fbpx

ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST : 5 เรื่องฮิต สารพัดพิษของน้ำดื่ม จริงหรือ ?

29 มีนาคม 2566 – จากกรณีมีการแชร์เกี่ยวกับสารพัดพิษของเครื่องดื่มเอาไว้มากมาย หลายคนก็ว่าห้ามนำน้ำกรองมาต้มรับประทานจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย, ห้ามรับประทานหรืออาบน้ำเย็น จะทำให้เส้นเลือดในสมองแตก เรื่องไหนจริง เรื่องไหนเท็จ พบคำตอบได้ที่ชัวร์ก่อนแชร์ CHECK-LIST ร้อยเรียงเรื่องฮิต ติดอันดับกับชัวร์ก่อนแชร์


อันดับที่ 1 : ภัยเงียบน้ำ RO เสี่ยงโรคร้ายแรง จริงหรือ ?

มีการแชร์เตือนภัยเงียบน้ำ Reverse Osmosis (RO) ทำให้ร่างกายเสียสมดุล และเสี่ยงโรคร้ายแรง


ตรวจสอบข้อมูลกับ : ดร.นัฐพล ตั้งสุภูมิ อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

บทสรุป : จริงบางส่วน ไม่ควรแชร์ ⚠️

“น้ำดื่มระบบ Reverse osmosis (RO) สามารถรับประทานได้ และถึงแม้ไม่เป็นอันตรายก็ยังต้องระวังเรื่องความสะอาดของเครื่องกรอง ควรสะอาดและได้มาตรฐาน”


อันดับที่ 2 : ดื่มน้ำเย็นทำให้ไขมันจับตัวเป็นก้อน จริงหรือ ?

มีการแชร์คลิปเตือนว่า ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารพร้อมน้ำเย็น เพราะจะทำให้ไขมันจับตัวเป็นก้อน อุดตันร่างกายได้

ตรวจสอบข้อมูลกับ : ดร.วราภรณ์ มลิลาศ อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ

“เมื่อรับประทานน้ำเย็นเข้าไป ร่างกายจะสามารถปรับอุณหภูมิของน้ำให้กลายเป็นอุณหภูมิปกติ ดังนั้นการอ้างว่ารับประทานน้ำเย็นแล้วเกิดไขมันจับตัวในร่างกายจึงไม่ใช่เรื่องจริง”

อันดับที่ 3 : น้ำประปาอันตราย ห้ามใช้หุงข้าว จริงหรือ ?

มีการแชร์กันว่าน้ำประปาหุงข้าว เพราะคลอรีนจะทำให้เสียคุณค่าทางอาหารและเป็นอันตราย

ตรวจสอบข้อมูลกับ : นายปริญญา แน่นหนา ผู้อำนวยการฝ่ายคุณภาพน้ำ การประปานครหลวง, ดร.อนันต์ บุญปาน อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, รศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ

“คลอรีนช่วยกำจัดเชื้อโรค และการประปานครหลวงมีการใช้คลอรีนในปริมาณที่องค์การอนามัยโลกกำหนด สามารถนำมาหุงข้าวได้ ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด”

อันดับที่ 4 : นำน้ำกรองมาต้มดื่ม ก่ออันตราย จริงหรือ ?

มีการแชร์ข้อความเตือนว่า ให้ระวังการนำน้ำจากเครื่องกรองน้ำมาต้มรับประทาน อาจจะก่ออันตรายต่อสุขภาพได้

ตรวจสอบข้อมูลกับ : นายศุภเวท ทองประยูร นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล

บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ

“น้ำที่ผ่านระบบการกรอง จะมีความสะอาดระดับหนึ่ง การนำน้ำมาต้มก็เป็นการฆ่าเชื้อโดยใช้อุณหภูมิสูง ทำให้น้ำสะอาดมากขึ้น สามารถรับประทานได้และไม่เป็นอันตราย”

อันดับที่ 5 : อากาศร้อน ห้ามดื่มและอาบน้ำเย็น จริงหรือ ?

มีการแชร์เตือนว่า  เมื่ออากาศร้อนถึง 40 องศาเซลเซียส ถ้ารับประทานน้ำแข็งทันทีจะทำให้หลอดเลือดระเบิด ดังนั้น จึงต้องระวังทั้งการรับประทานน้ำเย็น อาบน้ำเย็น ล้างมือ ล้างหน้า ล้างเท้าด้วยน้ำเย็น

ตรวจสอบข้อมูลกับ : นพ.กรภัค หวังธนภัทร นายแพทย์เชี่ยวชาญ ด้านศัลยกรรมประสาท สถาบันประสาทวิทยา

บทสรุป : ไม่จริง ไม่ควรแชร์ต่อ

“เมื่อรับประทานน้ำเย็นเข้าไป ร่างกายสามารถปรับอุณหภูมิของน้ำให้กลายเป็นอุณหภูมิปกติ และการรับประทาน หรืออาบน้ำเย็น ก็ไม่ได้ทำให้เส้นเลือดในสมองแตกตามที่แชร์กัน”

ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย : พีรพล อนุตรโสตถิ์
เรียบเรียงโดย : ชยานิษฐ์ ผ่องใส

