ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ทำให้เป็นเริมที่อวัยวะเพศ จริงหรือ?

5 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นความเข้าใจผิดว่าไวรัสที่ทำให้เกิดโรคงูสวัดทำให้เกิดเริมที่อวัยวะเพศ โรคอีสุกอีใส, โรคงูสวัด หรือเริมที่อวัยวะเพศ ล้วนไม่ใช่อาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด 19 ทั้งสิ้น ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จที่เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกาที่อ้างว่า วัคซีนโควิด 19 ทำให้เป็นเริมที่อวัยวะเพศ และสามารถติดต่อผ่านทางเพศสัมพันธ์ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: โดยผู้โพสต์อ้างบทความของหนังสือพิมพ์ New York Post เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2021 ที่อ้างว่า โรคงูสวัดอาจเป็นอาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด 19 นอกจากจะไม่เป็นความจริงแล้ว ในบทความยังสร้างความเข้าใจผิดแก่ผู้อ่านให้เชื่อว่า ไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus) ที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสและโรคงูสวัด เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดเริมที่อวัยวะเพศด้วย ซึ่งแท้จริงแล้วเริมที่อวัยวะเพศเกิดมาจากการติดเชื้อไวรัสเริม (HSV) แม้ ไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ และ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ทำให้เป็นโรคงูสวัด จริงหรือ?

5 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: ผู้ที่จะเป็นโรคงูสวัด ต้องเคยป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อนเท่านั้น โดยมีสาเหตุจากภูมิคุ้มกันอ่อนแอ งานวิจัยไม่อาจยืนยันได้ว่าวัคซีนโควิด 19 มีส่วนกระตุ้นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคงูสวัดหรือไม่ ข้อมูลที่ถูกแชร์: ข้อมูลจากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ New York Post เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2021 อ้างว่าโรคงูสวัดอาจเป็นอาการข้างเคียงจากวัคซีนโควิด 19 จนกลายเป็นไวรัลที่มียอดแชร์, ยอดไลค์ และคอมเมนต์ ผ่านทาง Facebook และ Instagram รวมกันหลายแสนครั้ง ตามรายงานจากเว็บไซต์ Crowdtangle FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: บทความของ New York Post อ้างงานวิจัยของฟิวเรอร์และคณะที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ Rheumatology จุดประสงค์ของงานวิจัยเพื่อรวบรวมข้อมูลด้านความปลอดภัยของวัคซีนโควิด 19 ต่อผู้ป่วยที่เป็นโรครูมาติกจากภูมิคุ้มกันตนเอง (autoimmune inflammatory rheumatic […]

ชัวร์ก่อนแชร์: คนงานไทยในไต้หวันติดเชื้อโควิด 19 เพราะกินน้ำแข็ง จริงหรือ?

4 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: หน่วยงาน CECC ของไต้หวันยืนยันว่าไม่พบแรงงานชาวไทยติดเชื้อโควิด 19 จากการกินน้ำแข็งในไต้หวัน ประธานสมาคมโรคติดเชื้อไต้หวันย้ำว่าการกินน้ำแข็งไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด 19 ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ในไต้หวันเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2021 โดยผู้โพสต์อ้างว่าตนติดโควิด 19 จากคนงานไทย 3 คน โดยคนงานทั้ง 3 มีนิสัยชอบดื่มน้ำเย็นและกินน้ำแข็งเพื่อคลายร้อนทุกๆ วัน จนตอนนี้ทั้ง 3 คนยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล สาเหตุเป็นเพราะน้ำแข็งทำให้หลอดลมมีปัญหาและเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด 19 โดยผู้โพสต์เตือนให้ผู้คนระวังการกินน้ำแข็ง และหันมากินน้ำร้อนเพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด 19 FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Taiwan FactCheck Center ได้สอบถามไปยัง ศูนย์บัญชาการกลางโรคระบาดของไต้หวัน (CECC) เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ไม่ควรสวมหน้ากากผ้าในขณะนี้ เพื่อป้องกันโควิด-19 จริงหรือ ?

