ชัวร์ก่อนแชร์: โปรตีนหนามจากวัคซีนเป็นอันตรายและปนเปื้อนในน้ำนมแม่ จริงหรือ?

16 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Myth Detector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: โปรตีนหนามจากวัคซีนโควิด 19 ส่วนใหญ่จะอยู่ที่กล้ามเนื้อต้นแขนที่ฉีดยา โปรตีนหนามพบในกระแสเลือดน้อยมากและไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะภายใน งานวิจัยไม่พบส่วนประกอบของวัคซีนปนเปื้อนในน้ำนมแม่ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศจอร์เจีย โดยอ้างว่าโปรตีนหนามจากวัคซีนโควิด 19 เป็นอันตรายต่อร่างกายไม่ต่างจากโปรตีนหนามของไวรัสโควิด 19 สามารถก่อให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและภาวะข้อต่ออักเสบ โปรตีนหนามเหล่านี้จะไม่อยู่เฉพาะบริเวณที่ฉีดยา แต่จะเข้าสู่กระแสเลือดและแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย เข้าไปในเซลล์ไข่ทำให้ระบบสืบพันธุ์บกพร่อง และยังอยู่ในน้ำนมของแม่ที่ให้นมบุตรอีกด้วย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ข้ออ้างดังกล่าวมาจากความเห็นของ ไบแรม บรีเดิล นักวิทยาภูมิคุ้มกันชาวแคนาดา ที่ยกตัวอย่างผลการชันสูตรศพผู้ป่วยโควิด 19 จำนวน 13 ราย ซึ่งพบโปรตีนหนามของไวรัสโควิด 19 ในสมองของผู้เสียชีวิต รวมถึงการฉีดโปรตีนหนามของไวรัสโควิด 19 ในสัตว์ทดลอง ก็พบว่าสมองและปอดของสัตว์ทดลองถูกทำลายด้วยเช่นกัน การตรวจสอบของ Myth Detector ระบุว่า ผลกระทบจากโปรตีนหนามของไวรัสโควิด 19 และโปรตีนหนามจากวัคซีนโควิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: เด็กเสี่ยงหัวใจอักเสบจากวัคซีน mRNA มากกว่าตายจากโควิด จริงหรือ?

14 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: หัวใจอักเสบในเด็กจากวัคซีน mRNA ยังอยู่ระหว่างสอบสวน อาการส่วนใหญ่ไม่รุนแรง การติดเชื้อโควิด 19 ทำให้หัวใจอักเสบได้เช่นกัน โควิด 19 อาจทำให้เกิดอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก (MIS-C) ซึ่งมีความรุนแรงมาก ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อความโจมตีความปลอดภัยของวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA เผยแพร่ผ่าน Twitter ในสหรัฐอเมริกา โดย เคลลี วิคตอรี แพทย์ชาวอเมริกันที่อ้างว่า ในจำนวนผู้รับวัคซีนโควิด 19 ทั้งหมดในสหรัฐฯ มีสัดส่วนเยาวชนอายุ 12 ถึง 24 ปีเพียงแค่ 8.8% แต่เยาวชนกลับเป็นกลุ่มที่ป่วยด้วยโรคหัวใจอักเสบหลังจากฉีดวัคซีนโควิด 19 ถึง 52.5% ทั้งๆ ที่โอกาสหายป่วยจากโควิด 19 ของเยาวชนสูงถึง 99.99% […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Pfizer ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ จริงหรือ?

13 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Agencia Lupa (บราซิล)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: บริษัท Pfizer ระบุว่าไม่พบปัญหาการตั้งครรภ์, ความผิดปกติของทารกแรกเกิด หรือปัญหาต่อระบบสืบพันธุ์ในอาสาสมัครที่เข้ารับการทดลองวัคซีนโควิด 19 ของ Pfizer แต่อย่างใด ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ผ่านทาง WhatsApp ในประเทศบราซิล โดยอ้างว่าวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer ส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ ผู้โพสต์อ้างว่าข้อมูลดังกล่าวมีอยู่ในคู่มือการทดลองวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer โดยเนื้อหาโดยสรุปกล่าวถึงข้อแนะนำให้อาสาสมัครชายและหญิงงดเว้นจากการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 28 วันหลังจากรับวัคซีน เพื่อลดโอกาสการตั้งครรภ์ เนื่องจากทารกที่เกิดจากพ่อแม่ที่รหัสพันธุกรรมถูกดัดแปลงจากวัคซีนชนิด mRNA จะมีความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: คู่มือการทดลองวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer ในหน้า 132 มีคำแนะนำให้อาสาสมัครชายหญิงงดเว้นจากการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 28 วันหลังจากรับวัคซีนจริง แต่ไม่มีข้อความไหนที่ระบุว่าทารกที่เกิดจากผู้รับวัคซีนจะมีความผิดปกติอย่างที่กล่าวอ้าง […]

ชัวร์ก่อนแชร์: อียูวางแผนใช้วัคซีนพาสปอร์ตตั้งแต่ก่อนโควิด 19 ระบาด จริงหรือ?

