ชัวร์ก่อนแชร์: การทดลองวัคซีนโควิด 19 ในสัตว์ล้มเหลวและเสียชีวิตทุกตัว จริงหรือ?

28 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Tempo (อินโดนีเซีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นรายงานการทดลองวัคซีนโรคซาร์สในสัตว์เมื่อปี 2012 ไม่ใช่วัคซีนโควิด 19 การทดลองวัคซีนโควิด 19 ในสัตว์ทดลองและมนุษย์ประสบความสำเร็จด้วยดี ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทาง Facebook ในประเทศอินโดนีเซียว่า การทดลองวัคซีนโควิด 19 ในสัตว์ประสบความล้มเหลว และสัตว์ทดลองเสียชีวิตกันหมด โดยมีผู้นำข้อความไปแชร์อีกเกือบ 3 ร้อยครั้ง โดยข้อความระบุว่า สัตว์ทดลองวัคซีนทุกตัวเสียชีวิต แต่ไม่ใช่การตายโดยฉับพลัน หลายตัวเสียชีวิตในอีกหลายเดือนต่อมาด้วยอาการภูมิคุ้มกันบกพร่อง, การติดเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย และภาวะหัวใจล้มเหลว การทดลองวัคซีนไวรัสโคโรนาในสัตว์ทดลองประสบความล้มเหลว นอกจากนี้วัคซีนยังทำให้สัตว์ทดลองเกิดอาการตับอักเสบอีกด้วย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงของ Tempo พบว่าข้อความดังกล่าว นำมาจากผลวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2012 เกี่ยวกับผลการทดลองวัคซีนโรคซาร์สในสัตว์ ไม่เกี่ยวข้องกับการทดลองวัคซีนโควิด 19 แต่อย่างใด ดรูว์ ไวส์แมน ศาสตราจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัย University […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ใกล้ชิดคนฉีดวัคซีนโควิด ประจำเดือนจะไม่ปกติและเป็นหมัน จริงหรือ?

26 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนชนิด mRNA หรือชนิดไวรัสเวคเตอร์ไม่มีผลต่อการเกิดประจำเดือนไม่ปกติหรือความเสี่ยงต่อการเป็นหมันในสตรี อาการข้างเคียงของผู้ฉีดวัคซีนไม่สามารถส่งผ่านไปยังคนที่อยู่ใกล้ชิดได้เช่นกัน ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่แชร์ผ่านทาง Facebook และ Instagram เมื่อวันที่ 15 เมษายนก่อนจะถูก Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอม โดยเนื้อหาอ้างว่าหญิงสาวที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์หลายคนที่รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 หรืออยู่ใกล้ชิดกับคนฉีดวัคซีน ต่างประสบปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ, ประจำเดือนมาช้า, ปัญหาระดูยาว, เกิดอาการตกเลือด, เกิดลิ่มเลือดในประจำเดือน, เกิดภาวะเลือดออกหลังวัยหมดระดู, แท้งบุตร, ตั้งครรภ์นอกมดลูก, และอาการปวดประจำเดือนรุนแรง FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริง ไม่มีหลักฐานว่าวัคซีนมีผลต่อประจำเดือนหรือความเป็นหมันในสตรี ยิ่งไปกว่านั้น อาการข้างเคียงของผู้ฉีดวัคซีนไม่สามารถส่งผ่านไปยังคนที่อยู่ใกล้ชิดได้เช่นกัน ดร.เจนนิเฟอร์ กันเทอร์ นรีแพทย์เจ้าของบทความเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างวัคซีนและอนามัยเจริญพันธุ์ในสตรี กล่าวว่าวัคซีนโควิด 19 ชนิด mRNA หรือชนิดไวรัสเวคเตอร์ที่ใช้ในสหรัฐฯ ก็ไม่ส่งผลต่อการเกิดประจำเดือน, การเป็นหมัน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ห้ามมีเพศสัมพันธ์กับผู้ฉีดวัคซีนโควิด 19 จริงหรือ?

25 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Myth Detector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: CDC ไม่มีข้อเสนอแนะหรือข้อห้ามเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ของผู้ได้รับวัคซีนโควิด 19 การมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 มากไปกว่ากิจกรรมอื่นๆ ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จในประเทศจอร์เจียว่า ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ผ่านการฉีดวัคซีนโควิด 19 เพราะจะเป็นอันตรายต่อคนใกล้ชิดที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) มีการระบุข้อแนะนำเกี่ยวกับกิจกรรมที่ควรทำและไม่ควรทำสำหรับผู้ที่เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 แต่ไม่มีข้อไหนที่กล่าวถึงการมีเพศสัมพันธ์ แอน หลิว แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อ โรงพยาบาล Stanford Health Care เคยให้ทัศนะกับเว็บไซต์ Vice ว่า การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่ผ่านการฉีดวัคซีนมาแล้วทั้งคู่ โอกาสจะเกิดการติดเชื้อโควิด 19 เป็นไปได้น้อย แต่ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้วไปมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนและเป็นคนที่ไม่ได้อาศัยอยู่ในชายคาเดียวกัน โอกาสการติดเชื้อโควิด 19 ยังคงมีอยู่ อย่างไรก็ดี แอน หลิว ย้ำว่าการมีเพศสัมพันธ์ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19 […]

ชัวร์ก่อนแชร์ : หลังฉีดแอสตร้าฯ ต้องเฝ้าระวังลิ่มเลือดอุดตัน 5-28 วัน จริงหรือ?

25 มิถุนายน 2564 ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เรียบเรียง โดย : ภริตพร สุธีพิเชฐภัณฑ์/พีรพล อนุตรโสตถิ์ บนสื่อสังคมออนไลน์มีการแชร์ข้อมูล หากหายไข้หลังจากฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าแล้ว ให้ประชาชนเฝ้าระวังอาการลิ่มเลือดอุดตัน หลังจากฉีดวัคซีนฯ ไปอีก 5-28 วัน ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ ตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวพบว่า เป็นเรื่องจริง บทสรุป แชร์ได้ แต่ต้องอธิบายเพิ่ม เพื่อให้เข้าใจข้อเท็จจริงอย่างครบถ้วน ประเทศไทยมีการเฝ้าระวังอาการของผู้รับวัคซีนอย่างน้อย 28 วัน หรือ ประมาณ 4 สัปดาห์ อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน เกิดขึ้นได้ค่อนข้างน้อยมาก ๆ และเกิดได้น้อยในคนเอเชีย แม้หากมีอาการไม่พึงประสงค์ หากได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็สามารถรักษาอาการให้หายได้ วัคซีนซิโนแวคพบโอกาสการเกิดลิ่มเลือดอุดตันได้น้อยกว่าแอสตร้าเซนเนก้า  การฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นสิ่งที่ดี สามารถลดอาการป่วยรุนแรงและการเสียชีวิตจากโควิด-19 ได้  ข้อมูลที่ถูกแชร์ “ 💉 ใครฉีดวัคซีน AstraZeneca หายไข้แล้ว อย่าเพิ่งวางใจกันนะคะ คอยสังเกตอาการ หลังฉีด 5 -28 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: อาการข้างเคียงของวัคซีน Pfizer คือ การเสียชีวิต จริงหรือ?

25 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Teyit (ตุรกี)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการใช้ความหมายผลกระทบจากวัคซีนที่ไม่ถูกต้อง ถึงแม้การเสียชีวิตจะเป็น “เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์” ที่อาจเกิดจากวัคซีน Pfizer แต่การเสียชีวิตไม่ใช่ “อาการข้างเคียง” ของวัคซีน วัคซีนจะไม่ได้รับการอนุมัติ หากพบว่าโรคเรื้อรัง, ความพิการ หรือการเสียชีวิต เป็นอาการข้างเคียงของวัคซีน ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่ผ่านทาง Twitter ของดร.อาคิฟ บาซาราน แพทย์ชาวตุรกี เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2021 ซึ่งมีการนำข้อมูลวัคซีนโควิด 19 ของบริษัท Pfizer-BioNTech ที่รวบรวมโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (FDA) มาเผยแพร่ โดยเน้นที่รายการเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (adverse event) ของวัคซีน Pfizer-BioNTech ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ “การเสียชีวิต” อย่างไรก็ดี การที่ดร.อาคิฟ บาซาราน เหมารวมว่า “การเสียชีวิต” เป็นหนึ่งในอาการข้างเคียงจากวัคซีน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: ผอ.WHO ยุโรปบอกโควิด 19 ใกล้สิ้นสุด วัคซีนไม่จำเป็นแล้ว จริงหรือ?

