ชัวร์ก่อนแชร์:ช่วง1เดือนครึ่ง หลังฉีดวัคซีนโควิด ภูมิคุ้มกันลดต่ำลงมาก จริงหรือ?

21 มิถุนายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์ ตามที่มีการแชร์ข้อมูลผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในช่วง 1 เดือนครึ่ง ระบบภูมิคุ้มกันจะลดต่ำลงมาก หากออกนอกบ้านในช่วงหนึ่งเดือนครึ่งนี้จึงมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ แต่เมื่อพ้นรอบ 1 เดือนครึ่งแล้ว ภูมิคุ้มกันร่างกายจะเพิ่มสูงขึ้น 100 ถึง 200 เท่า เรื่องนี้จะเป็นอย่างไร มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมกันกับ “ชัวร์ก่อนแชร์” บทสรุป ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ภายหลังการฉีดวัคซีน 1 เดือนครึ่งไม่ได้ทำให้ภูมิคุ้มกันลดต่ำลง และยิ่งฉีดวัคซีนภูมิคุ้มกันก็จะยิ่งดีขึ้น โดยภูมิคุ้มกันสามารถสูงขึ้นเป็น 10 เท่า 100 เท่า หรือ 1,000 เท่าได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล  แม้ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม ก็ยังมีโอกาสติดเชื้อได้ ดังนั้น จึงยังต้องป้องกันตนเองอยู่ ข้อมูลที่ถูกแชร์ “ถึง ทุกท่านที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 แล้ว!  👋🏽 เรื่องที่ควรทราบและระวังว่าเหตุใดคนที่ฉีดวัคซีนครบ 2 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: กาชาดสหรัฐฯ ไม่รับบริจาคพลาสม่าจากผู้ฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

18 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Checkyourfact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: กาชาดสหรัฐฯ ยังคงรับบริจาคโลหิต, เกร็ดเลือด และ AB Elite Plasma จากผู้ฉีดวัคซีนโควิด 19 ส่วน Convalescent Plasma ผู้รับวัคซีนสามารถบริจาคได้ หากยืนยันได้ว่าเคยป่วยจากโควิด 19 ไม่นานกว่า 6 เดือน ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อความทาง Facebook ตั้งข้อสงสัยเรื่องความปลอดภัยของวัคซีนโควิด 19 โดยอ้างอิงจากประกาศของสภากาชาดสหรัฐอเมริกา ที่ปฎิเสธการรับบริจาคพลาสม่าจากผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 แล้ว FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ข้อความดังกล่าวเป็นการสร้างความเข้าใจผิด แม้ว่าในเว็บไซต์ของสภากาชาดสหรัฐฯ จะประกาศไม่รับบริจาค Convalescent Plasma (พลาสมาในเลือดที่มีโปรตีนภูมิคุ้มกัน) จากผู้ที่รับวัคซีนโควิด 19 แล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าวัคซีนโควิด 19 จะไม่ปลอดภัย เพราะสภากาชาดสหรัฐฯ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ไวรัสโควิด 19 กลายพันธุ์ทำให้ตับอักเสบ จริงหรือ?

17 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Aosfatos (บราซิล)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ไวรัสโควิด 19 มีผลในการทำลายปอดเท่านั้น แต่ความเสียหายของปอดอาจส่งผลเสียต่ออวัยวะภายในอื่นๆ เช่นตับ ไต และหัวใจ ส่วนอาการตับอักเสบของผู้ป่วยโควิด 19 ในบราซิล พบว่าสาเหตุมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะและยาฆ่าพยาธิมารักษาโรคอย่างผิดวิธี ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จจากการให้สัมภาษณ์โดย อัลเบิร์ต ดิกสัน จักษุแพทย์และรองผู้ว่าการรัฐรีอูกรันดีดูนอร์ตีของประเทศบราซิล โดยอ้างว่า สาเหตุที่ผู้ป่วยโควิด 19 เกิดอาการตับอักเสบหลายรายในบราซิล มาจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 กลายพันธุ์ จนมีผู้นำคลิปวิดีโอไปแชร์ทาง Facebook กว่า 22,000 ครั้ง ก่อนจะถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอม FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: วิตอร์ ริเบโร ปาเอส นายแพทย์ด้านพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย University of Sao […]

ชัวร์ก่อนแชร์: อังกฤษเกิดผลข้างเคียงจากวัคซีน AstraZeneca กว่าแสนครั้ง จริงหรือ?

