ชัวร์ก่อนแชร์: สหรัฐมีวัคซีนโควิดเหลือใช้ จนต้องฉีดให้สัตว์เลี้ยง จริงหรือ?

22 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการนำภาพกิจกรรมฉีดวัคซีนของคลินิกสำหรับสัตว์เลี้ยงมาบิดเบือนว่าเป็นการฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้สุนัขและแมว ปัจจุบันกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ยังไม่อนุมัติการใช้วัคซีนโควิด 19 กับสัตว์ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลภาพและข้อความเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในไต้หวัน โดยอ้างว่าสหรัฐอเมริกามีวัคซีนโควิด 19 เหลือใช้ จนต้องประกาศรับฉีดวัคซีนให้กับสุนัขและแมว ทั้งๆ ที่หลายประเทศทั่วโลกยังเผชิญการขาดแคลนวัคซีน FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Taiwan FactCheck Center ได้สืบค้นที่มาของภาพที่กล่าวอ้าง พบว่าภาพต้นฉบับนำมาจากเว็บไซต์ของ The Pet Stop Clinic ผู้ให้บริการด้านสุขภาพสัตว์เลี้ยง, รับฝากดูแล, ตรวจโรค และฉีดวัคซีนให้สัตว์เลี้ยง ซึ่งภาพที่นำมากล่าวอ้างเป็นภาพที่ The Pet Stop Clinic ใช้โปรโมทกิจกรรมในรัฐฟลอริดาและจอร์เจีย ซึ่งเนื้อหาในภาพไม่มีการกล่าวถึงการฉีดวัคซีนโควิด 19 แก่สัตว์เลี้ยงแต่อย่างใด ส่วนข้อความที่ระบุเป็นอักษรจีนว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สัตว์เลี้ยงป่วยโควิด 19 เหมือนคน และแพร่สู่คนเลี้ยงได้ จริงหรือ?

21 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จบางส่วน บทสรุป: OIE ระบุว่าสัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อโควิด 19 จะแสดงอาการป่วยคล้ายมนุษย์แต่อาการจะไม่รุนแรง ปัจจุบันยังไม่พบการแพร่เชื้อโควิด 19 จากสัตว์เลี้ยงสู่คน แต่มนุษย์สามารถแพร่เชื้อโควิด 19 สู่สัตว์เลี้ยงได้ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในไต้หวัน โดยอ้างว่า โควิด 19 สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่สัตว์และสัตว์สู่คน อย่าปล่อยให้สัตว์เลี้ยงนำเชื้อกลับมาบ้าน พร้อมชี้แจงว่าอาการของสัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อโควิด 19 ไม่แตกต่างจากที่เกิดกับมนุษย์ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ข้อมูลล่าสุดขององค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) ยืนยันรายชื่อสัตว์ 10 ชนิดที่มีรายงานว่าติดเชื้อโควิด 19 ประกอบไปด้วย แมว, สุนัข, เสือภูเขา, มิงค์, เฟอร์เรทท์, เสือดาวหิมะ, เสือโคร่ง, สิงโต, กอลิลา, และนาก โดยงานวิจัยพบว่าสัตว์ตระกูลสัตว์ปีกและโคกระบือไม่มีแนวโน้มติดเชื้อโควิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์:เดินวิ่ง ปั่นจักรยานที่สาธารณะ แพร่เชื้อโควิดไกล 10 เมตรจริงหรือ?

21 กรกฎาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์/พีรพล อนุตรโสตถิ์ ตามที่มีการแชร์คลิปวิดีโอโดยระบุว่า การออกกำลังกายนอกบ้านสามารถแพร่เชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ไกลถึง 10 เท่า และการเดิน วิ่ง ปั่นจักรยานในสวนสาธารณะ สามารถแพร่เชื้อโควิด-19 ได้ไกลถึง 10 เมตร พร้อมแนะนำว่าควรออกกำลังกายให้อยู่เหนือลมเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และดีที่สุดในขณะนี้ ควรออกกำลังกายภายในบ้าน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแล้วพบว่า จริงบางส่วน ยังไม่ควรแชร์ บทสรุป : จริงบางส่วน ยังไม่ควรแชร์ คลิปวิดีโอหรือข้อความที่ระบุว่า การเดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน ในสวนสาธารณะและที่โล่งแจ้ง สามารถแพร่เชื้อโควิด-19 ได้ไกล 10 เมตร ไม่ใช่เรื่องจริง ข้อมูลที่แชร์เป็นการทดสอบในระบบจำลอง โดยปริมาณละอองฝอยที่ไปไกลได้ถึงขนาดนั้น ไม่ได้มีจำนวนมากพอ ที่จะทำให้สามารถติดเชื้อได้ ออกกำลังกายเหนือลมเป็นเรื่องที่ดี แต่ในความเป็นจริงไม่สามารถทำได้ตลอด ฉะนั้นควรเว้นระยะห่างการออกกำลังกายในพื้นที่สาธารณะ โดยห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร การออกกำลังกายภายในบ้านเป็นเรื่องที่ดี แต่หากจะออกกำลังกายในสวนสาธารณะต้องปฏิบัติตนตามวิถีใหม่อย่างเคร่งครัด ข้อมูลที่ถูกแชร์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: คริสเตียน อีริคเซน หัวใจวายกลางสนาม เพราะวัคซีน Pfizer จริงหรือ?