2 กรกฎาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์/พีรพล อนุตรโสตถิ์ ตามที่มีการสอบถามข้อมูลเข้ามายังศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ว่า การสวมใส่หน้ากากผ้า ไม่ปลอดภัยในช่วงเวลานี้ นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวกับ นางนภพรรณ นันทพงษ์ ผอ.กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และ การชี้แจงข้อมูลผ่านเฟซบุ๊ก “Tor Phiboonbanakit” ของ พ.อ.(พิเศษ) นพ.ธนะพันธ์ พิบูลย์บรรณกิจ ที่ปรึกษาแผนกโรคติดเชื้อ กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองให้คำแนะนำตรงกันว่า หน้ากากอนามัยเหมาะสมกับการใช้ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง และหากจะสวมหน้ากาก 2 ชั้น ควรสวมหน้ากากอนามัยไว้ด้านในแนบหน้า ส่วนหน้ากากผ้าสวมใส่ข้างนอก บทสรุป : แชร์ได้ แต่ควรอธิบายเพิ่มเติมให้ครบถ้วน ควรใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ เพื่อยกระดับการป้องกันเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป  หน้ากากผ้ายังสามารถใช้ได้ในพื้นที่ที่ไม่ได้มีความเสี่ยงสูง มีหรือมีความแออัด และยอดผู้ป่วยไม่ได้มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น การใช้หน้ากากอย่างเดียวไม่ได้เป็นการการันตีว่าจะไม่ได้รับเชื้อโควิด-19 เพราะการติดเชื้อโควิด-19 ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของบุคคลนั้นๆ ด้วย Fact check : […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สหรัฐฯ ห้ามคนฉีดวัคซีนโควิด 19 ใช้สถานที่สาธารณะ จริงหรือ?

2 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Myth Detector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการนำแนวคิดต่อต้านวัคซีนของโรงเรียน Centner Academy ในรัฐฟลอริด้ามาบิดเบือน หลายหน่วยงานในสหรัฐฯ ให้การสนับสนุนการฉีดวัคซีนและมอบสิทธิประโยชน์แก่ผู้ฉีดวัคซีนโควิด 19 มากมาย ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีผู้ใช้ Facebook ในประเทศจอร์เจียที่ชื่อว่า Mari Margieva เผยแพร่ข้อมูลเท็จโดยอ้างว่าสำนักงาน, โรงยิม, ร้านค้า, สถานที่บริการทางธุรกิจ และโรงเรียนในสหรัฐอเมริกา ปฎิเสธการให้บริการแก่ผู้ที่รับวัคซีนโควิด 19 พร้อมกับแนบคลิปรายงานข่าวโทรทัศน์จากสหรัฐฯ เพื่อเป็นการย้ำข้อกล่าวอ้างของตน FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบของ Myth Detector พบว่าคำกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริง ไม่มีการกีดกันผู้ฉีดวัคซีนโควิด 19 จากการใช้บริการสถานที่สาธารณะในสหรัฐฯ ที่มาคำกล่าวอ้างมาจากการบิดเบือนรายงานข่าวที่โรงเรียนแห่งหนึ่งในรัฐฟลอริด้า ประกาศไม่ให้เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนที่ฉีดวัคซีนแล้ว ไปมีปฎิสัมพันธ์กับเด็กนักเรียน เพราะเชื่อว่าผลเสียจากวัคซีนโควิด 19 จะส่งผลกระทบไปยังเด็กๆ ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน โดยเนื้อหาในท้ายข่าวที่ผู้โพสต์นำมาอ้าง ยังมีบทสัมภาษณ์ของ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: EMA ฟ้อง Astrazeneca จากปัญหาอาการข้างเคียงของวัคซีน จริงหรือ?

1 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vox Check (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: EMA ตั้งใจฟ้องร้องบริษัท Astrazeneca จากปัญหาการส่งมอบวัคซีนโควิด 19 ล่าช้า ความขัดแย้งไม่เกี่ยวกับปัญหาประสิทธิผลและความปลอดภัยของวัคซีน Astrazeneca แต่อย่างใด ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีคลิปวิดีโอเผยแพร่ข้อมูลเท็จในประเทศยูเครนอ้างว่า องค์การยาของสหภาพยุโรป (EMA) เตรียมฟ้องร้องบริษัท Astrazeneca จากปัญหาอาการข้างเคียงของวัคซีนโควิด 19 FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบข้อมูลโดย Vox Check พบว่าข้ออ้างดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ เพราะเหตุผลที่ EMA ฟ้องร้องบริษัท Astrazeneca ไม่ใช่เพราะปัญหาอาการข้างเคียงของวัคซีนโควิด 19 แต่มาจากความล่าช้าของการส่งมอบวัคซีนให้กับประเทศในสหภาพยุโรป ซึ่งไม่เป็นไปตามสัญญาที่ทำไว้กับทาง EMA ตามข้อมูลขององค์การยาของสหภาพยุโรประบุว่า บริษัท Astrazeneca มีสัญญาส่งมอบวัคซีนโควิด 19 ให้กับชาติสมาชิกของสหภาพยุโรปจำนวน 300 ล้านโดสภายในปี 2021 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: WHO แนะนำให้คนฉีดวัคซีน Sinovac ฉีดโดสที่ 3 เพิ่ม จริงหรือ?