17 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Newtral (สเปน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: เป็นรายงานอาการไม่พึงประสงค์จากผู้รับวัคซีนที่ยังไม่ได้ตรวจสอบว่ามีสาเหตุจากวัคซีนหรือไม่ MHRA ย้ำว่า รายงานอาการไม่พึงประสงค์ไม่ใช่สิ่งชี้ชัดว่าวัคซีนไม่มีความปลอดภัย เนื่องจากการตรวจสอบพบว่าอาการข้างเคียงส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากวัคซีนโดยตรง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการแชร์ข้อมูลว่าชาวอังกฤษได้รายงานอาการข้างเคียงจากการใช้วัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca กว่า 114,000 ครั้ง มีตั้งแต่อาการรุนแรงเช่น โรคระบบประสาท, โรคเกี่ยวกับดวงตา หรือแม้แต่รายงานผู้เสียชีวิต FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: สำนักงานกำกับดูแลด้านการแพทย์และสาธารณสุขของสหราชอาณาจักร (MHRA) ยืนยันผลการตรวจสอบว่า อาการข้างเคียงร้ายแรงที่กล่าวมา ไม่ได้เกิดจากวัคซีนโควิด 19 แต่อย่างใด อาการข้างเคียงที่ได้รับรายงานกว่า 114,000 ครั้ง นำมาจาก Yellow Card แพลตฟอร์มที่ทางการอังกฤษเปิดให้ประชาชนแจ้งอาการไม่พึงประสงค์หลังจากรับวัคซีนโควิด 19 โดยระหว่างวันที่ 4 มกราคมถึง 14 กุมภาพันธ์ มีผู้รายงานอาการไม่พึงประสงค์ทั้งสิ้น 114,625 ครั้ง […]

ชัวร์ก่อนแชร์: โอกาสเสียชีวิตจากวัคซีน AstraZeneca สูงกว่าโควิด 19 จริงหรือ?

16 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Animal Politico (เม็กซิโก)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: เป็นการอ้างอิงคำแนะนำของสาธารณสุขจากประเทศนอร์เวย์ ชาติที่มีอัตราการเสียชีวิตจากโควิด 19 ต่ำมาก คำแนะนำดังกล่าวจึงไม่อาจนำไปใช้กับประเทศอื่นๆ ได้ WHO ยืนยันว่าวัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca มีประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อความเผยแพร่ทาง Facebook ในประเทศเม็กซิโกที่ถูกแชร์หลายร้อยครั้ง โดยเนื้อหาโจมตีรัฐบาลเม็กซิโกที่สั่งซื้อวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca โดยอ้างว่าโอกาสการเสียชีวิตจากวัคซีน AstraZeneca มีมากกว่าการเสียชีวิตจากโควิด 19 โดยผู้โพสต์อ้างอิงตามคำแนะนำของหน่วยงานสาธารณสุขนอร์เวย์ ที่แนะนำให้ประเทศนอร์เวย์ระงับการฉีดวัคซีน AstraZeneca หลังพบการเกิดลิ่มเลือดอุดตันในกลุ่มผู้รับวัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: นอร์เวย์ถือเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจากไวรัสโควิด 19 น้อยกว่าหลายชาติในยุโรป ในจำนวนประชากรกว่า 5.4 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตจากโควิด 19 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ผู้รับวัคซีนจะเสียชีวิตในไม่กี่เดือนจาก พายุไซโตไคน์ จริงหรือ?

16 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Maldita (สเปน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ภาวะพายุไซโตไคน์ หรืออาการตอบสนองต่อการอักเสบทั่วร่างกายขั้นรุนแรง ยังไม่เคยเกิดกับผู้รับวัคซีนรายไหน อาสาสมัครที่ทดลองวัคซีนโควิด 19 ตั้งแต่ปีที่แล้ว ก็ไม่มีใครล้มป่วยด้วยภาวะพายุไซโตไคน์ RNA ของไวรัสที่เกิดจากการสังเคราะห์ในวัคซีนชนิด mRNA จะอยู่ในร่างกายได้ไม่นาน เมื่อ RNA หายไป ก็จะไม่มีโปรตีนของไวรัสให้สังเคราะห์อีกต่อไป ภาวะพายุไซโตไคน์จึงไม่มีทางเกิดขึ้น ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่ทางออนไลน์จนกลายเป็นไวรัลโดย โดโลเรส เคฮิลล์ นักชีววิทยาและศาสตราจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย University College Dublin และ อเล็กซองดรา อองรียง ครูด นักพันธุศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งทั้งสองต่างมีประวัติปกป้องข้อมูลเท็จเกี่ยวกับไวรัสโควิด 19 ทั้งคู่ ข้อความของ โดโลเรส เคฮิลล์ ระบุว่า 30% ของผู้รับวัคซีนโควิด 19 จะเสียชีวิตในเวลาไม่กี่เดือนจากภาวะ “พายุไซโตไคน์” เนื่องจากร่างกายต้องสังเคราะห์หนามโปรตีนที่ได้รับจากวัคซีนในปริมาณมหาศาล […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : ภาพศพกองรวมกับปลา เป็นศพชาวอินเดียที่ติดเชื้อโควิด-19 จริงหรือ ?