21 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ผอ. สโมสร Inter Milan ต้นสังกัดของ คริสเตียน อีริคเซน ยืนยันว่านักฟุตบอลคนดังยังไม่ได้ฉีดวัคซีนโควิด 19 สาเหตุอาการหัวใจอักเสบในกลุ่มคนอายุน้อยที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA ยังอยู่ในระหว่างการสอบสวน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ไปทั่วโลก เมื่อ ลูบอส โมเทิล แพทย์และบล็อกเกอร์ชาวเชค กล่าวอ้างผ่าน Twitter ส่วนตัวว่า สาเหตุที่ทำให้ คริสเตียน อีริคเซน นักฟุตบอลทีมชาติเดนมาร์กวัย 29 ปี มีอาการหัวใจวายและล้มหมดสติระหว่างการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2020 เป็นเพราะอาการไม่พึงประสงค์จากวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer ที่ฉีดก่อนเดินทางมาร่วมการแข่งขันเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยอ้างว่าเป็นข้อมูลที่ยืนยันโดยหัวหน้าทีมแพทย์และแพทย์โรคหัวใจประจำทีม Inter Milan สโมสรต้นสังกัดของ คริสเตียน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ทีมชาติเยอรมันไม่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เพราะเป็นอันตราย จริงหรือ?

20 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Dogruluk Payi (ตุรกี)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: ดร.ทิม เมเยอร์ แพทย์ทีมชาติเยอรมนีย้ำว่านักฟุตบอลในทีมบางคนได้รับวัคซีนโควิด 19 แล้ว 1 เข็ม แต่จะไม่มีใครฉีดวัคซีนระหว่างทัวร์นาเมนต์เพื่อเลี่ยงอาการข้างเคียง ดร.ทิม เมเยอร์หวังว่านักฟุตบอลจะไดฉีดวัคซีนโควิด 19 มากขึ้นในอนาคต ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ผ่านทาง Twitter ในประเทศตุรกี โดยอ้างว่าแพทย์ประจำทีมฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี ไม่ยอมให้นักกีฬาเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ก่อนร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป เนื่องจากคิดว่าวัคซีนโควิด 19 เป็นอันตรายต่อนักกีฬา ซึ่งเป็นข้อความที่มีการรีทวิตกว่า 200 ครั้งและมียอดไลท์ 350 ครั้ง FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบของ Dogruluk Payi พบว่า ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริง ดร.ทิม เมเยอร์ แพทย์ประจำทีมชาติเยอรมนีกล่าวถึงการฉีดวัคซีนของนักกีฬาทีมชาติระหว่างการแถลงข่าว โดยยืนยันมีนักฟุตบอลบางคนที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มแรกไปแล้ว […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Sinovac มีประสิทธิผลแค่ 3% จริงหรือ?

20 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Estadão Verifica (บราซิล)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: ประสิทธิผล 3% วัดจากการฉีดวัคซีน Sinovac เข็มแรก เมื่อฉีดครบ 2 เข็มประสิทธิผลจะเพิ่มเป็น 56.6% ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ผ่านทาง WhatsApp ในประเทศบราซิล โดยผู้โพสต์อ้างผลวิจัยว่า วัคซีนโควิด 19 มีประสิทธิผลในการป้องกันโรคในผู้สูงอายุเพียงแค่ 3% และจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้รับวัคซีน Sinovac ครบ 2 โดสแล้ว ควรรับวัคซีนโดสที่ 3 เพิ่มเติ่ม โดยเฉพาะวัคซีนที่มาจากบริษัทอื่นๆ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ที่มาของข้ออ้างที่ระบุว่าวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Sinovac มีประสิทธิผลเพียง 3% นำมาจากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัย Universidad de Chile แต่ตัวเลขดังกล่าวเป็นการวัดประสิทธิผลจากการฉีดวัคซีนโดสแรกเท่านั้น ส่วนประสิทธิผลหลังจากฉีดวัคซีนครบ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Sinovac ฉีดแล้วภูมิไม่ขึ้น จริงหรือ?