24 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Maldita (สเปน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: ฮานส์ คลูจ ยืนยันว่าชาวโลกจะยังคงต้องรับมือกับโควิด 19 ไปตลอดทั้งปี 2021 สถานการณ์จะคลี่คลายลงช่วงต้นปี 2022 แม้ไวรัสจะยังคงอยู่ แต่มาตรการเฝ้าระวังที่มีผลต่อชีวิตประจำวันน่าจะผ่อนคลายลง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการนำบทสัมภาษณ์ของ ฮานส์ คลูจ ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก (WHO) ประจำภาคพื้นยุโรป มาบิดเบือนแล้วเผยแพร่บนโลกออนไลน์ โดยข้อความระบุว่าการระบาดของโควิด 19 จะสิ้นสุดลงในเวลาไม่กี่เดือน และการฉีดวัคซีนก็จะไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ที่มาของข่าวลวงดังกล่าว เป็นการบิดเบือนคำสัมภาษณ์ที่ ฮานส์ คลูจ ให้ไว้ระหว่างร่วมรายการโทรทัศน์ของประเทศเดนมาร์ก ซึ่งเนื้อหาที่แท้จริงนั้น ฮานส์ คลูจ ยืนยันว่าชาวโลกจะยังคงต้องรับมือกับโควิด 19 ไปตลอดทั้งปี 2021 ซึ่งเขาเชื่อว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลงช่วงต้นปี 2022 แม้ไวรัสจะยังคงอยู่ แต่มาตรการเฝ้าระวังที่มีผลต่อชีวิตประจำวันน่าจะผ่อนคลายลง ส่วนประเด็นเรื่องการฉีดวัคซีน ฮานส์ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: AstraZeneca หยุดทดลองวัคซีน หลังพบเด็กเป็นโรคไหลตาย จริงหรือ?

24 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Rebaltica (ลัตเวีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: AstraZeneca ระงับการทดลองวัคซีนในเด็กเพราะการเกิดลิ่มเลือดในผู้ใหญ่ที่รับวัคซีน ไม่มีเด็กป่วยจากการทดลอง และไม่ใครเสียชีวิตจากโรคไหลตายในทารก (SIDS) เนื่องจากไม่มีทารกในการทดลอง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อความทาง Facebook ที่อ้างว่าบริษัท AstraZeneca ได้ระงับการทดลองวัคซีนโควิด 19 ในเด็ก หลังพบเด็กเสียชีวิตจากโรคไหลตายในทารก (SIDS) จนข้อความถูกแชร์ทาง Facebook ไปแล้วกว่า 4 พันครั้ง FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: มหาวิทยาลัย University of Oxford ระบุว่า วัคซีนโควิด 19 ของ AstraZeneca เริ่มทำการทดลองในเด็กตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ประกอบไปด้วยอาสาสมัครอายุ 6 ปีจนถึง 17 ปี จำนวน 300 คน ก่อนการทดลองจะถูกระงับเป็นการชั่วคราว […]

ชัวร์ก่อนแชร์: เด็กอายุ 5 ถึง 9 ขวบไม่ติดโควิด 19 จริงหรือ?

23 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Politifact (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: สถาบันกุมารเวชศาสตร์และสมาคมโรงพยาบาลเด็กอเมริกันยืนยันว่า มีเด็กอเมริกันติดเชื้อโควิด 19 ไปแล้ว 3.6 ล้านคน เสียชีวิต 297 คน การที่เด็กคือกลุ่มที่ยังไม่ได้รับวัคซีนและไวรัสกลายพันธุ์มีแนวโน้มติดเด็กง่ายขึ้น การสวมหน้ากากในโรงเรียนจึงเป็นสิ่งจำเป็น ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีการแชร์ข้อมูลเท็จผ่านคลิปวิดีโอทาง Facebook ของ คอร์ทนีย์ เทย์เลอร์ แม่บ้านในรัฐจอร์เจีย ที่เรียกร้องไปยังคณะกรรมการการศึกษาในเมืองกวินเนทท์ เคาตี้ ชานเมืองแอตแลนต้า ให้ทำการยกเลิกข้อบังคับให้เด็กนักเรียนทุกคนสวมหน้ากากอนามัยในโรงเรียน โดยอ้างว่าเด็กอายุ 5 ถึง 9 ปีไม่มีทางป่วยด้วยเชื้อไวรัสโควิด 19 ก่อนที่โพสต์ดังกล่าวจะถูกทาง Facebook ตั้งสถานะให้เป็นข่าวปลอม FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ข้อมูลของหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) พบว่าโอกาสการแพร่เชื้อโควิด 19 ระหว่างนักเรียนในโรงเรียนเกิดขึ้นได้ยาก โอกาสการแพร่เชื้อในหมู่ครูอาจารย์เกิดขึ้นได้ง่ายกว่าการแพร่เชื้อจาก ครูสู่นักเรียน, นักเรียนสู่ครู และนักเรียนสู่นักเรียน […]