15 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริง / เรียบเรียง โดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์, กลาง ณัฐนที บนสังคมออนไลน์ แชร์ภาพศพกองรวมกับปลา พร้อมระบุว่า เป็นศพชาวอินเดียที่ติดเชื้อโควิด-19 ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าว พบว่า “ไม่เป็นความจริง” บทสรุป : เป็นการโยงมั่ว ไม่ควรแชร์ต่อ• ภาพดังกล่าวเป็นศพที่ถูกพบในชายฝั่งทะเลประเทศมาเลเซียตั้งแต่ปี ค.ศ. 2014 ซึ่งขณะนั้นยังไม่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 • ข้อความที่แชร์ว่า “ให้หยุดบริโภคอาหารทะเล” สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ยืนยันว่า “การทิ้งศพลงแม่น้ำคงคา” ไม่มีผลกระทบต่อ “อาหารทะเล” ในประเทศไทย ข้อมูลที่ถูกแชร์บนสังคมออนไลน์ มีการเผยแพร่ ชุดรูปภาพจำนวนหนึ่ง ซึ่งเป็นภาพศพเพศชายในสภาพเปลือยกาย ถูกกองรวมอยู่กับปลาทะเลจำนวนมากบนเรือลำหนึ่ง โดยชุดรูปภาพดังกล่าวถูกแชร์มาพร้อมกับข้อความหลากหลายรูปแบบ ดังนี้ “คนอินเดียตาย โควิด โยนน้ำ ตอนนี้เข้ามาถึง มาเลแล้ว (อย่า) ห้ามกินอาหารทะเลทุกชนิด (อันตราย) (อันตราย)” “เรายังกินปลาทะเลกันไหม ตอนนี้ ห้ามประชาชน กินอาหารทะเล […]

ชัวร์ก่อนแชร์: วัคซีนโควิด 19 ทำให้เม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้นผิดปกติ จริงหรือ?

15 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Tempo CekFakta (อินโดนีเซีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนโควิด 19 ทำให้ปริมาณเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocytes เพิ่มขึ้นเพิ่มยับยั้งไวรัสโควิด 19 แต่จะอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อความโจมตีวัคซีนโควิด 19 ที่เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์ของประเทศอินโดนีเซีย โดยอ้างว่าวัคซีนโควิด 19 กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้นกันผลิตเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte (ลิมโฟไซด์) มากเกินจำเป็น จนนำไปสู่อาการ Lymphocytosis หรือภาวะที่ร่างกายผลิตเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte มากเกินไป ซึ่งจะกลายเป็นสารพิษที่เป็นอันตรายถึงชีวิต ข้อความถูกเผยแพร่มาตั้งแต่ช่วงที่ประเทศอินโดนีเซียเริ่มโครงการฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้กับประชาชนเมื่อต้นปี 2021 จนวันนี้ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวได้รับยอดไลค์กว่า 600 ครั้ง และทำให้ผู้พบเห็นข้อความมาแสดงความเห็นต่อต้านการฉีดวัคซีนโควิด 19 อย่างมาก FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การตรวจสอบข้อเท็จจริงของ Tempo CekFakta ระบุว่า วัคซีนโควิด 19 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ภูมิคุ้มกันหมู่ไม่มีทางเกิดขึ้น จนกว่าทุกคนจะฉีดวัคซีน จริงหรือ?

15 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ภูมิคุ้มกันหมู่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำให้ประชากรทั้งหมดเข้ารับวัคซีน การคำนวณทางคณิตศาสตร์พบว่า ภูมิคุ้มกันหมู่โควิด 19 เกิดขึ้นได้เมื่อมีผู้เข้ารับวัคซีนประมาณ 70% ถึง 85% ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อมูลไม่ถูกต้องเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันหมู่ (Herd Immunity) เผยแพร่ผ่านทาง Instagram โดยระบุว่าภูมิคุ้มกันหมู่จะไม่มีวันเกิดขึ้น เพราะเป็นเรื่องยากที่จะทำให้ประชากรรับวัคซีนได้หมดทุกคน ซึ่งภายหลังข้อความดังกล่าวได้ถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอมในที่สุด FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ภูมิคุ้มกันหมู่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องทำให้ประชากรทั้งหมดเข้ารับการฉีดวัคซีนอย่างที่กล่าวอ้าง ดร.ซาราห์ ฟอร์จูน หัวหน้าภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกันและโรคติดต่อ มหาวิทยาลัย Harvard T.H. Chan School of Public Health อธิบายว่า ภูมิคุ้มกันหมู่ไม่ใช่การทำให้โรคหายไปด้วยการทำให้ประชากรทุกคนเข้ารับการฉีดวัคซีนทั้งหมด ภูมิคุ้มกันหมู่คือการทำให้ประชาชนได้รับวัคซีนในจำนวนที่มากพอ จนการแพร่เชื้อในสังคมลดลง ดร.ซาราห์ ฟอร์จูน ย้ำว่า […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : เตือนฉีดยาชา-ทำฟัน หลังรับวัคซีนโควิด-19 ทำให้ตายได้ จริงหรือ ?

