Taiwan spokesperson

ไต้หวันเตือนระวังข่าวเท็จเรื่องเพจเจอร์ฮิซบอลเลาห์ระเบิด

ไทเป 19 ก.ย.- ไต้หวันเตือนประชาชนให้ระมัดระวังข้อมูลออนไลน์เท็จเรื่องการระเบิดของเพจเจอร์หลายพันเครื่องที่มุ่งเป้าหมายโจมตีสมาชิกฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน หลังจากบริษัทไต้หวันถูกโยงว่าผลิตเพจเจอร์เหล่านี้ โฆษกรัฐบาลไต้หวันแถลงต่อสื่อมวลชนในวันนี้ว่า หน่วยงานด้านความมั่นคงระดับชาติของไต้หวันกำลังเฝ้าติดตามข่าวลือออนไลน์ที่สันนิษฐานว่าต้นตอมาจากต่างประเทศ ซึ่งหาทางเชื่อมโยงรัฐบาลไต้หวันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างประสงค์ร้าย โฆษกย้ำว่า เพจเจอร์ที่ส่งออกจากไต้หวันไม่มีปัญหาเรื่องการระเบิดแต่อย่างใด เมื่อวานนี้บริษัทโกลด์ อพอลโล (Gold Apollo) ที่ตั้งอยู่ในไต้หวันแถลงว่า บริษัทไม่ได้ผลิตเพจเจอร์ที่ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องในเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แต่เพจเจอร์เหล่านี้ผลิตโดยบริษัทในกรุงบูดาเปสต์ของฮังการีที่มีใบอนุญาตให้ใช้ชื่อสินค้าของบริษัท (อ่านเพิ่มเติม https://tna.mcot.net/world-1421504).-814.-สำนักข่าวไทย 

ชี้โพสต์เรื่องอิสราเอล-ฮามาสใน “เอ็กซ์” ส่วนใหญ่ไม่จริง

ปารีส 20 ต.ค.- ผลการศึกษาใหม่พบว่า เกือบ 3 ใน 4 ของโพสต์เนื้อหาเท็จเกี่ยวกับความขัดแย้งอิสราเอล-ฮามาสที่แพร่หลายมากที่สุดในแพลตฟอร์มเอ็กซ์ (X) ถูกส่งเสริมโดยบัญชีที่มีเครื่องหมายผ่านการตรวจสอบยืนยัน ผลการศึกษาดังกล่าวเป็นของนิวส์การ์ด (NewsGuard) ซึ่งเป็นระบบจัดอันดับเว็บไซต์ข่าวและเว็บไซต์ข่าวสาร ขณะที่ฟรีเพรส (FreePress) ซึ่งเป็นองค์กรรณรงค์เรื่องสิทธิในการสื่อสารระบุว่า เอ็กซ์เต็มไปด้วยโพสต์ที่เป็นคลิปและภาพความรุนแรง บางโพสต์เป็นของจริง แต่ส่วนใหญ่เป็นโพสต์เท็จและโพสต์จากคนละเวลาและสถานที่ การไม่มีมาตรการคัดกรองใด ๆ ทำให้เป็นเรื่องยากที่สาธารณชนจะแยกข้อเท็จจริงออกจากเรื่องแต่ง ขณะเดียวกันโพสต์เหล่านี้มีแต่ทำให้ความตึงเครียดและความแตกแยกขยายวงกว้างยิ่งขึ้น ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับเอ็กซ์ในขณะนี้ แตกต่างอย่างมากจากช่วงปฏิวัติอาหรับหรืออาหรับสปริงส์ปี 2554 ที่ทวิตเตอร์เป็นที่พึ่งของผู้คนในตะวันออกกลางในการกระจายข่าวสารที่เป็นจริง การระดมความช่วยเหลือ และการเผยแพร่อุดมการณ์ประชาธิปไตย ผู้เชี่ยวชาญเรียกร้องให้เอ็กซ์ที่นายอีลอน มัสก์เปลี่ยนชื่อจากทวิตเตอร์ที่เขาซื้อมาในเดือนตุลาคม 2565 ใช้ทุกเครื่องมือที่มีอยู่หยุดยั้งการแพร่กระจายข้อมูลเท็จและการสร้างความรู้สึกเกลียดชัง เพราะแพลตฟอร์มต่าง ๆ มีหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจนภายใต้มาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากล และเป็นความรับผิดชอบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตและความขัดแย้ง.-สำนักข่าวไทย

VOA ส่งตรงจากสหรัฐ | หวั่นสงครามข้อมูลเท็จรุนแรงช่วงเลือกตั้ง ปธน.สหรัฐ

การเผยแพร่ข่าวปลอมและข้อมูลเท็จในแวดวงการเมืองกลายเป็นเรื่องที่น่ากังวลมากขึ้นในสังคมอเมริกัน  มีการคาดการณ์ว่า ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐครั้งต่อไปในปีหน้า สงครามข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จจะทวีความรุนแรงมากขึ้น คุณคมสัน ศรีธนวิบุญชัย ผู้สื่อข่าว VOA ไทย ส่งรายงานมาจากสหรัฐอเมริกา

5 คำถาม 3 เคล็ดลับ รับมือภัยไซเบอร์และข้อมูลเท็จในยุค A.I. | ชัวร์ก่อนแชร์

5 คำถาม 3 เคล็ดลับ รับมือภัยไซเบอร์และข้อมูลเท็จในยุค A.I. | ชัวร์ก่อนแชร์

บทความ โดย พีรพล อนุตรโสตถิ์ ถึงเวลาปัดฝุ่นฝีมือและวิจารณญาณกันอีกครั้ง เพื่อป้องกันภัยจากการหลอกลวงที่กำลังยกระดับไปอีกขั้น ในยุคที่ “คนร้าย” ร่วมมือกับ “เอไอ” เนื่องในวันตรวจสอบข้อเท็จจริงสากล 2 เมษายน 2566 “ชัวร์ก่อนแชร์” มีเทคนิคสั้นกระชับฉบับเข้าใจง่าย ทุกคนปฏิบัติได้มาฝากไว้ให้เป็นเคล็ดวิชาและวิธีคิดในการรับมือกับ ข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ และภัยไซเบอร์ ที่มีอยู่ดาษดื่น เมื่อ “ข่าวปลอม” หล่อหลอมกับ “เอไอ” กลายเป็น “ภัยไซเบอร์” ที่ลึกล้ำ ย้อนไปในช่วงเริ่มต้น ไม่กี่ปีก่อนที่โลกนี้จะรู้จัก “ข่าวปลอม” แบบที่เรารู้จักกันอยู่ เรื่องราวของข้อมูลเท็จและคำลวงหลอก ถูกเผยแพร่ในรูปแบบ “ข่าวลือ” หรือเรื่องที่ “เขาเล่าว่า” ส่งผ่านช่องทางต่าง ๆ ทั้งปากต่อปาก ประชาคม หรือแม้กระทั่ง กระดานข่าว และ อีเมล แต่เมื่อเทคโนโลยีก้าวล้ำ ทำให้คนเชื่อมต่อพูดคุยกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว แบ่งกลุ่มลับได้ไม่จำกัด และการสร้างเนื้อหาทั้งข่าว ภาพ คลิป เผยแพร่สู่วงกว้าง เป็นไปได้โดยง่ายและราคาถูก ปัญหาที่ดูเหมือนเล็ก จึงกลายเป็น […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ภาพ “ปูติน” “ไบเดน” อุปสมบท จริงหรือ ?

🎯 ตามที่มีการแชร์พร้อมภาพ ของ วลาดิเมีย ปูติน ประธานาธิบดีสหพันธรัฐรัสเซีย และ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา แต่งกายในแบบพระสงฆ์ พร้อมข้อความว่าทั้งสองคนเคยบวช ณ วัดแห่งหนึ่งใน ทิเบต หรือ เขตปกครองตนเองทิเบต นั้น 📌 บทสรุป : ❌ ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ 🔎 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า ภาพนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 ผ่านบัญชีเฟซบุ๊กชื่อ “ต๋องสุเกะ สุวรรณกิจ” เผยแพร่ลงในกลุ่มสังคมออนไลน์ “Midjourney Thailand” ซึ่งอ้างอิงจากข้อมูลในกลุ่มสังคมดังกล่าว กลุ่มนี้เป็นพื้นที่โชว์งานศิลปะตามจินตนาการของผู้ใช้งานกับ ระบบ AI ชื่อว่า midjourney เท่านั้น 👉🏻 นอกจากนี้ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ได้ทำการสอบถามไปยังผู้ใช้งานชื่อ “ต๋องสุเกะ สุวรรณกิจ” ซึ่งได้รับการยืนยันว่า เป็นผู้เผยแพร่ภาพดังกล่าวจริง ด้วยการป้อนคำสั่งไปยังระบบปัญญาประดิษฐ์ดังกล่าว ทั้งนี้ตัวผู้เผยแพร่กล่าวว่า ไม่ได้มีเจตนาในการสร้างความเข้าใจผิดแต่อย่างใด เป็นเพียงการแบ่งปันผลงานลงในกลุ่มเท่านั้น และได้แจ้งในรายละเอียดของภาพในภายหลังแล้วว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ EXPERT TIPS : เทคนิคตรวจข้อมูลดาราศาสตร์ ของ อาจารย์ประพีร์ วิราพร

