ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนที่ดีจะไม่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงหรือเสียชีวิต จริงหรือ?

30 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vistinomer (นอร์ธ มาซิโดเนีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: อาการข้างเคียงจากการใช้ยาเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับยาทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์, สมุนไพร หรือแม้แต่วิตามิน อาการข้างเคียงจากการใช้ยาไม่อาจเทียบได้กับผลกระทบจากโรคระบาดที่ป้องกันได้จากวัคซีน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศนอร์ธ มาซิโดเนีย โดยอ้างว่าวัคซีนที่ดีจะไม่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงหรือทำให้เสียชีวิต FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: อาการข้างเคียงจากการใช้ยาเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับยาทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์, สมุนไพร หรือแม้แต่วิตามิน ที่มีโอกาสทำให้ผู้รับยาเกิดอาการข้างเคียงได้ทั้งสิ้น แม้แต่ยาแก้ปวดชนิดแอสไพริน ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตสำหรับคนที่แพ้ยาชนิดนี้ การพัฒนายาแต่ละชนิดมีความซับซ้อน เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนมีการตอบสนองต่อยาไม่เหมือนกัน การผลิตยาเพื่อรักษาอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย โดยไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่ออวัยวะส่วนอื่นๆ ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก บางครั้งการใช้ยาต่างชนิดในเวลาเดียวกัน ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา มีการประเมินว่าในแต่ละปีมีชาวออสเตรเลียประมาณ 230,000 คน ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลจากอาการข้างเคียงจากการใช้ยา ส่วนยาปฏิชีวนะก็มีอัตราการเกิดอาการแพ้ยาประมาณ 5% ในกลุ่มประชากรทั้งหมด แม้อาการข้างเคียงของยาและวัคซีนจะเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ แต่ความรุนแรงก็ไม่อาจเทียบได้กับผลกระทบจากโรคระบาดที่ป้องกันได้จากวัคซีน โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ซึ่งทำให้มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกเกือบ 200 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตไปแล้วกว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ชาวอินเดียรักษาโควิด 19 ด้วยการดมไอร้อนจากฉี่วัว จริงหรือ?

29 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการนำคลิปที่ชาวอินเดียรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ด้วยการให้สูดไอร้อนมาบิดเบือนว่าเป็นการสูดไอร้อนจากฉี่วัว การสูดไอร้อนไม่สามารถรักษาโควิด 19 ได้ และอาจทำให้เชื้อแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ มากขึ้น ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ในหลายประเทศในทวีปเอเชียโดยอ้างว่า ชาวอินเดียค้นพบวิธีรักษาโควิด 19 ด้วยการฆ่าเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจผ่านการสูดไอร้อนจากฉี่วัว พร้อมแสดงคลิปการรวมตัวสูดไอร้อนของชาวอินเดียตามสถานที่ต่างๆ เป็นหลักฐานยืนยัน FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Taiwan FactCheck Center ได้ตรวจสอบที่มาของคลิปวิดีโอต่างๆ พบว่าเป็นกิจกรรมที่ชาวอินเดียมารวมตัวเพื่อสูดไอร้อนจากท่อที่ต่อจากหม้อต้มแรงดัน ซึ่งชาวอินเดียบางกลุ่มเชื่อว่าไอร้อนจะช่วยฆ่าเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ จนมีการเปิดบาร์ไอร้อน (steam bar) ไว้บริการผู้ป่วยที่ต้องการรักษาโควิด 19 ด้วยการสูดไอร้อนโดยเฉพาะ อย่างไรก็ดี ไม่มีคลิปไหนที่ระบุว่า น้ำที่ใช้ต้มทำไอร้อนคือฉี่ของวัว ดังนั้นการอ้างว่าชาวอินเดียคิดค้นวิธีรักษาโควิด 19 ด้วยการดมไอร้อนจากฉี่วัวจึงไม่เป็นความจริง ส่วนการสูดไอร้อนก็ไม่สามารถรักษาโรคโควิด 19 ด้วยเช่นกัน หลู่มินจี ศาสตราจารย์ภาควิชาโรคติดต่อ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: การสูดไอร้อนสามารถฆ่าไวรัสโควิด 19 ได้ จริงหรือ?

