7 มีนาคม 2566 – ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ เริ่มตรวจสอบข้อเท็จจริงบนโลกออนไลน์ตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2558 เพื่อแก้ปัญหาการแพร่กระจายของข้อมูลไม่ถูกต้อง และได้ช่วยทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลเท็จมาแล้วกว่า 3000 ตอน
วันนี้เมื่อ 8 ปีที่แล้ว (7 มีนาคม 2558) ชัวร์ก่อนแชร์ได้เผยแพร่เนื้อหาตอนแรก คือ ตอน รังสีคอสมิคจากดาวอังคาร มีจริงหรือ? ซึ่งเราได้รับเกียรติจากอาจารย์ ประพีร์ วิราพร เลขาธิการสมาคมดาราศาสตร์ไทย ผู้เชี่ยวชาญท่านแรกร่วมตรวจสอบข้อมูลเท็จเกี่ยวกับดาราศาสตร์ไทย ได้สรุปไว้ในครั้งนั้นว่า เป็นเรื่องที่ไม่จริง ไม่ควรแชร์ ❌ ดาวอังคารไม่มีรังสีเพราะเป็นดาวเคราะห์ไม่ใช่ดาวฤกษ์ และสนามแม่เหล็กโลกก็ป้องกันรังสีคอสมิคไว้แล้ว ส่วนสิ่งที่จะกระทบต่อมือถือได้ก็ต้องเป็นลมสุริยะจากดวงอาทิตย์
เนื่องในโอกาสเข้าสู่ปีที่ 9 ของรายการชัวร์ก่อนแชร์ ชัวร์ก่อนแชร์ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ประพีร์ วิราพร อีกครั้ง อาจารย์กล่าวว่า เรื่องข่าวลวงดาราศาสตร์ไม่ว่าจะผ่านไปแล้วกี่ปีก็ตาม ก็มักจะวนซ้ำอยู่เสมอ
ดังนั้น เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อข่าวลวง ต่อไปนี้เป็นเทคนิคการจับเท็จข้อมูลลวงของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับดาราศาสตร์ไทย
5 เทคนิคตรวจข้อมูลดาราศาสตร์ มีอะไรบ้าง ?
1.มองหาคำสำคัญ เช่น รังสีคอสมิค ดาวเคราะห์ หรือ ดาวอังคาร
2.เลือกแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้
3.ค้นคว้าจากหลากหลายแหล่ง
4.หากเป็นข่าวต้องตามหาต้นฉบับ
5.ตระหนักว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้
สัมภาษณ์เมื่อ : 6 มีนาคม 2566
ตรวจสอบข้อเท็จจริง : พีรพล อนุตรโสตถิ์
เรียบเรียง : ชยานิษฐ์ ผ่องใส
หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare
สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter