ชัวร์ก่อนแชร์: พาราเซตามอลลดประสิทธิภาพวัคซีนโควิด-19 จริงหรือ?

27 พฤษภาคม 2565
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)
แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ


ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ

บทสรุป:


  1. ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้คนไข้ใช้ยาพาราเซตามอลลดไข้หลังจากฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้
  2. การศึกษาในปัจจุบันยังไม่พบว่าการใช้ยาพาราเซตามอลส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

ข้อมูลที่ถูกแชร์:

มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ผ่านทาง Instagram ในสหรัฐอเมริกา โดยเจ้าของบัญชีที่ชื่อว่า ดร.เบน ลินช์ แนะนำไม่ให้ผู้ที่มีไข้หลังจากฉีดวัคซีนโควิด-19 ระงับไข้ด้วยยาพาราเซตามอล แต่ควรจะให้อาการไข้หายไปเองตามธรรมชาติ เนื่องจากความร้อนในร่างกายจากการเป็นไข้จะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น นอกจากนี้สารที่อยู่ในพาราเซตามอลจะทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดไวรัสแย่ลงอีกด้วย

FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง:


จากการตรวจสอบโดย Politifact พบว่า ดร. เบน ลินช์ มีสถานะเป็นแพทย์แผนธรรมชาติบำบัด ไม่ใช่แพทย์แผนปัจจุบัน ดังนั้นคนไข้ควรฟังคำแนะนำจากแพทย์ ไม่ควรเชื่อคำแนะนำที่เผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่ตรวจสอบที่มาที่ไปไม่ได้ แม้ผู้กล่าวอ้างจะอ้างว่าเป็นหมอหรือมีตำแหน่งดร.นำหน้าชื่อก็ตาม

พาราเซตามอล คือสารที่ใช้ในยาลดไข้ทั่วไป สามารถใช้ลดไข้หลังจากฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ ผลการศึกษาในปัจจุบันยังไม่พบว่าการใช้ยาพาราเซตามอลจะส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายจนไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ได้

Harvard Medical School แนะนำให้ผู้ที่มีไข้หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ใช้ยาพาราเซตามอลบรรเทาอาการได้ แต่ปริมาณไม่ควรเกิน 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งปริมาณที่เหมาะสมสำหรับผู้ใหญ่คือ 10-15 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

Mayo Clinic แนะนำให้ผู้ป่วยที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 38.8 องศาเซลเซียส ใช้ยาพาราเซตามอล, แอสไพริน หรือยาเอ็นเสดลดไข้ได้เช่นกัน

มีข้อถกเถียงในวงการแพทย์ เรื่องสมมติฐานว่าอาการไข้ของผู้ป่วยช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อได้ดีขึ้น แต่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ไม่พบว่าอาการไข้จากการติดเชื้อโควิด-19 จำเป็นต้องได้รับการรักษาที่แตกต่าง
จากอาการไข้ที่เกิดจากการติดเชื้ออื่นๆ

ดร.อเมช อเดลจา ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสจากสถาบัน Johns Hopkins Center for Health Security ยอมรับว่า อาการไข้คือกลไกของระบบภูมิคุ้มกันที่ช่วยให้ร่างการต่อสู้ต่อการติดเชื้อได้ดีขึ้น ดังนั้นการใช้ยาพาราเซตามอลกับอาการไข้เพียงเล็กน้อยจึงไม่จำเป็น แต่สำหรับผู้ป่วยบางราย อาการไข้อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพอย่างร้ายแรง การใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้จึงเป็นสิ่งจำเป็น

อย่างไรก็ดี ดร.แดเนียล บี. แฟคบูยี อดีตที่ปรึกษาด้านการแพทย์ของรัฐบาลสหรัฐฯ เตือนว่าการใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อป้องกันอาการไข้ก่อนการฉีดวัคซีน อาจส่งผลเสียทำให้ระบบภูมิคุ้มกันผลิตแอนติบอดีได้น้อยลง ดังนั้นแพทย์ส่วนใหญ่จึงไม่แนะนำให้ผู้ที่เตรียมเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 กินยาพาราเซตามอลแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันอาการไข้หลังฉีดวัคซีน

แต่กระนั้น ยังไม่งานวิจัยที่ยืนยันได้ว่า การใช้ยาพาราเซตามอลจะส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในระยะยาว ดังนั้นอาการไข้หลังจากฉีดวัคซีนโควิด-19 หรือหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 ผู้ป่วยสามารถใช้ยาพาราเซตามอลบรรเทาอาการไข้ได้

สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือข้อควรระวังจากการใช้ยาพาราเซตามอลเกินขนาดจนเป็นพิษต่อตับ รวมถึงอันตรายการใช้ร่วมกับยาชนิดอื่นๆ

ดร.เคฉินฮู ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตับ มหาวิทยาลัย University of California, Irvine อธิบายว่า ผู้ที่ใช้ยาพาราเซตามอลในปริมาณเกินกว่า 4 กรัมใน 24 ชั่วโมง จะส่งผลเสียต่อตับอย่างรุนแรง ถึงจะใช้ในปริมาณที่น้อยกว่านั้น ก็อาจเป็นอันตรายได้หากใช้ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ข้อมูลอ้างอิง:

https://www.politifact.com/factchecks/2022/jan/05/instagram-posts/no-tylenol-doesnt-ruin-your-ability-fight-covid-19/