28 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Newsmeter (อินเดีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: WHO และ CDC ยืนยันว่าการสูดไอร้อนไม่สามารถฆ่าไวรัสโควิด 19 ได้ และอาจทำให้ระบบทางเดินหายใจได้รับบาดเจ็บอีกด้วย ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทาง Facebook และ WhatsApp ในประเทศอินเดีย โดยอ้างว่าไวรัสโควิด 19 จะแฝงอยู่ที่โพรงอากาศข้างจมูกหรือไซนัส ผ่านไป 4 ถึง 5 วันเชื้อจะลงปอด จึงจำเป็นต้องกำจัดเชื้อที่จมูกด้วยการสูดไอร้อน โดยอุณหภูมิ 50°C จะทำให้ไวรัสเป็นอัมพาต, 60°C ทำให้ไวรัสอ่อนแอจนถูกภูมิคุ้มกันกำจัดโดยง่าย, 70°C จะทำให้ไวรัสตายทั้งหมด คนที่อยู่บ้านควรสูดไอร้อนวันละครั้ง, คนที่ออกไปซื้อของที่ตลาดต้องสูดวันละ 2 ครั้ง, คนที่พบปะผู้คนหรือทำงานนอกบ้านต้องสูดวันละ 3 ครั้ง สูดครั้งละ 5 นาทีช่วงเช้าและเย็นเป็นเวลา 1 สัปดาห์ เชื้อก็จะหายไปเอง FACT […]

ชัวร์ก่อนแชร์ LIVE : 28 ก.ค. 64 โควิดระบาด กินยาตัวไหนดี ?

ชัวร์ก่อนแชร์ ชวนคุยในหัวข้อ โควิดระบาด กินยาตัวไหนดี ?และหลากหลายข้อสงสัยการกินยาให้ปลอดภัยในระลอกนี้ ดำเนินรายการโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์ และ พงศ์อิทธิ์ เชิดชูวงศ์แขกรับเชิญพิเศษ : ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล อาจารย์พิเศษ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และประธานคณะทำงานสร้างความเข้มแข็งของประชาชน ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (สยส.) วันและเวลาในการรับชม : วันพุธ ที่ 28 กรกฎาคม 2564 เวลา 20.00 น.ช่องทางในการรับชม YouTube : https://www.youtube.com/watch?v=LK_e4lN84g8ช่องทางในการรับชม Facebook : https://fb.watch/78pmgIzpwU/ 00:00 แนะนำพื้นที่ใหม่ “ชัวร์ก่อนแชร์ Membership”02:00 เปิดรายการ ชัวร์ก่อนแชร์ Live06:21 เชิญผู้เชียวชาญพูดคุยหัวข้อ “โควิดระบาด กินยาตัวไหนดี ?”18:27 ยกตัวอย่างข่าวที่แชร์กันถึง “คำแนะนำในโรงพยาบาลกักกัน ที่สามารถนำไปใช้ที่บ้านได้”34:38 ช่วงตอบคำถามเรื่อง “การดื่มน้ำ และสูดดมไอน้ำ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ชิปในวัคซีนโควิด 19 ทำให้ต้นแขนจุดหลอดไฟติด จริงหรือ?