ชัวร์ก่อนแชร์: การล็อกดาวน์ไม่ช่วยให้การเสียชีวิตจากโควิด 19 ลดลง จริงหรือ?

23 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Science Feedback (สหรัฐอเมริกา)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: เป็นการบิดเบือนผลวิจัยโดยนสพ. New York Post งานวิจัยหลายชิ้นยืนยันว่าการล็อกดาวน์ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากโควิด 19 และยังช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะยาว ผลวิจัยพบว่ามาตรการล็อกดาวน์สามารถช่วยชีวิชาวยุโรปเอาไว้ได้ถึง 3.1 ล้านคน ธนาคารโลก (World Bank) ที่พบว่าประเทศที่ชะลอมาตรการผ่อนคลายจนกว่าอัตราการแพร่เชื้อและเสียชีวิตจะลดลงแล้ว เศรษฐกิจของชาติเหล่านั้นจะกลับมาฟื้นฟูได้รวดเร็วกว่า ส่วนประเทศที่ผ่อนปรนมาตรการระหว่างที่อัตราการแพร่เชื้อและเสียชีวิตยังสูงอยู่ มักจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่โดย New York Post หนังสือพิมพ์แนวอนุรักษ์นิยมของสหรัฐอเมริกา ที่อ้างว่าการล็อกดาวน์ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจ, ก่อให้เกิดการว่างงาน และไม่ช่วยให้การเสียชีวิตจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 ลดลงอีกด้วย FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: รายงานของ New York Post อ้างงานวิจัยของศูนย์วิจัยนโยบายสาธารณะจากสถาบัน Baker Institute มหาวิทยาลัย Rice University โดยผู้วิจัยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการเสียชีวิตจากไวรัสโควิด […]

ชัวร์ก่อนแชร์: นิวซีแลนด์และเวียดนามแก้ปัญหาโควิด 19 โดยไม่ล็อกดาวน์ จริงหรือ?

22 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Verafiles (ฟิลิปปินส์)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: นิวซีแลนด์สั่งล็อกดาวน์ประเทศ (Alert Level 4) ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเมษายนเมื่อปี 2020 และประกาศสภาวะเฝ้าระวังระดับที่ 3 (Alert Level 3) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2021 เวียดนามคือชาติแรกในอาเซียนที่ประกาศใช้มาตรการล็อกดาวน์ในประเทศ ข้อมูลที่ถูกแชร์: เป็นข้อมูลเท็จที่เผยแพร่โดย ซัลวาดอร์ พาเนโล หัวหน้าที่ปรึกษากฎหมายของประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ ที่กล่าวในรายการทอร์คโชว์ของรัฐบาลเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ซึ่งเขาย้ำว่า ฟิลิปปินส์ไม่จำเป็นต้องล็อกดาวน์หรือแม้แต่ฉีดวัคซีน ขอแค่ปฏิบัติตามสุขอนามัยพื้นฐานก็พอแล้ว (ใส่หน้ากาก, ล้างมือด้วยสบู่, เว้นระยะห่างทางสังคม) เพราะประเทศอย่างนิวซีแลนด์หรือเวียนนาม ก็ไม่ใช้มาตรการล็อกดาวน์แก้ปัญหาโควิด 19 เช่นกัน FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ผู้ตรวจสอบความจริงของเว็บไซต์ Verafiles พบว่า เฉพาะในปี 2021 รัฐบาลนิวซีแลนด์ประกาศให้เมืองโอ๊คแลนด์ซึ่งมีประชากรหนาแน่นที่สุดของประเทศ เข้าสู่สภาวะเฝ้าระวังระดับที่ 3 […]

ชัวร์ก่อนแชร์: สารโลหะหนักในวัคซีนโควิด 19 ใช้เป็น “วัคซีนพาสปอร์ต” จริงหรือ?

22 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Stopfake (ยูเครน)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ข้อมูลเท็จ บทสรุป: วัคซีนโควิด 19 ไม่มีสารโลหะหนักเป็นส่วนประกอบ มีวัคซีนบางชนิดที่มีเกลืออลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบ แต่ใช้ในปริมาณน้อยและไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย วัคซีนพาสปอร์ต คือเอกสารยืนยันการรับวัคซีนครบ 2 โดสสำหรับนักเดินทาง ไม่ใช่สารที่ผสมในวัคซีนแต่อย่างใด ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข่าวปลอมที่เผยแพร่ในประเทศยูเครนที่อ้างว่า ในวัคซีนโควิด 19 มีสารโลหะหนักเป็นส่วนประกอบ สารโลหะหนักเหล่านี้ทำหน้าที่เหมือนชิปเพื่อใช้แทนวัคซีนพาสปอร์ตสำหรับผู้รับวัคซีน เมื่อผู้รับวัคซีนเดินทางไปต่างประเทศ เจ้าหน้าที่ที่สนามบินจะทำการตรวจสอบว่าในร่างกายมีสารโลหะหนักจากวัคซีนโควิด 19 หรือไม่ FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: การกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะวัคซีนโควิด 19 ชนิดไหนๆ ก็ไม่มีสารโลหะหนักเป็นส่วนประกอบ มีวัคซีนโควิด 19 บางชนิดเท่านั้นที่มีเกลืออลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบ เกลืออลูมิเนียมในวัคซีนคือตัวกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายตอบสนองต่อวัคซีนได้ดีขึ้น และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย หน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC) ระบุว่าหากปราศจากเกลืออลูมิเนียม การฉีดวัคซีนแต่ละครั้งคงต้องใช้ปริมาณโดสมากกว่าที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน อลูมิเนียมยังเป็นสารที่มนุษย์ได้รับในชีวิตประจำวัน ทั้งในอาหารและเครื่องดื่ม เด็กทารกจะได้รับอลูมิเนียมปริมาณ 7 มิลลิกรัมในการดื่มน้ำนมแม่แต่ละครั้ง ส่วนอลูมิเนียมที่ใช้ในวัคซีนมีปริมาณเพียงแค่ […]

ชัวร์ก่อนแชร์: WHO ไม่ยอมรับ”วัคซีนพาสปอร์ต”เพราะวัคซีนไม่ป้องกันโควิด จริงหรือ?

21 มิถุนายน 2564ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย: Myth Detector (จอร์เจีย)แปลและเรียบเรียงบทความโดย: พีรพล อนุตรโสตถิ์, อดิศร สุขสมอรรถ ประเภทข่าวปลอม: ทำให้เข้าใจผิด บทสรุป: มาร์กาเร็ท แฮร์ริส โฆษก WHO ชี้แจงว่าวัคซีนพาสปอร์ตจะเป็นที่ยอมรับ เมื่อประสิทธิผลป้องกันการแพร่เชื้อของวัคซีนโควิด 19 มีความชัดเจนมากกว่านี้ ไม่อาจสรุปได้ว่า WHO ต่อต้านวัคซีนพาสปอร์ตอย่างที่กล่าวอ้าง ข้อมูลที่ถูกแชร์: มีข้อความทาง Facebook อ้างว่า มาร์กาเร็ท แฮร์ริส โฆษกขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวต่อสื่อมวลชนว่าเธอจะไม่มีวันสนับสนุนการใช้วัคซีนพาสปอร์ตสำหรับเดินทางข้ามประเทศ เพราะในความเห็นของเธอ ไม่มีหลักฐานใดยืนยันได้ว่าผู้ฉีดวัคซีนจะไม่แพร่เชื้อโควิด 19 ได้ 100% FACT CHECK: ตรวจสอบข้อเท็จจริง: ข้อความดังกล่าวเป็นการบิดเบือนการให้สัมภาษณ์ของมาร์กาเร็ท แฮร์ริส โดยระหว่างการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2021 โฆษกของ WHO ให้เหตุผล 2 ประการที่ทำให้เธอไม่สนับสนุนการใช้วัคซีนพาสปอร์ตในเวลานี้ 1.องค์การอนามัยโลกยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะเชื่อได้ว่าผู้ได้รับวัคซีนโควิด 19 จะไม่แพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้อีก2.ยังมีคนอีกหลายกลุ่มที่ยังไม่ได้รับวัคซีน […]

1 139 140 141 142 143 278
...