11 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vistinomer (นอร์ธ มาซิโดเนีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนพาสปอร์ตสากลที่อียูพิจารณาก่อนการระบาดของโควิด 19 แตกต่างจากวัคซีนพาสปอร์ตสำหรับโควิด 19 วัคซีนพาสปอร์ตสากลไม่ได้บันทึกประวัติการฉีดวัคซีนโควิด 19 อย่างเดียว แต่มีข้อมูลการฉีดวัคซีนชนิดอื่นๆ ด้วย ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศนอร์ธ มาซิโดเนีย โดยอ้างว่าวัคซีนพาสปอร์ตที่สหภาพยุโรป (EU) จะประกาศใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีการวางแผนมาก่อนการระบาดของไวรัสโควิด 19 ถึง 20 เดือน โดยอ้างอิงจากเอกสารที่คณะกรรมาธิการยุโรปยื่นต่อคณะมนตรียุโรปเมื่อปี 2018 เนื้อหากล่าวถึงความจำเป็นของการใช้วัคซีนพาสปอร์ต และอ้างว่างานประชุม Global Vaccination Summit ของคณะกรรมาธิการยุโรปในปี 2019 คือการทำนายการแพร่ระบาดของโควิด 19 พร้อมนโยบายจัดหาฉีดวัคซีนที่จะผลิตในอนาคต FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: เอกสารของคณะกรรมาธิการยุโรปที่ถูกกล่าวอ้าง เป็นการเรียกร้องให้สหภาพยุโรปให้ความสำคัญกับการยับยั้งโรคระบาดที่สามารถป้องกันด้วยวัคซีน โดยอธิบายถึงสถานการณ์วัคซีนในแต่ละประเทศ รวมถึงการวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไข หนึ่งในข้อเสนอแนะคือการเสนอให้อนุมัติวัคซีนพาสปอร์ตสากล […]

ชัวร์ก่อนแชร์: การหายใจลึกๆ ช่วยรักษา Happy Hypoxia ในผู้ป่วยโควิด จริงหรือ?

11 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: Happy Hypoxia เป็นภาวะที่ร่างกายขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง แต่ผู้ป่วยไม่รู้สึกเหนื่อยหอบซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต ผู้ป่วย Happy Hypoxia ต้องได้รับออกซิเจนและยาในการรักษา การสูดหายใจลึกๆ ไม่เพียงพอต่อการรักษาอาการ Happy Hypoxia ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ทางสื่อสังคมออนไลน์ในไต้หวัน โดยอ้างว่าการสูดหายใจลึกๆ จะช่วยป้องกันการเกิด Happy Hypoxia หรือภาวะที่ร่างกายขาดออกซิเจน โดยไม่มีอาการขาดอากาศหายใจ ซึ่งพบได้ในกลุ่มผู้ป่วยโควิด 19 การฝึกสูดหายใจลึกๆ ตลอดเวลา จะช่วยให้ร่างกายไม่ขาดออกซิเจนจากภาวะ Happy Hypoxia FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Happy Hypoxia หรือ Silent Hypoxia เป็นภาวะที่ค่าออกซิเจนในร่างกายลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเหนื่อยหอบทั้งๆ ที่ร่างกายขาดออกซิเจนอย่างมาก ซึ่งกว่าจะพบอาการ ร่างกายก็ขาดออกซิเจนเข้าขั้นวิกฤตและเสี่ยงต่อการเสียชีวิต หลีเจียงจาง […]

ชัวร์ก่อนแชร์ LIVE : 11 ส.ค. 64 ยาฟ้าทะลายโจรยังใช้กับผู้ป่วยโควิด-19 ได้ไหม ?

ดำเนินรายการโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์ และ พงศ์อิทธิ์ เชิดชูวงศ์ ชวนคุยในหัวข้อ : ยาฟ้าทะลายโจรยังสามารถใช้กับผู้ป่วยโควิด-19 ได้ไหม?แขกรับเชิญพิเศษ : ภญ.ดร.ผกากรอง  ขวัญข้าว หัวหน้าศูนย์หลักฐานเชิงประจักษ์ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ชวนคุยในหัวข้อ :  ผู้ป่วยมะเร็งฉีดวัคซีนโควิด-19 ได้ไหม ?แขกรับเชิญพิเศษ :  ศ.ดร.นพ.อิศรางค์  นุชประยูร อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็ง คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันและเวลาในการรับชม : วันพุธ ที่ 11 สิงหาคม 2564 เวลา 20.00 น.ช่องทางในการรับชม YouTube : https://youtu.be/oNdua3t9HVEช่องทางในการรับชม Facebook : https://www.facebook.com/266168127080435/posts/1433051420392094/ 00:00 เปิดรายการ07:45 วัคซีนโควิด กับ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง23:30 ผู้ป่วยมะเร็งตับ เกิดขึ้นได้อย่างไร พร้อมวิธีป้องกัน49:45 ยาฟ้าทะลายโจร ยังสามารถใช้กับผู้ป่วยโควิดได้ไหม?1:08:00 เข้าช่วงชัวร์ก่อนแชร์ LIVE […]

ชัวร์ก่อนแชร์: WHO ไม่แนะนำให้เด็กฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

10 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการนำข้อมูลเก่าของ WHO มาบิดเบือนว่าเป็นข้อมูลอัพเดท WHO รับรองความปลอดภัยของการใช้วัคซีน Pfizer ให้กับเด็กที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป แต่ WHO ยังย้ำว่าเด็กมีความจำเป็นเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 น้อยกว่าประชากรกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลบิดเบือนเผยแพร่ทาง Instagram ในสหรัฐอเมริกา ก่อนจะถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอม โดยอ้างว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) เปลี่ยนท่าทีที่มีต่อวัคซีนโควิด 19 ด้วยการแนะนำว่าเด็กไม่ควรรับวัคซีนโควิด 19 ในขณะนี้ (Children should not be vaccinated for the moment) เนื่องจากไม่มีข้อมูลการทดลองวัคซีนโควิด 19 ในเด็กที่เพียงพอ จนกลายเป็นข้อความที่มีการค้นหาอย่างแพร่หลาย จนติดอันดับ Google Trends […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ไต้หวันได้วัคซีน AstraZeneca ใกล้หมดอายุจากเกาหลีใต้ จริงหรือ?

6 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: WHO ระบุว่าวัคซีนโควิด 19 จะมีอายุใช้งาน 6 ถึง 7 เดือนเมื่อเก็บรักษาอย่างถูกวิธี วัคซีนที่นำเข้าต้องผ่านการตรวจสอบจากประเทศต้นทางเป็นเวลา 2 เดือน การได้รับวัคซีนที่อายุการใช้งานเหลือ 3 เดือนจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีกระแสกดดันทางออนไลน์ต่อรัฐบาลไต้หวัน จากกรณีที่ไต้หวันซื้อวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca จำนวน 117,000 โดสจากผู้ผลิตในประเทศเกาหลีใต้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่าน แต่วัคซีนล็อตดังกล่าวเป็นของที่ไม่มีใครต้องการ เนื่องจากรัฐบาลเกาหลีใต้มีคำสั่งให้จำหน่ายวัคซีนล็อตนั้นไปยังต่างประเทศ เนื่องจากเป็นล็อตที่ใกล้หมดอายุแล้ว โดยเหลืออายุการใช้งานเพียง 3 เดือน ซึ่งน้อยกว่าอายุการใช้งาน 6 ถึง 7 เดือนตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุไว้ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Taiwan FactCheck […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีน Sinovac อยู่ในขั้นทดลอง ใช้กับผู้สูงอายุไม่ได้ จริงหรือ?

5 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Agencia Lupa (บราซิล)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีน Sinovac ผ่านการทดลองกับอาสาสมัครหลายพันคนและได้รับการอนุมัติจาก WHO วัคซีน Sinovac มีประสิทธิผลที่ดีกับผู้สูงอายุ แม้ประสิทธิผลจะลดลงตามอายุของผู้รับวัคซีนที่มากขึ้นก็ตาม ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ผ่านคลิปเสียงใน WhatsApp โดย โรแบร์โต เคราส์ ผู้อ้างว่าเป็นนักไวรัสวิทยาจากโรงพยาบาล Albert Einstein Hospital ประเทศบราซิล ที่กล่าวหาว่าวัคซีน Sinovac ถูกนำมาใช้ในบราซิลทั้งๆ ที่ยังอยู่ในระหว่างการทดลองและยังไม่ผ่านการรับรองด้านความปลอดภัย นอกจากนี้ยังไม่เคยทดลองกับผู้สูงอายุอีกด้วย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Agencia Lupa ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงของประเทศบราซิล ได้ตรวจสอบข้อกล่าวอ้างดังกล่าวกับ กีแลร์มี เวอร์เนค นักระบาดวิทยาและศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัย State University of Rio de Janeiro (UERJ) โดยแยกเป็นประเด็นดังต่อไปนี้ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สวีเดนติดเชื้อโควิด 19 หลังฉีดวัคซีนแล้ว 6,000 คน จริงหรือ?