28 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vox Check (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนโควิด 19 ไม่มีไมโครชิปที่ช่วยในการจุดหลอดไฟ ปัจจุบันมีหลอดไฟหลายชนิดที่ให้แสงสว่างโดยไม่ต้องต่อสายไฟ เช่นหลอดไฟที่มีแบตเตอรี่ในตัวหรือมีสวิทช์เปิดปิดที่ขั้วหลอดไฟ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศยูเครน โดยอ้างว่าไมโครชิปที่อยู่ในวัคซีนโควิด 19 ทำให้ต้นแขนจุดหลอดไฟติด โดยมีคลิปวิดีโอสาธิตการจุดหลอดไฟด้วยการแนบที่ต้นแขนของผู้หญิงที่อ้างว่าฉีดวัคซีนโควิด 19 มาแล้ว FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบของ Vox Check ไม่อาจยืนยันได้ว่าผู้หญิงที่อยู่ในคลิปวิดีโอเคยฉีดวัคซีนโควิด 19 มาแล้วหรือไม่ นอกจากนี้ยังไม่พบว่าส่วนประกอบของวัคซีนโควิด 19 มีไมโครชิปที่ช่วยในการจุดหลอดไฟตามที่กล่าวอ้าง ปัจจุบันมีหลอดไฟหลายชนิดที่สามารถให้แสงสว่างโดยไม่ต้องต่อสายไฟ เช่นหลอดไฟที่มีแบตเตอรี่ในตัว หลอดไฟบางชนิดยังมีสวิทช์เปิดปิดที่ขั้วหลอดไฟ ซึ่งสามารถเปิดไฟได้เพียงแค่มือสัมผัส รวมถึงหลอดไฟที่สั่งการเปิดปิดด้วยรีโมท คอนโทรล นอกจากนี้ ในอินเทอร์เน็ตยังมีคลิปวิดีโอมากมายที่สาธิตการประดิษฐ์หลอดไฟที่ให้แสงสว่างเมื่อสัมผัสโดนผิวหนังอีกด้วย ข้อมูลอ้างอิง: https://voxukraine.org/nepravda-pry-kontakti-z-mistsem-vaktsynatsiyi-mozhe-zagoritys-lampa/ หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”LINE :: @SureAndShare หรือคลิก […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน AstraZeneca ทำให้ร่างกายรับส่ง Bluetooth ได้ จริงหรือ?

27 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ไมโครชิปมีขนาดความยาว 0.5 นิ้ว ใหญ่เกินกว่าจะผ่านรูเข็มฉีดยาได้ ส่วนประกอบที่ AstraZeneca เปิดเผย ไม่มีไมโครชิปอยู่ในวัคซีนอย่างที่กล่าวอ้าง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีคลิปวิดีโอเผยแพร่ข้อมูลเท็จผ่านทาง TikTok โดยผู้ที่อ้างว่าเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca บอกว่าในวัคซีนมีไมโครชิป เมื่อฉีดเข้าไปแล้ว ทำให้ตัวเขาเชื่อมต่อสัญญาณ Bluetooth กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกต่างๆ ได้โดยอัตโนมัติ และมีข้อความแสดงการเชื่อมต่อที่ระบุว่า Connecting to AstraZeneca_ChAdOx1-S FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ในความเป็นจริงแล้ว ข้อความแสดงการเชื่อมต่อสัญญาณ Bluetooth บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกสามารถตั้งชื่ออย่างไรก็ได้ ไม่ใช่สิ่งยืนยันว่าในวัคซีน AstraZeneca มีไมโครชิปที่ส่งสัญญาณ Bluetooth ได้ บริษัท AstraZeneca เปิดเผยส่วนประกอบของวัคซีนโควิด 19 ให้สาธารณชนสามารถสืบค้นได้ ซึ่งยืนยันได้ว่าไม่มีไมโครชิปเป็นส่วนประกอบอย่างที่กล่าวอ้าง […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ผู้สวมหน้ากากต้องสูดดมของเสียจากปอด จริงหรือ?