14 มิถุนายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์/พีรพล อนุตรโสตถิ์ ตามที่มีการแชร์ข้อมูลว่า ใครก็ตามที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว ห้ามรับการฉีดยาชา ไม่ว่าจะไปถอนฟันหรือทำอะไรก็ตาม เพราะจะทำให้เสียชีวิตได้ ต้องรอให้ผ่าน 1 เดือนไปก่อน แล้วถึงจะฉีดยาชาได้ นั้น ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบแล้วพบว่า ไม่เป็นความจริง บทสรุป :  ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ ·        ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว สามารถฉีดยาชาและทำฟันได้ ไม่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตตามที่มีการแชร์ข้อมูลผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย   ·        ไม่มีข้อกำหนดใดระบุว่า ต้องรอ 4 สัปดาห์หลังจากฉีดวัคซีนแล้ว ถึงจะฉีดยาชาได้ ข้อมูลที่ถูกแชร์ มีการส่งต่อข้อความบนสื่อสังคมออนไลน์จำนวนมาก โดยระบุว่า “นี่อะเพิ่งไปอ่านเจอข้อมูลของจีนมา. เขาบอกคนที่ฉีดวัคซันแล้ว ไม่เกิน 1 เดือน ห้ามฉีดยาชาเด็ดขาด. ไม่ว่าจะไปถอนฟัน. หรือทําอะไร.  […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ไต้หวันได้รับวัคซีน AstraZeneca ใกล้หมดอายุจากเกาหลีใต้ จริงหรือ?

14 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Taiwan FactCheck Center (ไต้หวัน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: WHO ระบุว่าวัคซีนโควิด 19 จะมีอายุใช้งาน 6 ถึง 7 เดือนเมื่อเก็บรักษาอย่างถูกวิธี วัคซีนต้องผ่านการตรวจสอบอีก 2 เดือน การได้รับวัคซีนที่อายุการใช้งานเหลือ 3 เดือนจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นกระแสกดดันรัฐบาลไต้หวันทางออนไลน์ จากการเผยแพร่ข้อความที่อ้างว่าไต้หวันซื้อวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท AstraZeneca จำนวน 117,000 โดสจากประเทศเกาหลีใต้เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่าน แต่วัคซีนล็อตดังกล่าวเป็นล็อตที่รัฐบาลเกาหลีใต้มีคำสั่งให้จำหน่ายออกนอกประเทศ เนื่องจากเป็นล็อตที่ใกล้หมดอายุแล้ว โดยเหลืออายุการใช้งานเพียง 3 เดือน ซึ่งน้อยกว่าอายุการใช้งาน 6 ถึง 7 เดือนตามที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุไว้ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: Taiwan FactCheck Center […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ยอดตายจากวัคซีนปี 2021 มากกว่าทั้งทศวรรษเกือบ 2 เท่า จริงหรือ?

12 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการบิดเบือนตัวเลขโดย Gateway Pundit เว็บไซต์อนุรักษ์นิยมของสหรัฐฯ รายงานการเสียชีวิตหลังการฉีดวัคซีนของ VAERS ไม่สามารถนำมาอ้างอิงได้ เนื่องจากยังไม่ผ่านการตรวจสอบว่ามีความสัมพันธ์กับวัคซีนหรือไม่ ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่ทาง Facebook โดย Gateway Pundit เว็บไซต์อนุรักษ์นิยมของสหรัฐฯ โดยอ้างว่าหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) เปิดเผยข้อมูลว่า ในปี 2021 ที่มีการฉีดวัคซีนโควิด 19 อย่างแพร่หลายในประเทศ พบการเสียชีวิตจากวัคซีนในสหรัฐฯ ถึง 1,755 ครั้ง ขณะที่ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ยอดผู้เสียชีวิตจากวัคซีนในสหรัฐฯ มีแค่ 994 ครั้ง อย่างไรก็ดี ข้อความดังกล่าวได้ถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอมในเวลาต่อมา FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ตัวเลขการเสียชีวิตที่ Gateway […]

1 140 141 142 143 144 278
...