5 เทคนิคจับเท็จข้อมูลดาราศาสตร์

1.มองหาคำสำคัญ เช่น รังสีคอสมิค ดาวเคราะห์ หรือ ดาวอังคาร

2.เลือกแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

3.ค้นคว้าจากหลากหลายแหล่ง

4.หากเป็นข่าวต้องตามหาต้นฉบับ

5.ตระหนักว่าความรู้ทางวิทยาศาสตร์เปลี่ยนแปลงได้

Spotify ออกข้อกำหนดปราบข้อมูลเท็จโควิดบนแพลตฟอร์ม

สตอกโฮล์ม 31 ม.ค. – สปอติฟาย (Spotify) ผู้ให้บริการสตรีมเพลง พอดแคสต์ และวิดีโอรายใหญ่ของสวีเดน จะเพิ่มคำเตือน ในพอดแคสต์ที่มีการพูดคุยเกี่ยวกับโรคโควิด-19 นายแดเนียล เอ็ก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือซีอีโอ ของสปอติฟาย ระบุในแถลงการณ์ผ่านเว็บไซต์ว่า บริษัทจำเป็นต้องดำเนินการมากขึ้นเพื่อสร้างสมดุลและการเข้าถึงข้อมูลที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากหน่วยงานวิทยาศาสตร์และการแพทย์ในการให้คำแนะนำภายใต้สถานการณ์ระบาดของโรคโควิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน สปอติฟายได้เผยแพร่ข้อกำหนดการใช้งานบนแพลตฟอร์ม (Platform Rules) ที่ใช้มาเป็นเวลานานเมื่อวันอาทิตย์ตามเวลาท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับผู้สร้างสรรค์ผลงานว่าเนื้อหาประเภทใดไม่เป็นที่ยอมรับ ข้อกำหนดดังกล่าวระบุว่า ผู้สร้างสรรค์ผลงานควรหลีกเลี่ยงเนื้อหาที่สนับสนุนข้อมูลทางการแพทย์ที่เป็นเท็จหรือหลอกลวงที่อาจส่งผลอันตรายหรือเป็นภัยคุกคามโดยตรงต่อสุขภาพของประชาชน เช่น เนื้อหาที่ระบุว่าโรคโควิด หรือโรคอื่น ๆ ไม่มีจริง และส่งเสริมให้ผู้คนติดเชื้อโควิดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ ทั้งนี้ สปอติฟายจะลบเนื้อหาที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดการใช้งาน และอาจลบบัญชีผู้ใช้งานที่กระทำความผิดซ้ำซ้อน การใช้แนวทางดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่สปอติฟายถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากการร่วมงานกับนายโจ โรแกน พิธีกรพอดแคสต์ชาวอเมริกันชื่อดังที่สัมภาษณ์ผู้ที่ตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคโควิด ขณะที่นีล ยัง และโจนี มิตเชลล์ สองนักร้องระดับตำนานชื่อดัง ได้ออกมาเรียกร้องให้สปอติฟายถอดบทเพลงของพวกเขาออกจากแพลตฟอร์ม โดยนีล ยัง ระบุผ่านเว็บไซต์ส่วนตัวว่า สปอติฟายเป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับโรคโควิดที่เป็นภัยคุกคามต่อชีวิต. -สำนักข่าวไทย

ข้อมูลเท็จกระพือกระแสต้านวัคซีนในเนเธอร์แลนด์

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การเผยแพร่ข้อมูลเท็จออนไลน์มีส่วนโหมกระพือกระแสต่อต้านวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่กลายเป็นการใช้ความรุนแรงในเนเธอร์แลนด์