27 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Maldita (สเปน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: หน้ากากอนามัยกรองได้แต่อนุภาคของเชื้อโรค ไม่สามารถกรองมวลที่มีขนาดเล็กเช่นแก๊สได้ ดังนั้นหน้ากากจึงไม่ทำให้ผู้สวมต้องส่งสูดดมคาร์บอนไดออกไซด์ของตนเอง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการสวมหน้ากากอนามัยเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสเปน โดยอ้างว่าผู้ที่สวมหน้ากากอนามัยต้องสูดดมของเสียที่ออกจากปอดกลับเข้าสู่ร่างกาย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: มาเรีย เอลิซ่า คัลเล ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและสาธารณสุข คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย Complutense University of Madrid อธิบายว่าการสวมหน้ากากอนามัยไม่ทำให้เราสูดดมเอาคาร์บอนไดออกไซด์กลับคืนสู่ร่างกาย เนื่องจากหน้ากากถูกออกแบบมาเพื่อกรองอนุภาคของเชื้อโรค แต่ไม่สามารถกรองมวลที่มีขนาดเล็กเช่นแก๊สได้ ส่วนที่เป็นทิชชูของหน้ากากจะปล่อยให้แก๊สผ่านเข้าออกได้ ซึ่งออกซิเจนที่มนุษย์หายใจเข้าและคาร์บอนไดออกไซด์ที่มนุษย์เราหายใจออกล้วนเป็นแก๊ส หากหน้ากากกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ในหน้ากาก ศัลยแพทย์ที่ต้องสวมหน้ากากวันละหลายชั่วโมงคงจะต้องเสียชีวิตแน่นอน ส่วนข้ออ้างที่ว่าการสวมหน้ากากเสี่ยงต่อการติดเชื้อรา, แบคทีเรีย, ปรสิต และไวรัส ที่ทำให้ป่วยเป็นปอดอักเสบก็ไม่เป็นความจริง มิเกล บาร์รูโก แฟร์แรโร ผู้อำนวยการศูนย์โรคปอด โรงพยาบาล Clínico de Salamanca ยืนยันว่าการสวมหน้ากากอย่างถูกวิธีไม่ใช่สาเหตุของการเกิดโรค เพื่อเลี่ยงการติดเชื้อทางอ้อม ผู้สวมหน้ากากควรเลี่ยงการเอามือไปสัมผัสที่ตัวกรองของหน้ากาก, ไม่ควรสวมหน้ากากนานเกิน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: หน้ากากอนามัยฆ่าเชื้อด้วย Ethylene Oxide ที่ก่อมะเร็ง จริงหรือ?

26 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Maldita (สเปน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: Ethylene Oxide ใช้ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ แต่ไม่ได้ใช้ฆ่าเชื้อหน้ากากอนามัยทุกชนิดอย่างที่กล่าวอ้าง ไม่พบหลักฐานว่าการใช้สิ่งของที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วย Ethylene Oxide จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการสวมหน้ากากอนามัยเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในสเปน โดยอ้างว่าหน้ากากอนามัยถูกฆ่าเชื้อด้วย Ethylene Oxide ที่เป็นสารก่อมะเร็งและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Ethylene Oxide เป็นก๊าซไม่มีสี ใช้ในการฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ในโรงพยาบาลทั่วโลก การตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย Fullfact ยืนยันว่า แม้การสัมผัส Ethylene Oxide ในปริมาณมากอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพและทำให้เป็นมะเร็งได้ แต่ไม่พบหลักฐานว่าการใช้สิ่งของที่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วย Ethylene Oxide จะส่งผลเสียต่อสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขของประเทศสเปนยืนยันผ่านเว็บไซต์ Maldita ว่า ไม่ใช่หน้ากากอนามัยทุกชนิดจะต้องผ่านการฆ่าเชื้อด้วย Ethylene Oxide อย่างที่กล่าวอ้าง และย้ำว่าหน้ากากอนามัยที่จำหน่ายในประเทศได้รับการตรวจสอบมาตรฐานแล้วว่าไม่เป็นอันตรายต่อผู้สวมใส่ เช่นเดียวกับสำนักงานกำกับดูแลด้านการแพทย์และสาธารณสุขของอังกฤษ (MHRA) ที่อธิบายว่ากระบวนการฆ่าเชื้อด้วย […]

ชัวร์ก่อนแชร์: การบังคับฉีดวัคซีนคือการสร้างกำไรแก่ผู้ผลิตวัคซีน จริงหรือ?