ดูข่าวเพิ่มเติม

หากได้รับอะไรมา อย่าเพิ่งแชร์ต่อ ส่งมาตรวจสอบกับ “ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์”
LINE :: @SureAndShare หรือคลิก http://line.sure.guru
FB :: https://www.facebook.com/SureAndShare
YouTube :: https://www.youtube.com/@SureAndShare
Twitter :: https://www.twitter.com/SureAndShare
IG :: https://instagram.com/SureAndShare
Website :: http://www.ชัวร์ก่อนแชร์.com
TikTok :: https://www.tiktok.com/@sureandshare

สมัครรับฟรี ชัวร์ก่อนแชร์ Newsletter ส่งถึงกล่องอีเมลของคุณทุกสัปดาห์ :: https://i.sure.guru/sureandshareNewsletter

หมายเหตุ : โฆษณาที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์นี้ แสดงผลโดยอัตโนมัติจากบริษัทผู้ให้บริการโฆษณา ไม่ใช่การสนับสนุนหรือส่งเสริมจากศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์แต่อย่างใด

Top Viewed • อ่านมากสุด

ดูทั้งหมด

พบศพโบลท์หญิงวัย 47 ในป่าหญ้าริมทาง คาดถูกฆ่าชิงรถ

โบลท์หญิงวัย 47 ปี หายตัวจากบ้านพักย่านดินแดง 9 วัน ล่าสุดพบเป็นศพในป่าหญ้าริมถนนสายนครชัยศรี-ห้วยพลู อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ส่วนรถยนต์โผล่ที่ จ.ภูเก็ต คาดถูกคนร้ายฆ่าชิงรถ

pagers on display

ทำไมยังมีการใช้ “เพจเจอร์” ในยุคสมาร์ทโฟน

ลอนดอน 19 ก.ย.- เพจเจอร์ หรือวิทยุติดตามตัวเป็นอุปกรณ์การสื่อสารยอดนิยมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ที่ต้องหลีกทางให้แก่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เนื่องจากเป็นการสื่อสารทางเดียว แต่ยังคงมีการใช้งานในบางกลุ่ม รวมถึงกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ที่เพจเจอร์ระเบิดพร้อมกันหลายพันเครื่องทั่วเลบานอนเมื่อวันที่ 17 กันยายน แหล่งข่าวเผยว่า ฮิซบอลเลาะห์ใช้เพจเจอร์ เนื่องจากเป็นช่องทางสื่อสารเทคโนโลยีต่ำ ส่งข้อความผ่านสัญญาณวิทยุ จึงตรวจจับสัญญาณและตำแหน่งได้ยากกว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ส่งสัญญาณไปยังเสาส่งที่อยู่ใกล้ที่สุด อีกทั้งไม่มีเทคโนโลยีระบุพิกัดบนพื้นโลกอย่างจีพีเอสด้วย อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสอบสวนกลางหรือเอฟบีไอ (FBI) ของสหรัฐเผยว่า ในอดีตแก๊งอาชญากรรมโดยเฉพาะแก๊งค้ายาเสพติดในสหรัฐเคยนิยมใช้เพจเจอร์ แต่ขณะนี้หันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินราคาถูกที่สามารถเปลี่ยนเครื่องและหมายเลขได้อย่างง่ายดาย ทำให้เจ้าหน้าที่ติดตามแกะรอยได้ยาก อย่างไรก็ดี  ศัลยแพทย์โรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่งในสหราชอาณาจักรเผยว่า เพจเจอร์เป็นอุปกรณ์ที่แพทย์และพยาบาลสังกัดสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติหรือเอ็นเอชเอส (NHS) ต้องพกติดตัวอยู่เสมอ เพื่อรับแจ้งข่าวในการปฏิบัติหน้าที่ เป็นช่องทางที่ถูกที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการแจ้งข่าวทางเดียวกับคนจำนวนมาก เพจเจอร์หลายรุ่นสามารถส่งเสียงไซเรนและมีข้อความเสียงแจ้งให้ทีมแพทย์ไปรวมตัวที่ห้องฉุกเฉินได้ทันที ข้อมูลล่าสุดในปี 2562 ระบุว่า เอ็นเอชเอสใช้เพจเจอร์ประมาณ 130,000 เครื่อง คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 10 ของที่ใช้ทั่วโลก คอกนิทีฟมาร์เก็ตรีเสิร์ช  (Cognitive Market Research) ซึ่งเป็นบริษัทวิจัยคาดการณ์ว่า ตลาดเพจเจอร์จะเติบโตร้อยละ 5.9 ต่อปี จากปี 2566 ถึงปี 2573 […]

ข่าวแนะนำ

ร่างศึกษา พ.ร.บ.นิรโทษฯ เข้าสภา 26 ก.ย.นี้

“นิกร” เผยร่างศึกษา พ.ร.บ.นิรโทษฯ เข้าสภา 26 ก.ย.นี้ ชง ครม. เป็นเจ้าภาพ ยกร่าง-เคาะปม ม.112 จะรวมหรือไม่ หวั่นคําวินิจฉัยศาลฟันก้าวไกล พ่นพิษ

คนร้ายฆ่าสาวโบลท์ เครียด ซัดมีอีก 2 คนยังไม่โดนจับ

เครียด! “ไอ้แม็ก” มือฆ่าชิงทรัพย์สาวโบลท์ ใช้หัวโขกลูกกรง สน.มีนบุรี จนตำรวจต้องเข้าระงับเหตุ ซัดมีอีก 2 คนยังไม่โดนจับ ล่าสุดคุมตัวไปฝากขังแล้ว