4 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Vox Check (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: เป็นการนำตัวเลขผู้ติดเชื้อมาสร้างความเข้าใจผิดต่อประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19 สาธารณสุขสวีเดนเผยว่ามีผู้รับวัคซีนโควิด 19 จำนวน 1 โดส แล้วกลับมาติดเชื้อ 0.3% ส่วนผู้ที่รับวัคซีนโควิด 19 ครบ 2 โดสกลับมาติดเชื้อแค่ 0.2% เท่านั้น ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีคลิปวิดีโอเผยแพร่ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับวัคซีนโควิด 19 เผยแพร่ในประเทศยูเครน โดยอ้างว่ามีชาวสวีเดนที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 ไปแล้ว แต่กลับมาติดเชื้อกว่า 6,000 คน พร้อมอ้างว่าเชื้อไวรัสที่อยู่ในวัคซีนคือสาเหตุให้ผู้รับวัคซีนติดเชื้ออีกด้วย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: คลิปวิดีโอดังกล่าวเป็นการนำข้อมูลทางสถิติมาจงใจสร้างความกังวลและความไม่ไว้ใจต่อประสิทธิผลของวัคซีนโควิด 19 ตัวเลขดังกล่าวเป็นข้อมูลของหน่วยงานสาธารณสุขสวีเดนที่เผยแพร่เมื่อเดือนพฤษภาคม โดยระบุว่าในจำนวนผู้รับวัคซีนโควิด 19 ปริมาณ 1 โดสไปแล้วกว่า 2 ล้านคน มีคนที่ติดเชื้อโควิด 19 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ LIVE : 3 ส.ค. 64 อัปเดตแวดวงข่าวปลอมข้อมูลเท็จ

พบกับ : พีรพล อนุตรโสตถิ์ และ พงศ์อิทธิ์ เชิดชูวงศ์อัปเดตแวดวงข่าวปลอมข้อมูลเท็จในแบบ “คุยสด เรียนรู้ เท่าทัน” พร้อมแขกรับเชิญพิเศษ :🔎  นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช.🔎 ทีมงาน “เราช่วยกัน” เว็บไซต์ภาคประชาชน ช่วยค้นหาจุดตรวจโควิดง่าย ๆ : ผู้ดูแลเว็บไซต์ https://wheretotestcovid19.com/🔎 UPDATE ภูมิคุ้มกัน รู้ทันหลากหลาย ข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ วันและเวลาในการรับชม : วันอังคาร ที่ 3 สิงหาคม 2564 เวลา 18.30 น.ช่องทางในการรับชม YouTube : https://youtu.be/x_izYyRgT1Y 00:00 เปิดรายการ10:00 แนะนำเว็บไซต์ “เราช่วยกัน” การหาข้อมูลจุดตรวจโควิด28:00 ตอบคำถามข้อสงสัยจากคอมเมนต์35:00 เมื่อติดโควิดติดต่อ ทางช่องทางใดได้บ้าง1:28:00 เข้าช่วงชัวร์ก่อนแชร์ LIVE UPDATE2:00:07 แนะนำผลิตภัณฑ์ของชัวร์ก่อนแชร์ หมายเหตุ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: อินเดียเปิดประเทศหลังหยุดฉีดวัคซีน แล้วใช้ Ivermectin จริงหรือ?

3 สิงหาคม 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Agencia Lupa (บราซิล)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ช่วงปลายเดือนมิถุนายน อินเดียยังมีผู้ติดเชื้อโควิด 19 เฉลี่ยวันละ 5 หมื่นคน และมีการฉีดวัคซีนโควิด 19 ตลอดทั้งเดือนกว่า 100 ล้านโดส สาธารณสุขอินเดียยกเลิกการใช้ Ivermectin รักษาผู้ป่วยโควิด 19 ที่อาการไม่รุนแรงและผู้ป่วยไม่มีอาการ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลเท็จเผยแพร่ผ่าน WhatsApp ในประเทศอินเดีย โดยอ้างว่าสาเหตุที่อินเดียเปิดให้นักท่องเที่ยวกลับมาเยี่ยมชมทัชมาฮาล สถานที่ท่องเที่ยวชื่อดังของประเทศอีกครั้ง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ได้รับการควบคุมแล้ว หลังจากอินเดียชะลอการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน แล้วหันมาใช้ยาทางเลือกอย่าง Ivermectin ในการรักษา จนจำนวนผู้ป่วยลดลงอย่างเห็นได้ชัด FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบข้อมูลของ Agencia Lupa ยืนยันได้ว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ในประเทศอินเดียยังไม่อาจควบคุมได้ตามที่กล่าวอ้าง และอัตราการติดเชื้อที่ลดลงไม่ใช่ผลมาจากการใช้ยาฆ่าพยาธิชนิด Ivermectin […]

1 134 135 136 137 138 278
...