ยูทูบสั่งระงับเนื้อหาต่อต้านวัคซีนทั้งหมด

วอชิงตัน 30 ก.ย. – ยูทูบจะระงับการเผยแพร่เนื้อหาที่ต่อต้านการฉีดวัคซีนทั้งหมด จากเดิมที่สั่งห้ามเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 รวมถึงเนื้อหาที่ให้ข้อมูลผิดเกี่ยวกับวัคซีนที่ได้รับการอนุมัติใช้ ยูทูบประกาศนโยบายใหม่เกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลวัคซีนเมื่อวันพุธตามเวลาท้องถิ่นว่า ตัวอย่างเนื้อหาที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่บนยูทูบยังรวมถึงข้ออ้างเกี่ยวกับวัคซีนอื่น ๆ เช่น วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทำให้มีบุตรยาก และวัคซีนเอ็มเอ็มอาร์ที่ป้องกัน 3 โรค คือ โรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน ทำให้เกิดภาวะบกพร่องทางพัฒนาการ นอกจากนี้ ยูทูบยังระงับช่องรายการที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับนักเคลื่อนไหวชื่อดังที่ต่อต้านวัคซีนหลายคน เช่น นายโรเบิร์ต เอฟ เคนเนดี จูเนียร์ และนายโจเซฟ เมอร์โคลา ในขณะเดียวกัน นายเคนเนดีระบุในแถลงการณ์ว่า ไม่มีตัวอย่างใดในประวัติศาสตร์ที่ทำให้เห็นว่าการเซ็นเซอร์และการปิดบังช่วยให้ประชาธิปไตยหรือระบบสาธารณสุขก้าวหน้า ส่วนเว็บไซต์ของนายเมอร์โคลาได้เผยแพร่แถลงการณ์ที่ระบุว่า ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกันทั่วโลก จะไม่ใช้ชีวิตด้วยความหวาดกลัว จะยืนหยัดร่วมกัน และฟื้นฟูเสรีภาพ นโยบายดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่ยูทูบและบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของสหรัฐ เช่น เฟซบุ๊ก อิงค์ และทวิตเตอร์ อิงค์ ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ว่า ข้อกำหนดที่ใช้อยู่ยังไม่เข้มงวดพอเพื่อยับยั้งการเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับสุขภาพบนแพลตฟอร์มของตนเอง อย่างไรก็ดี เมื่อยูทูบตัดสินใจใช้นโยบายเข้มงวดขึ้นเกี่ยวกับการเผยแพร่ข้อมูลผิด ๆ ก็ยังถูกตำหนิจากทั่วโลก ก่อนหน้านี้ ยูทูบได้สั่งปิดช่องสถานีโทรทัศน์อาร์ที ซึ่งเผยแพร่เป็นภาษาเยอรมนีและได้รับการสนับสนุนจากทางการรัสเซีย เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา […]

เซอร์เบียชวนต่างชาติมาฉีดวัคซีนโควิดเพราะในประเทศเมิน

เบลเกรด 4 เม.ย.- เซอร์เบียเชิญชวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ที่มีเหลือเฟือ เนื่องจากคนในประเทศไม่ยอมฉีด ประเทศบนคาบสมุทรบอลข่านแห่งนี้สั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 ไว้เกือบ 15 ล้านโดสสำหรับฉีดให้ประชากร 7 ล้านคน ขณะนี้ได้รับมาแล้ว 3 ล้านโดส ประกอบด้วยวัคซีนของแอสตราเซนเนกา สปุตนิกวี และซิโนฟาร์ม ฉีดไปแล้ว 2 ล้านโดส เป็นหนึ่งในประเทศยากจนที่สุดของยุโรปที่เร่งฉีดวัคซีนได้เร็วที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาค แต่มีคนเข้าข่ายมารับการฉีดเพียง 1 ใน 4 เท่านั้น ช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคมมีคนรับการฉีดวัคซีนเข็มแรกเพียงวันละ 12,000 คน คิดเป็นครึ่งหนึ่งของช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกุมภาพันธ์ สัปดาห์ที่แล้วทางการจึงได้เสนอให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามารับการฉีดฟรี รวมถึงแรงงานต่างถิ่นและคนในประเทศให้มารับการฉีดได้โดยไม่ต้องนัดล่วงหน้า ประธานาธิบดีอเล็กซานเดอร์ วูชิกขอร้องประชาชนได้โปรดมาฉีดวัคซีน แม้ว่าตัวเขาเองยังไม่ฉีดจนถึงขณะนี้ แต่คุยว่าเมื่อใดก็ตามที่เขาฉีด ประชาชนครึ่งล้านคนจะฉีดตามภายในหนึ่งสัปดาห์แน่นอน นักระบาดวิทยาชื่อดังชี้ว่า เรื่องนี้เป็นผลจากการที่กลุ่มต่อต้านวัคซีนแพร่กระจายข้อมูลเท็จทางออนไลน์ คนแบบนี้เพียงร้อยละ 1-2 สามารถมีอิทธิพลต่อคนที่ยังไม่ตัดสินใจได้มากถึงครึ่งหนึ่งอย่างง่ายดาย ขณะที่ชาวเซอร์เบียคนหนึ่งชี้แจงว่า ที่ยังไม่ฉีดเพราะยังไม่เห็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เอเอฟพีระบุว่า ชาวเซอร์เบียไม่เชื่อใจรัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ เพราะมีเรื่องทุจริตและไม่โปร่งใส นักไวรัสวิทยาเตือนว่า การฉีดวัคซีนล่าช้าในขณะที่การระบาดยังคงรุนแรง เสี่ยงทำให้ไวรัสปรับปรุงสายพันธุ์จนดื้อวัคซีนได้ เซอร์เบียมีประชากรทั้งหมดเกือบ […]

1 2
...