11 พฤศจิกายน 2567 – ปวดหัวแค่ไหน ถึงควรใช้ยา จริงหรือไม่ ยิ่งปวดหัว ยิ่งกินยา ยิ่งติดยา และทำให้ยิ่งปวดหัวกว่าเดิม
🎯 ตรวจสอบกับ อ.นพ.ประกิต อนุกูลวิทยา อายุรแพทย์โรคระบบประสาท คลินิกโรคปวดศีรษะ สาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กรรมการชมรมศึกษาโรคปวดศีรษะ ภายใต้สมาคมประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย
ความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับยาแก้ปวดหัว
- ยิ่งกินยา ยิ่งติดยา จริงหรือ ?
ตอบ : จริง เฉพาะยาแก้ปวดบางชนิด เช่น พาราเซตามอล ยาแก้อักเสบ แต่ยาป้องกันไมเกรนไม่ทำให้ติดยา - กินยาแก้ปวดมาก ๆ แล้วจะปวดหัวมากขึ้น ?
ตอบ : จริง หากกินยาแก้ปวดติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดภาวะ “ปวดหัวจากยา” (Medication Overuse Headache) คือ สมองจะชินชากับยา ทำให้ต้องกินยาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ยาแก้ปวดหัวมี 2 กลุ่ม ได้แก่
- ยาแก้ปวด: เช่น พาราเซตามอล ยาแก้อักเสบ ใช้บรรเทาอาการปวดเมื่อมีอาการ ไม่ควรกินทุกวัน หรือติดต่อกันนานเกินไป
- ยาป้องกัน: เช่น ยากันชัก ยาต้านเศร้า ใช้ลดความถี่ของการปวดหัว ต้องกินทุกวัน ตามที่แพทย์สั่ง จนกว่าอาการจะดีขึ้น
คำแนะนำในการใช้ยาแก้ปวด
- ใช้ให้ถูกต้อง 3R:
- Right Drug: ใช้ยาให้ถูกชนิด เหมาะสมกับอาการ
- Right Dose: ใช้ยาในขนาดที่ถูกต้อง
- Right Duration: ใช้ยาในระยะเวลาที่เหมาะสม
- กินยาแก้ปวดทันทีที่เริ่มปวดหัว: เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
- ไม่ควรกินยาแก้ปวดเกิน 10 วันต่อเดือน
- ถ้าปวดหัวบ่อย หรือกินยาแล้วไม่หาย ควรพบแพทย์
สัมภาษณ์เมื่อ : 24 ตุลาคม 2567
ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์
เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter