ชัวร์ก่อนแชร์: ฟลูออไรด์ทำให้ฟันผุ จริงหรือ?

24 เมษายน 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประโยชน์ของฟลูออไรด์ต่อสุขภาพฟันเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐฯ เมื่อมีการอ้างว่าการใช้ฟลูออไรด์คือสาเหตุของการเกิดฟันผุ บทสรุป : ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุผ่านกระบวนการคืนแร่ธาตุที่ผิวฟัน (Remineralization) FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : หน้าที่ป้องกันฟันผุของฟลูออไรด์ บทบาทป้องกันฟันผุของฟลูออไรด์คือการคืนแร่ธาตุที่ผิวฟัน (Remineralization) ให้กับผิวเคลือบฟัน เมื่อมีการกินของหวาน แบคทีเรียที่อยู่ในช่องปากจะทำการย่อยสลายแป้งและน้ำตาลให้กลายเป็นกรดแล็กติก มีส่วนทำให้เกิดการละลายแร่ธาตุที่ผิวฟัน (Demineralization) เป็นต้นเหตุของอาการฟันผุ หน้าที่ของฟลูออไรด์คือการเติมเต็มสารที่จำเป็นต่อผิวฟันที่สูญเสียไป ทั้งแคลเซียมและฟอสเฟต เพื่อป้องกันฟันผุอย่างมีประสิทธิภาพผ่านกระบวนการคืนแร่ธาตุที่ผิวฟัน (Remineralization) งานวิจัยปี 2018 กับกลุ่มตัวอย่างเด็กอเมริกันเกือบ 20,000 ราย พบว่า เด็กที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่ 75% ของแหล่งน้ำผสมฟลูออไรด์อย่างน้อย 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร มีอัตราการเกิดฟันน้ำนมผุลดลง 30% และมีอัตราการเกิดฟันแท้ผุลดลง 12% ข้อมูลจาก Cochrane Review เมื่อปี 2024 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ฟลูออไรด์เป็นสารก่อมะเร็ง จริงหรือ?

23 เมษายน 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประโยชน์ของฟลูออไรด์ต่อสุขภาพฟันเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐฯ เมื่อมีคลิปที่เชื่อมโยงว่าฟลูออไรด์ในยาสีฟันเป็นสารก่อมะเร็ง บทสรุป : 1.งานวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างฟลูออไรด์กับมะเร็งในมนุษย์ไม่ชัดเจน2.พบความเสี่ยงมะเร็งกระดูก Osteosarcoma จากการสัมผัสฟลูออไรด์ปริมาณสูงในหนูทดลองเพศผู้ แต่ความเสี่ยงในมนุษย์ยังไม่ชัดเจน FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ข้ออ้างเรื่องฟลูออไรด์กับมะเร็ง มาจากงานวิจัยปี 1990 ที่เผยแพร่โดยโครงการพิษวิทยาแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NTP) ที่พบว่า เมื่อให้หนูได้รับฟลูออไรด์ปริมาณสูงจากน้ำดื่มผสมฟลูออไรด์ จะพบว่าหนูทดลองเพศผู้ป่วยเป็นมะเร็งกระดูกชนิด Osteosarcoma มากผิดปกติ Osteosarcoma เป็นมะเร็งกระดูกชนิดที่พบได้ยาก แต่พบได้บ่อยในเด็กวัยรุ่นตอนต้นที่มีอายุเฉลี่ยประมาณ 15 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว หากไม่รับการรักษา ผู้ป่วยจะเสียชีวิตในเวลาไม่เกิน 2 ปี ข้อมูลจากสมาคมโรคมะเร็งอเมริการะบุว่า หนึ่งในทฤษฎีที่เชื่อมโยงฟลูออไรด์กับมะเร็งกระดูกชนิด Osteosarcoma มากจากการที่ฟลูออไรด์มักสะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของกระดูกที่กำลังเติบโต หากได้รับฟลูออไรด์จำนวนมาก ฟลูออไรด์จะไปกระตุ้นการเติบโตของเซลล์ในกระดูกอย่างต่อเนื่อง จนเซลล์ดังกล่าวกลายเป็นเซลล์มะเร็ง งานวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างฟลูออไรด์กับมะเร็งในมนุษย์ไม่ชัดเจน แม้จะมีการวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างฟลูออไรด์กับมะเร็ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์: กลืนยาสีฟันเสี่ยงสมองเสื่อม จริงหรือ?