24 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vox Check (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัตถุประสงค์ของการฉีดวัคซีนคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน แต่ละประเทศมีนโยบายเกี่ยวกับวัคซีนแตกต่างกันไป และไม่ใช่ทุกประเทศที่บังคับให้ประชาชนทุกคนต้องฉีดวัคซีน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จผ่านอินโฟกราฟฟิคในประเทศยูเครน โดยเนื้อหาอ้างว่าเหตุผลที่แต่ละประเทศบังคับให้ประชาชนฉีดวัคซีน เพื่อสร้างกำไรให้กับบริษัทผู้ผลิตวัคซีนและผู้ที่เกี่ยวข้อง FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: แม้ว่าการผลิตวัคซีนจะสร้างรายได้มหาศาล ทั้งจากผู้เข้ารับการวัคซีนหรือผ่านทางเงินภาษีที่จ่ายโดยรัฐบาล แต่วัตถุประสงค์หลักของการรณรงค์ฉีดวัคซีน คือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน และไม่ใช่ทุกประเทศที่มีนโยบายบังคับให้ประชาชนต้องเข้ารับการฉีดวัคซีนทุกคน ในแต่ละประเทศจะมีนโยบายเกี่ยวกับวัคซีนแตกต่างกันไป รายงานของสถาบันภูมิแพ้และโรคติดต่อแห่งชาติสหรัฐ (NIAID) ระบุว่า ทุกรัฐในสหรัฐฯ และบางรัฐในประเทศแคนาดามีข้อกำหนดให้เด็กทุกคนต้องเข้ารับวัคซีนก่อนเข้าเรียน ในหลายรัฐมีการอนุโลมให้สามารถปฎิเสธวัคซีนด้วยเหตุผลทางการแพทย์หรือเหตุผลทางศาสนาและความเชื่ออื่นๆ มีเพียงรัฐมิสซิสซิปปีและเวสต์ เวอร์จิเนียเท่านั้น ที่การปฎิเสธวัคซีนต้องเป็นไปตามเหตุผลทางการแพทย์เท่านั้น แม้เด็กอเมริกันส่วนใหญ่จะได้รับวัคซีน แต่มีเยาวชนสหรัฐฯ ถึง 10% ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนด้วยเหตุผลต่างๆ ประเทศออสเตรเลียไม่มีนโยบายบังคับให้ประชาชนฉีดวัคซีน แต่มีนโยบายช่วยเหลือการเงินแก่ประชาชนที่ฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นอัตราการฉีดวัคซีนในประเทศ โดยผู้ปกครองจะได้รับเงินช่วยเหลือโดยไม่หักภาษีจำนวน 129 ดอลลาร์ออสเตรเลีย เมื่อลูกๆ ของพวกเขาเข้ารับวัคซีนในช่วงวัย 18 ถึง 24 เดือน และจะได้รับเงินช่วยเหลืออีกครั้งเมื่อเด็กเข้ารับวัคซีนอีกครั้งในช่วงวัย […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ญี่ปุ่นไม่รับบริจาคโลหิตจากผู้รับวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