19 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Estadão Verifica (บราซิล)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: การตรวจหาแอนติบอดี้ไม่อาจวัดประสิทธิผลของวัคซีน เพราะปัจจุบันยังไม่รู้ว่าค่าแอนติบอดี้เท่าใดจึงจะป้องกันโควิด 19 ได้ ถึงแอนติบอดี้หลังฉีดวัคซีนจะมีไม่มาก แต่เซลล์ความจำจะกระตุ้นการสร้างแอนติบอดี้อีกครั้งเมื่อร่างกายติดเชื้อภายหลัง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีคลิปวิดีโอเผยแพร่ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19 จากบริษัท Sinovac เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศบราซิล โดยชายผู้หนึ่งโชว์ผลการตรวจแอนตีบอดี้ในเลือด (Serology Test) หลังจากฉีดวัคซีน Sinovac เข็มที่ 2 ไปแล้ว 30 วัน ซึ่งผลปรากฏว่าพบค่าแอนติบอดี้แค่ 28% นำไปสู่การกล่าวอ้างว่าวัคซีน Sinovac ไม่ช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไวรัสโควิด 19 FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Serology Test คือหนึ่งในวิธีตรวจหาเชื้อโควิด 19 โดยการนำตัวอย่างเลือดมาตรวจหาแอนติบอดี้ของผู้ที่มีความเสี่ยงรับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 แม้องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) จะยอมรับว่าการตรวจหาแอนติบอดี้ คือวิธีตรวจหาเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 มี กราฟีน ทำให้ร่างกายเป็นแม่เหล็ก จริงหรือ?

16 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Maldita (สเปน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: กราฟีนคือผลึกคาร์บอนชนิดหนึ่ง ที่ไม่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กเหลวหรือตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวดที่มีอำนาจแม่เหล็ก วัคซีนโควิด 19 ทุกชนิดก็ไม่มีส่วนประกอบทางเคมีที่มีอำนาจแม่เหล็กแต่อย่างใด ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จที่เผยแพร่โดย หลุยส์ มาร์เซโล มาร์ติเนซ นักพันธุศาสตร์ชาวอาร์เจนติน่า ที่อ้างว่าวัคซีนโควิด 19 มี “กราฟีน” เป็นส่วนประกอบ จึงเป็นสาเหตุให้ผู้รับวัคซีนโควิด 19 กลายเป็นมนุษย์แม่เหล็ก FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: คลิปวิดีโอของ หลุยส์ มาร์เซโล มาร์ติเนซ อ้างว่า กราฟีน มีสภาพเป็นแม่เหล็กเหลว (ferrofluid) และ เป็นตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวด (superconductor) ซึ่งจะมีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กเมื่อถูกเร่งให้อุณหภูมิสูงขึ้นหรือสัมผัสกับความชื้น ซึ่งเป็นการกล่าวอ้างที่ไม่ถูกต้อง กราฟีน (Graphene) คือรูปแบบหนึ่งของผลึกคาร์บอน มีความแข็งแรงและมีน้ำหนักเบา เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าที่ดี ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ทั้งการผลิตหน้าจอแสดงผล, วงจรไฟฟ้า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ไมโครชิปในวัคซีนโควิด 19 ทำให้ต้นแขนเป็นแม่เหล็ก จริงหรือ?

15 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: FDA ระบุอย่างชัดเจนว่าไม่มีไมโครชิปหรือแม่เหล็กเป็นส่วนประกอบของวัคซีนโควิด 19 และไม่มีส่วนประกอบใดในวัคซีนที่มีพลังงานแม่เหล็ก ข้อมูลที่ถูกแชร์: เกิดกระแสโชว์คลิปวิดีโอนำวัตถุที่เป็นโลหะมาดูดติดที่ต้นแขน โดยผู้ทำคลิปหลายคนอ้างว่าสาเหตุที่ต้นแขนซึ่งผ่านการฉีดวัคซีนสามารถดูดโลหะเอาไว้ได้ เป็นเพราะวัคซีนมีไมโครชิปเป็นส่วนประกอบซึ่งทำให้เกิดพลังงานแม่เหล็กที่ต้นแขน ก่อนที่คลิปวิดีโอเหล่านั้นจะถูก Facebook ตั้งสถานะเป็นข่าวปลอมทั้งหมด FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ข้อมูลจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) ระบุอย่างชัดเจนว่าวัคซีนโควิด 19 ที่ใช้ในสหรัฐฯ ไม่มีไมโครชิปหรือแม่เหล็กเป็นส่วนประกอบแต่อย่างใด โทมัส โฮป นักวิจัยวัคซีน มหาวิทยาลัย Northwestern University สหรัฐอเมริกา อธิบายว่าส่วนประกอบหลักๆ ในวัคซีนได้แก่ โปรตีน, ลิปิด, เกลือ, น้ำ, สารเคมีควบคุมความเป็นกรดและด่าง (pH) ซึ่งไม่มีส่วนประกอบที่ก่อกำเนิดพลังงานแม่เหล็กได้ อัล เอ็ดเวิร์ด รองศาสตราจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัย University of Reading […]