1 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Estadao Verifica (บราซิล)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: WHO ไม่เคยแนะนำให้ผู้ที่รับวัคซีน Sinovac ต้องฉีดวัคซีนโดสที่ 3 การวิจัยที่พบว่าวัคซีน Sinovac มีประสิทธิผลลดลงในกลุ่มผู้สูงอายุก็ยังไม่ได้ถูกประเมินทางวิชาการ (Peer Review) จึงไม่สามารถอ้างอิงได้ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ผ่านทาง Twitter ในประเทศบราซิล โดยอ้างว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Sinovac ครบ 2 โดสแล้ว เข้ารับการฉีดวัคซีนโดสที่ 3 เพิ่มเติม เนื่องจากวัคซีนมีประสิทธิผลไม่เพียงพอ จนมีผู้เข้ามากดไลค์ข้อความกว่า 3,100 ครั้ง FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Estadao Verifica ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงของบราซิล ได้อีเมล์ไปถามความเห็นกับทางองค์การอนามัยโลก ซึ่ง WHO ยืนยันว่าไม่มีการให้คำแนะนำดังกล่าวแต่อย่างใด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: การฉีดวัคซีนโควิดเข็ม 2 อาจทำให้ป่วยหนักหรือเสียชีวิต จริงหรือ?

30 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Verafiles (ฟิลิปปินส์)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการนำการคาดการณ์ยอดผู้ป่วยและเสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนโควิด 19 ในประเทศอังกฤษมาสร้างข่าวปลอม การป่วยหรือเสียชีวิตหลังจากฉีดวัคซีนด้วยโรคประจำตัว ไม่นับว่าเป็นสาเหตุจากวัคซีน ข้อมูลที่ถูกแชร์: คลิปวิดีโอและข้อมูลเท็จที่เผยแพร่ของเพจ Facebook ที่ชื่อ Lynn Channel จากประเทศฟิลิปปินส์ ที่เตือนไม่ให้ชาวฟิลิปปินส์ไปฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มที่ 2 โดยอ้างการศึกษาของประเทศอังกฤษที่พบว่าสถิติการรักษาตัวในโรงพยาบาลและการเสียชีวิตของผู้ที่รับวัคซีนโควิด 19 เข็มที่ 2 คิดเป็น 60% และ 70% ตามลำดับ โดยคลิปวิดีโอดังกล่าวทำยอดผู้ชมได้ถึง 127,000 ครั้งและมียอดแชร์กว่า 9,200 ครั้ง ก่อนจะถูกลบไปจาก Facebook FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: คำกล่าวอ้างของ Lynn Channel นำมาจากรายงานของ Scientific Pandemic Influenza Group […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : แนะกินยา Ivermectin ช่วยป้องกัน-รักษาโควิด-19 ได้ จริงหรือ?

30 มิถุนายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ บนสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อมูล จาก American Journal of Therapeutic ยา Ivermectin ช่วยลดการตายและหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลแล้ว พบว่า ข้อมูลมีความจริงบางส่วน แต่ยังไม่ควรแชร์ บทสรุป :  จริงบางส่วน ยังไม่ควรแชร์   ·        งานวิจัยดังกล่าวทางการแพทย์เรียกว่า “การทบทวนอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมาน” หมายความว่าเป็นการนำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ได้สืบค้นได้ นำมาทบทวนรวมกัน ซึ่งบางงานวิจัยก็มีคุณภาพดี บางงานวิจัยมีคุณภาพปานกลาง และบางงานวิจัยก็มีคุณภาพต่ำ ·        ไม่แนะนำให้ซื้อยาตัวนี้มาใช้ในการรักษาเอง ส่วนจะมีการใช้ยาตัวนี้ในอนาคตเพื่อรักษาโควิด-19 หรือไม่นั้น ขอให้ติดตามข้อมูลที่เป็นทางการจากกระทรวงสาธารณสุขต่อไป ·        ในประเทศไทย ไอเวอร์เมคติน เป็นยาที่ขึ้นทะเบียนเพื่อใช้สำหรับการฆ่าพยาธิ หากจะนำยาที่ขึ้นทะเบียนด้วยเหตุผลอย่างหนึ่ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน AstraZeneca ป้องกันโควิด 19 ในผู้สูงอายุไม่ได้ จริงหรือ?

30 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Myth Detector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ผลการทดลองเมื่อวันที่ 22 มี.ค. 2021 ระบุว่า วัคซีน AstraZeneca มีประสิทธิผลในการป้องกันโควิด 19 ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 65 ปีหรือมากกว่าที่เป็น 80% ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการนำวิดีโอรายการโทรทัศน์ที่เผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 มาแชร์ทาง Facebook ในประเทศจอร์เจีย โดยอ้างว่าวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca มีประสิทธิผลในการป้องกันโควิด 19 เพียง 8-10% ในกลุ่มผู้มีอายุ 60 ถึง 70 ปี ส่วนผู้รับวัคซีนอายุ 70 ปีขึ้นไป ประสิทธิผลในการป้องกันโควิด 19 เป็น 0% FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ไวรัสกลายพันธุ์ทุก 23 วัน การฉีดวัคซีนจึงไม่มีประโยชน์ จริงหรือ?