23 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Factcheck (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นระบุให้ผู้รับวัคซีนโควิด 19 ควรเว้นจากบริจาคโลหิตเป็นเวลา 48 ชั่วโมง เพื่อตรวจสอบอาการข้างเคียงและยืนยันความพร้อมก่อนการบริจาคโลหิต ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทาง Facebook ในสหรัฐอเมริกา โดยอ้างว่าประเทศญี่ปุ่นไม่รับบริจาคโลหิตจากผู้ฉีดวัคซีนโควิด 19 เนื่องจากไม่มั่นใจในความปลอดภัย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ฮิโตชิ ฮัตตะ โฆษกสถานทูตญี่ปุ่นประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. อธิบายต่อ Factcheck ว่า ญี่ปุ่นไม่ได้ปฎิเสธการรับบริจาคโลดหิตจากผู้ฉีดวัคซีนโควิด 19 แต่ขอให้ระงับการบริจาคเลือดในระหว่างที่รัฐบาลกำลังสรุปแนวทางการบริจาคโลหิตสำหรับผู้รับวัคซีนโควิด 19 ข้อเสมอแนะจากกระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นระบุว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ไม่ควรบริจาคโลหิตเป็นเวลา 48 ชั่วโมง โดยฮิโตชิ ฮัตตะย้ำว่ามาตรการดังกล่าวไม่ใช่เพราะสงสัยความปลอดภัยของวัคซีน แต่ต้องการให้ผู้รับวัคซีนตรวจสอบอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเช่นอาการปวดหัวหรือเป็นไข้ เพื่อยืนยันความพร้อมก่อนการบริจาคโลหิต ดร.จูลี แคทซ์ คาร์ป ผู้อำนวยการแผนกเวชศาสตร์บริการโลหิต โรงพยาบาล Thomas Jefferson […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ผู้ว่าฯบราซิลเลี่ยงฉีดวัคซีน Sinovac เพื่อรอ Pfizer จริงหรือ?

22 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Aos Fatos (บราซิล)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: สาเหตุที่ผู้ว่าการรัฐเซา เปาโลไม่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ก่อนที่วัคซีน Pfizer จะนำเข้าในประเทศ เนื่องจากเพิ่งเข้ารับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และต้องรอเป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนจะฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้ มีภาพถ่ายยืนยันว่าผู้ว่าการรัฐเซา เปาโลเข้ารับการฉีดวัคซีน Sinovac มาแล้วจริงๆ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทาง Facebook ในประเทศบราซิล โดยอ้างว่า ชูเอา โดเรีย ผู้ว่าการรัฐเซา เปาโล ไปรอต่อคิวเพื่อฉีดวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer ทั้งๆ ที่เคยบอกว่าจะไปฉีดวัคซีนของ Sinovac จนมีผู้นำข้อความดังกล่าวไปแชร์กว่าพันครั้ง ก่อนจะถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอมในเวลาต่อมา FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ประเทศบราซิลอนุมัติวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : คลิป ต่างประเทศนำผู้ป่วยโควิด-19 บรรจุในถุงพลาสติก จริงหรือ ?

22 กรกฎาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, ณัฐวัฒน์ จิตรมั่น ตามที่มีการแชร์คลิปวิดีโอระบุว่า เป็นเหตุการณ์ที่ต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ หรือ อินโดนีเซีย ว่าเป็นการนำผู้ป่วยใกล้เสียชีวิตจากโควิด-19 บรรจุในถุงพลาสติกใส ๆ นั้น บทสรุป : ไม่จริง เป็นคลิปที่ถูกโยงมั่ว ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบพบว่า คลิปดังกล่าวมาจากเหตุการณ์ส่วนหนึ่งของการประท้วงรัฐบาลโคลอมเบีย โดยโพสต์อินสตาแกรมหนึ่งระบุว่า เป็นที่เมืองเมเดยิน จังหวัดอันติโอเกีย ในประเทศโคลอมเบีย เมื่อราวปลายเดือนพฤษภาคม 2564 และคลิป YouTube หนึ่ง ระบุว่า กิจกรรมการแสดงดังกล่าว ชื่อว่า “Packaged” จัดขึ้นที่ Poblado Park เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 ดังนั้น ภาพที่ปรากฏในคลิปดังกล่าว เป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์ ของผู้ประท้วง ไม่ใช่เหตุการณ์ที่มีการนำศพผู้เสียชีวิตบรรจุลงในถุงแต่อย่างใด รวมทั้งไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่อินโดนีเซีย หรือ […]

1 135 136 137 138 139 278
...