ชัวร์ก่อนแชร์: พนักงาน CDC, FDA และ NIAID ไม่ยอมฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

14 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Factcheck (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการบิดเบือนคำให้การของตัวแทนหน่วยงาน CDC, FDA และ NIAID ที่ยืนยันว่าพนักงาน 60% ในองค์กรเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าพนักงานที่เหลือปฎิเสธการฉีดวัคซีน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการบิดเบือนข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์ในสหรัฐอเมริกาว่า ครึ่งหนึ่งของพนักงานในหน่วยงานสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกาปฎิเสธการฉีดวัคซีนโควิด 19 ทั้งพนักงานของหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (CDC), องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) และสถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐ (NIAID) FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ต้นต่อของการบิดเบือนดังกล่าว มาจากการให้ปากคำต่อคณะไต่สวนของวุฒิสภาสหรัฐฯ ในประเด็นการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2021 ที่ผ่านมา หนึ่งในประเด็นไต่สวนได้แก่การชี้แจงจำนวนพนักงานของ CDC, FDA และ NIAID ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้ว ดร.แอนโทนี เฟาซี […]

ชัวร์ก่อนแชร์: นอนคว่ำ-นอนตะแคง เพิ่มออกซิเจนในปอด ให้ผู้ป่วยโควิด-19 จริงหรือ?

14 กรกฎาคม 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์/พีรพล อนุตรโสตถิ์ บนสังคมออนไลน์ มีการแชร์คำแนะนำให้ ผู้ป่วยโควิด-19 ที่ยังไม่ได้เตียงในการรักษา ให้นอนคว่ำ นอนตะแคง นอนหงาย สลับกันไปทุก 2 ชั่วโมง เพื่อให้ปอดเกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีขึ้น และช่วยในการขับเสมหะ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแล้วพบว่า แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม ในกรณีที่พบการอักเสบของปอดทั้ง 2 ข้าง การนอนคว่ำจะช่วยเพิ่มพื้นที่ในปอดให้เกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีขึ้น บทสรุป แชร์ได้ อธิบายเพิ่ม เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง          ในกรณีที่พบการอักเสบของปอดทั้ง 2 ข้าง การนอนคว่ำจะช่วยเพิ่มพื้นที่ในปอดให้เกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ดีขึ้น สำหรับคนที่ร่างกายปกติ สุขภาพแข็งแรง การนอนคว่ำ ไม่ได้ช่วยเพิ่มประโยชน์แต่อย่างใด ข้อมูลที่ถูกแชร์  “สำหรับคนที่ยังไม่ได้เตียง เริ่มเหนื่อยๆ ไม่รู้ระดับอ็อกซิเจนปลายนิ้ว ให้นอนคว่ำ ตะแคง หงาย หัวสูงวนไปนะคะ สลับทุก 2 ชม. หาหมอนมารองตามข้อต่อ เอาให้นอนแล้วสบายตัว ปกติถ้าอ็อกต่ำกว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: Pfizer ผลิตยาต้านโควิด 19 คล้าย Hydroxychloroquine จริงหรือ?

14 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Agencia Lupa (บราซิล)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ยาต้านไวรัสโควิด 19 ที่ Pfizer กำลังทดลอง มีคุณสมบัติยับยั้งการสร้างโปรตีนของไวรัสโควิด 19 คุณสมบัติไม่เหมือนกับ Hydroxychloroquine ที่เป็นยารักษาโรคมาลาเรียและยากดภูมิคุ้มกัน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทาง WhatsApp ในประเทศบราซิล โดยอ้างว่า Pfizer หนึ่งในบริษัทผู้ผลิตวัคซีนโควิด 19 เตรียมจำหน่ายยาต้านไวรัสโควิด 19 ซึ่งมีคุณสมบัติยับยั้งการสร้างโปรตีนของไวรัสแบบเดียวกับ Hydroxychloroquine แม้ Hydroxychloroquine จะไม่เป็นที่ยอมรับจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ในฐานะยารักษาโรคโควิด 19 แต่มันกำลังจะเป็นที่ยอมรับเมื่อถูกจำหน่ายโดยบริษัทยายักษ์ใหญ่ และ Pfizer ก็จะทำเงินมหาศาลจากการขายยา Hydroxychloroquine รูปแบบใหม่ในราคาที่แพงกว่าเดิม FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบโดย Agencia Lupa พบว่าบริษัท Pfizer […]

1 136 137 138 139 140 278
...