29 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vox Check (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จบางส่วน บทสรุป: โควิด 19 เป็นไวรัสชนิด RNA ซึ่งมีอัตราการกลายพันธุ์บ่อย แต่ไม่มากเท่าไวรัสไข้หวัดใหญ่ แม้ประสิทธิผลต่อไวรัสกลายพันธุ์จะลดลง แต่วัคซีนยังป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตได้ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อความเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศยูเครนว่า ไวรัสทุกชนิดจะกลายพันธุ์ทุกๆ 23 วัน ดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อด้วยการฉีดวัคซีนจึงไม่ได้ผล อย่างไรก็ดี ข้ออ้างดังกล่าวไม่สามารถพิสูจน์ได้ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ไวรัสทุกชนิดมีคุณสมบัติในการผ่าเหล่า เหตุผลเพื่อเพิ่มโอกาสการแพร่เชื้อได้มากขึ้น สารพันธุกรรมของไวรัสแต่ละชนิดจะมีการเข้ารหัสใน DNA หรือ RNA ในทุกๆ ครั้งที่ไวรัสทำการแบ่งตัว จะเกิดความผิดพลาดที่นำไปสู่การผ่าเหล่า การผ่าเหล่าเช่นนี้ช่วยให้ไวรัสมีโอกาสรอดชีวิดมากขึ้น ไวรัสที่เกิดจากการผ่าเหล่า มีความสามารถในการหลีกเลี่ยงสารภูมิต้านทานในร่างกายมนุษย์และยาต้านไวรัส การผ่าเหล่าทำให้ไวรัสสามารถติดเชื้อในเซลล์ของอวัยวะอื่นๆ หรือแม้แต่ข้ามสายพันธุ์ไปติดเชื้อต่างสปีชีส์ได้ และเป็นเหตุผลว่าทำไมเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือโควิด 19 ซึ่งพบในค้างคาวจึงสามารถก่อโรคในมนุษย์ได้ แต่กระนั้น ก็ไม่มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ยืนยันได้ว่าไวรัสทุกชนิดจะเกิดการกลายพันธุ์ทุก 23 วัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ถ้าทุกคนเป็นมังสวิรัติ โรคระบาดจากสัตว์จะหมดไปจากโลก จริงหรือ?

29 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: เชื้อโรคจากสัตว์สู่คนก่อให้เกิดโรคระบาดถึง 60.3% แต่มีโรคระบาดอีกหลายชนิดที่ไม่มีสัตว์เป็นพาหะ การติดเชื้อจากสัตว์สู่คนไม่ได้มาจากการบริโภคเนื้อสัตว์เท่านั้น การสัมผัสสัตว์ป่วยหรือถูกแมลงกัดก็ทำให้ติดเชื้อได้เช่นกัน ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นความเข้าใจผิดที่เผยแพร่ทาง Facebook ของ Moby ศิลปินแนวอิเล็กทรอนิก มิวสิคและนักเรียกร้องสิทธิสัตว์ชาวอเมริกัน โดยอ้างว่า ถ้าคนทั่วโลกหันมาเป็นมังสวิรัติ โรคระบาดจะหมดไปจากโลก เพราะโรคระบาดทั้งหมดมาจากการติดเชื้อจากสัตว์สู่คน FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: แม้ว่าสาเหตุของโรคระบาดส่วนใหญ่จะมาจากเชื้อโรคจากสัตว์สู่คน (60.3%) เช่นเดียวกับการอุบัติของโควิด 19 แต่ยังมีโรคระบาดอีกหลายชนิดที่ไม่ได้มีสัตว์เป็นพาหะ อหิวาตกโรค ซึ่งเกิดจากการดื่มน้ำปนเปื้อนแบคทีเรีย และนำไปสู่การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ถึง 7 ครั้งระหว่างปี 1817 ถึงปัจจุบัน โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ยืนยันว่าเชื้ออหิวาตกโรคไม่ได้มาจากสัตว์ การกินเนื้อสัตว์ไม่ใช่ช่องทางเดียวที่นำไปสู่การติดเชื้อโรคจากสัตว์สู่คน (zoonotic disease) โอกาสติดเชื้อยังรวมถึงการใกล้ชิดกับสัตว์ป่วยหรือการถูกแมลงกัดต่อย ไวรัสเฮนดรา ซึ่งก่อให้เกิดอาการทางระบบหายใจและสมองอักเสบ มีต้นเหตุการระบาดจากไวรัสที่อยู่ในตัวค้างคาวกินผลไม้ ที่มีสถานะเป็นสัตว์รังโรค […]

1 138 139 140 141 142 278
...