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

โค้งสุดท้ายเลือกตั้ง นายก อบจ.อุบลฯ เดือด ส่งท้ายปี

ใกล้เข้ามาทุกขณะสำหรับการเลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือเป็นสนามเลือกตั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่ส่งท้ายปีนี้ การแข่งขันดุเดือดเกินคาด ผู้สมัครต่างเร่งหาเสียงกันอย่างเต็มที่ โดยมีผู้สมัคร 4 คน ลงชิงชัย ไปติดตามบรรยากาศโค้งสุดท้ายว่าใครจะเป็นผู้คว้าชัย

ทอ.ส่ง F-16 ขึ้นบินป้องน่านฟ้า หลังมีอากาศยานไม่ทราบฝ่าย เหนือชายแดนไทย-เมียนมา

กองทัพอากาศส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 ขึ้นบิน เพื่อพิสูจน์ฝ่ายและสกัดกั้นอากาศยานไม่ทราบฝ่าย บริเวณแนวชายแดนไทย-เมียนมา จ.ตาก

อุตุฯ เผยอีสาน-เหนือ อากาศหนาว กทม.อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย

กรมอุตุฯ เผยภาคอีสาน ภาคเหนือ มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนกรุงเทพฯ-ปริมณฑล อุณหภูมิลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศหนาวเย็น

lightened Christmas tree in front of U.S. Capitol

รู้จัก “ชัตดาวน์” ของสหรัฐและผลกระทบ

วอชิงตัน 20 ธ.ค.- หน่วยงานจำนวนมากของรัฐบาลสหรัฐเสี่ยงต้องปิดทำการชั่วคราว หรือที่เรียกว่า กัฟเวิร์นเมนต์ ชัตดาวน์ (government shutdown) หลังผ่านพ้นเที่ยงคืนวันนี้ (20 ธันวาคม) ตามเวลาสหรัฐ หากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ทันเวลา หลังจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณฉบับใหม่เมื่อวานนี้ สาเหตุที่เสี่ยงชัตดาวน์ ปกติแล้วรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาจะต้องจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานรัฐบาลกลางทั้งหมด 438 แห่งก่อนวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี แต่ที่ผ่านมาสมาชิกรัฐสภามักทำไม่ได้ตามกำหนดเวลา และมักผ่านร่างงบประมาณชั่วคราวเพื่อให้หน่วยงานรัฐบาลสามารถดำเนินการได้ต่อไปในระหว่างที่สมาชิกรัฐสภาหารือกันเพื่อผ่านร่างงบประมาณจริง ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุเมื่อเข้าสู่เช้าวันเสาร์ตามเวลาสหรัฐ สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตเตรียมร่างกฎหมายที่จะขยายเวลาไปจนถึงวันที่ 14 มีนาคม 2568 แต่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีเรียกร้องให้สมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกันลงมติไม่เห็นด้วย และเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐลงมติไม่เห็นชอบร่างงบประมาณที่เสนอใหม่ ดังนั้นหากรัฐสภาไม่สามารถผ่านร่างงบประมาณฉบับใหม่ได้ก่อนที่ร่างงบประมาณชั่วคราวฉบับปัจจุบันจะหมดอายุ ก็จะเกิดการชัตดาวน์ เพดานหนี้ที่ทรัมป์ต้องการให้แก้ นายทรัมป์ยังต้องการให้สมาชิกรัฐสภาแก้ปัญหาเรื่องการกำหนดเพดานหนี้ประเทศให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมได้มากขึ้น ก่อนที่เขาจะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 มกราคม 2568 รัฐสภาสหรัฐเป็นผู้กำหนดเพดานหนี้สาธารณะที่อนุญาตให้รัฐบาลก่อหนี้ แต่เนื่องจากรัฐบาลมักใช้จ่ายมากกว่ารายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษี สมาชิกรัฐสภาจึงต้องคอยแก้ปัญหานี้เป็นครั้งคราว รัฐสภาสหรัฐกำหนดเพดานหนี้สาธารณะครั้งแรกในปี 2482 โดยกำหนดไว้ที่ 45,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.55 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน) และนับจากนั้นเป็นต้นมาได้ขยายเพดานหนี้แล้วทั้งหมด 103 […]

ข่าวแนะนำ

ฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ส่งสุขรับปีใหม่

ส่งความสุขรับปีใหม่ กับฟรีคอนเสิร์ต “มหานครคัลเลอร์ฟูลปาร์ตี้ 2025” ศิลปินลูกทุ่งเกือบ 100 ชีวิต ร่วมโชว์จัดเต็ม

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลฯ “กานต์” ส่อเข้าป้าย

เลือกตั้งนายก อบจ.อุบลราชธานี “กานต์” หมายเลข 1 จากเพื่อไทย ส่อเข้าป้าย ด้าน ปชน. แถลงยอมรับยังไม่เป็นที่ไว้วางใจ ส่วนอุตรดิตถ์ “ชัยศิริ” อดีตนายก อบจ. ส่อเข้าวิน

เด้ง ตร.จราจร ปมคลิปรับเงินแลกไม่เขียนใบสั่ง

ผบก.ภ.จว.นนทบุรี สั่งย้าย “รอง สว.จร.สภ.รัตนาธิเบศร์” เซ่นคลิปรับเงินแลกไม่ออกใบสั่ง พร้อมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงภายใน 3 วัน ด้านเจ้าตัวอ้างไม่เห็นเงินที่วางบนโต๊ะในตู้ควบคุมสัญญาณไฟจราจร