22 เมษายน 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประโยชน์ของฟลูออไรด์ต่อสุขภาพฟันเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐฯ โดยอ้างว่ายาสีฟันผสมฟลูออไรด์ไม่ปลอดภัย เพราะมีคำเตือนให้ระวังการใช้สำหรับเด็ก ส่วนขนาดที่ใช้สำหรับผู้ใหญ่ซึ่งมีปริมาณฟลูออไรด์ถึง 5,000 ppm เพิ่มความเสี่ยงโรคสมองเสื่อมและอัลไซเมอร์ โดยการทดลองพบว่า ฟลูออไรด์ปริมาณสูงทำให้หนูทดลองเสียชีวิตมาแล้ว บทสรุป : 1.ปริมาณฟลูออไรด์ที่เผลอกลืนจากการแปรงฟันในแต่ละวัน ไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพ2.ยาสีฟันปริมาณฟลูออไรด์ 5000 ppm ใช้สำหรับผู้ป่วยฟันผุรากฟันเท่านั้น3.ไม่มีงานวิจัยเชื่อมโยงฟลูออไรด์กับอาการสมองเสื่อม FACT CHECK : ตรวจสอบข้อเท็จจริง : ไม่มีงานวิจัยเชื่อมโยงฟลูออไรด์กับอาการสมองเสื่อม คริสตีน ทีล นักประสาทจิตวิทยา ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยยอร์ก ประเทศแคนาดา ยืนยันว่า ตั้งแต่ทำการศึกษาเกี่ยวกับฟลูออไรด์มาหลายปี ไม่พบว่าหลักฐานที่พบว่าการแปรงฟันหรือใช้น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ มีความเกี่ยวข้องกับอาการสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์แต่อย่างใด หน่วยงานสุขภาพช่องปากจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC) ก็ยืนยันเช่นกันว่า ไม่พบรายงานการใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์อย่างถูกวิธี กับปัญหาทางสุขภาพเช่นกัน ส่วนการอ้างว่ามีหนูทดลองตายเพราะรับฟลูออไรด์ปริมาณสูง แท้จริงแล้วเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับหนูทดลองที่สัมผัสก๊าซไฮโดรเจนฟลูออไรด์ ไม่ใช่ฟลูออไรด์ที่ใช้เพื่อการทันตกรรม ยาสีฟันปริมาณฟลูออไรด์ 5000 ppm ใช้สำหรับผู้ป่วยฟันผุรากฟัน ส่วนการอ้างว่ายาสีฟันฟลูออไรด์สำหรับผู้ใหญ่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ฟลูออไรด์ในน้ำดื่มทำให้เด็กไอคิวต่ำ จริงหรือ?

21 เมษายน 2568แปลและเรียบเรียงบทความ : อดิศร สุขสมอรรถตรวจทานและพิสูจน์อักษร : คมส์ธนนท์ ศุขอัจจะสกุล ข้อมูลที่ถูกแชร์ : มีข้อมูลสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประโยชน์ของฟลูออไรด์ต่อสุขภาพฟันเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐฯ เมื่อ โรเบิร์ต เอฟ. เคนเนดี จูเนียร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐฯ เคยกล่าวถึงโทษของการเติมฟลูออไรด์ในน้ำดื่มของสหรัฐฯ ระหว่างการหาเสียงเมื่อปี 2024 โดยให้ความเห็นว่าฟลูออไรด์ในน้ำดื่มส่งผลเสียต่อพัฒนาการสมองของเยาวชน โดยอ้างคดีเมื่อเดือนกันยายน 2024 ที่สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐฯ (EPA) ถูกตัดสินให้ปรับปรุงคำแนะนำเรื่องระดับปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม และงานวิจัยจากโครงการพิษวิทยาแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Toxicology Program – NTP) ที่เนื้อหาฉบับร่างที่เผยแพร่เมื่อเดือนสิงหาคม 2024 ระบุว่า ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่มระดับสูง ส่งผลต่อพัฒนาการสมองที่ลดลงในเยาวชน การต่อต้านฟลูออไรด์ในน้ำดื่มโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐฯ ส่งผลให้กระแสต่อต้านฟลูออไรด์ในน้ำดื่มถูกเผยแพร่ในวงกว้าง โดยล่าสุดผู้ว่าการรัฐยูทาห์เตรียมประกาศแบนการเติมฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม ส่งผลให้ยูทาห์อาจเป็นรัฐแรกในสหรัฐฯ ที่มีนโยบายแบนฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม บทสรุป : 1.การเติมฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม ทำให้ได้รับฟลูออไรด์ในรูปแบบ Systemic Fluoride เสริมจากการแปรงฟันซึ่งเป็นการรับฟลูออไรด์ในรูปแบบ Topical Fluoride2.แม้จะมีงานวิจัยพบว่าการน้ำดื่มที่มีฟลูออไรด์สูง ส่งผลต่อไอคิวของเด็ก แต่ไม่มีรายงานว่า การน้ำดื่มที่มีปริมาณฟลูออไรด์เหมาะสม […]

“คารม” แจงไม่จริง ฟลูออไรด์ในยาสีฟันและแหล่งน้ำของไม่ปลอดภัย

“คารม” รองโฆษกรัฐบาล แจงเฟคนิวส์บอก ฟลูออไรด์ในยาสีฟันและในแหล่งน้ำของประเทศไทยไม่ปลอดภัยนั้น ไม่จริง ย้ำแปรงทุกวันรักษาฟันดี ช่วยป้องกันฟันผุไม่ส่งผลต่อสมองและ IQ เด็กแน่นอน

ชัวร์ก่อนแชร์ : 7 พฤติกรรมทำร้ายสุขภาพฟัน จริงหรือ ?

บนสังคมออนไลน์แชร์เตือน 7 พฤติกรรมที่อาจทำร้ายสุขภาพฟันของเราได้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : ยาสีฟันที่มีไตรโคลซานอันตราย จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์ข้อความเตือนให้ระวังสารเคมีที่ชื่อว่าไตรโคลซานในยาสีฟัน เสี่ยงเป็นอันตรายต่อตับและไต เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : แปรงสีฟันต้องลวกน้ำร้อนฆ่าเชื้อ จริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์แชร์บทความเตือนว่า แปรงสีฟันเป็นแหล่งดึงดูดเชื้อโรค ดังนั้น ควรใช้น้ำร้อนฆ่าเชื้อบ้าง เรื่องนี้จริงหรือไม่? ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

ชัวร์ก่อนแชร์ : แชร์คำแนะนำเลือกใช้ยาสีฟันจริงหรือ?

บนสังคมออนไลน์มีการแชร์คำแนะนำเกี่ยวกับการเลือกใช้ยาสีฟันยี่ห้อต่างๆ มีทั้งแนะให้ใช้และแนะเลี่ยง อ้างหมอฟันส่งมาให้ เรื่องนี้จริงหรือไม่ ติดตามจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์

...