่อนฝูงต่างจังหวัด ต้องระวังการซื้อตั๋วรถไฟ ตั๋วเครื่องบิน หรือตั๋วรถโดยสารราคาถูกจากบุคคลที่ไม่รู้จัก หรือเพจที่ไม่น่าเชื่อถือ มิจฉาชีพอาจสร้างตั๋วปลอมขึ้นมา หรือหลอกให้โอนเงินแล้วไม่ส่งตั๋วให้ ทำให้คุณพลาดการเดินทางในช่วงเวลาสำคัญ วิธีรับมือ: […]

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨: กฟภ. แจ้งเตือน! ไลน์ปลอมระบาด หลอกติดตั้งมิเตอร์

เตือนภัย ! ตอนนี้มีไลน์ปลอมแพร่ระบาดแอบอ้างเป็น “ฝ่ายมิเตอร์ไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)” หลอกลวงประชาชน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ยืนยัน บัญชี LINE ชื่อ “ฝ่ายมิเตอร์ไฟฟ้า” เป็นบัญชีปลอม โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เปิดให้บริการติดต่อผ่านไลน์ ไอดี @PEAThailand และของแท้ต้องมีโล่สีเขียวเท่านั้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับบริการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สามารถติดต่อได้ที่ จากฐานข้อมูลศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ พบว่า มิจฉาชีพมักแอบอ้างการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทั้ง  หากได้รับข้อความหรือการติดต่อในลักษณะดังกล่าว ควรตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลและทรัพย์สิน 10 เมษายน 2568ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์สำนักข่าวไทย อสมท

ชัวร์ก่อนแชร์ CyberAlert!🚨 : SMS จริง ! สนง.สถิติฯ ชวนตอบแบบสอบถาม ลุ้นรับรางวัลรวม 6 ล้านบาท

ตามที่มีการแชร์ รูป SMS สนง. สถิติ ชวนตอบแบบสอบถาม ลุ้นรับรางวัลรวม 6 ล้านบาท นั้น  📌 บทสรุป : เป็นข้อความ SMS จริง ที่ส่งโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สนง.สถิติฯ) ยืนยันผ่านเพจเฟซบุ๊กและเว็บไซต์ทางการ ว่า ข้อความ SMS ดังกล่าว เป็นข้อความจริงที่ส่งโดย สนง.สถิติฯ เพื่อเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมตอบแบบสอบถามสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลที่อยู่อาศัยที่แท้จริงของประชาชน ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญในการนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ สนง.สถิติฯ ได้ชี้แจงเพิ่มเติมว่าการส่ง SMS ดังกล่าวเป็นการประชาสัมพันธ์และเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมตอบแบบสอบถามผ่านช่องทางออนไลน์ ได้แก่ แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” เว็บไซต์ “ทางรัฐ” หรือเว็บไซต์ของสำนักงานสถิติแห่งชาติเท่านั้น โดยมีรางวัลรวมมูลค่ากว่า 6 ล้านบาท  ทั้ง 3 ช่องทาง เมื่ออยู่ที่หน้าแบบสอบถามฯ แล้ว สามารถเริ่มตอบแบบสอบถามตามขั้นตอน ดังนี้  […]

1 2 3 5
...